1 / 28

Chapter 10

Chapter 10. ภาพรวมของกระบวนการในระบบ ERP. บทนำ.

howell
Download Presentation

Chapter 10

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 10 ภาพรวมของกระบวนการในระบบ ERP

  2. บทนำ กระบวนการหลักทางธุรกิจ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 6 กระบวนการ ได้แก่ การขาย การวางแผน การผลิต การจัดซื้อ สินค้าคงคลัง และบัญชี เนื่องจากระบบ ERP สนับสนุนการดำเนินงานในการวางแผน และจัดการกระบวนการธุรกิจแทบทั้งหมดในองค์กร ซึ่งซอฟต์แวร์ ERP มีการแบ่งเป็นโมดูล (Module) ต่าง ๆ สำหรับทำหน้าที่จัดการกระบวนการธุรกิจที่แตกต่างกัน และการเรียกชื่อโมดูลของซอฟต์ร์ ERP ก็แตกต่างกันขึ้นกับแต่ละซอฟต์แวร์

  3. กระบวนการในระบบ ERP รูปแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการในระบบ ERP

  4. ข้อมูลในระบบ ERP • ระบบ ERP สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผน และจัดการทรัพยากรองค์กรได้ โดยใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูลที่บูรณาการ (Integration) กันภายในองค์กร ดังนั้นกระบวนการหลักทั้งหมดมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด จึงเกิดการพึ่งพาข้อมูลกันอย่างอัตโนมัตินั่นหมายความว่าจะไม่มีข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันหรือมีข้อมูลเพียงชุดเดียวที่ใช้งานร่วมกัน ข้อมูลในระบบ ERP แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ • ข้อมูลคงที่ (Static Data) คือข้อมูลที่มักจะไม่เปลี่ยนแปลง และกำหนดไว้เพื่อเป็นข้อมูลเริ่มต้นในระบบ • ข้อมูลพลวัต (Dynamic Data) คือข้อมูลซึ่งเกิดจากการปฏิบัติงานประจำวันที่มีการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

  5. กระบวนการในระบบ ERP • ในแต่ละวงจร (Cycle) หรือกระบวนการของ ERP จะประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๆ อีกหลายขั้นตอน การทำงานของแต่ละกระบวนการอาศัยข้อมูลอิสระ และข้อมูลที่เชื่อมโยงมาจากผลการทำงานของส่วนอื่น ภาพรวมของกระบวนการต่าง ๆ ในระบบ ERP สามารถอธิบายได้ดังนี้ • วงจรการขาย (Sell Cycle) • 1.1 การเสนอราคา เราสามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ จากระบบได้ • 1.2 การสร้างคำสั่งขาย ลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้าฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูล ต่าง ๆ เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้ลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ หากมีสินค้าอยู่ แล้วในคลัง ระบบจะเข้าไปจองปริมาณให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็น ข้อมูลสำหรับการวางแผนผลิตต่อไป

  6. กระบวนการในระบบ ERP • 1.3 การจัดส่งสินค้า ข้อมูลคำสั่งขายถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลการจัดส่งอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่จัดส่งสามารถทราบว่าจะต้องเตรียมสินค้าอะไรบ้าง • วงจรการวางแผน (Plan Cycle) การวางแผนในระบบ ERP มี 2 ส่วนคือ การวางแผนวัสดุ และการวางแผนกำลังผลิต • 2.1 การวางแผนวัสดุ (Material Planning) คือ การวางแผนผลิตสินค้าสำเร็จรูป สินค้ากึ่งสำเร็จรูป และวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อให้สามารถตอบสนอง ลูกค้าและรักษาปริมาณวัสดุไว้ในระดับที่ต้องการได้

  7. กระบวนการในระบบ ERP 2.2 การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) คือ การหาความต้องการกำลังการผลิตของทรัพยากร สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ 1. การวางแผนกำลังแบบหยาบ (Rough-Cut Capacity Planning: RCCP) สำหรับเปรียบเทียบกำลังผลิตที่ต้องการจากแผนผลิตหลักกับทรัพยากรหลัก ๆ ทุกประเภท 2. การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต (Capacity Requirements Planning: CRP) สำหรับเปรียบเทียบกำลังผลิตที่ต้องการกับแผนความต้องการวัสดุกับทรัพยากรโดยละเอียด

  8. กระบวนการในระบบ ERP • วงจรการสั่งซื้อ (Buy Cycle) • 3.1 การแปลงแผนสั่งซื้อเป็นคำสั่งซื้อ • 3.2 การสร้างคำสั่งซื้อตามการร้องขอจากผู้ขอซื้อ • 3.3 การรับวัตถุดิบ และตรวจสอบคุณภาพ • วงจรสินค้าคงคลัง (Inventory Cycle)

  9. กระบวนการในระบบ ERP • วงจรการผลิต (Make Cycle) การผลิตในระบบ ERP คือการนำแผนผลิตที่ได้จากการวางแผนไปดำเนินการและควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามแผน กิจกรรมในการผลิต ประกอบด้วย • 5.1 การสร้างคำสั่งผลิต (Work Order) • 5.2 การดำเนินงาน และควบคุมการผลิต • 5.3 การเบิกวัสดุ • 5.4 การรายงานผลการผลิต • เมื่อผลิตสินค้าเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลต้นทุนจะส่งไปให้ฝ่ายบัญชีเพื่อใช้ในการสรุปต้นทุน

  10. กระบวนการในระบบ ERP • วงจรการบัญชี (Accounting Cycle) กระบวนการทำงานหลัก 3 ส่วน คือ ระบบบัญชีลูกหนี้ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ และระบบบัญชีแยกประเภท • 6.1 ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable) เริ่มจากการสร้างใบแจ้งหนี้ (Invoice) ลูกค้ามาจ่ายเงินตามรายการวางบิล ฝ่ายการเงินทำการรับเงิน และส่งเอกสาร การรรับชำระเงิน และตัดรายการบัญชีลูกหนี้ • 6.2 ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Accounts Payable) รับเอกสารใบแจ้งหนี้ อ้างอิงจากการรับ สินค้า ทำการอนุมัติจ่ายเงิน พิมพ์เอกสารอนุมัติเตรียมจ่ายเงิน บันทึกรายการจ่าย ชำระหนี้ (Payment Voucher) ตัดรายการเจ้าหนี้และบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้ามี ได้

  11. กระบวนการในระบบ ERP 6.3 ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger Accounts) รวบรวมรายละเอียดข้อมูล รายการทางบัญชีที่เกิดขึ้น เพื่อทำการจัดหมวดหมู่รายการทางบัญชี และสรุป รายงานงบการเงินต่าง ๆ ได้ ระบบบัญชีการเงินเป็นส่วนที่ช่วยจัดเก็บข้อมูลในการปฏิบัติงานของทุกส่วนงาน เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ 2 เรื่อง คือ 1. ใช้เป็นข้อมูลสำหรับกระบวนการจัดการภายในองค์กร 2. ใช้เป็นข้อมูลสำหรับแสดงต่อบุคคลภายนอก

  12. การเตรียมข้อมูลในระบบ ERP Static Data หรือข้อมูลคงที่ เป็นข้อมูลที่ถูกกำหนดขึ้นในระบบ ERP และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ Dynamic Data หรือข้อมูลพลวัต หมายถึงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามธุรกรรม (Transactions) ที่เกิดจากการปฏิบัติงานประจำวันและถูกบันทึกเข้าระบบเพื่อใช้ประมวลผลต่อเนื่อง

  13. แผนผังลำดับการเตรียมข้อมูลคงที่ในระบบ ERP แนวทางการขึ้นระบบ อาจจะแตกต่างกันตามความเหมาะสม และความต้องการขึ้นระบบ ERP ของแต่ละองค์กร ซึ่งมีทั้งกรณีที่ขึ้นพร้อมกันทุกวงจร หรือขึ้นทีละวงจรตามลำดับ รูปแสดง Generic ERP: Static Data Preparation Flowchart

  14. แผนผังลำดับการเตรียมข้อมูลคงที่ในระบบ ERP ในระบบ ERP ข้อมูลพื้นฐานที่สุดสำหรับธุรกิจที่มีการผลิต ที่จะต้องเตรียมและนำเข้าสู่ระบบมีอยู่ 6 ประเภทตามวงจรการทำงาน แต่ละประเภทมีทั้งข้อมูลคงที่และข้อมูลพลวัตซึ่งต้องใช้ร่วมกัน จึงจะสามารถบันทึกความสมบูรณ์ของธุรกรรมได้ การเตรียมข้อมูลตามวงจรการทำงานในระบบ ERP ทั้ง 6 ประเภทเรียงตามลำดับก่อนหลังที่ควรเตรียมมีดังนี้ 1. การเตรียมข้อมูลของวงจรการบัญชี (Accounting Cycle) 2. การเตรียมข้อมูลของวงจรสินค้าคงคลัง (Inventory Cycle) 3. การเตรียมข้อมูลของวงจรการขาย (Sell Cycle) 4. การเตรียมข้อมูลของวงจรการจัดซื้อ (Buy Cycle) 5, การเตรียมข้อมูลของวงจรการวางแผน (Plan Cycle) 6. การเตรียมข้อมูลของวงจรการผลิต (Make Cycle)

  15. แผนผังลำดับการเตรียมข้อมูลคงที่ในระบบ ERP • การเตรียมข้อมูลของวงจรการบัญชี (Accounting Cycle) • ข้อมูลคงที่ – ผังและรหัสบัญชี (Chart of Account) • ข้อมูลพลวัต - Period เป็น รอบระยะเวลาในทางบัญชีที่ใช้บันทึกบัญชี • - Budget เป็นระบบงบประมาณที่ใช้เปรียบเทียบจำนวนเงินที่เกิดขึ้นจริง • - JE (Journal Entry) เป็น Transaction การบันทึกรายการเดบิตเครดิตเข้าสู่ระบบบัญชี • - Recurring Journal Entry เป็น Transaction ที่เกิดขึ้นประจำ • - Cash Receipt เป็นรายการรับเงินจากลูกค้า

  16. แผนผังลำดับการเตรียมข้อมูลคงที่ในระบบ ERP - Payment เป็นรายการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ - Bank Reconcile เป็นรายการกระทบยอดเงินฝากระหว่างธนาคารกับเจ้าของกิจการ

  17. การเตรียมข้อมูลของวงจรสินค้าคงคลัง (Inventory Cycle) วงจรสินค้าคงคลัง หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย โยกย้ายตัดยอดสินค้าคงคลัง ซึ่งต้องมีความแม่นยำในข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ และการเตรียมมักจะใช้เวลามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องการปรับปรุงรหัสและข้อมูลสินค้าไปพร้อมกัน เทคนิค และข้อควรระวังในการเตรียมข้อมูลสินค้าคงคลัง เป็นข้อมูลที่ทุกหน่วยงานใช้งานร่วมกัน ควรง่ายและชัดเจน หากออกแบบผิดการทำงานก็จะไม่สะดวก ข้อคำนึงที่ผู้ออกแบบข้อมูล ควรระมัดระวัง เช่น การออกแบบรหัสสินค้า การออกแบบกลุ่มสินค้า

  18. การเตรียมข้อมูลของวงจรการขาย (Sell Cycle) เทคนิค และข้อควรระวังในการเตรียมข้อมูลขาย ในการเตรียมข้อมูลของกระบวนการขายต้องคำนึงถึงความถูกต้อง และข้อตกลงทางการค้า เช่น สกุลเงินที่ใช้ซื้อขาย ที่อยู่ของลูกค้า

  19. การเตรียมข้อมูลของวงจรการจัดซื้อ (Buy Cycle) เทคนิค และข้อควรระวังในการเตรียมข้อมูลจัดซื้อ เรื่องของความถูกต้อง เช่น เงื่อนไขการชำระเงิน รหัสบัญชีของเจ้าหน้าที่ไม่สอดคล้องกับผังบัญชี สกุลเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้า หรือแม้กระทั่งเรื่องที่อยู่ของผู้ขาย เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ผิดจะส่งผลกระทบกับงานส่วนอื่น ๆ

  20. การเตรียมข้อมูลของวงจรการวางแผน (Plan Cycle) เทคนิค และข้อควรระวังในการเตรียมข้อมูลวางแผน เรื่องของการกำหนด Order Policy แบบต่าง ๆ เช่น - นโยบายการสั่งแบบ Discrete เป็นการวางแผนสั่งซื้อ (หรือผลิต) วัตถุดิบที่มีความต้องการ ตรงต่อการสั่งผลิตสินค้าในแต่ละรุ่น หรือต่อคำสั่งผลิตเหมาะกับวัตถุดิบที่มีราคาสูงและมีจำนวนครั้งในการใช้ไม่บ่อยนัก - นโยบายการสั่งแบบ Period Order Quantity เป็นการสั่งแบบรวบรวมความต้องการตามจำนวนวันที่กำหนด เพื่อการสั่งซื้อเพียงครั้งเดียวแล้วใช้ได้เพียงพอเป็นระยะเวลาหนึ่ง ๆ เหมาะกับวัตถุดิบที่มีต้นทุนไม่สูงมาก หรือปริมาณการใช้ต่อวันสูง

  21. การเตรียมข้อมูลของวงจรการวางแผน (Plan Cycle) เทคนิค และข้อควรระวังในการเตรียมข้อมูลวางแผน - นโยบายการสั่งแบบ Min/Max/Mult (Minimum/Maximum/Multiple) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายวิธี แต่ที่พบมากสำหรับการวางแผนสั่งผลิต คือ กรณีที่การผลิตเป็นแบบ Batch Process - นโยบายการสั่งแบบ Fixed Order Quantity เป็นการวางแผนตามปริมาณการสั่งคงที่ ทุกครั้ง ซึ่งส่วนมากจะถูกกำหนดด้วยเงื่อนไข บังคับบางอย่าง

  22. การเตรียมข้อมูลของวงจรการผลิต (Make Cycle) เทคนิค และข้อควรระวังในการเตรียมข้อมูลการผลิต ข้อมูลของฝ่ายผลิตส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับ ERP คือกำลังการผลิตและวิธีการผลิต ซึ่งในหลายบริษัทแล้วฝ่ายวิศวกรรมมีหน้าที่ในการออกแบบ BOM แต่ฝ่ายผลิตมีหน้าที่ในการออกแบบ Work Center และรวมถึง Routing ด้วยหรือช่วยกันทั้งสองแผนก ข้อควรคำนึงในการเตรียม Routing และ Work Center การผูก Routing มีจุดประสงค์เพื่อให้เห็นขั้นตอนการผลิต และเพื่อการคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตจากการรายงานชั่วโมงการผลิตเข้าระบบ

  23. ลำดับการเตรียมข้อมูลในแต่ละวงจรลำดับการเตรียมข้อมูลในแต่ละวงจร รูปแสดงลำดับการเตรียมข้อมูลคงที่วงจรการสั่งซื้อ

  24. ลำดับการเตรียมข้อมูลในแต่ละวงจรลำดับการเตรียมข้อมูลในแต่ละวงจร รูปแสดงลำดับการเตรียมข้อมูลคงที่วงจรการขาย

  25. ลำดับการเตรียมข้อมูลในแต่ละวงจรลำดับการเตรียมข้อมูลในแต่ละวงจร รูปแสดงลำดับการเตรียมข้อมูลคงที่วงจรการผลิต

  26. ข้อควรระวังในขั้นตอนการออกแบบข้อมูลคงที่ข้อควรระวังในขั้นตอนการออกแบบข้อมูลคงที่ • ทุกแผนกควรมีส่วนร่วมในการออกแบบข้อมูล • อย่ายึดติดกับรูปแบบข้อมูลเดิม ๆ มากจนเกินไป • วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบเพื่อให้ข้อมูลใช้งานได้จริง • กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน • ** การ Import ข้อมูลเข้าสู่ระบบ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดรูปแบบของข้อมูลเพื่อให้สามารถนำเข้าระบบได้ ผู้จัดจะต้องเรียนรู้และเข้าใจความหมายแต่ละช่องข้อมูลอย่างลึกซึ้ง

  27. การบำรุงรักษาข้อมูลหลังการขึ้นระบบการบำรุงรักษาข้อมูลหลังการขึ้นระบบ • หลังขึ้นระบบไปสักระยะหนึ่ง ข้อมูลใน ERP จะถูกสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าใหม่ ลูกค้ารายใหม่ แม้ข้อมูลที่เตรียมจะมีไม่มาก แต่ปัญหาการเตรียมข้อมูลที่ผิดพลาดก็ยังมีให้เห็น สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันปัญหา มีดังนี้ • ตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ในระบบก่อนเตรียมเข้าไปใหม่ • กำหนดขั้นตอนการเตรียมข้อมูลของบริษัท • กำหนดสิทธิ์ในการใช้ข้อมูล

  28. The End

More Related