1 / 34

บทที่ 5 หน่วยระบบ

บทที่ 5 หน่วยระบบ. (The System Unit). หน่วยระบบ.

hammer
Download Presentation

บทที่ 5 หน่วยระบบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5 หน่วยระบบ (The System Unit)

  2. หน่วยระบบ 1. หน่วยระบบเดสก์ท็อป (Desktop System Unit) ประกอบด้วยชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง แต่สำหรับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกข้อมูล เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด จอภาพ จะอยู่ภายนอกหน่วยระบบ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบแนวนอนและแบบแนวตั้ง บางครั้งเรียกแบบแนวตั้งว่า แบบทาวเวอร์ (Tower Model) หน่วยระบบ (System Unit) อาจเรียกได้อีกอย่างว่า ตู้ระบบ (System Cabinet) หรือ แชสซี (Chassis) บรรจุส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก

  3. หน่วยระบบ (ต่อ) 2. หน่วยระบบโน้ตบุ๊ก (Notebook System Unit) โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายและมีขนาดเล็ก หน่วยระบบชนิดนี้ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง และอุปกรณ์รับเข้า (คีย์บอร์ดและอุปกรณ์ชี้) ซึ่งอยู่ภายในหน่วยระบบ ในขณะที่จอภาพจะอยู่ภายนอกหน่วยระบบ และเชื่อมต่อกับตัวเครื่องด้วยบานพับ

  4. หน่วยระบบ (ต่อ) 3. หน่วยระบบแท็บเล็ตพีซี (Tablet PC System Unit) คล้ายกับหน่วยระบบแบบโน้ตบุ๊ก หากแต่มีปากกา (Stylus) อำนวยความสะดวกในการป้อนคำสั่งหรือข้อมูลเพิ่มมาให้ 4. หน่วยระบบคอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer System) เป็นหน่วยระบบขนาดเล็กที่สุด ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง รวมถึงอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกข้อมูล

  5. ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และคำสั่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และคำสั่ง คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ได้เหมือนกับที่มนุษย์เข้าใจ โดยปกติสัญญาณเสียงจะเป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) แต่สัญญาณที่ใช้กับคอมพิวเตอร์คือ สัญญาณดิจิทัล (Digital) ดังนั้นการประมวลผลใด ๆ ที่หน่วยระบบ จะต้องทำการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปสัญญาณที่คอมพิวเตอร์เข้าใจก่อน ระบบเลขฐานสิบประกอบด้วยเลข 0 – 9 ส่วนระบบเลขฐานสอง (Binary System) ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1 และเรียกข้อมูลหนึ่งหลักซึ่งอาจเป็น 0 หรือ 1 ว่า บิต (Bit) สำหรับหน่วยระบบ เลข 0 ใช้แทนสัญญาณทางไฟฟ้าที่อยู่ในสถานะปิด และเลข 1 ใช้แทนสัญญาณทางไฟฟ้าที่อยู่ในสถานะเปิด การแทนข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นตัวเลขหรืออักขระ 1 ตัว ต้องใช้กลุ่มของบิตจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ (Byte)

  6. รูปแบบการเข้ารหัสเลขฐานสองรูปแบบการเข้ารหัสเลขฐานสอง 1. แอสกี (American Standard Code for Information Interchange : ASCII) เป็นรหัสเลขฐานสองซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในไมโครคอมพิวเตอร์ 2. เอบซีดิก (Extended Binary Code Decimal Interchange : EBCDIC) เป็นรหัสเลขฐานสองที่พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ 3. ยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสเลขฐานสองที่มีขนาด 16 บิต รหัสนี้ถูกออกแบบให้สามารถสนับสนุนภาษาต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น ภาษาจีน และ ญี่ปุ่น เนื่องจากภาษาเหล่านี้มีตัวอักขระมากเกินกว่าที่จะสามารถใช้รหัสแอสกีและเอบซีดิกได้

  7. ส่วนประกอบพื้นฐานของหน่วยระบบส่วนประกอบพื้นฐานของหน่วยระบบ แผงวงจรหลัก (System Board) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เมนบอร์ด (Mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (Mother board) ส่วนประกอบทั้งหมดของหน่วยระบบจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับแผงวงจรหลักนี้ โดยเป็นเสมือนเส้นทางเดินของข้อมูลที่ทำให้ส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถติดต่อกันได้ อุปกรณ์ภายนอกต่าง ๆ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และจอภาพ จะไม่สามารถติดต่อกับหน่วยระบบได้ถ้าปราศจากแผงวงจรหลัก

  8. ส่วนประกอบพื้นฐานของหน่วยระบบ (ต่อ)

  9. ส่วนประกอบพื้นฐานของหน่วยระบบ (ต่อ) แผงวงจรหลักนี้ของเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์มีลักษณะแบนใหญ่ ประกอบด้วยส่วนประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ รวมถึง ซ็อกเก็ต สล็อต และเส้นทางบัส ซ็อกเก็ต (Socket) เป็นส่วนที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า ชิป (Chip) เข้ากับแผงวงจรหลัก

  10. ส่วนประกอบพื้นฐานของหน่วยระบบ (ต่อ) สล็อต (Slot) เป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับการ์ดหรือแผงวงจรไฟฟ้า การ์ดเหล่านี้ช่วยขยายความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น การ์ดโมเด็ม จะเสียบเข้ากับสล็อตบนแผงวงจรหลักเพื่อทำให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เส้นทางบัส (Bus Line) เป็นเส้นทางเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในหรือติดอยู่กับแผงวงจรหลัก

  11. ไมโครโพรเซสเซอร์ ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือที่นิยมเรียกว่า ซีพียู (CPU) หรือ โพรเซสเซอร์ (Processor) ถูกบรรจุอยู่ในชิปที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ซึ่งอาจจะอยู่กับส่วนเชื่อมต่อสำหรับส่งข้อมูลซึ่งเสียบเข้ากับแผงวงจรหลัก หรือบรรจุอยู่ในตลับที่เสียบเข้ากับสล็อตพิเศษบนแผงวงจรหลัก

  12. ไมโครโพรเซสเซอร์ (ต่อ) ไมโครโพรเซสเซอร์เป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1. หน่วยควบคุม (Control Unit) บางครั้งเรียกว่า CU บอกให้ระบบคอมพิวเตอร์ทราบว่าจะต้องประมวลผลคำสั่งอย่างไร หน่วยนี้จะควบคุมการเคลื่อนที่ของสัญญาณไฟฟ้าระหว่างหน่วยความจำ (ซึ่งบรรจุข้อมูล คำสั่ง และสารสนเทศหลังจากประมวลผล) กับหน่วยคำนวณและตรรกะ อีกทั้งยังควบคุมสัญญาณระหว่างซีพียูและอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกด้วย

  13. ไมโครโพรเซสเซอร์ (ต่อ) 2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic-Logic Unit) บางครั้งเรียกว่า ALU ทำหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (ArithmeticOperations) ทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ และหาร การดำเนินการทางตรรกะ (Logical Operations) ทำงานในลักษณะเปรียบเทียบข้อมูล 2 ส่วนที่เข้ามาว่า เท่ากับ น้อยกว่า หรือมากกว่า เป็นต้น

  14. หน่วยความจำ หน่วยความจำ (Memory) เป็นพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล คำสั่ง และสารสนเทศต่าง ๆ ประกอบด้วยชิปที่เชื่อมต่อเข้ากับแผงวงจรหลักเหมือนกับไมโครโพรเซสเซอร์ ชิปหน่วยความจำที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปมี 3 ชนิด คือ 1. หน่วยความจำแรม (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บโปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ ในขณะที่ซีพียูกำลังประมวลผลอยู่ เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราวหรือเป็นหน่วยเก็บแบบลบเลือน (Volatile Storage) เพราะทุกอย่างที่อยู่ในหน่วยความจำแรมจะสูญหายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือกรณีไฟฟ้าดับ

  15. หน่วยความจำ (ต่อ) หน่วยความจำแคช (Cache Memory) หรือเรียกอีกอย่างว่า แรมแคช (RAM Cache) เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีความเร็วสูง โดยคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบว่าข้อมูลใดในแรมที่มีการใช้งานบ่อย ๆ แล้วคัดลอกคำสั่งนั้นมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแคช เมื่อซีพียูจะใช้ข้อมูลนั้นก็จะไปนำมาจากหน่วยความจำแคชเพื่อใช้งาน ด้วยวิธีการนี้ทำให้ซีพียูเข้าถึงคำสั่งต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น แฟลชแรม (Flash RAM) หรือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้าก็ตาม หน่วยความจำแบบนี้มีราคาแพงและมักใช้เป็นหน่วยความจำสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทกล้องวิดีโอดิจิทัล โทรศัพท์มือถือ และพีดีเอ

  16. หน่วยความจำ (ต่อ) 2. หน่วยความจำรอม (Read-Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ภายในมาจากโรงงานผลิต เป็นหน่วยความจำแบบไม่ลบเลือนและผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในได้ซีพียูสามารถอ่านโปรแกรมที่ถูกเขียนไว้ในหน่วยความจำรอมมาใช้งานได้ แต่ไม่สามารถเขียนหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ ที่อยู่ในรอมได้

  17. หน่วยความจำ (ต่อ) 3. หน่วยความจำซีมอส (Complementary Metal-Oxide Semiconductor : CMOS) เป็นหน่วยความจำที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ได้ ภายในหน่วยความจำซีมอสประกอบด้วยข้อมูลสำคัญที่ระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องใช้งานทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำชนิดนี้ เช่น วันที่และเวลาปัจจุบัน ขนาดของหน่วยความจำแรม ชนิดของคีย์บอร์ด เมาส์ และจอภาพ หน่วยความจำชนิดนี้ไม่เหมือนกับหน่วยความจำแรมคือ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หน่วยความจำชนิดนี้จะยังคงจำข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในได้โดยอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และไม่เหมือนกับหน่วยความจำรอมคือ ข้อมูลภายในสามารถเปลี่ยนแปลงตามอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การเพิ่มขนาดหน่วยความจำแรมหรือการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ

  18. การ์ดและสล็อตเพิ่มขยายการ์ดและสล็อตเพิ่มขยาย สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ สถาปัตยกรรมแบบปิด (Closed Architecture) ซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้โดยง่าย อีกแบบคือ สถาปัตยกรรมแบบเปิด (Open Architecture) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ ซึ่งให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยมีสล็อตเพิ่มขยาย (Expansion Slot) อยู่หลายช่องบนแผงวงจรหลัก ผู้ใช้เพียงแต่เสียบอุปกรณ์ที่เรียกว่า การ์ดเพิ่มขยาย (Expansion Card) ลงในสล็อตนี้

  19. การ์ดและสล็อตเพิ่มขยาย (ต่อ) การ์ดเพิ่มขยายเหล่านี้มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น แผงปลั๊กอิน (Plug-in Board) การ์ดควบคุม (Controller Card) การ์ดอะแด็ปเตอร์ (Adapter Card) และการ์ดอินเทอร์เฟส (Interface Card) พอร์ตบนการ์ดนี้จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการ์ดเพิ่มขยายกับอุปกรณ์ภายนอกหน่วยระบบ มีการ์ดเพิ่มขยายอยู่หลายชนิดที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การ์ดแสดงผลภาพ (Video Card) หรือรู้จักกันในชื่อ กราฟิกการ์ด (Graphic Card) เป็นการ์ดที่เชื่อมต่อแผงวงจรหลักเข้ากับจอภาพของคอมพิวเตอร์ การ์ดชนิดนี้จะแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาเป็นสัญญาณภาพ ทำให้สามารถแสดงผลบนจอภาพได้

  20. การ์ดและสล็อตเพิ่มขยาย (ต่อ) การ์ดเสียง (Sound Card) ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์รับเสียง เช่น ไมโครโฟน ซึ่งเป็นสัญญาณอนาล็อกแล้วแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิทัล และในทางตรงกันข้ามก็ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อกแล้วส่งไปให้อุปกรณ์ส่งออกเสียง เช่น ลำโพง การ์ดโมเด็ม (Modem Card) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ โมเด็มภายใน (Internal Modem) เป็นการ์ดที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยการ์ดชนิดนี้จะแปลงสัญญาณจากหน่วยระบบไปเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเดินทางผ่านสายโทรศัพท์ได้

  21. การ์ดและสล็อตเพิ่มขยาย (ต่อ) การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC) บางครั้งเรียกว่า การ์ดเน็ทเวิร์คอะแด็ปเตอร์ (Network Adapter Card) ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งเข้ากับคอมพิวเตอร์อีกหลาย ๆ ตัว ทำให้เกิดการเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูล โปรแกรม อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ร่วมกันได้ การ์ดรับสัญญาณโทรทัศน์ (TV Tuner Card) ทำให้สามารถดูโทรทัศน์ หรือบันทึกภาพวิดีโอในขณะใช้คอมพิวเตอร์ การ์ดนี้ประกอบด้วยส่วนรับสัญญาณโทรทัศน์และส่วนแปลงสัญญาณ ทำให้สัญญาณโทรทัศน์ที่เข้ามาสามารถแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์ได้ พีซีการ์ด (PC Card) เป็นการ์ดเพิ่มขยายที่มีขนาดประมาณเท่าบัตรเครดิต ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์มือถือ สามารถใส่และถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่าย

  22. เส้นทางบัส เส้นทางบัส (Bus Line) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า บัส (Bus) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อส่วนต่าง ๆ ของซีพียูเข้าไว้ด้วยกัน และยังเชื่อมต่อซีพียูเข้ากับส่วนประกอบอื่น ๆ ของแผงวงจรหลัก บัสเป็นเส้นทางสำหรับบิตที่แสดงข้อมูลและคำสั่ง จำนวนของบิตที่สามารถวิ่งได้ในเส้นทางบัสหนึ่งเรียกว่า ความกว้างบัส (Bus Width)

  23. เส้นทางบัส (ต่อ) โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยบัสหลายชนิด แต่สำหรับบัสพื้นฐาน ได้แก่ บัสไอเอสเอ (Industry Standard Architecture : ISA) พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม เริ่มแรกบัสชนิดนี้มีความกว้างเพียง 8 บิต แต่ต่อมาได้ขยายเป็น 16 บิต ถึงแม้ว่าบัสชนิดนี้จะขนส่งข้อมูลค่อนข้างช้าสำหรับการใช้งานในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงมีการใช้งานอยู่

  24. เส้นทางบัส (ต่อ) บัสพีซีไอ (Peripheral Component Interconnect : PCI) บัสชนิดนี้ เป็นบัสที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง สามารถส่งข้อมูลได้สองแบบ คือ 32 บิต กับแบบ 64 บิต ซึ่งความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่าบัสไอเอสเอกว่า 20 เท่า บัสเอจีพี (Accelerated Graphics Port : AGP) เป็นบัสที่มีความเร็วสูงกว่าบัสพีซีไอมากกว่า 2 เท่า ในขณะที่บัสพีซีไอสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายชนิด แต่บัสเอจีพีนั้นใช้สำหรับเร่งความเร็วในการแสดงผลด้านกราฟิกเท่านั้น ดังนั้นบัสเอจีพีจึงนิยมนำไปใช้สำหรับการแสดงผลภาพสามมิติ

  25. เส้นทางบัส (ต่อ) บัสยูเอสบี (Universal Serial Bus : USB) จะทำงานร่วมกับบัสพีซีไอบนแผงวงจรหลักเพื่อสนับสนุนการทำงานกับอุปกรณ์ภายนอกโดยไม่ต้องใช้การ์ดหรือสล็อตเพิ่มขยาย อุปกรณ์ยูเอสบีจะเชื่อมต่อกับบัสยูเอสบีที่ติดอยู่กับบัสพีซีไอบนแผงวงจรหลัก บัสเอชพีเอสบี (High Performance Serial Bus : HPSB) เรียกอีกอย่างว่า บัสไฟร์ไวร์ (FireWire Bus) การทำงานจะคล้ายกับบัสยูเอสบี และมีความเร็วพอ ๆ กับบัสยูเอสบี ซึ่งจะใช้กับงานประยุกต์พิเศษบางอย่าง เช่น การบันทึกภาพเคลื่อนไหวโดยกล้องดิจิทัลและซอฟต์แวร์ตัดต่อวิดีโอ

  26. พอร์ต พอร์ต (Port) คือ ซ็อกเก็ตสำหรับอุปกรณ์ภายนอกเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบได้ พอร์ตบางชนิดเชื่อมต่อโดยตรงกับแผงวงจร ในขณะที่พอร์ตบางอย่างเชื่อมต่อกับการ์ดที่เสียบเข้าไปในสล็อตของแผงวงจรหลัก

  27. พอร์ต (ต่อ)

  28. พอร์ต (ต่อ) พอร์ตมาตรฐาน พอร์ตอนุกรม (Serial Port) เป็นพอร์ตที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง และมีอุปกรณ์หลายหลายที่ใช้พอร์ตชนิดนี้ เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด โมเด็ม และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยใช้ในการเชื่อมต่อกับหน่วยระบบ พอร์ตอนุกรมจะมีลักษณะการส่งข้อมูลเรียงกันไปทีละบิต เหมาะสำหรับส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกล ๆ ได้ พอร์ตขนาน (Parallel Port) ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกที่ต้องรับ – ส่งข้อมูลเป็นระยะทางสั้น ๆ พอร์ตชนิดนี้สามารถส่งข้อมูลได้จำนวน 8 บิต พร้อมกันโดยใช้สายเชื่อมต่อแบบขนาน พอร์ตแบบนี้นิยมใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์เข้ากับหน่วยระบบ

  29. พอร์ต (ต่อ) พอร์ตยูเอสบี (Universal Serial Bus Port : USB) เป็นพอร์ตที่เริ่มเข้ามาแทนพอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน พอร์ตชนิดนี้จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง และสามารถใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์หลายประเภทเข้ากับหน่วยระบบ พอร์ตเอชพีเอสบี (High Performance Serial Bus Port : HPSB) เรียกอีกอย่างว่า พอร์ตไฟร์ไวร์ (FireWire Port) พอร์ตชนิดนี้ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าพอร์ตยูเอสบี มักใช้กับอุปกรณ์พิเศษ เช่น กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิทัล

  30. พอร์ต (ต่อ) พอร์ตชนิดพิเศษ พอร์ตมิดี้ (Musical Instrument Digital Interface : MIDI) เป็นพอร์ตอนุกรมชนิดพิเศษที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ดนตรีเข้ากับการ์ดเสียง หลังจากนั้นการ์ดเสียงจะแปลงเสียงดนตรีเป็นสัญญาณดิจิทัลที่คอมพิวเตอร์สามารถนำมาประมวลผลต่อได้ พอร์ตสกัสซี่ (Small Computer System Interface : SCSI) เป็นพอร์ตขนานความเร็วสูงชนิดพิเศษสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สกัสซี่ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น เข้ากับการ์ดควบคุมทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดเข้ากับหน่วยระบบผ่านสล็อตเดียวบนเมนบอร์ด

  31. พอร์ต (ต่อ) พอร์ตไออาร์ดีเอ (Infrared Data Association : IrDA) เป็นพอร์ตที่ใช้คลื่นสัญญาณอินฟราเรดในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สายแทนการใช้สายเคเบิล นิยมใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลจากโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์มือถือไปยังเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ เคเบิล (Cable) คือสายที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกเข้ากับหน่วยระบบผ่านทางพอร์ตต่าง ๆ โดยสายข้างหนึ่งของเคเบิลจะติดอยู่กับอุปกรณ์ และอีกข้างหนึ่งจะมีตัวเชื่อมต่อกับพอร์ต

  32. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เดสท็อปคอมพิวเตอร์ทำงานโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) หรือ ไฟดีซี (DC) เพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถทำงานและแสดงข้อมูลหรือคำสั่งได้ ไฟดีซีสามารถได้จากการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) หรือ ไฟเอซี (AC) จากปลั๊กไฟหรือได้โดยตรงจากแบตเตอรี่ เดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์มีพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) อยู่ภายในหน่วยระบบ โดยจะต่อกับปลั๊กไฟภายนอกเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรง และจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ในหน่วยระบบให้สามารถทำงานได้

  33. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) (ต่อ) โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ใช้เอซีอะแด็ปเตอร์ (AC Adapter) ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ภายนอกหน่วยระบบ เอซีอะแด็ปเตอร์จะถูกเสียบเข้ากับปลั๊กไฟภายนอกแล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรง และจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในหน่วยระบบ รวมถึงสามารถชาร์จไฟแบตเตอรี่ได้ด้วย โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทั้งการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับจากปลั๊กไฟภายนอกหรือใช้แบตเตอรี่ โดยปกติแบตเตอรี่ของโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ จะสามารถใช้งานได้เพียง 2 – 4 ชั่วโมง คอมพิวเตอร์มือถือเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กคือ ใช้เอซีอะแด็ปเตอร์ที่อยู่ภายนอกหน่วยระบบ แต่อย่างไรก็ตามโดยปกติคอมพิวเตอร์มือถือจะทำงานได้โดยใช้ไฟจากแบตเตอรี่ สำหรับเอซีอะแด็ปเตอร์จะไว้สำหรับการชาร์จไฟแบตเตอรี่ใหม่เท่านั้น

  34. เอกสารอ้างอิง รศ.ยาใจ โรจนวงศ์ชัยและคณะ. (2550). คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่. สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

More Related