1 / 44

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับอุดมศึกษา

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับอุดมศึกษา. โดย รศ. ดร. ทิศนา แขมมณี. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. มาตรา 22 : ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ.

halil
Download Presentation

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับอุดมศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา โดย รศ. ดร. ทิศนา แขมมณี

  2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 22: ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

  3. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552(THAI QUALIFICATIONS FRAMEWORK FOR HIGHER EDUCATION-TQF:HED.) • กรอบแสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา และมาตรฐานผลการเรียนรู้ของระดับวุฒิ ที่แสดงถึงคุณภาพของบัณฑิต เมื่อเรียนจบตามหลักสูตร • เป็นเครื่องมือในการนำนโยบายใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ และมาตรฐานการอุดมศึกษา ไปสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม • เป็นหลักและแนวทางสำหรับสถาบันอุดมศึกษาใช้ในการวางแผน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาการจัดการศึกษา • เป็นการประกันคุณภาพบัณฑิตในแต่ละระดับวุฒิของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ว่า มีคุณภาพและมาตรฐานที่สามารถเทียบเคียงกันได้

  4. ระดับคุณวุฒิ(LEVELS OF QUALIFICATIONS) คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ระดับที่ 1 อนุปริญญา (3 ปี) ระดับที่ 2 ปริญญาตรี ระดับที่ 3 ประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับที่ 4 ปริญญาโท ระดับที่ 5 ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ระดับที่ 6 ปริญญาเอก

  5. การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติการเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดหวังให้นักศึกษาพัฒนาขึ้นอย่างน้อย 5 ด้านจากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษาได้แก่ 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม 2.ด้านความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิดและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้ใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility)หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึง ภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บางสาขาวิชาที่ต้องพัฒนาทักษะทางกายภาพสูง เช่น ดนตรี พลศึกษา ศิลปศึกษา การแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ จำเป็นต้องเพิ่มการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skills)

  6. มาตรฐานผลการเรียนรู้ • ข้อกำหนดเฉพาะ หรือผลที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนพัฒนาขึ้น อย่างน้อย 5 ด้าน จากการเรียนรู้ระหว่างการศึกษา • สกอ. ได้กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ของแต่ละระดับคุณวุฒิไว้ให้ รวมทั้งมาตรฐานในระดับแรกเข้า (สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) • มาตรฐานผลการเรียนรู้ในทุกระดับวุฒิ มีอย่างน้อย 5 ด้านเหมือนกัน โดยแต่ละด้านจะมีระดับความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเมื่อคุณวุฒิสูงขึ้น • มาตรฐานผลการเรียนรู้ของระดับคุณวุฒิใด จะรวมถึงมาตรฐานผลการเรียนรู้ของระดับคุณวุฒิที่ต่ำกว่าด้วย (ในสาขาวิชาเดียวกัน)

  7. 1.1 ระดับปริญญาตรี สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม และวิชาชีพโดยใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม ความรู้สึกของผู้อื่น ค่านิยมพื้นฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ แสดงออกซึ่งพฤติกรรม ทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม อาทิ มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดี เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจโลก เป็นต้น 1.2 ระดับปริญญาโท สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมที่ซับซ้อนเชิงวิชาการหรือวิชาชีพ โดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น และเมื่อไม่มีข้อมูลทางจรรยาบรรณวิชาชีพหรือไม่มีระเบียบข้อบังคับเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ก็สมารถวินิจฉัยอย่างผู้รู้ด้วยความยุติธรรมและชัดเจนมีหลักฐาน และตอบสนองปัญหาเหล่านั้นตามหลักการ เหตุผล และค่านิยมอันดีงาม ให้ข้อสรุปของปัญหาด้วยความไวต่อความรู้สึกของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ริเริ่มในการยกปัญหาทางจรรยาบรรณที่มีอยู่ เพื่อการทบทวนและแก้ไข สนับสนุนอย่างจริงจังให้ผู้อื่นใช้การวินิจฉัยทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการกับข้อโต้แย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ในสภาพแวดล้อมของการทำงานและในชุมชนที่กว้างขวางขึ้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของคุณวุฒิระดับที่ 2 ปริญญาตรี และระดับที่ 3 ปริญญาโท • ด้านคุณธรรม จริยธรรม

  8. กรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ เพื่อการวางแผนและจัดการเรียนการสอน มาตรฐานผลการเรียนรู้ ระดับอุดมศึกษา มาตรฐานผลการเรียนรู้ ระดับปริญญาตรี ความรู้ความสามารถ ระดับปริญญาตรี คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ระดับปริญญาตรี สามารถจัดการปัญหา (ความรู้สึกผู้อื่น ค่านิยม จรรยาบรรณ) • ความรู้ครอบคลุม เป็นระบบในสาขาวิชา เข้าใจ ทฤษฎี หลักการ • ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ในการวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ปัญหา • หาและใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์ และสถิติ ในการแก้ปัญหา เลือกใช้ IT ที่เหมาะสมในการสื่อข้อมูล • ความรู้ และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพ • ผลงานวิจัยในสาขาวิชา การแปลความหมาย วิเคราะห์ ประเมินการวิจัย • มีความคิดริเริ่ม มีภาวะผู้นำ • สามารถใช้ความรู้แก้ปัญหาทางวิชาการ วิชาชีพ และความขัดแย้งต่างๆ • ทันสมัย ใฝ่รู้พัฒนาตนเอง • มีจริยธรรม ความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการ วิชาชีพ และสังคม คุณธรรม จริยธรรม มีพฤติกรรมจริยธรรม (นิสัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เสียสละ เข้าใจผู้อื่น/ โลก ฯลฯ) (การพัฒนานิสัย ความประพฤติ ความรับผิดชอบส่วนตน/รวม ความขัดแย้ง ทางค่านิยม) เข้าใจทฤษฎี/ หลักการ รู้กว้าง เป็นระบบ ความรู้ ติดตามความก้าวหน้าของวิชาชีพ รู้งานวิจัย แก้ปัญหา ต่อยอดความรู้ (เข้าใจ วิเคราะห์ ข้อมูล ทฤษฎี หลักการ กระบวนการ การเรียนรู้ด้วยตนเอง) รู้กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติในวิชาชีพที่เปลี่ยนแปลง ทักษะการแสวงหา ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินข้อมูล ทักษะทางปัญญา ทักษะการแก้ปัญหาซับซ้อน (หลักการ+ประสบการณ์ การคิดผลกระทบ) (การทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ การใช้ความรู้ การแก้ปัญหา การเผชิญสถานการณ์) ทักษะการใช้ความรู้ ทักษะทำงานประจำ (ของวิชาชีพ) ทักษะผู้นำ-สมาชิกกลุ่ม ทักษะความสัมพันธ์+ ความรับผิดชอบ ทักษะแก้ปัญหากลุ่ม ทักษะเรียนรู้+พัฒนาตนเอง+อาชีพ (การทำงานกลุ่ม ภาวะผู้นำ รับผิดชอบต่อตนและสังคม เรียนรู้ด้วยตนเอง) สามารถเลือก/ ใช้ สถิติ คณิตในการศึกษาค้นคว้า ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ IT สามารถใช้ IT เก็บข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย นำเสนอ สามารถสื่อสาร พูด เขียน นำเสนอ (วิเคราะห์เชิงตัวเลข ใช้เทคนิคคณิตศาสตร์และสถิติ สื่อสาร-พูด เขียน การใช้ IT)

  9. มาตรฐานคุณวุฒิของสาขา/สาขาวิชามาตรฐานคุณวุฒิของสาขา/สาขาวิชา • กรอบที่กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในสาขาวิชา รวมถึง เนื้อหาความรู้ที่จำเป็นจะต้องมีในหลักสูตรสาขาวิชานั้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 • มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา จะเปิดกว้าง สถาบันฯ สามารถบรรจุเนื้อหานอกจากที่กำหนดได้อย่างอิสระตามความต้องการ ส่งเสริมให้เกิดหลักสูตรที่แตกต่างหลากหลาย แต่มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่เทียบเคียงกันได้

  10. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก สถาบันอุดมศึกษา (8 มาตรฐาน 28 ตัวบ่งชี้) • มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพบัณฑิต • บัณฑิตมีคุณภาพ คิดเป็น ทำเป็น มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ รวมทั้งสามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข • การได้งาน • ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต • บทความจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก • บทความจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท • มาตรฐานที่ 2 ด้านการเรียนรู้ • กระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดตามความสนใจของผู้เรียน พัฒนาผู้เรียนตามความสามารถและความถนัด มีการฝึกปฏิบัติการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ • มีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการสอนของคณาจารย์ • จำนวนกิจกรรม / โครงการของนักศึกษา • มีการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้

  11. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 22: ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

  12. ผู้เรียนสำคัญที่สุด • เป็นแนวคิด (CONCEPT) ที่ยึดประโยชน์ที่ผู้เรียนควรจะได้รับเป็นตัวตั้ง หรือเป็นหลักในการคิด การกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน • เป็นแนวทางที่ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 กำหนดให้ใช้ในการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้

  13. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 24: • จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน • ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา • ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้ • ผสมผสานสาระความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา • จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ • จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชน

  14. ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ที่ปรากฏใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 • ทฤษฎี/หลักการจัดสาระการเรียนรู้ (หลักบูรณาการ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล) – มาตรา 23, 27, 28 • ทฤษฎี/หลักการเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ (หลักการสร้างองค์ความรู้ หลักการเรียนรู้แบบบูรณาการ หลักการเรียนรู้ตามสภาพจริง หลักการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และใช้วิธีการเรียนรู้หลากหลาย หลักการเรียนรู้ ทักษะกระบวนการ ฯลฯ) – มาตรา 24, 30, 29 • ทฤษฎี/หลักการเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง – มาตรา 26

  15. แนวคิดผู้เรียนสำคัญที่สุดแนวคิดผู้เรียนสำคัญที่สุด • ในระดับแนวคิด เป็นแนวคิดที่คำนึงถึง/ ยึดประโยชน์ของผู้เรียนเป็นตัวตั้งในการคิด การกระทำต่างๆ ในการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน • ในระดับปฏิบัติ เป็นแนวทางการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้ ที่ได้มาจากการทฤษฎี หลักการ กระบวนการ เกี่ยวกับการเรียนรู้ และการสอนที่สำคัญๆ ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติ และระดับสากล ประกอบด้วย

  16. ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ที่ปรากฏใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 • ทฤษฎี/หลักการจัดสาระการเรียนรู้ (หลักบูรณาการ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล) – มาตรา 23, 27, 28 • ทฤษฎี/หลักการเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ (หลักการสร้างองค์ความรู้ หลักการเรียนรู้แบบบูรณาการ หลักการเรียนรู้ตามสภาพจริง หลักการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และใช้วิธีการเรียนรู้หลากหลาย หลักการเรียนรู้ ทักษะกระบวนการ ฯลฯ) – มาตรา 24, 30, 29 • ทฤษฎี/หลักการเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง – มาตรา 26

  17. ลักษณะสำคัญการจัดการเรียนรู้ยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด(ตามแนวทางที่ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติกำหนด) • มีกิจกรรมหลากหลาย ตอบสนองต่อความแตกต่าง ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน • พัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ให้แก่ผู้เรียน เช่น คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา ตัดสินใจและคิดอย่างมีวิจารณญาณ • ส่งเสริมให้ผู้เรียน สร้างความรู้ ด้วยตนเอง พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ และความใฝ่รู้ • ส่งเสริมการฝึกปฏิบัติ คิดเป็น ทำได้ ทำเป็น • ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยี • ส่งเสริมการพัฒนาพหุปัญญา • ส่งเสริม / พัฒนา คุณธรรม จริยธรรม • ส่งเสริม / ฝึกทักษะทางสังคม การทำงานร่วมกับผู้อื่น • ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

  18. แนวคิดผู้เรียนสำคัญที่สุด สู่แนวการจัดการเรียนการสอน การจัดการศึกษาที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด มุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ดีที่สุด ตามนัยของ พ.ร.บ. 2542 หลักการจัดการศึกษา หลักการจัดเนื้อหาสาระ หลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ แนวการจัดการเรียนการสอน ครูเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สื่อ/ เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง กระบวนการสอน • รูปแบบการสอน • วิธีการสอน • เทคนิคการสอน

  19. การจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง • เป็นแนวคิด (Approach) และแนวทาง (Guideline) ไม่ใช่วิธีการ (Method) • เป็นแนวคิดที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการต่างๆ

  20. กระบวนการสร้างความรู้กระบวนการสร้างความรู้ ครู ผู้เรียน การ ถ่ายทอด ความรู้ การ รับ ความรู้ การ ให้ประสบการณ์/ข้อมูล การ สร้าง ความรู้

  21. การสร้างความรู้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งมีทั้งกระบวนการทางปัญญา และกระบวนการทางสังคม เป็นเครื่องมือในการจัดกระทำกับข้อมูล หรือประสบการณ์ที่รับเข้ามาให้มีความหมายกับตนเอง และเป็นที่เข้าใจของตนเอง

  22. ทักษะทางปัญญา (COGNITIVE SKILLS) ทักษะการคิดพื้นฐานBASIC THINKING SKILLS ทักษะการคิดแกนCORE THINKING SKILLS ทักษะการคิดขั้นสูง HIGHER ORDER THINKING SKILLS • การสังเกต • การสำรวจ • การตั้งคำถาม • การรวบรวมข้อมูล • การระบุ • การจำแนก • การจัดลำดับ • การเปรียบเทียบ • การจัดหมวดหมู่ • การอ้างอิง • การแปลความ • การตีความ • การเชื่อมโยง • การขยายความ • การให้เหตุผล • การสรุปผล • การสรุปความ • การนิยาม • การวิเคราะห์ • การสังเคราะห์ • การประยุกต์ • การบูรณาการ • การทำนาย • การตั้งสมมติฐาน • การตั้งเกณฑ์ • การพิสูจน์ • การจัดระบบ • การสร้าง • การจัดโครงสร้าง • การหาแบบแผน • การหาข้อตกลงเบื้องต้น Communicating Skills • การฟัง • การอ่าน • การรับรู้ • การท่องจำ • การคงไว้ • การจำได้ • การระลึก • การให้ข้อมูล • การบรรยาย • การอธิบาย • การชี้แจง/ การทำความกระจ่าง • การพูด • การเขียน • การกระทำ/ ปฏิบัติ

  23. ลักษณะการคิด กระบวนการคิดTHINKING PROCESS การควบคุมการคิด META COGNITION • คิดคล่อง • คิดหลากหลาย • คิดละเอียด • คิดชัดเจน • คิดถูกทาง • คิดกว้าง • คิดลึกซึ้ง • คิดไกล • กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ • กระบวนการคิดแก้ปัญหา • กระบวนการคิดไตร่ตรอง • กระบวนการคิดตัดสินใจ • กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ • การคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ • การคิดตามหลักอริยสัจ 4 • กระบวนการศึกษาวิจัย การตระหนักรู้ในกระบวนการคิดของตนเอง การคิดวางแผนงานที่ทำ การควบคุมกำกับตนเอง การประเมินการคิดของตน โยนิโสมนสิการ • คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย • คิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ • คิดแบบสามัญลักษณ์ • คิดแบบอริยสัจ • คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ • คิดแบบคุณโทษทางออก • คิดแบบคุณค่าแท้ - เทียม • คิดแบบเร้าคุณธรรม • คิดแบบเป็นอยู่ปัจจุบัน • คิดแบบวิภัชวาท ทักษะทางปัญญา (COGNITIVE SKILLS) (ต่อ)

  24. ทักษะทางสังคม (Social Skills) • ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) • ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (Human Relation Skills) • ทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership Skills) • ทักษะการทำงานกลุ่ม (Group Work Skills) • ทักษะการรวมกลุ่ม  ทักษะการปฏิบัติงานตามแผน • ทักษะการวางแผนงาน  ทักษะการแก้ปัญหา • ทักษะการมอบหมายงาน  ทักษะการประเมินผลงาน • ทักษะกระบวนการกลุ่ม (Group Process Skills) • ทักษะการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม • ทักษะการช่วยเหลือกลุ่ม • ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Skills) • ทักษะการควบคุมอารมณ์ (Emotional Skills) • ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Resolution Skills) ฯลฯ

  25. LEARNER CENTERED EDUCATION Learner Centered Education is the way teachers arrange the instruction by letting students learn by themselves. Students create knowledge, skills and attitudes from the learning activities. FINLEY-UNIVERSITY OF MINNESOTA

  26. LEARNER CENTERED EDUCATION: WARNINGS Learner Centered Education does not mean: • Learning alone-without other students, teachers, parents and other community members • Learning whatever the student decides he or she wants to know. • Learning from completely open and minimally planned activities. • Never being evaluated according to some standard of knowledge and performance.

  27. การจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(LEARNER-CENTERED APPROACH) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการเรียนรู้/ วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายด้วยตนเอง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจทักษะ และเจตคติต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับตนเอง โดยมีครูผู้สอนทำหน้าที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยชี้แนะ อำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เรียนให้ดำเนินการเรียนรู้ไปสู่จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ การสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนรับข้อมูลความรู้/ ประสบการณ์เข้ามา และใช้กระบวนการทางปัญญา รวมทั้งกระบวนการทางสังคม ในการจัดกระทำข้อมูลนั้น สร้างความหมายของข้อมูลนั้น ให้เป็นความเข้าใจของตนเอง

  28. ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แนวการจัดการเรียนการสอน พ.ร.บ. ๒๕๔๒ ครูเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สื่อและเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สื่อมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน MISCONCEPTION • ความสับสนระหว่าง สภาพการณ์ของการเรียนการสอน กับ คุณภาพของการเรียนการสอน • การจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดี • การจัดการเรียนรู้โดยครูเป็นศูนย์กลาง ไม่ดี

  29. หลักการ/แนวทาง การจัดกระบวนการเรียนรู้ : พ.ร.บ. การศึกษา หมวด 4 มาตรา 24 ความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดผู้เรียนสำคัญที่สุด กับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แนวคิด ผู้เรียนสำคัญที่สุด (หลักคิดโดยยึดประโยชน์ของผู้เรียน) (พ.ร.บ. การศึกษา หมวด 4 มาตรา 22 - 30) ศาสตร์การสอน การจัดการเรียนรู้ การวางแผน การดำเนินการสอน การวัดและประเมินผล แนวการจัดการเรียนรู้ สภาพ+คุณภาพ การเรียน การเรียน การสอน การสอน ครู เป็นศูนย์กลาง ผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง สื่อ เป็นศูนย์กลาง

  30. ศาสตร์การสอน • ความรู้ ความเข้าใจ • หลักสูตร ผู้เรียน เนื้อหาสาระ บริบท • จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ • ทฤษฎี หลักการ แนวคิด วิธีสอน (generic + PCK) เกี่ยวกับการเรียนรู้ – การสอน • เนื้อหาสาระที่จะสอน • ระบบ / รูปแบบการสอน เทคนิคการสอน • สื่อการเรียนรู้ – การสอน • นวัตกรรม • การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน • การวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน • การวางแผน และออกแบบการจัดการการเรียนรู้ • การกำหนดวัตถุประสงค์ / ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • การกำหนดสาระการเรียนรู้ • การวางยุทธศาสตร์การเรียนการสอน • การกำหนดกระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ • การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน • การจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดผลประเมินผล

  31. ศาสตร์การสอน (ต่อ) • การปฏิบัติการสอน • การจัดการชั้นเรียน การสร้างบรรยากาศ ทักษะการสอน ทักษะการใช้สื่อ การปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน การช่วยเหลือผู้เรียน การแก้ปัญหา การปรับ/ เปลี่ยนแผน ฯลฯ • การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน • การเก็บข้อมูล • การแปลข้อมูล และสรุปผล • การนำข้อมูลไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน • การวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน

  32. ศาสตร์การสอนที่สำคัญในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ศาสตร์การสอนที่สำคัญในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ • การวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ • การกำหนดวัตถุประสงค์/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • การกำหนดสาระการเรียนรู้ • การวางยุทธศาสตร์การเรียนการสอน • การกำหนดกระบวนการ และกิจกรรมการเรียนการสอน • การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล • การจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผล • สาระที่จะสอน • ทฤษฎี หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับการเรียนรู้ - การสอน • วิธีสอน เทคนิคการสอน • ระบบ/รูปแบบการสอน • นวัตกรรมการเรียนรู้ - การสอน

  33. ทฤษฎีการเรียนรู้ / การสอน(THEORY) • ข้อความรู้ที่พรรณนา/ อธิบาย/ ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการเรียนรู้/ การสอนที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ • ทฤษฎีการเรียนรู้/ การสอน มักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ • ทฤษฎีการเรียนรู้บางทฤษฎีเสนอทฤษฎีการสอนควบคู่ไปด้วย • ทฤษฎีการสอนส่วนใหญ่แปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน

  34. ตัวอย่าง ทฤษฎีการเรียนรู้/ การสอน • พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) • พุทธินิยม (Cognitivism) • มนุษย์นิยม (Humanism) • กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) • พหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) • การสร้างความรู้ (Constructivism) • การสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructivism) • การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) • การทำงานของสมอง (Brain Theories) ฯลฯ

  35. หลักการเรียนรู้ – การสอน(PRINCIPLE) • ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา/ อธิบาย/ ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการเรียนรู้/ การสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ • หลักการหรือ ข้อความรู้ย่อยๆ หลายประการ อาจนำไปสู่การสร้างทฤษฎีได้ • หลักการย่อยๆ อาจนิรนัยมาจากทฤษฎีได้

  36. ตัวอย่างหลักการเรียนรู้ – การสอน หลักการเรียนรู้-การสอน • จากง่ายไปยาก • จากรูปธรรมไปนามธรรม • จากประสบการณ์ตรง • โดยการฝึกปฏิบัติ • โดยให้เชื่อมโยงกับชีวิตจริง • โดยให้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม • โดยให้สอดคล้องกับความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน • โดยเป็นแบบอย่าง • แบบเน้นตัวผู้เรียน • แบบเน้นความรู้ความสามารถ • แบบเน้นประสบการณ์ • แบบเน้นปัญหา • แบบเน้นทักษะกระบวนการ • แบบเน้นการเรียนรู้ผ่านสื่อ เทคโนโลยี ฯลฯ

  37. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ – การสอน(APPROACH/ CONCEPT) • ความคิดที่พรรณนา/ อธิบาย/ ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ - การสอน ที่นักคิด นักจิตวิทยา นักการศึกษา ได้นำเสนอและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่า เป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วยเหตุผลบางประการ • แนวคิด ยังเป็นข้อความรู้/ ความคิด ที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ ทดสอบ อย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการที่น่าเชื่อถือ

  38. ตัวอย่าง แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา การเรียนรู้ และการสอน • แนวคิดการจัดการศึกษาทางเลือกในรูปแบบต่างๆ • แนวคิด PLEARN (PLAY + LEARN) โดย ศ. ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช • แนวคิดการจัดการความรู้ (KNOWLEDGE MANAGEMENT) • แนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา (พลังปัญญา สังคม นโยบาย) โดย ศ. นายแพทย์ประเวศ วะสี ฯลฯ

  39. วิธีสอน(METHOD) • วิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ วิธีแต่ละวิธีมีวัตถุประสงค์ และลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน • ลักษณะเด่นของแต่ละวิธี ก็คือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้น หากขาดไป ก็จะทำให้ไม่ใช่วิธีนั้นอีกต่อไป เช่น ลักษณะเฉพาะของวิธีสอนแบบสาธิตก็คือ การแสดง/การทำให้ดู หากไม่มีการทำให้ดู ก็จะไม่ใช่วิธีสอนแบบสาธิต • วิธีแต่ละวิธี มีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เป็นวิธีที่จะช่วยให้เกิดผลเฉพาะบางประการจากการใช้วิธีนั้น เช่น วัตถุประสงค์ของวิธีสอนแบบสาธิต ก็คือการช่วยให้เห็นการปฏิบัติจริง ทำให้เห็นภาพ ทำให้เกิดความเข้าใจ และจำเรื่องที่เห็นจากการสาธิตได้ดี • การเลือกใช้วิธีสอน จึงต้องพิจารณาว่า วิธีนั้นมีวัตถุประสงค์ คือจะช่วยให้เกิดผลอะไร สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสอนบทเรียนที่ต้องการหรือไม่

  40. วิธีสอนแบบต่างๆ • บรรยาย (Lecture) • สาธิต (Demonstration) • ทัศนศึกษา (Field trip) • อภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) • ละคร (Dramatization) • บทบาทสมมติ (Role Playing) • กรณีตัวอย่าง (Case) • เกม (Game) • สถานการณ์จำลอง (Simulation) • นิรนัย (Deduction) • อุปนัย (Induction) • ศูนย์การเรียน (Learning Center) • บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) ฯลฯ

  41. เทคนิคการสอน • กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน วิธีสอน หรือ การดำเนินการใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น • ตัวอย่าง เช่น ในการบรรยาย ผู้สอนอาจใช้เทคนิค การยกตัวอย่าง การใช้คำถาม การใช้สื่อประกอบ เพื่อช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น

  42. เทคนิคการสอนต่างๆ • การใช้ผังกราฟฟิค (Graphic Organizer) • การใช้คำถาม (Questioning) • การจัดกลุ่ม (Grouping) • การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ฯลฯ

  43. รูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอน รูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอน (Teaching/Instructional Model) คือ แบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ว่ามีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น แบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว ประกอบด้วย ทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ และกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะ อันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ คือการนำกระบวนการหรือขั้นตอนที่รูปแบบฯ กำหนด ไปจัดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่สอน เสริมด้วยวิธีสอน และเทคนิคการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้กระบวนการเรียนรู้มีความสมบูรณ์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  44. รูปแบบการสอนต่างๆ • รูปแบบที่เน้นด้านพุทธพิสัย • Concept Attainment Model • Gagne’ Model • Memory Model • รูปแบบที่เน้นด้านจิตพิสัย • Krathwohl’s Model • Jurisprudentail Model • Role Playing Model • รูปแบบที่เน้นด้านทักษะพิสัย • Sympson’s Model • Harrow’s Model • Davie’s Model • รูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการ • Group Investigation Model • Inductive Teaching Model • Creative Thinking Model • Torrance’s Future Problem-Solving Model • รูปแบบที่เน้นบูรณาการ • Direct Instruction Model • Storyline Model • 4 MAT Model • Cooperative Learning Model

More Related