1 / 42

การออกแบบและทดสอบเสาเข็ม

การออกแบบและทดสอบเสาเข็ม. โดย ประเทือง อินคุ้ม International Engineering Consultants Co., Ltd. (IEC). ประเภทของเสาเข็มและการเลือกใช้. เสาเข็มตอก เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาเข็มเหล็ก เสาเข็มไม้ เสาเข็มเจาะ เสาเข็มเจาะระบบแห้ง เสาเข็มเจาะระบบเปียก .

haruko
Download Presentation

การออกแบบและทดสอบเสาเข็ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การออกแบบและทดสอบเสาเข็มการออกแบบและทดสอบเสาเข็ม โดย ประเทือง อินคุ้ม International Engineering Consultants Co., Ltd.(IEC)

  2. ประเภทของเสาเข็มและการเลือกใช้ประเภทของเสาเข็มและการเลือกใช้ • เสาเข็มตอก • เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ • เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก • เสาเข็มเหล็ก • เสาเข็มไม้ • เสาเข็มเจาะ • เสาเข็มเจาะระบบแห้ง • เสาเข็มเจาะระบบเปียก

  3. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ(Prestressed Concrete Pile) • นิยมใช้ในปัจจุบัน • รับแรงโมเมนต์ดัดได้สูง • เสียหายจากการขนส่ง และยกตอก น้อย • มีผู้ผลิตหลายแห่ง

  4. เสาเข็มเจาะ • ระบบแห้ง (Dry Process) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.35 เมตร 0.45 เมตร และ 0.60 เมตร • ระบบเปียก (Wet Process) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8, 1.0, 1.2, 1.5, 1.8, 2.5 m

  5. ข้อพิจารณาในการเลือกใช้เสาเข็มข้อพิจารณาในการเลือกใช้เสาเข็ม

  6. การออกแบบเสาเข็มเดี่ยวการออกแบบเสาเข็มเดี่ยว • โครงสร้างของเสาเข็มต้องไม่รับแรงเกินขนาดที่ยอมให้ (The pile structure must not be over-stressed) • การรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มต้องมีค่าความปลอดภัยเพียงพอต่อการเฉือนพังของชั้นดิน (There must be an adequate factor of safety against a shear failure) • การทรุดตัวของเสาเข็มในสภาวะใช้งานต้องไม่มากกว่าค่าที่ยอมให้ (The settlement of pile subjected to the design load must be within tolerable limits)

  7. สิ่งที่ต้องคำนึง • แรงต่างๆที่กระทำต่อเสาเข็ม รวมถึงแรงฉุดลง อันเนื่องจากการทรุดตัวของดินรอบข้างเสาเข็ม • ความแข็งแรงของเสาเข็ม • สภาพชั้นดินและกำลังรับน้ำหนักของชั้นดิน • ค่าอัตราส่วนความปลอดภัย • วัสดุและรูปร่างของเสาเข็มตอก • การใช้งานเป็นเสาเข็มกลุ่มหรือเสาเข็มเดี่ยว • เครื่องมือที่ใช้ตอก • สภาพสิ่งแวดล้อมข้างเคียงพื้นที่ตอกเสาเข็ม

  8. กำลังรับน้ำหนักในแนวดิ่งกำลังรับน้ำหนักในแนวดิ่ง • ทฤษฎีของวิศวกรรมธรณีเทคนิค • ข้อมูลของชั้นดิน (Subsurface conditions) • พฤติกรรมของแรงยึดเหนี่ยวหรือแรงต้านทานระหว่างเสาเข็มและชั้นดิน (Pile/soil interaction Behavior)

  9. Axial compressive Load Capacity • Qu = Qb + Qs - Wp • Qu: กำลังรับน้ำหนักกดสูงสุด (Ultimate pile capacity) • Qb: กำลังรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่ปลายเสาเข็ม (Ultimate base or end-bearing capacity) • Qs: กำลังรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่ผิวเสาเข็ม (Ultimate skinfriction capacity) • Wp: น้ำหนักสุทธิของเสาเข็ม (weight of pile)

  10. ในชั้นดินที่มีความเหนียวต่ำหรือชั้นทราย (Cohesionless Soils) • Qb = Nq.s’vo.Ap • โดยที่ • Nq = ค่าสัมประสิทธิ์กำลังรับน้ำหนัก(A bearing capacity factor) รูปที่ 1 และ 2 • s‘vo = ค่าหน่วยแรงกดทับประสิทธิผล ในช่วงความลึกของเสาเข็มที่พิจารณา (Effective overburden pressure at pile base level) • Ap = พื้นที่หน้าตัดของเสาเข็ม(Cross sectional area of pile)

  11. ในสภาพดินเหนียว (cohesive soils) • Qb = Su.Nc + svo • โดยที่ • Su = ค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำที่ระดับปลายเสาเข็ม(average undrained shear strength at pile base) • Nc = ค่าสัมประสิทธิ์กำลังรับน้ำหนัก(a bearing capacity factor, 9 is used for deep foundation) • svo = ค่าหน่วยแรงกดทับรวม ที่ระดับปลายเสาเข็ม(total overburden pressure at pile base level)

  12. แรงเสียดทานตามผิวเสาเข็มแรงเสียดทานตามผิวเสาเข็ม • ในสภาพดินทราย (cohesionless soils) Qs = Ks.s’vo.tan d .As • ในสภาพดินเหนียว (cohesive soils)

  13. แรงฉุดลง (Negative Skin Friction, NSF)ที่กระทำต่อเสาเข็ม • NSF = b.s’vo • โดยที่ • b = สัมประสิทธ์ของแรงฉุด (an adhesion factor) ในชั้นดินเหนียวอ่อน ค่า b = 0.2 • s’vo = ค่าเฉลี่ยของหน่วยแรงกดทับประสิทธิผล ในช่วงความลึกของเสาเข็มที่พิจารณาในชั้นดินอ่อนที่มีแรงฉุด(average effective overburden pressure)

  14. กำลังรับน้ำหนักในแนวราบกำลังรับน้ำหนักในแนวราบ • พฤติกรรมการรับแรงด้านข้างของเสาเข็มมีความซับซ้อนมาก เพราะมีพฤติกรรมร่วมกัน ระหว่างคุณสมบัติความแข็งแรงของเสาเข็ม (Structural Stiffness of Pile) และกำลังรับแรงต้านทานด้านข้างของดิน (Passive Resistance of Soil) B. Brom (1964) ได้แบ่งพฤติกรรมของเสาเข็มรับแรงด้านข้างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พฤติกรรมของเสาเข็มสั้น และพฤติกรรมของเสาเข็มยาว

  15. (Ultimate Resistance of Short Rigid Pile, Hu)

  16. กำลังต้านทานด้านข้างประลัยในชั้นดินเหนียวกำลังต้านทานด้านข้างประลัยในชั้นดินเหนียว

  17. กำลังต้านทานด้านข้างประลัยในชั้นดินทรายกำลังต้านทานด้านข้างประลัยในชั้นดินทราย

  18. Ultimate Resistance of Flexible Pile, Hu

  19. Ultimate Lateral Resistance of Long Pile in Cohesive Soils

  20. Ultimate Lateral Resistance of Long Pile in Cohesionless Soils

  21. ลักษณะของ P-Y Curve ของดินเหนียวอ่อน

  22. การทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม

  23. การทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกสถิตศาสตร์ (Static Load Test) • สามารถให้ผลของ กำลังรับน้ำหนักบรรทุก (Pile Capacity) และค่าการทรุดตัว (Settlement) ในช่วงกำลังรับน้ำหนักที่แตกต่างกันได้

  24. การทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกแบบพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) • สามารถให้ผลของ กำลังรับน้ำหนักบรรทุก (Pile Capacity), ประสิทธิภาพของระบบการตอก (Hammer/Driving System Performance), แรงเค้นที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตอก (Driving Stress) และ ความสมบูรณ์ (Shaft Integrity) ของเสาเข็มได้

  25. การทดสอบกำลังรับน้ำหนักแบบสถิตย์ศาสตร์ (Static Load Test) • เป็นวิธีการที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุดในการหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม • ราคาที่สูงกว่าการทดสอบแบบอื่น ทำให้บางครั้งมีการจำกัดด้านปริมาณ และอาจเลือกวิธีทดสอบแบบอื่นที่นำมาปรับเทียบ (Calibrate) ร่วมกันเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและราคาที่เหมาะสมสำหรับโครงการนั้น • ปฏิบัติตามขั้นตอนและรายละเอียดต่างๆสอดคล้องตามมาตรฐาน ASTM D1143-94 และข้อกำหนดเฉพาะของโครงการนั้น (ถ้ามี) • การเริ่มทดสอบหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกฯทางสถิตศาสตร์ให้ทดสอบหลังจากการติดตั้งเสาเข็มทดสอบ (Load Test Pile) หรือเสาเข็มสมอ (Anchor Pile) เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดไม่น้อยกว่า 3-21 วัน • ตำแหน่งเสาเข็มทดสอบ (Load Test Pile) และเสาเข็มสมอ (Anchor Pile) ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางของเสาเข็มต้องไม่น้อยกว่า 5 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และต้องไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบของแรงเฉือนด้านข้างเข็มที่ใกล้กันเกินไปและมีทิศทางที่ตรงกันข้าม ทำให้ผลกำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่ทดสอบได้มีค่าผิดพลาดไป

  26. รายละเอียดของข้อกำหนดต่างๆในการทดสอบ เช่น จำนวนเสาเข็มที่ทดสอบ, ตำแหน่งเสาเข็มที่ทดสอบ, ขั้นตอน/วิธีการทดสอบพิเศษที่เพิ่มเฉพาะของโครงการ, น้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่ใช้ทดสอบ, วิธีการให้น้ำหนักบรรทุก, ระยะการทรุดตัวที่ยอมให้ และ/หรือ เกณฑ์การยอมรับเสาเข็มทดสอบที่เป็นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทั้งช่วงรับน้ำหนักบรรทุกทดสอบและหลังจากการนำน้ำหนักบรรทุกทดสอบออก (Re-bound) โดยให้ระบุโดยวิศวกรที่มีประสบการณ์

  27. วิธีปฏิบัติสำหรับการทดสอบหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม แบบรับแรงอัดทางสถิตศาสตร์ (Static Compressive Load Test) มีหลากหลายวิธี • เช่นการทดสอบแบบ “Quick Test” ซึ่งเป็นการทดสอบที่เพิ่มขั้นน้ำหนักบรรทุกทีละน้อยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อที่จะเสร็จสมบูรณ์และได้ผลการทดสอบอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนและรายละเอียดต่างๆสอดคล้องตาม ASTM D1143-94 ผลการทดสอบจะได้กราฟการทดสอบน้ำหนักบรรทุก (Load Test Curve) สำหรับการทดสอบแบบ “Quick Test” สามารถใช้ “Davisson Method” ประเมินหาความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของเสาเข็ม โดยเป็นกำลังรับน้ำหนักบรรทุกจุดที่ “Pile Elastic Stiffness Curve (PL/AE)” มีระยะออฟเซทออกไปจากกราฟการทดสอบน้ำหนักบรรทุก เป็นระยะ 1/120 ของเส้นผ่าศูนย์กลางเสาเข็มหรือด้านกว้าง,D (หน่วยฟุต) บวกด้วย 0.15 นิ้ว (ระยะออฟเซท เท่ากับ D/120+0.15 นิ้ว) ตัดกับกราฟการทดสอบน้ำหนักบรรทุกพอดี • วิศวกรธรณีเทคนิคอาจเลือกวิธีปฏิบัติสำหรับการทดสอบฯ และการแปลผลด้วยวิธีอื่นๆ ตามวิถีทางปฏิบัติทางวิศวกรรมที่เป็นที่ยอมรับ เมื่อเห็นว่าวิธีดังกล่าวมีความเหมาะสมกับลักษณะชั้นดิน, โครงสร้าง หรือเงื่อนไขเฉพาะในแต่ละโครงการ

  28. ทดสอบกำลังรับน้ำหนักแบบพลศาสตร์ (Dynamic Load Test-High Strain) • การทดสอบหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแบบรับแรงทางพลศาสตร์ และการวิเคราะห์เป็นการวัดค่าทางพลศาสตร์ในเสาเข็มภายใต้แรงกระแทก ขณะตอกเสาเข็ม หรือ หลังการตอก (Restrike) และ ใช้หลักการการเคลื่อนที่ของคลื่นความเค้นแบบอีลาสติกใน 1 มิติ การทดสอบเป็นแบบ High Strain Dynamic Test

  29. การทดสอบและวิเคราะห์ดังกล่าวให้ผลลัพธ์ของกำลังรับน้ำหนักบรรทุก, ประสิทธิภาพของระบบการตอก (Hammer/Driving System Performance), แรงเค้นที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตอก (Driving Stress) และ ความสมบูรณ์ (Shaft Integrity) ของเสาเข็มได้ • การทดสอบหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแบบรับแรงทางพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนและรายละเอียดต่างๆสอดคล้องตามมาตรฐาน ASTM D4945-89 และข้อกำหนดเฉพาะของโครงการนั้น (ถ้ามี)

  30. การทดสอบหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแบบรับแรงทางพลศาสตร์ ผลการทดสอบที่ได้จะเป็นกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่เวลาทดสอบใดๆ ซึ่งกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มในดินหลังการติดตั้งเสร็จมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาในช่วงแรกๆ ผลการเพิ่มหรือลดกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มหลังการตอกตามเวลาต่างกัน(Pile Setup or Relaxation) สามารถหาได้ด้วยการทดสอบแบบ Restrike ที่เวลาต่างๆกัน และสามารถรวบรวมทำเป็น Strength-gain curve ในโครงการนั้นๆ เพื่อควบคุมการติดตั้งเสาเข็มต้นอื่นๆที่มิได้ทดสอบให้ได้กำลังรับน้ำหนักบรรทุกตามออกแบบ

  31. Low Strain Dynamic Test • ให้ผลลัพธ์ของความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม (Pile Structural Integrity) เท่านั้น เป็นการวัดค่าทางพลศาสตร์ในเสาเข็มภายใต้แรงกระแทกด้วยค้อนยาง (Hand-Held Hammer) ที่หัวเสาเข็ม และ การวิเคราะห์ผลใช้หลักการการเคลื่อนที่ของคลื่นความเค้นแบบอีลาสติกใน 1 มิติเช่นกัน ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนและรายละเอียดต่างๆสอดคล้องตามมาตรฐาน ASTM D5882-96 และข้อกำหนดเฉพาะของโครงการนั้น (ถ้ามี)

More Related