1 / 37

ใบความรู้ เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน

ใบความรู้ เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน. คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน. การเขียนเสนอรายงานโครงงาน.

Download Presentation

ใบความรู้ เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ใบความรู้ เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน การเขียนเสนอรายงานโครงงาน โครงงานบางประเภท เมื่อเสนอร่างโครงงานว่าจะดำเนินการอย่างไร และดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเสนอรายงานโครงงาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทราบหรืออย่างน้อยก็ต้องรายงานผลให้ครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาโครงงานตรวจ เพื่อทำการประเมินผล โครงงานที่จะต้องรายงาน ได้แก่ - โครงงานประเภทการทดลอง - โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล - โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรืออธิบาย ส่วนโครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์ ผู้ทำโครงงานจะต้องนำชิ้นงานหรือโครงงานที่ประดิษฐ์เสร็จเรียบร้อยแล้วนำส่งด้วย แล้วลำดับขั้นตอนในการเขียนรายงานมีอะไรบ้างนะ

  2. รูปแบบของการเสนอรายงานโครงงานรูปแบบของการเสนอรายงานโครงงาน รูปแบบของการเสนอรายงานโครงงาน ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้ 1. ส่วนประกอบตอนต้น เป็นส่วนประกอบแรกของการเสนอรายงานโครงงานประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ดังนี้ 1.1 ปกนอก ปกนอกของการเสนอรายงานโครงงานเป็นส่วนที่อยู่ส่วนนอกสุดจะใช้ปกแข็งหรือปกอ่อนก็ได้ตามความเหมาะสม ปกนอกจะมีข้อความ ดังนี้ - ชื่อโครงงาน ชื่อเรื่องโครงงาน - ชื่อของผู้จัดทำโครงงาน (ถ้าทำเป็นกลุ่ม เขียนเป็นบรรทัดเรียง กันลงมา) - ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา - ชื่อโรงเรียน ภาคเรียนและปีการศึกษาที่ทำโครงงาน ส่วนที่อยู่ถัดจากปกนอกด้านหน้าของการเสนอรายงานโครงงานจะเป็น ปกใน ซึ่งมีเนื้อความเหมือนปกนอกแต่ใช้กระดาษปกอ่อน สำหรับปกหลังนั้นไม่ควรจะมีข้อความใดๆ ทั้งสิ้น ปกอย่างผม ดูดีไหมครับ ผมด้วยครับ

  3. 1.2 บทคัดย่อ เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดถัดจากปกใน เป็นข้อความสรุปเนื้อหาของโครงงานทั้งหมด โดยที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งในบทคัดย่อจะต้องประกอบด้วย - จุดประสงค์ในการทำโครงงาน - วิธีดำเนินการ - ผลการดำเนินงานโดยย่อ - การนำผลการดำเนินงานไปประยุกต์ใช้ การเขียนบทคัดย่อจะใช้ความยาวอยู่ที่ ของหน้ากระดาษ A4 และจะเขียนได้ก็ต่อเมื่อการทำโครงงานสิ้นสุดลงแล้ว เพราะต้องนำผลการดำเนินงานมาสรุปในบทคัดย่อ บทคัดย่อที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1) มีความถูกต้อง เนื้อหาของบทคัดย่อต้องถูกต้อง สอดคล้องกับเนื้อหาที่ปรากฏในรายงาน 2) มีความสมบูรณ์ มีเนื้อหาครอบคลุม ครบถ้วน ตามกระบวนการในการจัดทำโครงงาน ให้ผู้อ่านได้รับความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานในการทำโครงงาน ตั้งแต่ต้นจบอย่างคร่าวๆ 3) มีความกระชับ ให้ข้อมูลตรงตามความหมายมากที่สุด ไม่เยิ่นเย้อ ไม่อธิบายรายละเอียดมากจนเกินไป 4) ให้ข้อเท็จจริง เนื้อหาของบทคัดย่อ เป็นการให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นจริง 5) มีความน่าอ่าน ควรเขียนเป็นความเรียง ไม่แบ่งเป็นข้อๆ เรียบเรียงด้วยภาษาที่สละสลวย ถูกต้องตามหลักวิชาการและหลักการใช้ภาษา ใช้ประโยคบอกเล่าและเป็นประโยคสมบูรณ์ แบ่งเนื้อหาออกเป็นย่อหน้าตามความเหมาะสม ไม่ใช้คำย่อที่ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่ยกตัวอย่างข้อความที่ไม่จำเป็น สูตร ตาราง หรือรูปกราฟ เป็นต้น

  4. 1.3 คำนำ เป็นการกล่าวถึงสาเหตุของการศึกษาโครงงาน ความเป็นมาของการศึกษาโครงงาน จุดเด่นของการศึกษาโครงงาน การศึกษาโครงงานมีประโยชน์อย่างไร ตัวอย่าง การเขียนคำนำ คำนำ รายงานนี้เป็นโครงงานที่คณะผู้จัดทำได้ช่วยกันคิดหาวิธีแก้ปัญหาด้วยการทำโครงงาน “การปลูกพืชด้วยพืช” และได้ลงมือปฏิบัติ เมื่อพบปัญหาได้ช่วยกันคิดและแก้ไขปัญหาการทำโครงงานนี้จึงเป็นการได้รับความรู้จากการปฏิบัติจริง เป็นการฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองจากข้อมูลที่มีอยู่ คณะผู้จัดทำ

  5. 1.4 กิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนที่ให้ผู้ทำโครงงานแสดงความขอบคุณผู้ให้ความร่วมมือ ให้คำแนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือในการทำโครงงาน ทำให้การทำโครงงานสำเร็จลุล่วงไปได้ดี ถือเป็นมารยาทที่ผู้ทำโครงงานควรปฏิบัติ ควรเขียนเป็นความเรียงเหมือนบทคัดย่อ และควรมีข้อความไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ตัวอย่าง การเขียนกิตติกรรมประกาศ กิตติกรรมประกาศ คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สุพัตรา แดงสง่า ที่กรุณาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน โดยเฉพาะรูปแบบของรายงานโครงงานที่ถูกต้อง ขอขอบคุณ คุณพ่อของเด็กชายปิยวัฒน์ โพธิ์นิล ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการทดลอง ขอขอบคุณเพื่อนร่วมโครงการทุกคนที่ช่วยกันจัดทำโครงงาน “ปลูกพืชด้วยพืช” จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี คณะผู้จัดทำ

  6. 1.5 สารบัญ เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้อ่านเห็นเค้าโครงของโครงงาน และยังช่วยให้ค้นหาหัวข้อแต่ละหัวข้อได้สะดวกขึ้น โดยทั่วไปการเขียนสารบัญจะแบ่งออกเป็นบทๆ หรือเป็นตอนๆ เรียงตามลำดับเนื้อหา และแต่ละบทยังแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก พร้อมระบุเลขหน้ากำกับไว้ด้วย 1.6 สารบัญตาราง หากโครงงานที่นักเรียนทำนั้นมีตารางต้องนำเสนอข้อมูลก็ควรจะมีการเสนอสารบัญตารางด้วย เพื่อให้สะดวกในการค้นหาข้อมูลในตาราง และในการเขียนสารบัญตารางจะมีลักษณะคล้ายๆ กับสารบัญเนื้อหา คือมีเลขที่ตารางและเลขหน้าตาราง

  7. ตัวอย่าง การเขียนสารบัญ สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญตาราง ง สารบัญภาพ จ บทที่ 1 บทนำ 1 ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า บทที่ 2เอกสาร บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการศึกษา อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ วิธีการศึกษา บทที่ 4 ผลการศึกษา บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก

  8. 2. ส่วนที่เป็นตัวรายงานหรือเนื้อเรื่อง จะเป็นการนำเสนอตั้งแต่เริ่มทำหรือศึกษาโครงงาน ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนของผู้เรียน หรือง่ายต่อการเสนอของผู้เสนอรายงานโครงงาน โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 บท ดังนี้ 2.1 บทที่ 1 บทนำ เป็นบทแรกของการนำเสนอรายงานโครงงาน และเป็นการกล่าวนำถึงสาเหตุของการสนใจทำโครงงานนี้ ว่าทำแล้วจะได้อะไร มีประโยชน์อย่างไร เป็นต้น ซึ่งบทนำนี้จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เป็นการนำเสนอให้เห็นปัญหาของการทำโครงงาน ว่าผู้ทำโครงงานมีปัญหาอย่างไร ต้องการทราบคำตอบหรืออยากรู้ในเรื่องใดถึงได้ทำโครงงานนั้น มีแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจอย่างไร ผู้ทำโครงงานต้องเขียนเป็นความเรียงบรรยาย ให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามว่าโครงงานที่ทำมีความน่าสนใจ น่าศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ มีประโยชน์และมีคุณค่าสมควรแก่การศึกษาค้นคว้า ดังตัวอย่างการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน เรื่อง การศึกษาวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการปลูกพืชทางหลักการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์แทนฟองน้ำ

  9. ตัวอย่าง การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน เรื่อง การศึกษาวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการปลูกพืชทางหลักการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์แทนฟองน้ำ บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน จากกากรที่โรงเรียนของข้าพเจ้ามีการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์หรือปลูกพืชไร้ดินซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ไปศึกษาเรียนรู้จากรุ่นพี่พบว่าการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ มีข้อดีคือ ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการปลูกมากและมีวิธีการปลูกหลายรูปแบบ เช่น การวางแนวแบบขั้นบันได เป็นต้นอีกทั้งยังปลอดภัยจากแมลงศัตรูพืชที่มากัดกินพืชเพราะใช้ผ้ามุ้งคลุมพืช จากการที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษา สังเกตสอบถามกระบวนการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์พบว่าต้องใช้โฟมเพื่อให้รากลอยส่วนฟองน้ำใช้อนุบาลเมล็ดในการเพาะกล้าซึ่งรากจะสามารถผ่านทะลุฟองน้ำออกมาได้ง่าย เมื่อพืชถึงระยะเก็บเกี่ยวจะต้องตัดรากที่อยู่ในฟองน้ำที่อยู่บริเวณรากจะไม่สามารถกลับมาใช้ต่อได้อีก ฟองน้ำเหล่านี้ถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่ถ้าสะสมต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเพิ่มปริมาณขยะที่ย่อยสลายยากซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะทางดินและทางอากาศต่อไป ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้ามีแนวคิดที่จะนำวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่มากในชุมชน ซึ่งเป็นพืชที่มีลักษณะโครงสร้างภายในคล้ายฟองน้ำและดูดซับน้ำได้ เช่น ผักตบชวา ต้นธูปฤาษี และ ฟองน้ำ มาทำการทดลองหาประสิทธิภาพในการเพาะเมล็ดพืช เพื่อมาใช้แทนฟองน้ำเพื่อลดการทิ้งขยะที่ย่อยสลายยากยังช่วยลดมลพิษทางดินและทางอากาศ พวกเราก็มาแล้ว........

  10. 2. จุดประสงค์ของการทำโครงงาน เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าผู้ทำโครงงาน มีความต้องการอย่างไรในการทำโครงงาน ต้องการทราบคำตอบ หรือต้องการแก้ปัญหาในเรื่องใด จุดประสงค์ของโครงงานควรบอกเป็นข้อๆ เช่น - เพื่อศึกษาว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตรใดมีส่วนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของผักกาดแก้ว - เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างปุ๋ยสูตร 13 – 13 – 21 และปุ๋ยสูตร 15 – 15 - 15 - เพื่อศึกษาวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการปลูกพืชทางหลักการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์แทนฟองน้ำ 3. สมมติฐานของการศึกษาโครงงาน เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงคำตอบ หรือสาเหตุของปัญหา ว่าคำตอบของปัญหาน่าจะเป็นอย่างไร หรือปัญหาที่ต้องการศึกษานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร โดยปกติการตั้งสมมติฐานนี้จะใช้กับโครงงานประเภทการทดลอง ที่มีการจัดกระทำกับตัวแปรโครงงานประเภทอื่นๆ จะมีหรือไม่มีสมมติฐานก็ได้ 4. ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติโครงงานอาจจะต้องมีการระบุถึงตัวแปรเหล่านี้ ได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม การที่เราตัวมีขนสีชมพู เราจะตั้งสมมติฐานว่าอะไรดีเอ่ย

  11. 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการกล่าวถึงผลของการศึกษาโครงงานชิ้นนี้ว่าจะช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง มีประโยชน์อย่างไร เป็นต้น 6. ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าโครงงาน ในการทำโครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล โครงงานประเภทการทดลองหรือโครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรืออธิบาย บางครั้งจะต้องมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาโครงงาน เช่น อาจจะศึกษาข้อมูลเฉพาะในโรงเรียนของตนเองที่เรียนอยู่ ขอบเขตที่จะศึกษาก็จะกำหนดเฉพาะในโรงเรียนเท่านั้นและจะไม่เกี่ยวกับโรงเรียนอื่น จะไม่ใช้ข้อมูลจากโรงเรียนอื่น เป็นต้น 7. คำนิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการศึกษาโครงงาน เป็นการให้คำนิยามของศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการศึกษาโครงงานเท่านั้น เพื่อเป็นการสื่อความหมายให้ตรงกัน เช่น นักเรียนโรงเรียนองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ศึกษาโครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล เรื่อง ความต้องการของนักเรียนโรงเรียนองครักษ์ต่อการใช้โรงอาหารเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ดังนั้นคำว่า นักเรียน หมายถึง นักเรียนโรงเรียนองครักษ์เท่านั้น ไม่ใช่นักเรียนโรงเรียนอื่นๆ ลักษณะอย่างนี้เป็นการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการศึกษาโครงงาน

  12. 2.2 บทที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นบทที่ต้องกล่าวถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ในการศึกษาเรื่องที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่ 2.3 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ ขั้นตอนนี้เป็นการนำเสนอการลงมือปฏิบัติงานทั้งหมด หลังจากการวางแผนดำเนินงาน และศึกษารายละเอียดของเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนนี้อาจแยกออกได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี นักเรียนต้องแจ้งรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองได้แก่อะไรบ้าง หากสามารถบอกรายละเอียดของอุปกรณ์ได้ ก็ควรระบุลงไปด้วยว่ามีขนาดเท่าใด จำนวนเท่าใด ผลไม้เหล่านี้ นำไปทดลองได้ไหมค่ะเด็กๆๆ

  13. 2. วิธีดำเนินการทดลอง นักเรียนต้องอธิบายขั้นตอนการทดลอง หรือขั้นตอนการดำเนินการอย่างละเอียด ชัดเจน ว่ามีการดำเนินการอย่างไร หากโครงงานนั้นมีการทดลองมากกว่า 1 การทดลอง ควรแจ้งกรอบการทดลองให้ทราบก่อนว่า โครงงานนั้นมีการทดลองกี่การทดลอง เรื่องใดบ้างเช่น นักเรียนทำโครงงาน เรื่อง น้ำฟักทอง ซึ่งนักเรียนต้องการทราบ ชนิดของฟักทองที่เหมาะสมในการทำน้ำฟักทอง อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างน้ำฟักทอง อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างน้ำฟักทอง : น้ำตาลซูโครส และอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างน้ำฟักทอง : เกลือแกง รวมทั้งหมด 4 เรื่อง ดังนั้นโครงงานนี้จึงประกอบด้วยการทดลอง 4 การทดลอง 3. ผลการทดลอง เป็นการนำเสนอที่ได้จากการทดลอง ว่ามีผลเป็นอย่างไร การนำเสนอผลการทดลองนั้น นักเรียนต้องนำเสนอผลการทดลองที่ให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยปกติการนำเสนอผลการทดลอง มักจะนำเสนอในรูปแบบของตารางบันทึกผล ออกแบบตารางได้ไหมจ๊ะเด็กน้อย 4. สรุปผลการทดลอง เป็นการเปรียบเทียบผลการทดลองแต่ละครั้ง หรือแต่ละชนิด (ตัวแปรต้น) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร พร้อมลงความเห็นว่า ผลการทดลองครั้งใดมีค่าดีที่สุด แต่ในการทำโครงงานนั้น นักเรียนที่ทำโครงงานลงเฉพาะข้อมูลที่เป็นผลการทดลอง ยังไม่ต้องสรุปผลการทดลอง ทั้งนี้เพื่อนำผลการทดลองไปอภิปรายในบทที่ 4 แล้วจึงสรุปผลการทดลอง แล้วแบบนี้จะสรุปผลการทดลองอย่างไรกัน

  14. 2.4 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำเสนอผลที่ได้จากการทดลอง ว่ามีผลเป็นอย่างไร การนำเสนอผลการทดลองนั้น นักเรียนต้องนพเสนอผลการทดลองที่ใช้ผู้อ่านเข้าใจง่ายที่สุด โดยปกติการนำเสนอผลการทดลอง มักจะนำเสนอในรูปแบบของตารางบันทึกผล ดังนั้น นักเรียนจึงต้องมีความเข้าใจ และมีทักษะ ในการออกแบบตารางบันทึกผล รวมถึงการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ตามชุดการเรียนรู้ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล 2.5 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นการเปรียบเทียบผลการทดลองแต่ละครั้ง หรือแต่ละชนิด (ตัวแปรต้น) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร พร้อมลงความเห็นว่า ผลการทดลองครั้งใดมีค่าดีที่สุด จึงเป็นการสรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากบทที่ 4 แล้วอภิปรายผลและเสนอแนวทางการนำไปใช้ ตลอดทั้งเสนอแนะข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือสิ่งที่ควรจะศึกษาเพิ่มเติมในครั้งต่อไป เป็นต้น

  15. 3. ส่วนประกอบตอนท้าย เป็นส่วนประกอบท้ายของการเสนอรายงานโครงงานประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้ 3.1 บรรณานุกรม คือการรวบรวมรายชื่อวัสดุสารนิเทศทุกประเภทที่ผู้ทำโครงงานได้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงในการเขียนบรรณานุกรม รูปแบบของการเขียนบรรณานุกรม ก. หนังสือ ชื่อผู้เขียน. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. ตัวอย่าง ยุทธไกยวรรณ์. พฤติกรรมการสอนช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, 2540. วรรณทิพา รอดแรงค้า. การสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.), 2544.

  16. ข. บทความในวารสาร ชื่อผู้เขียน. “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) : เลขหน้า ; วัน (ถ้ามี) เดือน ปี. ตัวอย่าง ชัชวาล โอสถานนท์. “บทบรรณาธิการ” วารสารประชากรศึกษา. 4 :1-4 ; กุมภาพันธ์ 2520. เอื้อมพร คำนวณศิลป์. “น้ำกับความขัดแย้ง” วารสาร กฟผ. 5 : 45-51 ; กรกฏาคม - กันยายน 2540. ค. คอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ ชื่อผู้เขียน. “ชื่อคอลัมน์ : ชื่อเรื่องในคอลัมน์” ชื่อหนังสือพิมพ์. วัน เดือน ปี หน้า ตัวอย่าง ลิขิต ธีรเวคิน. “จอดป้ายประชาชื่น : ประเทศกำลังพัฒนาและทางเลือก” มติชน. 7 กุมภาพันธ์ 2530. หน้า 6. ลม เปลี่ยนทิศ. “หมายเหตุประเทศไทย : ตั้งเวลาไทยเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง” ไทยรัฐ. 19 กรกฏาคม2544. หน้า 5.

  17. ง. การสัมภาษณ์บุคคล ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี). สัมภาษณ์ วัน เดือน ปี. ตัวอย่าง ยุทธไกยวรรณ์. สัมภาษณ์ 14 มกราคม 2552. ธีรยุทธ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. ประธานกรรมการประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สัมภาษณ์ 12 ตุลาคม 2552” จ. ข้อมูลจากเว็บไซต์ ผู้แต่ง. ปีที่สืบค้น. ชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : ชื่อ URL. วัน เดือน ปี ที่สืบค้น ตัวอย่าง พัชรา แสงศรี. 2552. จังหวัดเชียงใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://travel.mweb.co.th/ north/Chiangmai/index.html. 12 มกราคม 2552

  18. เกร็ดความรู้ ในการเขียนบรรณานุกรมของข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์มีจุดที่ต้องใช้ดังนี้ ชื่อผู้แต่ง  คือชื่อผู้เขียนเรื่องนั้น  เรียงตามลำดับตัวอักษร ชื่อเรื่อง   คือชื่อเรื่อง หัวข้อที่แสดง แบบไทยทำตัวเอียงด้วยนะ แหล่งที่มา URLคือ URL หรือ IP ADDRESS ทั้งหมดในช่อง ADDRESS (เว็บไซต์นั้นแหละ) จะยกมาเฉพาะชื่อ web site ไม่ได้ แบบไทย อย่าลืม ใส่ (ออนไลน์). ด้วย ปีที่พิมพ์    ต้องกำหนดปีที่พิมพ์ หรือปีที่ข้อมูล ข้อความ ใน webpage นั้นupdate  ซึ่งหาได้จาก Home Page ของ website นั้น   ปีที่พิมพ์นี้ (เช่น วันที่เขียน เอนทรี่นี้) ไม่ใช่ปีที่เราพบข้อความทาง Internet วันเดือนปีที่สืบค้นให้ใส่วันที่เวลาค้นเจอเว็บด้วย เพื่อว่าจะได้มีเวลาเป็นหลักฐาน เจอเมื่อไหร่

  19. หลักปฏิบัติ ในการลงรายการบรรณานุกรมแต่ละรายการมีหลักปฏิบัติดังนี้ 1. ให้ชื่อผู้แต่งชิดขอบซ้าย หากไม่พอในบรรทัดเดียวในบรรทัดต่อไปให้ย่อหน้ามา 6 ตัวอักษร หรือเท่ากับ 1tab 2. ถ้ามีเอกสารหลายรายการ ให้เรียงชื่อผู้แต่งตามลำดับตัวอักษรจาก ก - ฮ หรือ A – Z กรณีที่เป็นเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ 3. หากชื่อผู้แต่งเป็นพยัญชนะซ้ำกัน ให้เรียงลำดับตามพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ที่ใช้สะกด 4. ในการเขียนรายการเริ่มจากเอกสารที่เป็นรายการภาษาไทย (ก – ฮ) ตามด้วยรายการเอกสารภาษาอังกฤษ (A –Z) และเอกสารอ้างอิงจากเว็บไซต์ ตามลำดับ 3.2 ภาคผนวก ในการเสนอรายงานโครงงานจะมีหรือไม่มีก็ได้ เป็นการกล่าวถึงข้อความ หรือข้อมูลบางอย่างที่นอกเหนือไปจากการศึกษาโครงงาน แต่เห็นว่าอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาโครงงาน จึงได้นำมาเสนอไว้ในภาคผนวก เช่น แผนที่ แบบของโครงงาน หรือ รูปภาพที่จำเป็น / ภาพขั้นตอนการทดลอง เป็นต้น จำได้มั้ยจ๊ะ..เด็กๆๆ

  20. 22 รายการเอกสาร สรุปขั้นตอนหลักในการทำโครงงานประเภทต่างๆ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างขั้นตอนหลักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเภท โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลอง

  21. 23

  22. 24 โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการสำรวจ

  23. 25 โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์

  24. 26

  25. แบบฝึกกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน คะแนนเต็ม 10 คะแนน ชื่อ.................................................................. เลขที่.............. คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากคำถามที่กำหนดให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ 1. ในบทนำบอกอะไรให้ผู้อ่านทราบได้บ้าง ........................................................................... ........................................................................................................................................... 2. ในการจัดทำโครงงาน นักเรียนกำหนดจุดประสงค์ของโครงงานเพื่ออะไร........................ ........................................................................................................................................... 3. เหตุใดในการตั้งสมมติฐานของการทำโครงงาน จึงมักใช้คำว่า น่าจะ หรือ อาจจะ ก่อนสิ่ง ที่คิดว่าจะเป็น ..................................................................................................................... ............................................................................................................................................ 4. ในบทที่ 1 หัวข้อใดกับหัวข้อใดที่ต้องให้สอดคล้องและสัมพันธ์กัน ............................... ............................................................................................................................................ 5. บทที่ 3 มีชื่อบทว่า............................................................................................................ แบ่งออกเป็นส่วนสำคัญ............................ ส่วน ได้แก่...................................................... ........................................................................................................................................... .......................................................................................................................................... 6. การทดลองโดยทั่วไป จะประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ................. หัวข้อ ได้แก่................... .......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................

  26. แบบฝึกกิจกรรมที่ 2 เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน คะแนนเต็ม 10 คะแนน ชื่อ.................................................................. เลขที่.............. คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนบรรณานุกรมจากข้อมูลที่กำหนดให้ถูกต้อง ข้อมูลที่ 1 เด็กหญิงดวงใจ ศึกษาตัวอย่างโครงงานจากหนังสือ 272 แนวคิดโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขียนโดย ผศ.ดร.ชาตรี เกิดธรรม จัดพิมพ์ที่กรุงเทพฯ โดยสำนักพิมพ์ เบ็นพับลิชชิง เมื่อปี พศ. 2547 จำนวน 104 หน้า ราคา 120 บาท จงลงรายการในบรรณานุกรมให้ถูกต้อง .............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. ข้อมูลที่ 2 เด็กชายปูอัด นำวิธีการทำแหนมเห็ดนางฟ้า ที่ทำกันในหมู่บ้านท่าหิน ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ตามคำบอกเล่าของนายสมรักษ์ คำเมือง อายุ 65 ปี ไปประยุกต์ใช้ในการทำโครงงาน จงลงรายการในบรรณานุกรม ..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

  27. เกมส์ การจัดรูปเล่มรายงาน จุดประสงค์ เพื่อให้นักเรียนสามารถจัดรูปเล่มรายงานได้ถูกต้อง ขั้นตอนการเล่น ครั้งที่ 1 1. ครูแจกบัตรบันทึกคะแนนให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น และกระดาษ A 4 จำนวน 6 แผ่นต่อคน 2. ให้นักเรียนตัดกระดาษ A4 แต่ละแผ่นออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน 3. ให้นักเรียนลงข้อมูลในกระดาษแต่ละแผ่นว่ารูปเล่มของรายงาน ปรกอบด้วยองค์ประกอบกี่ส่วน อะไรบ้าง 4. ส่งให้เพื่อนตรวจให้คะแนน ถ้าตอบได้ถูกต้องครบถ้วนให้ 3 คะแนน ถ้าเรียงลำดับถูกต้องให้อีก 1 คะแนน รวม 4 คะแนน แต่ถ้าเรียงลำดับผิดตัด 1 คะแนน 5. ส่งงานคืนให้เจ้าของพร้อมแจ้งคะแนนที่ได้ 6. แต่ละคนบันทึกคะแนนที่ได้ลงในบัตรบันทึกคะแนนของตนเอง

  28. บัตรบันทึกคะแนน ชื่อ.........................................นามสกุล.................................. ชั้น.......... เลขที่........... คะแนนที่ได้ ครั้งที่ 1……………..………… คะแนน (คะแนนเต็ม 4 คะแนน) ครั้งที่ 2……………………… คะแนน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) ครั้งที่ 3………………………. คะแนน (คะแนนเต็ม 6 คะแนน) ครั้งที่ 4………………………. คะแนน (คะแนนเต็ม 8 คะแนน) ครั้งที่ 5………………………. คะแนน (คะแนนเต็ม 6 คะแนน) รวม.................................. คะแนน ทำได้กี่คะแนนกันเอ๋ย!!ให้สโนไวท์ช่วยไหมจ้ะ

  29. ครั้งที่ 2 1. ให้นักเรียนนำกระดาษที่ตัดไว้ เขียนองค์ประกอบของส่วนประกอบตอนต้น ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้าง หัวข้อละแผ่น ทั้งนี้ให้มีสารบัญ 3 ด้าน สารบัญเนื้อหา สารบัญภาพ และสารบัญตาราง จัดเรียงให้ถูกต้องตามลำดับ 2. ส่งให้เพื่อนตรวจให้คะแนน ถ้าตอบได้ถูกต้องครบถ้วนให้ 7คะแนน ถ้าเรียงลำดับถูกต้องให้อีก 3 คะแนน รวม 10คะแนน แต่ถ้าเรียงลำดับผิดตัด 1คะแนน แต่ไม่เกิน 3 คะแนน 3. ส่งงานคืนให้เจ้าของ พร้องแจ้งคะแนนที่ได้ 4. แต่ละคนบันทึกคะแนนที่ได้ลงในบัตรบันทึกคะแนนของตนเอง ครั้งที่ 3 1. ให้นักเรียนนำกระดาษที่ตัดไว้ เขียนองค์ประกอบของส่วนเนื้อหาว่าประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้าง หัวข้อละแผ่น จัดเรียงให้ถูกต้องตามลำดับ 2. ส่งให้เพื่อนตรวจให้คะแนน ถ้าตอบได้ถูกต้องครบถ้วนให้ 5 คะแนน ถ้าเรียงลำดับถูกต้องให้อีก 1 คะแนน รวม 6คะแนน แต่ถ้าเรียงลำดับผิดตัด 1 คะแนน 3. ส่งงานคืนให้เจ้าของ พร้องแจ้งคะแนนที่ได้ 4. แต่ละคนบันทึกคะแนนที่ได้ลงในบัตรบันทึกคะแนนของตนเอง

  30. มีใครถูกไหมเนี๊ยะ ครั้งที่ 4 1. ให้นักเรียนนำกระดาษที่ตัดไว้ เขียนองค์ประกอบของบทที่ 1 ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้าง หัวข้อละแผ่น จัดเรียงให้ถูกต้องตามลำดับ 2. ส่งให้เพื่อนตรวจให้คะแนน ถ้าตอบได้ถูกต้องครบถ้วนให้ 6 คะแนน ถ้าเรียงลำดับถูกต้องให้อีก 2 คะแนน รวม 8คะแนน แต่ถ้าเรียงลำดับผิดตัด 1 คะแนน แต่ไม่เกิน 2 คะแนน 3. ส่งงานคืนให้เจ้าของ พร้องแจ้งคะแนนที่ได้ 4. แต่ละคนบันทึกคะแนนที่ได้ลงในบัตรบันทึกคะแนนของตนเอง ลุยเลย.. ครั้งที่ 5 1. ให้นักเรียนนำหัวข้อทั้งหมดตั้งแต่ครั้งที่ 1-4 มารวมเข้าด้วยกันเป็นเล่ม 2. จัดเรียงลำดับให้ถูกต้อง 3.ส่งให้เพื่อนตรวจให้คะแนน ถ้าเรียงลำดับได้ถูกต้องทั้งหมดให้ 6 คะแนน ถ้าเรียงลำดับผิดที่ให้ตัดที่ละ 1 คะแนน แต่ไม่เกิน 6 คะแนน 4. ส่งงานคืนให้เจ้าของพร้อมแจ้งคะแนนที่ได้ 5. แต่ละคนบันทึกคะแนนที่ได้ลงในบัตรบันทึกคะแนนของตนเอง 6. รวมคะแนนในบัตรบันทึกคะแนน

  31. เฉลยคำตอบ ครั้งที่ 1 1. ส่วนประกอบตอนต้น 2. ส่วนที่เป็นตัวรายงานหรือเนื้อเรื่อง 3. ส่วนประกอบตอนท้าย ครั้งที่ 2 1. ปกนอก 2. ปกใน 3. บทคัดย่อ 4. กิตติกรรมประกาศ 5. สารบัญ (เนื้อหา) 7. สารบัญภาพ 6. สารบัญตาราง อยากรู้จังว่าเพื่อนๆ จะทำกันได้ไหม

  32. ครั้งที่ 3 บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการ บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ บทที่ 4 วิเคราะห์และอภิปรายผล ครั้งที่ 4 1. ที่มาและความสำคัญ 2.จุดประสงค์ 3.สมมติฐาน 4.ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 6.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5. นิยามศัพท์

  33. ครั้งที่ 5 ส่วนประกอบตอนต้น บทคัดย่อ ปกนอก ปกใน กิตติกรรมประกาศ สารบัญ (เนื้อหา) สารบัญตาราง สารบัญภาพ ส่วนที่เป็นตัวรายงาน หรือเนื้อเรื่อง บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่ 4 วิเคราะห์และอภิปรายผล บทที่ 3 วิธีดำเนินการ บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ ส่วนประกอบตอนท้าย สรุปผล ประเมินผล ได้คะแนน 30 – 34 ถือว่ามีความรู้ในการจัดรูปเล่มรายงานอยู่ ในเกณฑ์ดี

  34. แบบฝึกกิจกรรมที่ 3 เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน คะแนนเต็ม 10 คะแนน คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันจัดทำที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตการศึกษา อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา และวีธีดำเนินการ ของโครงงานในเรื่องที่กลุ่มของนักเรียนสนใจ กลุ่มที่ ........... สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย 1………………………………………………… ชั้น ม............ เลขที่............. 2…………………………………………………ชั้น ม............ เลขที่............. 3…………………………………………………ชั้น ม............ เลขที่............. 4…………………………………………………ชั้น ม............ เลขที่............. เร็วเพื่อน เรารีบไปทำงานกัน

  35. ชื่อเรื่อง โครงงาน......................................................................................................... ..................................................................................................................................... บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญ .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วัตถุประสงค์ ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

  36. สมมติฐานของการทดลอง ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรต้น.................................................................................................................. ตัวแปรตาม ................................................................................................................ ตัวแปรควบคุม .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า .............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

  37. อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษาอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ วิธีการศึกษา ..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

More Related