1 / 120

กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ. สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล. งานราชการทุกอย่าง ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ง่ายหรือยาก ย่อมมี ความสำคัญอยู่ในงานของแผ่นดินด้วยกันทั้งสิ้น อีกทั้งงานทุกด้าน

huyen
Download Presentation

กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล

  2. งานราชการทุกอย่าง ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ง่ายหรือยาก ย่อมมี ความสำคัญอยู่ในงานของแผ่นดินด้วยกันทั้งสิ้น อีกทั้งงานทุกด้าน ทุกสาขาย่อมสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เป็นปัจจัยเกื้อกูลส่งเสริมกัน และกันอยู่. ข้าราชการทุกคน ทุกฝ่าย ทุกระดับ จึงต้องไม่ถือตัว แบ่งแยกกัน หากต้องพิจารณาให้เห็นความสำคัญของกันและกัน แล้วร่วมงานประสานสัมพันธ์กัน ด้วยความเป็นมิตร ด้วยความ เข้าใจ เห็นใจกัน และด้วยความเมตตาปรองดองกัน. งานของแผ่นดิน ทุกส่วน จักได้ดำเนินก้าวหน้าไปพร้อมเสมอกัน และยังประโยชน์ ที่พึงประสงค์ คือความเจริญมั่นคง ให้เกิดแก่บุคคล แก่งาน และแก่ ส่วนรวมได้แท้จริง. อาคารเฉลิมพระเกียรติโรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

  3. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ 1. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 2. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 3. พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 4. พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 5. พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 6. พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ.2540 7. ประมวลกฎหมายอาญา/ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  4. กฎหมาย หมายถึง ....... พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 : กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ (โบราณ) พจนานุกรมมติชน พ.ศ.2547 : ระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐกำหนดขึ้น เพื่อเป็น เครื่องมือจัดการบริการประเทศหรือรัฐ

  5. การใช้หรือการตีความกฎหมายการใช้หรือการตีความกฎหมาย มาตรา 4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้อง ด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือ ความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ.....” เช่น ห้ามเดินลัดสนาม

  6. หลักกฎหมายที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ 1.1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของเอกชน 1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน มีความ เสมอภาคและมีสิทธิเท่าเทียมกัน 1.3 หลักกฎหมายเอกชน คือ.... 1. หลักกฎหมายเอกชน มีลักษณะดังนี้ • “กฎหมายไม่บัญญัติห้ามไว้-ทำได้” • (สิ่งใด...ไม่ห้าม... ทำได้หมด) 6

  7. ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1450 ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลง มาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการ สมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่ คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  มาตรา 1451 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม จะสมรสกันไม่ได้

  8. 2. หลักกฎหมายมหาชน มีลักษณะดังนี้ 2.1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ 2.2 ไม่มีความเสมอภาค คือเจ้าหน้าที่ หรือ หน่วยงานของรัฐ มีอำนาจมากกว่าเอกชน 2.3 มีการจำกัดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ การกระทำของเจ้าหน้าที่ ต้อง... ชอบด้วยกฎหมาย และ ต้องกระทำการภายในขอบเขต และ ตรงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย 2.4 หลักกฎหมายเอกชน คือ... กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ทำ-ทำไม่ได้” 8

  9.  มาตรา 64 บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ ประมวลกฎหมายอาญา ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ อันตนจะต้องปฏิบัติและอยู่ในหน้าที่ของตนไม่ได้ มติคณะรัฐมนตรี ที่ นว 89/2497 ลว. 1 เมษายน 2497 9 9

  10. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ..๒๕๓๔ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

  11. พจนานุกรม : ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีอำนาจปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอำนาจหน้าที่ : ควบคุม กำกับ ดูแล สั่งการ และกลั่นกรอง ผู้บังคับบัญชา มี 2 ประเภท 1. ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ผู้บังคับบัญชา คือ (1) มีกฎหมายบัญญัติไว้ (2) ได้รับมอบหมายจาก ผบ.ที่มีอำนาจสั่งบรรจุ

  12. ผู้บังคับบัญชาที่กฎหมายบัญญัติไว้ผู้บังคับบัญชาที่กฎหมายบัญญัติไว้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ************** - มาตรา 21 (กรณี ปลัดกระทรวงฯ) - มาตรา 32 (กรณี อธิบดี/รองอธิบดี) - มาตรา 33 วรรคสอง (กรณี ผอ.กอง/สำนัก/หน.ส่วนราชการ ของ สป./กรม ) - มาตรา 54 (กรณี ผวจ.) - มาตรา 55 และมาตรา 60(2) ( กรณี นพ.สสจ.) - มาตรา 62 (กรณี นอ.) - มาตรา 63 และมาตรา 66 (2) (กรณี สสอ.)

  13. ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายฯผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายฯ ตาม ม.49 พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 คำสั่ง สป.ที่ 315/2555 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 (สั่งมอบหมายให้เป็น ผบ.ข้าราชการ/ลูกจ้าง) - ผอ.วิทยาลัย สังกัด สบช. - ผอ.รพช/รพท/รพศ.ของ สป. 1.2 2. ผู้บังคับบัญชาตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งน --- - ผอ.หรือหัวหน้า กลุ่ม/กลุ่มงาน/ฝ่าย - หัวหน้าพยาบาล/หัวหน้า สอ.

  14. การสั่งราชการ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 -------------- ม.26 การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์ อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการ ด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งนั้น บันทึกคำสั่งด้วยวาจา ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อได้ปฏิบัติราชการตาม คำสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย

  15. อำนาจของผู้บังคับบัญชา มี 2 ประเภท 1. อำนาจกำกับดูแล 2. อำนาจบังคับบัญชา (1) อำนาจผูกพัน (2) อำนาจดุลพินิจ

  16. (1) อำนาจนี้เกิดจาก กฎหมายกำหนด. (2) องค์กรผู้บังคับบัญชา กับองค์กรผู้ใต้บังคับ บัญชาเป็นคนละองค์กรกัน เช่น ผู้ว่าราชการ จังหวัด กับ องค์กรท้องถิ่น, กระทรวง สาธารณสุข กับ องค์การเภสัชกรรม,สปสช. (3) ผบ. ควบคุม ได้เฉพาะความชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น (4) ผบ. ไม่อาจก้าวก่ายดุลพินิจของผู้ใต้บังคับ บัญชาได้. อำนาจ กำกับ ดูแล

  17. มาตรา 57(4) ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ กำกับดูแลการปฏิบัติราชการ ซึ่งมิใช่ราชการส่วนภูมิภาค ของข้าราชการ ซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ให้ปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ... หรือยับยั้งการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ...ไว้ชั่วคราว แล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง (พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534) อำนาจ กำกับ ดูแล

  18. (1) เกิดจากกฎหมาย/การจัดระเบียบภายใน ของส่วนราชการ. (2) องค์กรผู้บังคับบัญชา กับองค์กรผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นองค์กรเดียวกัน เช่น เป็นส่วนราชการเดียวกัน หรือ องค์กรของรัฐเดียวกัน. (3) อำนาจของ ผบ. ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายให้อำนาจ ไว้โดยชัดแจ้ง ผบ. ก็มีอำนาจดังนี้  ก่อนการกระทำ มีอำนาจแนะนำ และสั่งการ.  หลังการกระทำ แม้สั่งการไปแล้ว ภายหลัง ยังสั่งเปลี่ยนแปลงได้. อำนาจ บังคับ บัญชา

  19. (1) อำนาจผูกพันคืออำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นการล่วงหน้าว่า เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งการตามที่กฎหมายกำหนดไม่อาจเลือกสั่งการเป็นอย่างอื่นได้. (2) อำนาจดุลพินิจคืออำนาจที่ผู้บังคับบัญชา มีอิสระ ในการที่จะเลือกตัดสินใจ เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ว่าตนจะใช้อำนาจหรือไม่ ถ้าจะใช้อำนาจก็ยังมีดุลพินิจ อีกว่าจะเลือกสั่งอย่างไรและเลือก สั่งอย่างไรก็ถูกต้องทั้งหมด อำนาจบังคับบัญชา แบ่งได้ 2 กรณี

  20. การคลอดบุตรและการลา ลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 90 วัน ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการคลอดไม่เกิน 150 วัน ผู้บังคับบัญชาสั่งว่า.... 1. ไม่อนุญาต? 2. อนุญาต 15 วัน? 3. อนุญาต? อำนาจดุลพินิจ อำนาจผูกพัน

  21. อำนาจต่อไปนี้ เป็นอำนาจใด  การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร, การเบิกค่ารักษาพยาบาล  การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง  การเบิกค่าเช่าบ้าน, การเลื่อนขั้นเงินเดือน  การย้าย, การโอน ,การเลื่อนระดับ  การลากิจด้วยเหตุธรรมดา เหตุจำเป็น เหตุพิเศษ  การลาป่วย, การลาพักผ่อน

  22. การสั่งราชการ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 -------------- ม.26 การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์ อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการ ด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งนั้น บันทึกคำสั่งด้วยวาจา ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อได้ปฏิบัติราชการตาม คำสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย

  23. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 สาระสำคัญ... เป็นกฎหมายที่กำหนดกระบวนการพิจารณา วินิจฉัย สั่งการ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น การมีคำสั่ง อนุญาต อนุมัติ แต่งตั้ง หรือคำสั่งอื่นใด ที่มีผลให้เกิดความ เปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธิ หรือหน้าที่ต่อบุคคลอื่นโดย วางระเบียบให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้อำนาจตามที่กฎหมาย กำหนดไว้.

  24. “คำสั่งทางปกครอง” หมายถึง 1. การใช้อำนาจตาม ก.ม.ของ จนท. 2. คำสั่งทำให้มีผล - เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในการจะ ก่อ/เปลี่ยนแปลง/โอน/สงวน/ระงับ หรือ - กระทบต่อสถานะภาพของสิทธิ/หน้าที่ ของบุคคล เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง การรับจดทะเบียน แต่ไม่รวมกึงการออก “กฎ” “การพิจารณาทางปกครอง” หมายถึง การเตรียมการ/การดำเนินการ ของ จนท.เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

  25. การพิจารณาและการทำคำสั่งปกครองการพิจารณาและการทำคำสั่งปกครอง 1. จนท. ที่จัดทำคำสั่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจ คู่กรณี” หมายถึง - ผู้ยื่นคำขอ - ผู้ยื่นคำคัดค้านคำขอ - ผู้อยู่ในบังคับ หรือจะอยู่ในบังคับ ของคำสั่งฯ - ผู้ซึ่งเข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง เนื่องจากสิทธิของตน จะถูกกระทบกระเทือน จากผลของคำสั่งทางปกครอง

  26. 2. จนท. ผู้พิจารณา/ทำคำสั่ง จะต้องมีความเป็นกลาง - ไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น เช่น คู่หมั้น คู่สมรส ญาติ (บุพการี/ผู้สืบสันดาน/ พี่น้อง/ลูกพี่ ลูกน้อง นับภายใน 3 ชั้น/ญาติทางแต่งงาน นับเพียง 2 ชั้น) นายจ้าง เจ้าหนี้/ลูกหนี้ (มาตรา 13) ถ้า จนท.เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย จะทำการพิจารณาทางปกครอง ไม่ได้ - ไม่มีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาไม่เป็นกลาง - คู่กรณี อาจคัดค้าน จนท.เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้

  27. 3. จนท. ต้องแจ้งสิทธิ/หน้าที่ ในกระบวนการพิจารณา ทางปกครองให้คู่กรณีทราบ 4. จนท. ต้องแจ้งให้คู่กรณีทราบ ถ้าคำขอ/เอกสารที่ยื่นบกพร่อง และให้นำไปแก้ไขให้ถูกต้อง 5. จนท. ต้องให้โอกาสคู่กรณี ทราบข้อเท็จจริง/โต้แย้ง และแสดง พยานหลักฐาน ก่อนมีคำสั่ง เว้นแต่จะก่อให้ เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ กรณีต่อไปนี้ จนท.จะให้โอกาส คู่กรณี หรือไม่ก็ได้ (1) จำเป็นรีบด่วน จะเสียหายร้ายแรงแก่บุคคล/ประโยชน์สาธารณะ (2) จะทำให้เวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย/กฎ ในการทำคำสั่งทาง ปกครอง จะล่าช้าไป (3) การ บรรจุ/แต่งตั้ง/เลื่อนขั้น ง.ด./สั่งพักงาน/สั่งให้ออกไว้ก่อน/ ให้พ้นตำแหน่ง/แจ้งผลสอบ/การวัดผลความรู้ความสามารถของบุคคล

  28. 6. จนท. ต้องพิจารณาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน อย่างรอบคอบ และเป็นคุณ 7. จนท. อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมในเรื่องนั้น โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำขอ/พยานหลักฐาน ของคู่กรณี (พิจารณาแบบไต่สวน) 8. จนท. ต้องแจ้งสิทธิอุทธรณ์/โต้แย้ง ให้ทราบ (อุทธรณ์ต่อใคร ภายในกี่วัน ถ้าไม่แจ้ง เวลาจะขยาย 1 ปี) 9. คู่กรณี มีสิทธิ - แต่งตั้งตัวผู้ทำการแทน ในกระบวนการพิจารณา - นำทนายความ/ที่ปรึกษา เข้ามาในการพิจารณาทางปกครอง เมื่อต้องมาพบ จนท. - ขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อโต้แย้ง/ชี้แจง/ป้องกันสิทธิ ของตน เว้นแต่ กรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ

  29. พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13 เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ (1) เป็นคู่กรณีเอง (2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี (3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียง ภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น (4) .... (5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือ เป็นนายจ้างของคู่กรณี

  30. มาตรา 16 ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ หรือกรรมการในคณะ กรรมการที่มีอำนาจพิจารณา ทางปกครอง ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจ ทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่ หรือกรรมการผู้นั้นจะทำการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้

  31. การพิจารณา-คัดเลือก-สรรหา-ชี้ตัว เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ในรูปของ คกก. ต้องมีการประชุม ไม่ใช่ล่ารายชื่อ

  32. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เจตนารมณ์ของกฎหมาย 1. กำหนดหลักเกณฑ์/ขั้นตอน การดำเนินงานทางปกครอง เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2. เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ/อำนวยความเป็นธรรม 3. เพื่อให้ประชาชน ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพมากขึ้น

  33. คกก.ที่มีอำนาจดำเนินพิจารณาทางปกครองคกก.ที่มีอำนาจดำเนินพิจารณาทางปกครอง มาตรา 79-83 1. องค์ประชุม 2. การแจ้งนัดประชุม 3. ประธานที่ประชุม 4. มติที่ประชุม/การถามมติของที่ประชุม 5. รายงานการประชุม/การทำความเห็นแย้ง

  34. ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องวินัยที่พบบ่อย ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องวินัยที่พบบ่อย (1) สั่งเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุง โดยไม่เสนอเรื่องให้ คกก.บริหารหน่วยบริการ พิจารณาก่อน (2) เบิกจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ/กบข.ให้กับผู้ที่ถูกดำเนินการ ทางวินัย/ถูกฟ้องคดีอาญา กรณีที่คดี/กรณี ยังไม้สิ้นสุด (3) แต่งตั้ง พนักงานราชการ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมีผลทำให้สำนวนการสอบสวน เสียไปทั้งหมด (4) ไม่หยุดเบิกจ่ายเงินเดือนให้กับผู้ขาดหรือละทิ้งราชการ

  35. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ใช้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ) **************** ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำ ของส่วนราชการ พ.ศ.2537 (ใช้สำหรับลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราวโดยอนุโลม) ************ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการพ.ศ.2547 ข้อกำหนดกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ของ สป.สธ. ลงวันที่ 24 เม.ย.49 (ใช้สำหรับพนักงานราชการ)

  36. โทษทางวินัยข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ มี 5 สถาน ■ไม่ร้ายแรง 1.ภาคทัณฑ์ 2.ตัดเงินเดือน/ค่าจ้าง 3.ลดเงินเดือน/ขั้นค่าจ้าง ■ ร้ายแรง 1. ปลดออก 2. ไล่ออก

  37. โทษทางวินัยของพนักงานราชการ มี 4 สถาน 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินค่าตอบแทน 3. ลดชั้นเงินค่าตอบแทน 4. ไล่ออก กรณีผิดวินัยไม่ร้ายแรง กรณีผิดวินัยอย่างร้ายแรง 37

  38. โทษทางวินัยของลูกจ้างชั่วคราว เงินนอกงบประมาณ ตักเตือนในทางบริหาร/สั่งเลิกจ้างในบางกรณี นำไปเป็นแนวทางในการพิจารณาสั่งเลิกจ้าง โดยความเห็นชอบจาก คกก.บริหาร หน่วยบริการ ประเภทเงินบำรุง-ไม่ได้กำหนดไว้ กรณีทำผิดอย่างไม่ร้ายแรง กรณีทำผิดอย่างร้ายแรง 38

  39. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (Merit Systems Protection Board) 1. ทำหน้าที่พิทักษ์ระบบคุณธรรมโดยเป็นองค์กรอิสระกึ่ง ตุลา(เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร) 2. กรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และมี เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการ ดำรงตำแหน่งวาระเดียว 6 ปี โดยทำงานเต็มเวลา 3. สรรหาและคัดเลือก โดยคณะกรรมการที่มีประธานศาลปกครอง สูงสุด เป็นประธาน

  40. การอุทธรณ์ การอุทธรณ์โทษทางวินัย 5 สถาน /คำสั่งให้ออกจาก ราชการ 6 กรณี คือ เจ็บป่วย/ขาดคุณสมบัติทั่วไป/ ปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพฯ/หย่อนความสามารถฯ/ มลทินมัวหมอง/ถูกจำคุกถึงที่สุดในคดีประมาท-ลหุโทษ - ให้อุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายใน 30 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง - ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด ภายใน 90 นับแต่ ทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.

  41. เหตุถูกสั่งให้ออกจากราชการ 6 กรณี 1. เจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอ 2. ขาดคุณสมบัติทั่วไป/ต้องห้าม - ไม่มีสัญญาติไทย - ไม่เลื่อมใสปกครอง ปชต. - ดำรงตำแหน่งการเมือง - ยังถูกสั่งพักฯ/ให้ออกไว้ก่อน - ล้มละลาย - เคยต้องรับโทษที่สุดให้จำคุกคดีอาญา(ยกเว้นประมาท/ลหุโทษ) 3. ปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพฯ 4. หย่อนฯ-บกพร่อง-ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ฯ 5. มีมลทินหรือมัวหมอง 6. ต้องรับโทษจำคุกที่สุดในความผิดประมาท/ลหุโทษ หรือ ต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลด หรือไล่ออก

  42. การร้องทุกข์ การร้องทุกข์กรณีที่คับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติ/ ไม่ปฏิบัติต่อตน ของ ผบ. และมิใช่กรณีอุทธรณ์ตาม 1. 1. เหตุเกิดจาก ผบ. ให้ร้องทุกข์ต่อ ผบ.ชั้นเหนือขึ้นไป - เหตุเกิดจาก ผบ.ต่ำกว่า ผวจ./อธิบดี ร้องทุกข์ ต่อ ผวจ./อธิบดี - เหตุเกิดจาก ผวจ./อธิบดี ร้องทุกข์ต่อปลัดฯ 2. เหตุเกิดจาก ปลัดกระทรวง/ รัฐมนตรี / นายกฯ ให้ร้องทุกข์ ต่อ ก.พ.ค. 3. ถ้ายังไม่พอใจคำวินิจฉัยร้องทุกข์ มีสิทธิฟ้องต่อศาล ปกครองชั้นต้นภายใน 90 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัย การร้องทุกข์/พิจารณาวินิจฉัย ให้เป็นไปตามกฎ ก.พ.ค.

  43. สรุป การอุทธรณ์/ร้องทุกข์ ตาม พ.ร.บ.2551 1.สั่งลงโทษทางวินัย 5 สถาน ก.พ.ค. ศาล ปกครอง สูงสุด อุทธรณ์ 2.สั่งให้ออกจากราชการ 6 กรณี ก.พ.ค. 1.สั่งให้ออกฯที่อุทธรณ์ไม่ได้โดย ปลัดฯ /รมว./นายกฯ/และผู้รับมอบอำนาจ 2.คับข้องใจ ที่เกิดจาก ปลัดฯ/รมว./ นายกฯ/ และผู้รับมอบอำนาจ ศาล ปกครอง ชั้นต้น ร้องทุกข์ 3.สั่งให้ออกฯ (กรณีอุทธรณ์ไม่ได้) โดย อธิบดี/ผวจ./และผู้รับมอบอำนาจ ปลัดฯ 4.คับข้องใจ ที่เกิดจาก อธิบดี/ผวจ./ และผู้รับมอบอำนาจ อธิบดี/ผวจ 5.คับข้องใจ ที่เกิดจาก ผบ. ซึ่งตำแหน่งต่ำกว่า อธิบดี/ผวจ.

  44. การอุทธรณ์โทษทางวินัย/ร้องทุกข์กรณีถูกสั่งให้ออกฯของลูกจ้างประจำการอุทธรณ์โทษทางวินัย/ร้องทุกข์กรณีถูกสั่งให้ออกฯของลูกจ้างประจำ 1. อุทธรณ์/ร้องทุกข์ ภายใน 30 วัน นับแต่วัน รับทราบคำสั่ง 2. ผู้พิจารณาอุทธรณ์ผู้ออกคำสั่งลงโทษ - อ.ก.พ. จังหวัด ต่ำกว่าผู้ว่าฯ - อ.ก.พ. กรม ต่ำกว่าอธิบดี - อ.ก.พ. กระทรวง ผู้ว่าฯ/อธิบดี/ปลัดฯ

  45. การร้องทุกข์กรณี ผบ.ทำให้เกิดทุกข์/คับข้องใจของลูกจ้างประจำ 1. ร้องทุกข์ต่อ ภายใน 30 วัน นับแต่ทราบเหตุ 2. ผู้พิจารณา/ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาที่ทำให้เกิดทุกข์ ผวจ. ต่ำกว่าผู้ว่าฯ อธิบดี ต่ำกว่าอธิบดี ปลัดกระทรวงฯ ผู้ว่าฯ/อธิบดี รมว. ปลัดฯ

  46. การอุทธรณ์โทษทางวินัยของพนักงานราชการการอุทธรณ์โทษทางวินัยของพนักงานราชการ 1. อุทธรณ์ต่อ ผวจ.ภายใน 15 วัน นับแต่รับทราบคำสั่ง 2. ผู้พิจารณาอุทธรณ์ผู้ออกคำสั่งลงโทษ ลำดับ 1 อธิบดี อธิบดี ผวจผวจ (กรณี อธิบดี มอบอำนาจให้ ผวจ.สั่งลงโทษ) ลำดับ 2 ปลัดกระทรวง 3. ฟ้องศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่ทราบผล การพิจารณาอุทธรณ์ของ รมว.สธ.

  47. การอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราวการอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราว 1. อุทธรณ์ต่อ หัวหน้าหน่วยบริการ ที่ออกคำสั่งเลิกจ้าง ภายใน 15 วัน นับแต่รับทราบคำสั่งเลิกจ้าง 2. ผู้พิจารณาอุทธรณ์ ลำดับ 1 หัวหน้าหน่วยบริการ พิจารณาแล้วหากไม่เห็นด้วย ให้รายงานผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ลำดับ 2 ผบ.ชั้นเหนือฯ พิจารณาแล้วแจ้งผลให้ทราบ 3. ฟ้องศาลปกครองชั้นต้นภายใน 90 วัน นับแต่ทราบผล การพิจารณาอุทธรณ์ของ ผบ.ชั้นเหนือฯ

  48. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ..๒๕๕๑

  49. วินัย 1. กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ 2. ที่กำหนดให้ข้าราชการประพฤติ ปฏิบัติ หรือละเว้นการประพฤติปฏิบัติ 3. ผู้ฝ่าฝืน จะได้รับโทษตามที่กำหนดไว้

  50. วินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551 ความหมายของวินัย... คือแบบแผนความประพฤติ ที่กำหนดให้ข้าราชการ 1. พึงควบคุมตนเอง และ 2. ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ประพฤติ หรือปฏิบัติ ตามที่กฎหมาย ระเบียบแบบแผน ของทางราชการกำหนดไว้ 50

More Related