1 / 33

พระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา. พุทธ. แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. คำสั่งสอนของผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ในสรรพสิ่งทั้งปวง. พุทธมามกะ. ผู้ประกาศตนนับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ. พระสงฆ์.

Download Presentation

พระพุทธศาสนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระพุทธศาสนา

  2. พุทธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คำสั่งสอนของผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ในสรรพสิ่งทั้งปวง พุทธมามกะ ผู้ประกาศตนนับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ พระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้

  3. ศาสดา “พระพุทธเจ้า” ประสูติ มีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งกรุงกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะถือกำเนิดในศากยวงศ์สกุลโคตมะพระองค์ประสูติใน วันศุกร์ ขึ้น 15  ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช80ปีณ สวนลุมพินีวัน

  4. อภิเษกสมรส เจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนม์16พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพาหรือ ยโสธรา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตา แห่งเทวทหะนคร ในตระกูลโกลิยวงศ์ เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพายโสธราจึงประสูติพระโอรสนามว่า “ราหุล” แปลว่า บ่วง

  5. ออกบรรพชา เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บคนตาย และบรรพชิต พระองค์จึงสังเวชพระทัยในชีวิตและพอพระทัยในเพศสมณะมีพระทัยแน่วแน่ที่จะทรงออกผนวช เพื่อแสวงหาทางดับทุกข์ถาวรพ้นจากวัฏสงสาร  พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวช โดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะพร้อมด้วยนายฉันนะเสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตและทรงมอบหมายให้นายฉันนะนำเครื่องอาภรณ์และม้ากัณฐกะกลับนครกบิลพัสดุ์

  6. ตรัสรู้ พระองค์ทรงตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน 6 ขณะพระชนมายุได้35พรรษานับแต่วันที่เสด็จออกผนวชจนถึงวันตรัสรู้ธรรม รวมเป็นเวลา 6 ปีพระธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คือ อริยสัจ 4 ( ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค)

  7. ประกาศพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดปัญจวัคคีย์ และสาวกอื่นๆ สำเร็จเป็นพระอรหันต์จำนวน60 รูปแล้วจึงมีพุทธบัญชาให้สาวกทั้ง 60รูป จาริกออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยให้ไปแต่เพียงลำพัง ส่วนพระองค์ก็จะเสด็จออกเทศนาประกาศพระธรรม ทำให้กุลบุตรในดินแดนต่างๆ หันมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและขอบรรพชา อุปสมบทเป็นอันมากพระพุทธศาสนาจึง หยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา

  8. ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจอยู่จนพระชนมายุ 80พรรษาในวาระนั้นพระพุทธองค์ทรงพระชราภาพมากแล้วทั้งยังประชวรหนัก พระพุทธองค์ได้แสดงปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ว่าด้วยความไม่ประมาท พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นอกเมืองกุสินารา

  9. พื้นฐานความเชื่อ  เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม  เชื่อผลของกรรม  เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน  เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

  10. คัมภีร์ พระไตรปิฎกติ + ปิฎก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด • พระวินัยปิฎกวินัยของภิกษุและภิกษุณี พิธีกรรมทางศาสนาและพุทธประวัติ • พระสุตตันตปิฎกพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า พระสาวก • พระอภิธรรมปิฎก หลักธรรมขั้นสูง

  11. คำสอน อริยสัจ 4คือ ความจริงอันประเสริฐ4 ประการ 1. ทุกข์ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ 2. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา 3. นิโรธสภาพที่จิตหมดตัณหา 4. มรรควิธีปฏิบัติให้บรรลุถึงความดับทุกข์ อริยสัจ 4 เป็นหัวใจแห่งพระพุทธศาสนาและมีความสำคัญที่สุด

  12. หลักปฏิบัติ ระดับมูลฐาน ระดับสูง ศีล 5 มรรคมีองค์ 8 ประการ 1. ห้ามฆ่าสัตว์ 1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ 2. ห้ามลักทรัพย์ 2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ 3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ 3. ห้ามประพฤติผิดในกาม 4. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ 4. ห้ามพูดเท็จ ส่อเสียด หยาบคาย เพ้อเจ้อ 5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ 5. ห้ามเสพของมึนเมา 7. สัมมาสติ ระลึกชอบ 8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

  13. จุดมุ่งหมายสูงสุด  สอุปาทิเสสนิพพาน  อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพาน คือ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งหมายถึง การดับไปของกิเลส

  14. นิกาย 1. นิกายเถรวาทหรือหีนยาน นิกายดั้งเดิม ยึดถือพระวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด เจริญอยู่ทางตอนใต้ของอินเดียและเอเชียใต้ 2. นิกายมหายานหรืออาจริยวาท นิกายที่แยกออกมาใหม่ ยึดถือหลักธรรม เจริญอยู่ทางตอนเหนือของอินเดียและธิเบต จีน เกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่น

  15. วันสำคัญ 1. วันวิสาขบูชา 2. วันอัฐฏมีบูชา 3. วันอาสาฬหบูชา 4. วันเข้าพรรษา 5. วันออกพรรษา 6. วันมาฆบูชา

  16. สัญลักษณ์ ธรรมจักร แปลว่า กงล้อแห่งพระธรรม สัญลักษณ์ธรรมจักรใช้แทนหลักธรรม คือ มรรคมีองค์ 8 กล่าวคือ ธรรมทั้งปวงในพระพุทธศาสนาเมื่อย่นย่อลงแล้วก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งรวมอยู่ในมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง

  17. ศาสนาอิสลาม

  18. อิสลาม แปลว่า การยอมจำนน การปฏิบัติตาม และการนอบน้อม เป็นศาสนาแห่งการยอมนอบน้อม จำนนต่อพระเจ้าคือ อัลลอฮ์ มุสลิม หมายถึง ผู้ที่นอบน้อมยอมจำนนต่อข้อบัญญัติของอัลลอฮ์นั่นก็หมายถึง ผู้ที่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม

  19. ศาสดา “ มุฮัมมัด ” มุสลิมจะเรียกว่า นบี หรือรอซูล นบี - ผู้ได้รับโองการและข้อบัญญัติต่างๆ จากอัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า รอซูล- ผู้ที่ทำหน้าที่นำบัญญัตินั้นออกเผยแพร่สู่บุคคลอื่นๆ

  20. ประวัติศาสดา เกิดที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย บิดาชื่อ อับดุลลอฮ์ และได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านอยู่ในครรภ์มารดา มารดาชื่อ อามีนะห์ และได้เสียชีวิตลงขณะที่ท่านมีอายุได้ 6 ขวบ ปู่ของท่านจึงรับเลี้ยงอุปการะและต่อมาก็อยู่ในความอุปการะของลุง ขณะเยาว์วัยท่านได้ดำรงชีวิตด้วยการเลี้ยงแกะในชนบทชานเมืองมักกะห์ เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มท่านได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำกองคาราวานสินค้าเดินทางค้าขายระหว่างเมืองต่างๆด้วยความซื่อสัตย์ จนได้รับฉายาว่า อัลอามีน

  21. เมื่ออายุ 25 ปี ท่านได้แต่งงานกับนางคอดีญะห์อายุ 40 ปี เมื่ออายุได้ 40 ปี ท่านเป็นนบีและรอซูล เพื่อรับข้อบัญญัติและนำคำสอนต่างๆ มาเผยแผ่ ในช่วงเริ่มแรกนั้นได้รับการต่อต้านและถูกทำร้ายอย่างหนักจากชาวกุเรชในนครมักกะห์ ท่านจึงให้ผู้ศรัทธาอพยพไปยังนครมะดีนะห์ และทำการเผยแพร่อิสลามที่นครมะดีนะห์เป็นเวลา 10ปี ท่านได้เสียชีวิตที่นครมะดีนะห์ ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 1176 รวมอายุได้ 63 ปีและศพของท่านถูกฝังอยู่ ณ นครมะดีนะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

  22. พื้นฐานความเชื่อ จักรวาลนี้ถูกสร้างโดยองค์อัลเลาะห์ พระองค์ทรงสร้างมนุษย์และได้ทรงกำหนดระยะเวลาให้มนุษย์ได้อยู่ในโลกนี้ แต่ขณะเดียวกันก็ทรงเปิดโอกาสให้มนุษย์มีอิสระ มุสลิมต้องศรัทธาอย่างบริสุทธิ์ ยอมรับในเอกภาพของอัลเลาะห์ และความเป็นศาสดาของนบีมุฮัมมัด

  23. คัมภีร์ أَلْقُرآن อัลกุรอาน แปลว่า การอ่าน หรือ การรวบรวม มีทั้งหมด 114 ซูเราะห์ แต่ละบทแบ่งเป็นวรรคสั้นยาว ไม่เท่ากัน เรียกว่า อายะห์ ซึ่งมีอายะห์ทั้งหมด 6,236 อายะห์ 1. หลักการศรัทธาต่ออัลเลาะห์ 2. พงศาวดารของประเทศชาติก่อนอิสลาม และคำพยากรณ์ 3. นิติบัญญัติ

  24. คำสอน หลักการศรัทธา6ประการ 1. การศรัทธาว่าอัลลอฮ์ทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียว 2. การศรัทธาต่อบรรดาเทวทูต 3. การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ 4. การศรัทธาต่อบรรดานบีและรอซูล 5. การศรัทธาต่อวันสิ้นโลกและวันพิพากษา 6.  การศรัทธาต่อสภาวะการณ์

  25. หลักปฏิบัติ 5 ประการ 1. การปฏิญาณตน 2. การละหมาด หรือ การนมัสการ 3. การถือศีลอด 4. การบริจาคทรัพย์ชะกาต 5. การประกอบพิธีฮัจญ์

  26. จุดมุ่งหมายสูงสุด การประกาศเปิดเผยเอกภาพของพระเจ้าและส่งเสริมให้มอบตัวตามพระประสงค์ของพระองค์ชีวิตในโลกนี้มีเพียงครั้งเดียว การเชื่อฟังในพระเจ้าและศาสนทูต โดยการกระทำตามความเชื่อ 6ประการ เพื่อการได้อยู่เป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้าในสวรรค์

  27. นิกาย 1. นิกายซุนนี 2. นิกายชีอะห์ 3. นิกายซูฟี 4. นิกายวาฮาบี 5. นิกายอิสมาอีลียะห์ 6. นิกายคอวาริจ

  28. วันสำคัญ 1. วันอีด 2. วันอีดิลฟิตรฺ 3. วันอีดิลอัฎฮา 4. วันขึ้นปีใหม่ 5. วันเกิดของศาสดามุฮัมมัด (เมาลิด อัน นบี)

  29. สัญลักษณ์ รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวและมีดาวอยู่ข้างบนนั้น ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนา แต่เป็นเครื่องหมายของอาณาจักรอ๊อตโตมานเตอร์ก ซึ่งบรรดาประเทศมุสลิมเคยอยู่ในอำนาจของอาณาจักรนี้ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ในฐานะเป็นชนชาติมุสลิมเหมือนกันสืบมา

  30. ตารางเปรียบเทียบระหว่างตารางเปรียบเทียบระหว่าง พระพุทธศาสนากับศาสนาอิสลาม

  31. ศาสนา พระพุทธศาสนา อิสลาม หัวข้อ ประเภท อเทวนิยม เทวนิยม ศาสดา พระพุทธเจ้า มุฮัมมัด • กรรม • ผลของกรรม • มีกรรมของตน • ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระอัลเลาะห์เป็นผู้สร้างโลก และกำหนดชะตาชีวิตมนุษย์ ความเชื่อ อัลกุรอาน คัมภีร์ พระไตรปิฎก คำสอน ศรัทธา 6 อริยสัจ 4

  32. ศาสนา พระพุทธศาสนา อิสลาม หัวข้อ ระดับมูลฐาน : ศีล 5 หลักการปฏิบัติ 5 ประการ หลักปฏิบัติ ระดับสูง : มรรคมีองค์ 8 จุดมุ่งหมาย อาณาจักรพระเจ้า นิพพาน • ซุนนี 4. วาฮาบี • ชีอะห์ 5. อิสมาอีลียะห์ • ซูฟี 6. คอวาริจ • เถรวาท • มหายาน นิกาย พระจันทร์ครึ่งเสี้ยวและมีดาวอยู่ข้างบน สัญลักษณ์ ธรรมจักร

  33. จงเตือนสติพี่น้องของเจ้าด้วยความดี และจงให้เขาห่างไกลความชั่วด้วยการอภัย อิมามอะลี (อ.) รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ ํ ลวณํ โลณตํ ยถา พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม

More Related