1 / 17

การใช้งาน Session

การใช้งาน Session. ธี ระ พงษ์ แสงรักษาวงศ์. Session.

hedwig
Download Presentation

การใช้งาน Session

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้งาน Session ธีระพงษ์ แสงรักษาวงศ์

  2. Session Session ถือเป็นตัวแปรชนิดหนึ่ง แต่เป็นตัวแปรที่แตกต่างกับตัวแปรชนิดอื่น ๆ เช่น String ,Integer ซึ่ง ขอบเขตของตัวแปรทั่วไป จะมีลักษณะเป็น Local ส่วนตัวแปร ชนิด Session จะมีลักษณะเป็น Global นั่นคือ ประกาศตัวแปรเพียงครั้งเดียว สามารถเรียกใช้ที่ใด ก็ได้ โดยที่ข้อมูลจะยังคงอยู่ตลอดเวลาใช้งาน เว้นแต่จะปิด Browser หรือยกเลิกการใช้งานตัวแปร Session

  3. Session • เซสชั่น(Session) หรือเรียกเต็มว่า เว็บเซสชั่น(Web Session) คือ สิ่งที่ไคลเอนต์ (Client) สร้างขึ้นมาเมื่อเปิดเว็บบราวเซอร์และติดต่อมายังเว็บเซิฟเวอร์ผ่านทางยูอาร์แอล(URL) ของเว็บไซต์ เมื่อไคลเอนต์ทำการปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เซสชั่นก็จะถูกทำลายหรือปิดลง ในกรณีที่ผู้ให้บริการเว็บไซต์ต้องการนำข้อมูลที่เกิดจากเซสชั่นที่ติดต่อเข้ามาไปใช้ จะต้องเขียนชุดคำสั่งเพื่อเก็บข้อมูล (Data) ของเซสชั่นที่สนใจไว้ในฐานข้อมูล

  4. Session • สาเหตุประการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลเซสชั่น(Session) ของไคลเอนต์ก็เพราะ โปรโตคอลที่ใช้เพื่อการติดต่อกับเว็บไซต์ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ HTTP เป็นโปรโตคอลที่ไม่มีการเก็บสถานะของตนเอง (Stateless)ทำให้ยากในการที่จะเก็บข้อมูลของแต่ละการเชื่อมต่อที่เข้ามายังเว็บไซต์ได้ ดังนั้น ในภาษาสำหรับการพัฒนาเว็บหลายๆ ภาษาจึงมีแนวคิดที่จะเก็บสถานะ รวมถึงข้อมูลการเชื่อมต่อของลูกข่ายแต่ละเครื่องที่ติดต่อเข้ามาที่เว็บไซต์เอาไว้ โดยจะนำข้อมูลการเชื่อมต่อดังกล่าวมาจัดเก็บไว้ในตัวแปร หรือบันทึกลงตารางข้อมูล • จากแนวคิดดังกล่าวของ Session ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถสืบค้นได้ว่าการติดต่อที่เกิดกับระบบเกิดจากลูกข่าย หรือเครือข่ายใด

  5. ประโยชน์ของ Session การนำเซสชั่นมาใช้กับการพัฒนาเว็บไซต์ หรือเว็บไซต์เชิงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยให้ผู้ดูแลเว็บดังกล่าวสามารถติดตาม และตรวจสอบผู้ใช้ที่เข้ามาติดต่อกับเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นได้

  6. การนำ Session ไปใช้ การนำเซสชั่นไปใช้มักอยู่ในรูปของ • การทำระบบ Login สำหรับสมาชิก • การจำกัดการเข้าถึงหน้าเว็บต่างๆ โดยผู้ที่ไม่ผ่านกระบวนการล็อกอิน หรือไม่มีสิทธิในระบบ จะทำให้ค่าของ Session ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขสำหรับการเข้าถึงเพจดังกล่าว • การเก็บข้อมูลของสิ่งที่ผู้ใช้เลือก เช่น รายการสินค้าในรถเข็น (Shopping Cart)

  7. ภาษาพีเอ็ชพีกับเซสชั่นภาษาพีเอ็ชพีกับเซสชั่น ภาษาพีเอ็ชพี (PHP) ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง มีคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งคือมีการพัฒนาฟังก์ชั่นที่สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเซสชั่น โดยเริ่มมีตั้งแต่ PHP version 4 กระบวนการในการทำงานกับเซสชั่นด้วยพีเอ็ชพี ประกอบด้วย • เริ่มต้นเซสชั่น • ลงทะเบียนตัวแปร Session • ใช้ตัวแปร Session • ยกเลิก Session ที่ลงทะเบียนไว้ • ลบ Session

  8. การเริ่มต้น Session • การเริ่มต้น Session ในภาษาพีเอ็ชพี (PHP) จะใช้ฟังก์ชั่น session_start( ); • รูปแบบคำสั่ง session_start( );

  9. ตัวอย่าง ไฟล์ session_start.php <?php session_start( ); echo "<center>"; echo "หมายเลข sessionของคุณคือ ",session_id( ); ?>

  10. ผลการทำงานของไฟล์ session_start.php *** Session ID :คือ หมายเลขประจำตัว หรือหมายเลขของเซสชั่นที่เซิฟเวอร์ ส่งมาให้ไคลเอนต์ โดยอาศัยคำสั่งพีเอ็ชพี

  11. การลงทะเบียน Session การลงทะเบียน Session ในภาษาพีเอ็ชพี (PHP) ช่วยให้สามารถนำค่าต่างๆ ที่เก็บโดย Session ไปใช้กับส่วนอื่นๆ หรือเพจอื่นๆ ได้ ซึ่งการลงทะเบียน หรือ Register Session นี้ จะใช้วิธีการประกาศตัวแปร Session ดังนี้ รูปแบบคำสั่ง $_SESSION[‘ชื่อเซสชัน’];

  12. ตัวอย่าง :การลงทะเบียนเซสชั่น และนำค่าเซสชั่นไปใช้ไฟล์ regis_session1.php <?php session_start(); $myfood =“Coffee”; $_SESSION['myfood'] = $myfood; ?>

  13. การล้างค่าใน Session • การล้างค่าใน Session จะใช้คำสั่ง unset( ) ตามรูปแบบต่อไปนี้ • รูปแบบคำสั่ง unset($_SESSION[‘ชื่อเซสชั่น’]); ตัวอย่าง :การล้างค่าในเซสชั่นmyfood unset($_SESSION[‘myfood’]);

  14. การปิด Session การปิดเซสชั่นคือกิจกรรมสุดท้ายหลังเสร็จสิ้นการใช้งาน Session โดยการปิด หรือทำลายเซสชั่นจะใช้คำสั่ง session_destroy( ) ตามรูปแบบต่อไปนี้ • รูปแบบคำสั่ง session_destroy( );

  15. คำถามท้ายบท 1) จงอธิบายคำสั่งเกี่ยวกับเซสชั่นของภาษาพีเอ็ชพีมาพอสังเขป 2) ถ้าไม่ทำการ Start Session ก่อนจะลงทะเบียน Session ได้หรือไม่ 3) ถ้าไม่ทำการลบ Session จะทำให้เกิดอะไรขึ้น ? 4) คำสั่ง session_start() ควรอยู่ตำแหน่งใดในไฟล์ .php? 5) ท่านจะนำ session ไปประยุกต์ใช้กับ project ของท่านหรือไม่ หากใช่ จะนำไปใช้กับส่วนใดของ project

  16. จงออกแบบหน้าจอสำหรับ Login โดยให้ระบุ USER Name และ Password หากถูกต้อง ให้ทำการลงทะเบียน Session สำหรับตัวแปร Username • โดยให้กำหนด username กับ password แล้วให้นำค่าที่ได้จากการกรอกฟอร์ม Login มาเปรียบเทียบ • หากกรอกข้อมูลผิดพลาด ให้กลับไปกรอกข้อมูลใหม่ • หากกรอกข้อมูลถูกต้อง ให้แสดงข้อความต้อนรับ พร้อมลิงค์สำหรับล้าง Session • เพจสำหรับล้าง Session ให้ทำการ Destroy Session แล้ว ทำลิงค์กลับไปหน้าหลัก

  17. ยินดีต้อนรับ…… ล้างข้อมูลแล้ว กลับไปกรอกข้อมูลใหม่ <<<<

More Related