1 / 43

โครงการกรณีศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านกุดรัง หมู่ที่1,16 ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

โครงการกรณีศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านกุดรัง หมู่ที่1,16 ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. ประวัติบ้านกุดรัง. จากการบอกเล่าของผู้รู้ในชุมชนเล่าว่าเมื่อประมาณ150 ปีมีพระภิกษุอาวุโสรูปหนึ่งชื่อว่าหลวงพ่อสำเร็จ ลุน (สำเร็จเป็นตำแหน่งทางสงฆ์)เดินธุดงค์มาเห็นบริเวณบ้านกุดรัง

Download Presentation

โครงการกรณีศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านกุดรัง หมู่ที่1,16 ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการกรณีศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านกุดรัง หมู่ที่1,16 ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

  2. ประวัติบ้านกุดรัง จากการบอกเล่าของผู้รู้ในชุมชนเล่าว่าเมื่อประมาณ150 ปีมีพระภิกษุอาวุโสรูปหนึ่งชื่อว่าหลวงพ่อสำเร็จลุน (สำเร็จเป็นตำแหน่งทางสงฆ์)เดินธุดงค์มาเห็นบริเวณบ้านกุดรัง อุดมสมบูรณ์เลยชักชวนพี่น้องจากบ้านผำใหญ่มาตั้งถิ่นฐานที่นี่ (บ้านผำใหญ่ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองสรวงจังหวัดร้อยเอ็ด) แล้วมาสมทบกลุ่มซึ่งอพยพมาจากเมืองชนบท ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ หนองภูบักแกว และกลุ่มดั้งเดิมซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหนองใหญ่ (หนองจากบ้านกุดรังประมาณ1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก) นำโดยพ่อใหญ่จำปา

  3. ประวัติบ้านกุดรัง (ต่อ) ต่อมาได้ย้ายบ้านเรือนออกจากบริเวณดังกล่าวมาตั้งที่บริเวณ โคกบ้านเค็ง (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน) แต่อยู่ไม่นานก็เกิดโรคห่า (โรคระบาด) ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าหมู่บ้าน ตั้งขวางดวงอาทิตย์ (ขวางตะวัน) ซึ่งย้ายหมู่บ้านมาตั้งที่แห่งใหม่เรียกว่า “ดอนหัน” ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านในปัจจุบัน

  4. ที่ตั้งหมู่บ้านกุดรัง ถนนแจ้งสนิท สาย บรบือ – บ้านไผ่ ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 40 อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ราบสูงตอนกลางภาคอีสาน (ใกล้จุดกึ่งกลางของภาคอีสาน) ห่างจากอำเภอเมืองมหาสารคาม 39 กิโลเมตร ถึงอำเภอกุดรัง ระยะทางจากอำเภอถึงหมู่บ้าน 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ 475 กิโลเมตร

  5. ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มสลับที่ดอน เป็นลูกคลื่น มีป่าโปร่งและป่าละเมาะ ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย ราษฏรในพื้นที่ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวนาปี ไม่มีระบบชลประทานในเขตพื้นที่ โดยราษฏรอาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตร ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศเป็นแบบมรสุม 3 ฤดู

  6. คณะกรรมการหมู่บ้านกุดรังคณะกรรมการหมู่บ้านกุดรัง

  7. จำนวนครัวเรือน

  8. จำนวนประชากรบ้านกุดรังจำนวนประชากรบ้านกุดรัง

  9. อาณาเขต ทิศเหนือ จรด บ้านโนนงาม ตำบลห้วยเตย จังหวัดมหาสารคาม ทิศใต้ จรด บ้านหนองป้าน ตำบลกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ทิศตะวันออก จรด บ้านหนองแสง ตำบลกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ทิศตะวันตก จรด บ้านหนองคลอง ตำบลกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

  10. อาชีพของชาวบ้าน อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ทำไร่ ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ทำสวน ปลูกพืชผัก เช่น ถั่ว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ไก่ หมู ทอผ้าไหม ประเพณี ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่

  11. สถานที่สำคัญของหมู่บ้านสถานที่สำคัญของหมู่บ้าน 1. วัดกลางกุดรัง เจ้าอาวาส พระครูสารกิจจานุยุต 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกลางกุดรัง 3 .โรงเรียนบ้านกุดรัง 4.โรงเรียนกุดรังประชาสรรค์ 5. ค่ายลูกเสือ วังม่วงรีสอร์ท 6. ดอนปู่ตา

  12. วัดกลางกุดรัง ประตูโขง โบสถ์

  13. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกลางกุดรัง อาคารเรียน

  14. โรงเรียนบ้านกุดรัง อาคารเรียน

  15. โรงเรียนกุดรังประชาสรรค์ ภาพป้ายโรงเรียนกุดรังประชาสรรค์

  16. ค่ายลูกเสือ วังม่วงรีสอร์ท • ภาพป้าย วังม่วงรีสอร์ท

  17. ค่ายลูกเสือ วังม่วงรีสอร์ท (ต่อ) อุโมงค์หัวเสือ หอคอย

  18. ดอนปู่ตา เป็นผีประจำหมู่บ้านอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน การสร้างหมู่บ้านจะต้องทำศาล ปู่ตา แล้วทำพิธีอัญเชิญปู่ตาซึ่งถือเป็นผีบรรพบุรุษ ให้มาอยู่ทำหน้าที่คอยพิทักษ์รักษามนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหาร ในหมู่บ้านให้ปลอดภัย การติดต่อระหว่างปู่ตากับชาวบ้านจะผ่านตัวแทน คือ คนทรง หรือที่เรียกว่า "จ้ำ" เมื่อถึงเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ทุกปีจะมีพิธีบวงสรวง ปู่ตา และเสี่ยงทายเรื่องความสุขสบาย ความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้าน และทำนายปริมาณน้ำฝน ในปีนั้น ๆ

  19. สาธารณสุข สังคม และทรัพยากรของหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดรัง แพทย์ประจำ นางสำลี ศรีสังฆ์ โรงปั่นไฟฟ้า พ.ศ. 2515 ไฟฟ้าใช้จากส่วนกลางเข้าหมู่บ้าน พ.ศ. 2521 ถนนลาดยางเข้าหมู่บ้าน พ.ศ. 2528 มีน้ำประปาใช้ พ.ศ. 2518 ร้านค้า 7 แห่ง ร้านซ่อมจักรยานยนต์ 2 แห่ง ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง โรงสี 5 แห่ง ตู้โทรศัพท์สาธารณ จำนวน 3 แห่ง แหล่งน้ำ 4 แห่ง คือ ห้วยกุดรัง หนองคูบักแกว สระ 2 แห่ง

  20. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดรัง ภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

  21. โรงปั่นไฟฟ้า ภาพโรงปั่นไฟฟ้า

  22. ภาพถนนลาดยางเข้าหมู่บ้านภาพถนนลาดยางเข้าหมู่บ้าน ภาพน้ำประปาประจำหมู่บ้าน

  23. หมอสูตร นายสมัย อันทอง อายุ 80 ปีเกิดเมื่อปี พ.ศ.2475

  24. หมอสูตร (ต่อ) พ่อสมัยเริ่มเป็นหมอสูตร เมื่ออายุ 50 ปี ซึ่งได้รับถ่ายทอดจาก น้าเขย ผู้คนในหมู่บ้านนับถือพ่อสมัยมาก เพราะพ่อสมัยเคยเป็นผู้นำชุมชนมา 2 สมัย ไม่ว่างานประเพณีต่างๆ ชาวบ้านก็มาปรึกษาพ่อสมัยอยู่เป็นจำ ต่อมาจึงให้พ่อสมัย เป็นหมอสูตรประจำหมู่บ้านกุดรังหมู่ที่1,16 และบ้านดอนโมงหมู่ที่ 7 ในงานสำคัญเช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานบวช สู่ขวัญนาค บายศรีพระ ฯลฯ ทำพิธีประมาณ 30 นาที สำหรับค่าคาย (ปัจจัย) แล้วแต่เจ้าของงานนั้นๆจะให้

  25. สถานทีท่องเที่ยวปรางค์กู่กุดรังสถานทีท่องเที่ยวปรางค์กู่กุดรัง ประเพณีสรงกู่ งานวันผู้สูงอายุ ในวันที่ 23เมษายน ของทุกปี มีการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงของนักเรียนร่วมงาน ก็จะมีเครื่องเล่นและซุ้มกิจกรรมสำหรับเด็กให้ได้เล่นกัน และในส่วนของผู้สูงอายุก็จะมีการรดน้ำดำหัว และมีการจัดการประกวด“เทพีผู้สูงอายุ " ด้วย

  26. กลุ่มทอผ้าไหมลายสร้อยดอกหมากกลุ่มทอผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก ภาพสถานทีทอผ้าไหม

  27. ประวัติกลุ่มทอผ้าไหมลายสร้อยดอกหมากประวัติกลุ่มทอผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2540 โดยการนำของ นางสมจิตร บุรีนอก ซึ่งได้ไปอบรมการทอผ้าไหมมัดหมี่ที่อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เมื่อกลับมาจึงได้รวมแม่บ้านบ้านกุดรัง จำนวน 15 คน โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก พระครูสารกิจจานุยุต 20,000 บาท สมาชิกในกลุ่ม 4,000 บาท

  28. อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม 1. กง เป็นเครื่องมือสำหรับใส่ไหมที่เป็นปอย (ไน) แล้วนำไปกรอใส่ใน 2. อัก ใช้คู่กับกงจะรับเส้นไหมจากกงมาใส่ไว้ใน 3. หลา, ไน หรือเครื่องกรอหลอด 4. หลอดกรอไหม ใช้สำหรับใส่เส้นไหม 5. ฮัง (ที่เสียบหลอด) เป็นที่เก็บหลอดกรอไหม 6. ก้านสวย ,กระสวย ใช้คู่กับหลอด 7. กี่ทอผ้า หรือกี่กระตุก เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้าให้เป็นผืนสำเร็จออกมา 8. ฟืม (ฟันหวี) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับแยกเส้นไหมยืนให้ออกจากกัน 9. ตะกอ ทำจากเส้นด้ายป่าน ที่มีความแข็งแรง เหนียวแน่น ทำหน้าที่ยกเส้นไหมให้ขึ้นลง 10. กรรไกร ใช้สำหรับตัดตกแต่งผ้าไหม 11. ผัง ใช้สำหรับตึงริมผ้าให้เสมอกัน มีลักษณะเป็นไม้ยาวเท่ากับความกว้างของผ้า 12. หวี ใช้สำหรับหวีไหมให้เรียงเส้น 13. โครงปั่นไหมไฟฟ้า ใช้แทนกง 14. ไม้เหยียบหูก 15. หลอดใส่ไหม

  29. อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม (ต่อ) อัก หลา, ไน

  30. อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม (ต่อ) • ก้านสวย, กระสวย ใช้คู่กับหลอด กรรไกร

  31. อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม (ต่อ) กง • หลอด

  32. อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม (ต่อ) หวี โครงปั่นไหมไฟฟ้า

  33. อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม (ต่อ) กี่ทอผ้า • ไม้เหยียบหูก

  34. วัตถุดิบ 1. เส้นไหม 2. น้ำยาล้างไหม 3. สีย้อมไหม 4. ด่างฟอก 5. สบู่เทียม 6. ฟางใช้มัดหมี่

  35. วัตถุดิบ (ต่อ) เส้นไหม สีย้อมไหม

  36. วัตถุดิบ (ต่อ) ด่างฟอก สบู่เทียม ฟางใช้มัดหมี่

  37. การเตรียมเส้นไหม การเตรียมเส้นไหม จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การเตรียมเส้นไหมพุ่ง การเตรียมเส้นไหมพุ่ง จะเป็นการเตรียมเส้นไหมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำไปมัดหมี่โดยใช้เครื่องมือในการการค้นลำหมี่ โดยการนำเส้นไหมที่กวักเรียบร้อยแล้ว มาทำการค้นปอยหมี่เพื่อให้ได้ลำหมี่พร้อมสำหรับการไปมัดหมี่ในกระบวนการต่อไป การเตรียมไหมเครือ (ไหมเส้นยืน) โดยการค้นหูกหรือค้นเครือ คือ กรรมวิธีนำเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นไหมเครือไปค้น (กรอ) ให้ได้ความยาวตามจำนวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ ไหมหนึ่งเครือ จะทำให้เป็นผ้าไหมได้ประมาณ 20-30 ผืน (1 ผืนยาวประมาณ 180-200 เซนติเมตร)

  38. การมัดหมี่ การมัดหมี่ คือ การทำผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่างๆตามแบบหรือลายที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบลายที่เป็นแบบลายโบราณและแบบที่เป็นลายประยุกต์ โดยการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งด้วยเชือกฟางมัดลายแล้วนำไปย้อมสี แล้วนำมามัดลายอีกแล้วย้อมสีสลับกันหลายครั้ง เพื่อให้ผ้าไหมมีลวดลายและสีตามต้องการ เช่น ผ้าที่ออกแบบลายไว้มี 5 สี ต้องทำการมัดย้อม 5 ครั้ง เป็นต้น

  39. การแก้หมี่ การแก้เชือกฟางที่มัดหมี่แต่ละลำออกให้หมดหลังจาการย้อมในแต่ละครั้ง

  40. การย้อมสี การย้อมสีไหมจะต้องนำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “การดองไหม” จะทำให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการย้อมด้วย สีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ ที่หาซื้อง่ายตามร้านขายเส้นไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้ำจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูกทนต่อ การซักค่อนข้างดี การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ การคั้นเอาน้ำจากพืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้เดือด จากนั้นนำไหมชุบน้ำให้เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้ำย้อมสีที่เตรียมไว้ จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้ง จะได้เส้นไหมที่มีสีตามต้องการ

  41. การทอผ้าไหม ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืน คือการทอผ้าไหม จะประกอบไปด้วยเส้นไหม 2 ชุด คือชุดแรกเป็น “เส้นไหมยืน”จะขึงไป ตามความยาวผ้าอยู่ติดกับกี่ทอ(เครื่องทอ) หรือแกนม้วนด้านยืน อีกชุดหนึ่งคือ “เส้นไหมพุ่ง” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะทำให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน ส่วนลวดลายของผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบของผู้ทอที่ได้ทำการมัดหมี่ไว้

  42. ภาพการทอผ้าไหม

  43. ผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก 800– 1,000บาท / เมตร เสื้อสูทชายลายสร้อยดอกหมากไหม 2,200 – 2,500 บาท

More Related