1 / 43

วิจัยในชั้นเรียน

วิจัยในชั้นเรียน. วิทยา ใจวิถี ศึกษานิเทศก์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ wit_ya@hotmail.com  082-890-7788. มาตรฐานที่ ๕ นวัตกรรมและการวิจัย (การประกันคุณภาพภายใน). J.Wittaya. ๓๕. จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงาน

Download Presentation

วิจัยในชั้นเรียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิจัยในชั้นเรียน วิทยา ใจวิถี ศึกษานิเทศก์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ wit_ya@hotmail.com  082-890-7788

  2. มาตรฐานที่ ๕ นวัตกรรมและการวิจัย (การประกันคุณภาพภายใน) J.Wittaya

  3. ๓๕. จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงาน สถานศึกษาสนับสนุนผู้สอน บุคลากร และผู้เรียน ในแต่ละหลักสูตร ทุกสาขาวิชา/สาขางาน ให้มีการสร้างและพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงานที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน หรือการประกอบอาชีพและ/หรือการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศซึ่งนำไปสู่การแข่งขันระดับชาติ (ต่อภาคการศึกษา) ตามสาขางาน ๓๖. จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงานที่มีประโยชน์ทางวิชาชีพ/หรือได้รับการเผยแพร่ระดับชาติ สถานศึกษาสนับสนุนผู้สอน บุคลากร และผู้เรียน ในแต่ละหลักสูตร ทุกสาขาวิชา/สาขางาน สร้างและพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงานที่มีประโยชน์ทางวิชาชีพ และ/หรือ สนับสนุนให้ผู้สอน ผู้เรียน เผยแพร่ผลงานในระดับชาติ J.Wittaya

  4. ๓๗. ร้อยละของงบประมาณที่ใช้ในการสร้าง พัฒนา และเผยแพร่นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงานต่องบดำเนินการ งบประมาณที่ใช้จริงในการสร้าง และเผยแพร่นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงานที่สาขาวิชา/สาขางานได้รับจัดสรรจากสถานศึกษา และหน่วยงานอื่น ต่องบดำเนินการ ๓๘. จำนวนครั้งและช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงาน จัดการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงาน ด้วยวิธีการและช่องทางที่หลากหลาย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ วารสาร นิทรรศการ ประชุม สัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงาน เป็นต้น J.Wittaya

  5. ตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพภายนอกรอบสาม J.Wittaya

  6. ผลงานที่เป็นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ หรือ • งานวิจัยของครูที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ • จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ งานวิจัยของครู ๓ ปีการศึกษา (ครูที่ปฏิบัติการสอนตั้งแต่ ๙ เดือนขึ้นไป) ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ คำนวณต่อจำนวนครูประจำทั้งหมด โดยครอบคลุมกระบวนการดังนี้ • ๑. มีเป้าประสงค์ ๒. มีการระบุปัญหา ๓. มีวิธีดำเนินการ • ๔. มีการเก็บและบันทึกข้อมูล ๕. มีการวิเคราะห์และสรุปผล J.Wittaya

  7. การบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้การบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการเรียนของผู้เรียน ๑. ผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ๑.๑ ..................... (จุดประสงค์ทั่วไป) - ระดับดี (ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป) ....... คน คิดเป็นร้อยละ....... - ระดับปานกลาง (ร้อยละ ๕๐ - ๗๐ ) .... คน คิดเป็นร้อยละ .. - ต้องปรับปรุง (ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐) ....... คน คิดเป็นร้อยละ..... J.Wittaya

  8. ๑.๒ ............... (จุดประสงค์ทั่วไป) - ระดับดี (ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป) ......... คน คิดเป็นร้อยละ....... - ระดับปานกลาง (ร้อยละ ๕๐ - ๗๐ ) ..... คน คิดเป็นร้อยละ ..... - ต้องปรับปรุง (ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐) ....... คน คิดเป็นร้อยละ..... ๒. ผลการประเมินพฤติกรรมที่ต้องการเน้น เช่น ๒.๑ ความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้และความรับผิดชอบ - ระดับดี ....................... คน คิดเป็นร้อยละ .......... - ระดับปานกลาง ........... คน คิดเป็นร้อยละ .......... - ต้องปรับปรุง ................ คน คิดเป็นร้อยละ ......... J.Wittaya

  9. ๒.๒ กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล- ระดับดี (ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป) ......... คน คิดเป็นร้อยละ....... - ระดับปานกลาง (ร้อยละ ๕๐ - ๗๐ ) ..... คน คิดเป็นร้อยละ ..... - ต้องปรับปรุง (ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐) ....... คน คิดเป็นร้อยละ..... ๒.๓ ค้นคว้าได้ด้วยตนเอง - ระดับดี ....................... คน คิดเป็นร้อยละ..... - ระดับปานกลาง ........... คน คิดเป็นร้อยละ ......... - ต้องปรับปรุง ................ คน คิดเป็นร้อยละ.......... J.Wittaya

  10. การวิจัยในชั้นเรียน “การวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างจากการวิจัยในสถานศึกษา ตรงที่กลุ่มตัวอย่างและเป้าหมาย : การวิจัยในชั้นเรียนจะใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก มักศึกษาในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง และมีเป้าหมายคือการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน” J.Wittaya

  11. การวิจัยในชั้นเรียน • เป็นการวิจัยจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน • ทำการวิจัยเพื่อนำผลวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน • ทำการวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน แล้วนำผลการวิจัยไปใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียนและเผยแพร่ให้กับผู้อื่น • มีกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง J.Wittaya

  12. การคิดค้นนวัตกรรม J.Wittaya

  13. ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียนขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน ให้ความสำคัญกับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม มี ๒ ประเภท ๑. สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Invention) ๒. กิจกรรมการพัฒนา หรือเทคนิควิธีสอน (Instruction) J.Wittaya

  14. การวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียนเพื่อนำไปสู่การวิจัยการวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียนเพื่อนำไปสู่การวิจัย • ปัญหาในขั้นผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์ • ความสามารถและคุณลักษณะที่คาดหวัง ๓ ด้าน ความรู้ ทักษะ และเจตคติ • ปัญหาในขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน • จิตวิทยาการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลาย ใช้สื่อเหมาะสม ดารวัดประเมินผลต่อเนื่อง • ปัญหาในขั้นการเตรียมการสอน • ความพร้อมของครู แผนการสอน อุปกรณ์ สื่อการสอน J.Wittaya

  15. กรอบแนวคิด การวิจัยในชั้นเรียน J.Wittaya

  16. วางแผนการเรียนการสอน แสวงหาแนวทางใหม่ๆ มาแก้ปัญหา บทเรียนสำเร็จรูป, e-learning, วีดิทัศน์ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ศึกษาปัญหา ได้ประเด็นปัญหา สังเกต, ซักถาม, ทดสอบ, ตรวจผลงาน เน้นกระบวนการ, ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ประเมินผล รายงานการวิจัยในชั้นเรียน สรุป-เขียนรายงาน J.Wittaya

  17. กระบวนการ จัดทำการวิจัยในชั้นเรียน J.Wittaya

  18. ขั้นที่ ๑ การกำหนดประเด็นของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา • เป็นปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวังหรือเกิดจากความไม่สอดคล้องระหว่างสภาพที่เกิดขึ้นกับสภาพที่ควรจะเป็น • ปัญหาการวิจัยในชั้นเรียน ควรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน หรือสิ่งที่ควรพัฒนาที่สามารถหาคำตอบได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการวิจัยที่ซับซ้อนและใช้เวลาไม่นาน • บันทึกหลังสอน เป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียน • กำหนดชื่อเรื่องที่วิจัย • กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย J.Wittaya

  19. ขั้นที่ ๒ การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง • ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย รูปแบบ วิธีการ เพื่อแสดงความต่อเนื่องทางวิชาการ ที่จะทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น • ครูผู้สอนได้ศึกษา คิดค้นทางเลือกในการแก้ปัญหา J.Wittaya

  20. ขั้นที่ ๓ การกำหนดรูปแบบ หรือวิธีการใช้ในการแก้ปัญหา (การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา) การวางแผนการวิจัยเป็นกระบวนการที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ล่วงหน้าว่า • กลุ่มเป้าหมาย, จำนวนเท่าใด • พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา (สื่อเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเทคนิควิธีสอน) • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ฯลฯ • กำหนดแผนการดำเนินการ ระบุว่า จะทำอะไร เมื่อไร J.Wittaya

  21. ขั้นที่ ๔ การออกแบบการทดลอง • เป็นจุดเริ่มต้นของการไขปัญหาโดยใช้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา • วัดผลก่อนการใช้นวัตกรรม, ใช้นวัตกรรม, วัดผลหลังใช้นวัตกรรม • กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง • วัดและประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมขั้นมูล J.Wittaya

  22. ขั้นที่ ๕ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด • แบบทดสอบ (Test) • แบบสอบถาม (Questionnaires) • แบบสัมภาษณ์ (Interview) • แบบสังเกต (Observation) J.Wittaya

  23. แบบทดสอบ (Test) • แบบทดสอบแบบอัตนัย หรือแบบความเรียง • แบบทดสอบแบบปรนัย ได้แก่ • แบบถูกผิด (True-False) • แบบเติมคำ (Completion) • แบบจับคู่ (Matching) • แบบเลือก (Multiple Choice) J.Wittaya

  24. แบบสอบถาม (Questionnaires) • กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้าง • ระบุเนื้อหาหรือประเด็นที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ • กำหนดประเภทของคำถาม (ปลายเปิด.ปลายปิด) • ร่างแบบสอบถาม • ตรวจสอบให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ • ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเนื้อหาและภาษาที่ใช้ • ทดลองใช้เพื่อดูปรนัย ความเที่ยง เวลาที่ใช้ • ปรับปรุงแก้ไข • จัดพิมพ์ J.Wittaya

  25. แบบสัมภาษณ์ (Interview) • แบบสัมภาษณ์ที่มีคำถามแน่นอน • แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีคำถามที่แน่นอน J.Wittaya

  26. แบบสังเกต (Observation) • การสังเกตโดยเข้าไปร่วม (Participant Observation) • การสังเกตโดยไม่เข้าไปร่วม (Non-Participant Observation) J.Wittaya

  27. ขั้นที่ ๖ การทดลอง รวบรวม วิเคราะห์และสรุปผล • ดำเนินการตามที่ได้ออกแบบการทดลองโดยใช้นวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น • รวบรวมข้อมูลจากการใช้เครื่องมือวัดผลในรูปแบบต่างๆ • วิเคราะห์ข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่สามารถแปลความและสื่อความหมายได้ มีความชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย • สถิติที่ใช้ของการวิจัยควรไม่ซับซ้อน อาจนำเสนอในรูปของกราฟ ตาราง แผนภูมิ พร้อมทั้งอธิบายความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ถูกต้อง J.Wittaya

  28. ข้อมูลมี ๒ ลักษณะ • ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นตัวเลข เช่น คะแนนจากการทดสอบ • ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือคุณลักษณะ เป็นข้อมูลที่บรรยายหรืออธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องศึกษา โดยได้ข้อมูลจากการสังเกต การสอบถาม หรือการสัมภาษณ์เชิงสนทนากับกลุ่มเป้าหมายแล้วจดบันทึกเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่สังเกตเอาไว้ เช่น บรรยายความสามารถที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้นวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย J.Wittaya

  29. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล • ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ (Percentage) • ค่าเฉลี่ย (Average) • ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) J.Wittaya

  30. ขั้นที่ ๗ สรุปผลและเขียนรายงานการวิจัย รายงานการวิจัยควรเขียนในลักษณะของผลงานที่จะใช้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ หรือผลงานที่จะใช้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ซึ่งควรประกอบด้วย ๓ ตอน ตอนที่ ๑ ส่วนประกอบตอนต้น ตอนที่ ๒ ส่วนเนื้อเรื่องหรือตัวรายงาน ตอนที่ ๓ ส่วนอ้างอิง J.Wittaya

  31. ตอนที่ ๑ ส่วนประกอบตอนต้น • ปกหน้า ปกหลัง • ใบรองปก • หน้าปกใน • คำนำ • สารบัญ • บัญชีตาราง (ถ้ามี) • บัญชีภาพ (ถ้ามี) J.Wittaya

  32. ตอนที่ ๒ ส่วนเนื้อเรื่องหรือตัวรายงาน ประกอบด้วย ๕ บท โดยประมาณ ดังนี้ J.Wittaya

  33. บทที่ ๑ บทนำ ๑. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เป็นการกล่าวถึงสภาพการทั่วไป ปัญหาทั่วไป แล้วโยงมาเป็นปัญหาที่จะต้องทำการวิจัย เพื่อแก้ปัญหา เป็นการเขียนจากสภาพกว้างๆ แล้วสรุปเป็นปัญหาที่เล็ก ๒. วัตถุประสงค์การวิจัย เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเราต้องการจะทำวิจัยเพื่อตอบคำถามใด วัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องสอดรับกับปัญหาการวิจัยและหัวเรื่อง ๓. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการเขียนให้ทราบว่าการวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร J.Wittaya

  34. ๔. นิยามศัพท์ เป็นการให้ความหมายของตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัย โดยเขียนให้เป็นนิยามเชิงพฤติกรรม ซึ่งมีตัวชี้วัด เพื่อประโยชน์ในการวัดตัวแปรนั้น ๕. ขอบเขตของการวิจัย เป็นการบอกให้ทราบว่า การวิจัยนี้มีขอบเขตของประชากรเพียงใดหรือ เป็นการศึกษาเฉพาะรายกรณีเนื้อหาวิชามีมากน้อยเพียงใดระยะเวลานานเพียงใดในการศึกษาทดลอง ๖. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) เป็นการคาดเดาคำตอบปัญหาการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ศึกษามาอย่างรอบคอบจากเอกสารเกี่ยวข้อง J.Wittaya

  35. บทที่ ๒ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย การค้นคว้าเอกสารเป็นการแสดงถึงศักยภาพทางวิชาการของผู้วิจัย ผู้เขียนต้องจัดหัวข้อให้เกี่ยวเนื่องกัน แล้วสรุปในทุกหัวข้อ ทุกประเด็น เพื่อเขียนกรอบความคิดในการวิจัย หลักการและแนวทางของนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาหรือทดลอง นอกจากนี้ยังสามารถสรุปเลือกตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัยได้อย่างเป็นวิชาการ และที่สำคัญที่สุด สามารถตั้งสมมติฐานการวิจัยได้อย่างเหมาะสม J.Wittaya

  36. บทที่ ๓ วิธีการดำเนินการวิจัย ๑. ประชากร เป็นการบอกว่าประชากรที่ศึกษาคือคนกลุ่มใด เช่น นักเรียนชั้น ปวช. ๓ สาขางานยานยนต์ วิทยาลัย...........หรือ นักศึกษาชั้น ปวส. ๒/๑ สาขางานโยธา วิทยาลัย.................. ๒. กลุ่มตัวอย่าง เป็นการเขียนเพื่อจะบอกว่า กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด ได้มาจากประชากรกลุ่มใด ๓. เครื่องมือวัดตัวแปร หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้เขียนต้องเขียนบอกให้ชัดเจนว่า เครื่องมือมีกี่ชุด อะไรบ้าง มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมืออย่างไร J.Wittaya

  37. ๔. การเก็บรวบรวมข้อมูล (หรือวิธีการทดลองในกรณีทำการวิจัยเชิงทดลอง) ให้เขียนบอกให้ชัดเจนว่ามีวิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร หรือมีวิธีการทดลองและวัดผลอย่างไร ๕. การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการเขียนเพื่อบอกให้ทราบว่าในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือทดสอบสมมติฐานใช้สถิติใด หรือใช้วิธีการอย่างใด J.Wittaya

  38. บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล หรือผลการพัฒนาการเรียนการสอน หรือผลการทดลอง • เป็นการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ หรือคุณภาพ หรือข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดย • เรียงลำดับตามวัตถุประสงค์การวิจัย • ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาทางสถิติ • หากมีตารางหรือกราฟให้อธิบายอย่างชัดเจนว่าต้องการนำเสนออะไร J.Wittaya

  39. บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นการเขียนสรุปรวมการวิจัยตั้งแต่บทที่ ๑ ถึง ๔ มาไว้ด้วยกัน ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ ๑. วัตถุประสงค์การวิจัย นำวัตถุประสงค์ในบทที่ ๑ มาเขียน ๒. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๓. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ๔. สรุปวิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อ เขียนเป็นข้อความต่อเนื่องกันได้ไม่จำเป็นต้องแยกเป็นหัวข้อ เป็นการเกริ่นนำก่อนขึ้นหัวข้อ J.Wittaya

  40. ๕. สรุปผลการวิจัย เป็นการเขียนผลการวิจัยตามจุดมุ่งหมายทีละข้อ (ไม่ต้องมีตาราง) โดยนำผลจากบทที่ ๔ มาสรุปรวม ๖. อภิปรายผลการวิจัย เป็นการชี้แจงให้ผู้อ่านทราบว่าผลการวิจัยสอดคล้องกับผลการวิจัยของใคร สอดคล้องกับทฤษฎีใด ขัดแย้งกับผลการวิจัยของใคร หรือขัดแย้งกับทฤษฎีใด ผู้วิจัยสามารถสอดแทรกความคิดของตนเองเข้าไปได้อย่างเต็มที่ในการอภิปรายผล ๖. ข้อเสนอแนะ เป็นการเขียนแนะนำผู้อ่านให้ทราบว่า จากผลการวิจัยนี้สามารถนำผลไปประยุกต์ใช้ภาคปฏิบัติอย่างไร และสามารถจะวิจัยต่อในประเด็นใดได้บ้าง J.Wittaya

  41. ตอนที่ ๓ ส่วนอ้างอิง บรรณานุกรม เป็นการแสดงให้ทราบว่าผู้วิจัยได้ค้นคว้าหามวลความรู้ เพื่อการทำการวิจัยครั้งนี้มากน้อยเพียงใด ภาคผนวก อาจนำเสนอภาพกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ อุปกรณ์ เป็นต้น ประวัติผู้เขียน (ถ้ามี) J.Wittaya

  42. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด (๕) การทดลอง รวบรวม วิเคราะห์และสรุปผล (๖) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน (๑) การออกแบบการทดลอง (๔) การกำหนดรูปแบบ หรือวิธีการใช้ในการแก้ปัญหา (การพัฒนานวัตกรรม) (๓) การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน (๗) การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (๒) J.Wittaya

  43. Hello ! J.Wittaya

More Related