1 / 22

ประวัติพุทธสาวกสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง

ประวัติพุทธสาวกสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง. เรื่องประวัติจิตตคหบดี คำชี้แจง ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เรื่องประวัติจิตตคหบดี มี 2 ตอน ใช้เวลารวมทั้งหมด 2 คาบๆ ละ 50 นาที ตอนที่ 1 ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้

herrod-shaw
Download Presentation

ประวัติพุทธสาวกสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติพุทธสาวกสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่างประวัติพุทธสาวกสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง เรื่องประวัติจิตตคหบดี คำชี้แจงชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เรื่องประวัติจิตตคหบดี มี 2 ตอน ใช้เวลารวมทั้งหมด 2 คาบๆ ละ 50 นาที ตอนที่ 1 ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 แบบทดสอบย่อยประจำชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้ทำรวมเวลา 20 นาที 1.1 นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยก่อนเรียนก่อนที่จะศึกษา เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการใช้ชุดการสอนและหลังที่ใช้ 1.2 นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยหลังจากศึกษา ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เสร็จแล้วจะเป็นคะแนนเก็บของนักเรียนแต่ละคน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการช่วยพัฒนาผู้เรียนในการศึกษาเรื่อง ประวัติจิตตคหบดี(เวลา 10 นาที)

  2. 2 ตอนที่ 2 ศึกษาใบความรู้และทำกิจกรรม (เวลา 80 นาที) • 2.1 ประวัติจิตตคหบดีและทำกิจกรรม (เวลา 40 นาที) • 2.2 ศึกษาคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของจิตตคหบดีและทำกิจกรรม (เวลา 40 นาที) 2.2.1 ให้นักเรียนศึกษาตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ อย่างละเอียด 2.2.2นักเรียนแต่ละกลุ่มต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเรียนโดยจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด

  3. 3 • 2.2.3.ให้นักเรียนภายในกลุ่มถามและตอบคำถามซึ่งกันและกัน เมื่อมีข้อสงสัยให้อภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่ศึกษาร่วมกัน และแต่ละกลุ่มต้องเมื่อศึกษาจบแล้วจะมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน • 2.2.4. นักเรียนทุกกลุ่มต้องร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติกิจกรรมอย่างเต็มที่ และไม่ชักชวนเพื่อนเล่นจนต้องเสียเวลา • 2.2.5. ถ้ากลุ่มใดสงสัยหรือมีปัญหาที่ไม่เข้าใจ สามารถขอคำแนะนำจากครูผู้สอนได้ตลอดเวลา • 2.2.6. เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนในชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มจบแล้ว ครูจะเฉลยแบบฝึกหัดระหว่างเรียน หรือในกรณีที่นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง นักเรียนสามารถตรวจคำตอบได้จากเฉลยซึ่งอยู่ด้านหลังชุดการสอน แต่นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง • 2.2.7. เมื่อนักเรียนศึกษาและทำกิจกรรมจากชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เรื่อง ประวัติ จิตตคหบดีจบแล้ว ให้ส่งชุดการสอนที่ถือว่าเป็นผลงานของกลุ่มหลังหมดเวลาทำกิจกรรม

  4. 4 โรงเรียนทวีธาภิเศก ๒ • แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 • วิชา พระพุทธศาสนา เวลา 10 นาที คะแนนเต็ม 10 คะแนน • เรื่องประวัติจิตตคหบดี • คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียง 1 คำตอบ • 1. จิตตคหบดีท่านเป็นชาวเมืองใด • ก. มัจฉิกาสันฑะ ข. โกลิตคาม • ค. ไพศาลี ง. อุชเชนี • 2. ข้อใดคือการเกิดปรากฏการณ์ที่ประหลาดในวันที่จิตตคหบดีเกิด • ก. มีดอกไม้บาน สะพรั่งทั่วเมือง • ข. มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง • ค. มีดอกไม้เกิดขึ้นรอบบ้านจิตตคหบดี • ง. มีดอกไม้สีเหลืองบานพร้อมจิตตกุมารเกิดทั่วเมือง

  5. 5 3. จิตตคหบดีได้ฟังธรรมจากพระภิกษุรูปใด ที่ ทำให้ท่านได้บรรลุธรรม เป็นพระอนาคามี ก. พระอัญญาโกณฑัญญะ ข. พระอัชสชิ • ค. พระมหานามะ ง. พระวัปปะ 4. ผู้ศึกษาธรรมจนเกิดความแตกฉานอย่างท่านจิตตคหบดีสามารถโต้วาทะกับใครจนได้รับชัยชนะ • ก. สัญชัยเวลัฏบุตรกับ มักขลิโคสาละ • ข. ปูรณกัสสปะกับ อชิตเกสกัมพล • ค. นิครนถนาฏบุตร กับ ชีเปลือยกัสสปะ • ง. สัญชัยเวลัฏบุตร กับ นิครนถนาฏบุตร 5. ลักษณะของบุคคลใดที่ได้ชื่อว่า มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ไม่คลอนแคลง • ก. พลังธรรม ปฏิบัติศีลห้าตามที่พระสงฆ์สั่งสอนอย่างเคร่งครัด • ข. พลังรัก ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด • ค. พลังแรง ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบูชาพระศิว อย่างเคร่งครัด • ง. พลังอารีย์ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบูชาพระวิษณุร่วมด้วยอย่างเคร่งครัด

  6. 6 6. สิ่งที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต ของผู้ที่ได้ศึกษาธรรมะตามท่านจิตตคหบดีและถือว่าสิ่งนั้น ยั่งยืน เป็นกุศลนำพาไปต่อถึงชาติหน้า หรือ ภพหน้าบุคคลนั้นต้องมีลักษณะอย่างใด • ก. พลังรัก ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆอย่างเคร่งครัด • ข. พลังธรรม ปฏิบัติศีลห้า ด้วยความศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์อย่างเคร่งครัด • ค. พลังแรง ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบูชาพระศิวะอย่างเคร่งครัด • ง. พลังอารีย์ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และบูชาพระวิษณุร่วมด้วยอย่างเคร่งครัด 7. ชาวพุทธตัวอย่าง ควรมีลักษณะอย่างไรตามความคิดของนักเรียน • ก. เป็นผู้ที่เข้าวัดฟังธรรมทุกวัน • ข. เป็นผู้ที่มีความเข้าใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี รู้จักการเข้าวัดฟังธรรมอย่างสม่ำเสมอ • ค. เป็นผู้ที่เข้าวัดฟังธรรมทุกวันและศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ • ง. เป็นผู้ที่ถ้าใครกล่าวหาว่าพระพุทธศาสนาว่า ไม่ดี เป็นต้องตอบโต้พูดให้รู้ดีรู้ชั่วกันไปเลย

  7. 7 8. บุคคลใดต่อไปนี้ได้นำคุณธรรมของท่านจิตตคหบดีมาใช้ได้ถูกต้อง ที่สุด • ก. บูรณะ เจอเงินจำนวนมากตกอยู่แต่เขาก็นำไปประกาศหาเจ้าของ จนพบด้วยความ • ศรัทธาในการสร้างความดี • ข. ปฏิ นำเงินมาทำบุญทุกวันพระด้วยคิดว่าชาติหน้าจะเกิดรวยและมียศศักดิ์ • ค. สังขรณ์ ให้เศษเงินกับขอทานเพื่อให้เขาได้นำไปซื้อ อาหารรับประทาน • ง. พรประเสริฐ กล่าววาจากับคนทุกระดับประทับใจ เพื่อให้ผู้พบเห็นได้ชื่นชมในตัวเขา 9. การประพฤติปฏิบัติตนของท่านจิตตคหบดี ข้อใดที่แสดงถึงมีพลังศรัทธาด้านบุญกิริยาวัตถุ 10 • ก. ตอนที่ป่วยหนักและได้พบกับเทวดา • ข. ตอนที่จิตตคหบดีทำบุญ ด้วยสิ่งของต่าง ๆ500 เล่มเกวียน • ค. ตอนที่ได้ฟังเทศน์ของพระมหานามะ เรื่องอายตน 6 แล้วได้บรรลุธรรม • ง. ตอนที่กุมารน้อยได้ถือกำเนิดเกิดมาพร้อมดอกไม้หลากสีบาน ทั่วเมือง

  8. 8 • 10. การทำบุญชนิดใดของท่านจิตตคหบดีถือว่าเป็นที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต ของท่าน • ก. ตอนที่ป่วยหนักและได้พบกับเทวดา • ข. ตอนที่จิตตคหบดีทำบุญ ด้วยสิ่งของต่าง ๆ 500 เล่มเกวียน • ค. ตอนที่ได้ฟังเทศน์ของพระมหานามะ เรื่องอายตน 6 แล้วได้บรรลุธรรม • ง. ตอนที่กุมารน้อยได้ถือกำเนิดเกิดมาพร้อมดอกไม้หลากสีบาน ทั่วเมือง

  9. จิตตคหบดี เกิดที่เมืองมัจฉิ-กาสัณฑะ แคว้นมคธ เล่ากันว่าเวลาจิตตเกิดนั้น ได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาดขึ้น คือ มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้รับขนานนามว่า “จิตตกุมาร” (กุมารผู้น่าพิศวง หรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม) ประวัติของท่านจิตตคหบดี

  10. 10 บิดาท่านเป็นเศรษฐี เมื่อบิดาถึงแก่กรรม ท่านได้รับทรัพย์สมบัติเป็นเศรษฐีสืบแทน วันหนึ่งท่านได้พบกับพระมหานามะ มองเห็นอิริยาบถอันสงบสำรวมของพระมหานามะก็เกิดความเลื่อมใส นิมนต์ท่านไปฉันอาหารที่บ้าน แล้วสร้างที่พำนักให้ท่านอยู่ประจำคือ อัมพาฏการาม

  11. 11 ท่านได้นิมนต์พระมหานามะมาแสดงธรรมให้ฟังเสมอ วันหนึ่งท่านได้สนทนาธรรม เรื่องอายตนะ 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) จิตตคหบดีฟังแล้วได้บรรลุเป็นพระอนาคามี

  12. 12 จิตตคหบดีชอบศึกษาธรรมอยู่เสมอ จนเกิดความแตกฉานในธรรม สามารถอธิบายธรรมได้เป็นอย่างดี ท่านเคยโต้วาทะกับนิครนถนาฏบุตร และชีเปลือยชื่อกัสสปะ ท่านก็สามารถเอาชนะท่านทั้งสองได้

  13. 13 ท่านเป็นเศรษฐีใจบุญ ได้ถวายทานติดต่อกันถึงครึ่งเดือน เคยพาบริวารสองพันคนบรรทุกน้ำตาลน้ำผึ้ง น้ำอ้อย จำนวน 500 เล่มเกวียน ไปถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ท่านทำบุญด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า

  14. 14 ตอนที่ท่านป่วยหนัก เทวดาได้มาปรากฏต่อหน้า ว่าท่านทำบุญมาก ถ้าท่านปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในชาติหน้าก็ย่อมทำได้ จิตตคหบดีได้ตอบว่า “แม้ราชสมบัติก็ไม่จีรัง เราไม่ต้องการ”

  15. 15 บุตรหลานที่เฝ้าอยู่ได้ยินท่านพูดคนเดียว จึงเตือนท่านว่า “ตั้งสติให้ดี อย่าเพ้อเลย” ท่านบอกว่าท่านไม่ได้เพ้อ เทวดามาบอกอย่างนี้จริง ๆ ยังมีสิ่งที่ประเสริฐกว่าจักรพรรดิอีก เมื่อบุตรหลานถามท่านก็ตอบว่า“ศรัทธาความเชื่อที่ไม่คลอนแคลนในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประเสริฐกว่าสิ่งใดทั้งหมด”

  16. 16 คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง 1) เป็นคฤหัสถ์ในอุดมคติ หมายถึง เป็นชาวพุทธผู้ครองเรือนที่เป็นตัวอย่างที่ดีพระพุทธเจ้าตรัสไว้ 3 ประการคือ 1.1 ศึกษาธรรมจนแตกฉาน ปฏิบัติตามคำสอนจนสำเร็จเป็นพระอนาคามี

  17. 17 1.2 ชอบสนทนาธรรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นอยู่เสมอ จนได้รับยกย่องว่า“ธรรมกถึก” หมายถึงนักเทศน์ชั้นยอด

  18. 18 1.3 เป็นคนใจบุญสุนทาน ทำบุญทำทานคราว ละมาก ๆ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยความมั่นคง และปกป้องพระพุทธศาสนาเมื่อถึงคราวมีภัย เช่น ตอนที่โต้วาทะกับนิครนถนาฏบุตร และชีเปลือยชื่อกัสสปะ แสดงให้เห็นว่าท่านได้ทำหน้าที่ชาวพุทธที่ดีและเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

  19. 19 2. เคารพพระสงฆ์มาก แม้ว่าท่านได้บรรลุธรรมถึงขั้นอนาคามีแต่ท่านก็ยังเคารพนอบน้อมพระสงฆ์ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ แม้บางภิกษุปุถุชนล่วงเกินท่าน ดังกรณีพระสุ-ธรรม ด่าประชดประชัน ท่าน เพราะริษยาที่เห็นท่านซึ่งเป็นโยมอุปฐากมานาน ให้การต้อนรับ พระอัครสาวกทั้งสองอย่างดี แต่ท่านก็ไม่ได้ถือสาแต่ประการใด

  20. 20 3) เป็นคนเก่งและคนดี จิตตคหบดีเป็นตัวอย่างแสดงว่า ชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ไม่เพียงแต่ทำบุญทำทาน ขณะเดียวกันก็ศึกษาคำสอนจนเกิดการรู้แจ้งเห็นจริง และท่านเป็นคนฉลาดคือสามารถหักล้างความเชื่อที่ผิด ๆ มาให้คนเห็นความถูกต้องโดยการใช้ปัญญาช่วยแก้ไข

  21. 31 • บรรณานุกรม • กัลยาสิทธิวัฒน์, พระครู. (2543). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา วารสารเสียงธรรม. 42,3 (มกราคม – มีนาคม). • การศาสนา. กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ปี 2544 • (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. • การศาสนา. กรม. (2525). ประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ภาค 1. • กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. • สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2516). ประวัติศาสตร์ศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : รวมสาสน์. • ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2530). คัมภีร์สำคัญทางพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา. • ธรรมทาส พานิช. (2521). ประวัติศาสนาพระพุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย. กรุงเทพมหานคร : แพร่วิทยา. • ปุ้ย แสงงาม. (2539). พระเจ้า 500 ชาติ. กรุงเทพมหานคร : ลูก ส. ธรรมภักดี, • ระพิน พุทฺธิสาโร, พระ. (2543). พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. • _________. (2550). ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) • วิทย์ วิศทเวทย์, (2544). พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ • วิโรจน์ พิศเพ็ง. (2543). “เล่าเรื่องชาดก 50 เรื่อง.” กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.

  22. 32 • บรรณานุกรม (ต่อ) • วิโรจน์ พิศเพ็ง.(2541). สามเณรเหล่ากอแห่งสมณะ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. • สมพงษ์ สกุลช่างอโศก. (2550). เขียนภาพประกอบ. • สาสนโสภณ (เจริญ สุวฑฺฒโน), พระ. (2526). 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย. • สุชีพ ปุญญานุภาพ . (2537). พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : หามกุฏราชวิทยาลัย. • สุนทร สุนฺทรธมฺโม, พระมหา. (2544). นิทานชาดก เล่มที่ 3. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา. • เสถียร พันธังษี. (2525). พุทธประวัติมหายาน. กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา. • เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2544). พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. • เสนาะ ผดุงฉัตร. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

More Related