1 / 58

ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ

การเบิกจ่าย. ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ. ขอบเขตเนื้อหา. ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกเป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ. รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนด. หลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและ. หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง. รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวง.

Download Presentation

ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเบิกจ่าย ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ

  2. ขอบเขตเนื้อหา • ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกเป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ • รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนด หลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและ หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง • รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวง การคลัง และรายจ่ายใดที่ไม่ต้องขอทำความตกลงกับ กระทรวงการคลัง

  3. กฎหมายและระเบียบการคลังกฎหมายและระเบียบการคลัง 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. กฎหมายเงินคงคลัง 3. กฎหมายวิธีการงบประมาณ 4. กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 5. ระเบียบการบริหารงบประมาณ 6. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง 7. ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลังของ ส่วนราชการ 8. ระเบียบเงินทดรองราชการ

  4. การเบิกเงินงบประมาณ • ประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว • ได้รับอนุมัติวงเงินประจำงวดแล้ว • มีข้อผูกพันหรือมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือ ผู้มีสิทธิ • หนี้นั้นถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดต้องจ่ายเงิน

  5. จำแนกงบประมาณรายจ่าย • รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจทั่วไปเบิกจ่าย

  6. จำแนกงบประมาณรายจ่าย • รายจ่ายของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ - งบบุคลากร - งบดำเนินงาน - งบลงทุน - งบเงินอุดหนุน - งบรายจ่ายอื่น

  7. รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้ กฎหมาย ระเบียบ กระทรวงการคลัง อนุมัติให้จ่ายได้ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง

  8. หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทน ฯลฯ - ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด - ถัวจ่ายภายในวงเงินประจำงวด - เบิกจ่ายตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังฯ (ข้อ 53) เจ้าของงบประมาณจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี อนุญาตให้จ่ายได้หรือตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง

  9. รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนรายจ่ายประเภทค่าตอบแทน ความหมายของเงินค่าตอบแทน เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฎิบัติงานให้ทางราชการ

  10. รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนรายจ่ายประเภทค่าตอบแทน ความหมาย : เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการ ลักษณะ • เงินเดือน • นอกเหนือเงินเดือน • นอกเวลาราชการปกติ • นอกเหนืองานในหน้าที่ • เงินเพิ่มรายเดือน

  11. ระเบียบ กค. ว่าด้วยค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ของข้าราชการ และลูกจ้างประจำฯ 2547 ที่ กค 0409.6/ว 46 ลว. 7 เม.ย. 47 ที่ กค 0409.6/ว 56 ลว. 12 พ.ค. 47 หลักเกณฑ์ 1. ข้าราชการได้เงินเดือน + ตำแหน่ง ให้ได้ค่าตอบแทน เท่ากับเงินตำแหน่ง เว้น ระดับ 7 2. ข้าราชการที่ได้เงินเดือนระดับ 8 8ว หรือเทียบเท่า ให้ได้รับ 3,500 บาท 3. ข้าราชการ 1-7 - เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น - เงินเดือนเต็มขั้น

  12. (1) มีขั้นเหลืออยู่ 1.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 2% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง (2) มีขั้นเหลืออยู่ 1 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 4% ของอัตราเงินเดือนฯ (3) มีขั้นเหลืออยู่ 0.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 6% ของอัตราเงินเดือนฯ (4) ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนฯ 4. หากได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งและได้รับเงินตอบแทนพิเศษตามระเบียบ พ.ศ. 2544 และได้ปรับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง 5. หากพ้นหรือเลื่อนอันดับหรือตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทน

  13. ระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 ผู้มีสิทธิ • ข้าราชการพลเรือน • ข้าราชการทหาร ไม่รวมถึงนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมและทหารกองประจำการ • ข้าราชการตำรวจไม่รวม พลตำรวจสำรอง • ลูกจ้างประจำ

  14. เกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ผู้มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ แล้วต้องไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท ถ้าเงินเพิ่มฯ รวมกับเงินเดือนฯ แล้วไม่ถึง 7,700 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มฯ เพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ เป็น 7,700 บาท สำหรับกรณีผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งและได้รับเงินตอบแทนพิเศษอัตราร้อยละ 2, 4, 6 และ 8 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง พ.ศ. 2544 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2547 แล้วแต่กรณี ให้นำเงินค่าตอบแทนดังกล่าวมารวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูงอันดับหรือตำแหน่งก่อน หากมีจำนวนไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท ถึงจะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว

  15. วิธีการเบิก • ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด • การเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ งบบุคลากร ลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจำตามรหัสหมวดรายจ่ายย่อย ที่กระทรวงการคลังกำหนด • เงินค่าตอบแทนพิเศษรวมเงินเดือน หรือค่าจ้าง มีเศษสตางค์ ให้ปัดทิ้ง • การจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว มีเศษสตางค์ให้ปัดทิ้ง

  16. เงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลา

  17. “เงินตอบแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ โดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและ ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนักงานหรือโดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอก ที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน และหรือโดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัดหรือกะและ ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน”

  18. “การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ปกติของ ข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน ดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการปกติของ ข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาหยุดพัก)”

  19. ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ให้ให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและ วิธีการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน กรณีที่มีราชการจำเป็นเร่งด่วนต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ให้ดำเนินการขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยไม่ชักช้า และให้แจ้งเหตุแห่ง ความจำเป็นที่ไม่อาจขออนุมัติก่อนได้

  20. ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนนอกเวลาราชการ เว้นแต่ ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการก่อนการเดินทาง เมื่อการเดินทาง ไปราชการนั้นเสร็จสิ้นหรือเสร็จสิ้น การฝึกอบรมในแต่ละวันและกลับถึงสำนักงานในวันเดียวกัน

  21. การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ให้มีสิทธิเบิกได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท

  22. กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานซึ่งเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นครั้งคราวหรือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้หน่วยงานปฏิบัติมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนและมีลักษณะเร่งด่วน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการหรือประโยชน์สาธารณะ หัวหน้าส่วนราชการอาจสั่งการให้ ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการติดต่อกัน โดยให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนเป็นรายครั้งไม่เกินครั้งละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท

  23. การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกันให้นับเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกเงินตอบแทนสำหรับวันนั้น  การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการสำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้ว ให้เบิกได้ทางเดียว

  24. กระทรวงการคลังกำหนดแบบฟอร์มประกอบการเบิกจ่าย ซึ่งส่วนราชการอาจกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมจากแบบฟอร์มได้ตามความเหมาะสม

  25. เบี้ยประชุมกรรมการ

  26. เบี้ยประชุมกรรมการ ยกเลิก 1. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2523 2. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2523 3. มติ ครม. กำหนดเงินสมนาคุณรายเดือน • พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 • มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป

  27. คณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม แต่งตั้งโดย • (1) ก.ม. /ประกาศพระบรมราชโองการ • (2) ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนฯ ประธานวุฒิสภา • (3) คณะรัฐมนตรี/รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ครม. • (4) นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล • (5) คณะกรรมการ • คณะกรรมการ (1) – (4) • คณะอนุกรรมการ (1) – (5)

  28. ลักษณะเบี้ยประชุม กรรมการ (1) รายเดือน: • แต่งตั้งโดย ก.ม. ประกาศพระบรมราชโองการ • มีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง กำหนดนโยบายซึ่งมีผลกระทบ ต่อการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม - รายชื่อและอัตราตามที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - แต่งตั้งโดย กม. ประกาศพระบรมราชโองการ นอกจาก (1) - โดยประธานรัฐสภาประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา • โดย ค.ร.ม. นายก หรือ ร.ม.ต. ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม.

  29. ลักษณะเบี้ยประชุม (ต่อ) อนุกรรมการ (1) รายเดือน: • คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการที่ได้รับรายเดือน • มีหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญพิเศษ • ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - คณะอนุกรรมการนอกจาก (1) • อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง กรม ให้ได้รับเฉพาะ บุคคลต่างส่วนราชการและบุคคลภายนอก

  30. อัตราเบี้ยประชุม • รายเดือน - ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังประกาศกำหนด - ได้รับเฉพาะเดือนที่เข้าร่วมประชุม • รายครั้ง - กรรมการ ครั้งละไม่เกิน 1,200 บาท - อนุกรรมการ ” 800 บาท - ประธานเพิ่ม 1 ใน 4 - รองประธานเพิ่ม 1 ใน 8 - เลขานุการไม่เกิน 1 คน ผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน 2 คน

  31. ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และเฉพาะที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยกฎหมาย/ประกาศพระบรมราชโองการ

  32. ต้องมีกรรมการ อนุกรรมการ มาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุมและ มีสิทธิเบิกเบี้ยประชุม

  33. กรรมการหรืออนุกรรมการแต่งตั้งโดยตำแหน่ง ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่มอบหมายให้ผู้อื่น เข้าร่วมประชุมแทน โดยทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย ถือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการ ให้นับเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม

  34. ระเบียบ กค. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2549 “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน เบิกจากงบดำเนินงานในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ค่าสาธารณูปโภคหรืองบรายจ่ายใดที่เบิกจ่ายในลักษณะเดียวกัน

  35. ค่าใช้จ่ายที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้เฉพาะ ให้เบิกจ่ายได้ ตามที่กำหนด เช่น • ประกันภัยทรัพย์สิน • ค่าเช่ารถยนต์ • ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง • ค่าเบี้ยประชุม • ค่าใช้จ่ายในการรับรองชาวต่างประเทศ

  36. ค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม • ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน • ค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการ ต่างประเทศชั่วคราว • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพข้าราชการและลูกจ้างประจำ ของทางราชการ ซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่าง เดินทางไปราชการ

  37. ค่าใช้จ่ายที่เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงค่าใช้จ่ายที่เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง • ตามที่กฎหมายกำหนด • สัญญาอนุญาโตตุลาการ • คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ • คำสั่งหรือคำพิพากษาศาล

  38. ค่าใช้จ่ายที่เบิกตามระยะเวลาและอัตรา ที่กระทรวงการคลังกำหนด • ค่าสินไหมทดแทนกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้กระทำละเมิด

  39. ค่าเช่าอาคารและที่ดินรวมค่าบริการอื่นเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามอัตราดังนี้ค่าเช่าอาคารและที่ดินรวมค่าบริการอื่นเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามอัตราดังนี้ • ค่าเช่าอาคารเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่เกิน ต.ร.ม. ละ 500 บาท/เดือน ถ้าเกินเบิกได้วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท/เดือน • ค่าเช่าที่ดินเพื่อใช้ในราชการ จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาท/เดือน หากมีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายเกินกว่าอัตรา ที่กำหนด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณ ในอัตราไม่สูงกว่าอัตราท้องตลาด

  40. ค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามภารกิจปกติหรือตามนโยบาย ของทางราชการ อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ • การจ้างเอกชนดำเนินงาน • ค่าวัสดุ • การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ • ค่าสาธารณูปโภค ยกเว้น ที่จ่ายแทนข้าราชการ

  41. การจัดประชุมราชการ • ค่าตอบแทนล่าม • ค่าโล่ ของรางวัล และของที่ระลึก • ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินของทางราชการ • ค่าของที่ระลึกมอบให้ชาวต่างประเทศ

  42. ที่ กค 0502 / ว 101 ลว. 10 ก.ค. 2533 • จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันในหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและ วัสดุ หรือ หมวดอื่นๆ ที่เบิกจ่ายในลักษณะหมวดดังกล่าว • กรณีที่ไม่มี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ค.ร.ม. หรือ รายการที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้จ่ายในเรื่องนั้นๆ ไว้แล้ว • ดุลยพินิจ หนส.ราชการอนุมัติจ่ายได้ เท่าที่จ่ายจริง จำเป็น ประหยัด ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหน่วยงาน

  43. ที่ กค 0526.5 / ว 28596 ลว. 5 ส.ค. 2540 • ค่าใช้จ่ายในหมวดค่าตอบแทน ฯลฯ หรือหมวดอื่น ฯลฯ ให้เป็นไปตามการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ • การมอบหมาย เป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 • ค่าใช้จ่ายที่ หน. ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ไม่สามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาต • ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่หลักโดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายจาก ค.ร.ม.

  44. การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชน ดำเนินงานของส่วนราชการ ( กค 0526.5 / ว 131 ลว. 28 ธ.ค. 2541) • กรณีไม่มีผู้ปฏิบัติงาน & เป็นงานโครงการใหม่ • มีผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่สามารถแล้วเสร็จตามกำหนด - ปริมาณงานมาก - ตำแหน่งว่าง / ยุบเลิก

  45. ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 86 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 • ไม่ถือเป็นการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ • ไม่ถือเป็นการจ้างแรงงาน ไม่มีนิติสัมพันธ์ในฐานะ “นายจ้าง – ลูกจ้าง” ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคม • มุ่งผลสำเร็จของงานที่จ้างภายในระยะเวลาที่กำหนด อาจจ้างเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ • ค่าตอบแทนอื่น ๆ เงินค่าล่วงเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ควรกำหนดไว้ในสัญญาจ้าง • ส่วนราชการผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุม บังคับบัญชา มีเพียงอำนาจ ในการตรวจตรางาน สั่งปรับปรุงแก้ไขไม่อยู่ในระเบียบ ข้อบังคับ ของลูกจ้างของส่วนราชการ

  46. การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐการประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 พฤษภาคม 2548และวันที่ 21มิถุนายน 2548 เห็นชอบหลักเกณฑ์การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐและอนุมัติหลักการให้ทางราชการต้องจัดให้มีการประกันภัยภาคบังคับตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

  47. หลักเกณฑ์ 1. ถือหลักประกันตนเองเว้นแต่สถานที่ราชการที่มีคลังเก็บสิ่งของหรือโรงงานที่อาจมีความเสียหายมาก เมื่อเกิดอัคคีภัย ประกันภัยได้ 2. ประกันอัคคีโรงงานหรือที่เก็บพัสดุของรัฐวิสาหกิจที่มีความเสี่ยง 3. สถานที่ราชการในต่างประเทศซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาล

  48. 4. รถยนต์ของสำนักงานในต่างประเทศ 4.1 รถยนต์ส่วนกลางและรถยนต์ประจำตำแหน่ง ให้ทำประกันแบบคุ้มครองบุคคลที่ 3 หรือ ตามกฎหมายประเทศนั้น ๆ 4.2 สำหรับภาคสมัครใจ ทำได้หากสถานราชการ ไม่ปลอดภัย มีการปล้นจี้ โจรกรรมรถยนต์ในอัตราสูง 4.3 ให้สถานฑูต สถานกงสุล ที่อยู่ในประเทศที่ติด ชายแดนประเทศไทยทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัยในประเทศไทย

  49. 5. รถยนต์ของสำนักงานในประเทศ - รถราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ภาคบังคับ ส่วนราชการต้องจัดทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ ภาคสมัครใจ พิจารณาตามความจำเป็น เหมาะสมกับภารกิจ เสนอ คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ

  50. 6. หากจะประกันภัยทรัพย์สินอื่น ๆ ให้เสนอ คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัย ทรัพย์สินของรัฐ องค์ประกอบ ปลัดกระทรวง ประธานกรรมการ ผู้แทน สำนักงบประมาณ กรมการประกันภัย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด กรมธนารักษ์ กรรมการและเลขานุการ

More Related