1 / 48

บำเหน็จลูกจ้าง

บำเหน็จลูกจ้าง. บำเหน็จลูกจ้าง. ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2552. บำเหน็จลูกจ้าง. ระเบียบนี้ใช้บังคับ. ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว. บำเหน็จลูกจ้าง.

Download Presentation

บำเหน็จลูกจ้าง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บำเหน็จลูกจ้าง

  2. บำเหน็จลูกจ้าง ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2552

  3. บำเหน็จลูกจ้าง ระเบียบนี้ใช้บังคับ • ลูกจ้างประจำ • ลูกจ้างชั่วคราว

  4. บำเหน็จลูกจ้าง ลูกจ้างประจำ หมายถึง • ลูกจ้างรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมง ลักษณะการจ้าง • กระทรวง ทบวง กรม จ้างไว้ปฏิบัติงานในลักษณะประจำ • ไม่มีกำหนดเวลา • ตามอัตราและจำนวนที่กำหนดไว้ • จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ • รวมลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างจากเงินทุนไปรษณีย์ด้วย

  5. บำเหน็จลูกจ้าง ไม่รวม ลูกจ้างประจำที่มีสัญญาจ้าง ลูกจ้างที่จ้างให้ปฏิบัติงานของส่วนราชการในต่างประเทศ

  6. บำเหน็จลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว หมายถึง ลูกจ้างรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง ลักษณะการจ้าง จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะชั่วคราว และหรือโดยมีกำหนดเวลาจ้าง จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ

  7. บำเหน็จลูกจ้าง ผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จปกติ คือลูกจ้างประจำ

  8. บำเหน็จลูกจ้าง ลูกจ้างประจำจะได้รับบำเหน็จปกติเมื่อต้องออกจากงานด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังนี้ ลาออกโดยไม่มีความผิด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และถูกลงโทษปลดออกจากราชการ (เงื่อนไข ต้องทำงานเป็นลูกจ้างประจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์) มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ป่วยเจ็บไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (แพทย์รับรองด้วย) ขาดคุณสมบัติเกี่ยวกับสัญชาติ ขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบบประชาธิปไตยฯ

  9. บำเหน็จลูกจ้าง ขาดคุณสมบัติเนื่องจากไปดำรงตำแหน่งกำนันฯ ขาดคุณสมบัติเนื่องจากไปดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกายทุพพลภาพไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ฯ ขาดคุณสมบัติเนื่องจากเป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง ขาดคุณสมบัติเนื่องจากเป็นบุคคลล้มละลาย ทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง หย่อนความสามารถฯ

  10. บำเหน็จลูกจ้าง ถูกสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฯ ถูกสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากรับโทษจำคุกโดยคำสั่งศาลฯ ไปรับราชการทหาร (ต้องทำงานเป็นลูกจ้างประจำไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์)

  11. บำเหน็จลูกจ้าง วิธีการคำนวณจ่ายบำเหน็จปกติ บำเหน็จปกติ = (ถ้ามีเศษของบาทปัดทิ้ง)

  12. บำเหน็จลูกจ้าง กรณีลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิได้รับเสียชีวิตก่อนได้รับเงินบำเหน็จปกติ จ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก โดยอนุโลม จ่ายตามสัดส่วนของเงินมรดก โดยไม่ต้องกันส่วนเป็นสินสมรสก่อนแบ่ง เนื่องจากไม่ถือว่าเป็นสินสมรส

  13. บำเหน็จลูกจ้าง • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2552 • มีผลบังคับตั้งแต่ 30 กย.52 • บำเหน็จปกติ • บำเหน็จรายเดือน • บำเหน็จพิเศษ • บำเหน็จพิเศษรายเดือน

  14. บำเหน็จลูกจ้าง บำเหน็จปกติ • ลูกจ้างประจำ • มีเวลาราชการ 5 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป • จ่ายเพียงครั้งเดียว วิธีการคำนวณ สูตร = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x จำนวนเดือนที่ทำงาน / 12

  15. ออกจากราชการ บำเหน็จรายเดือน • ลูกจ้างมีสิทธิรับบำเหน็จปกติ • มีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป • แสดงความประสงค์ขอรับบำเหน็จรายเดือนแทนบำเหน็จปกติ • จ่ายเป็นรายเดือน • สิทธิรับบำเหน็จรายเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ลูกจ้างประจำออกจากงานจนกระทั่งถึงแก่ความตาย • เมื่อลูกจ้างประจำได้รับบำเหน็จปกติหรือบำเหน็จรายเดือนจากส่วนราชการผู้เบิกไปแล้วจะขอเปลี่ยนแปลงความประสงค์อีกไม่ได้

  16. บำเหน็จรายเดือน= ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x จำนวนเดือนที่ทำงาน 12 50

  17. บำเหน็จพิเศษ / บำเหน็จพิเศษรายเดือน จ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิรับบำเหน็จพิเศษ แต่ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จพิเศษรายเดือน ได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อีกเลย จ่ายเพียงครั้งเดียวเรียกบำเหน็จพิเศษ จ่ายเป็นรายเดือน เรียกว่าบำเหน็จพิเศษรายเดือน

  18. บำเหน็จพิเศษ /บำเหน็จพิเศษรายเดือน มี 2 กรณี กรณีปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ กรณีปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ในระหว่างที่มีการรบ การสงคราม การปราบปรามจลาจล หรือในระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก

  19. กรณีปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติกรณีปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ • ส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้กำหนดตามจำนวนที่เห็นสมควร • คำนึงถึงความร้ายแรงของเหตุการณ์ • ประกอบความพิการและทุพพลภาพของลูกจ้าง • อัตราการจ่าย • บำเหน็จพิเศษ 6 –21 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย • ลูกจ้างชั่วคราวได้รับบำเหน็จพิเศษ 3 ใน 4 ส่วนของลูกจ้างประจำ • บำเหน็จพิเศษรายเดือน (เฉพาะลูกจ้างประจำ) 6 – 21 เท่าขอบค่าจ้างเดือนสุดท้าย / 50

  20. กรณีปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดกรณีปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้กำหนดตามจำนวนที่เห็นสมควร คำนึงถึงความร้ายแรงของเหตุการณ์ ประกอบความพิการและทุพพลภาพของลูกจ้าง อัตราการจ่าย บำเหน็จพิเศษ 36 –42 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย ลูกจ้างชั่วคราวได้รับบำเหน็จพิเศษ 3 ใน 4 ส่วนของลูกจ้างประจำ บำเหน็จพิเศษรายเดือน (เฉพาะลูกจ้างประจำ) 36 –42 เท่าขอบค่าจ้างเดือนสุดท้าย / 50

  21. ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว ผู้ได้รับอันตราย ถึงแก่ความตายเพราะเหตุนั้นก่อนได้รับบำเหน็จพิเศษ • จ่ายบำเหน็จพิเศษให้แก่ทายาท • ตาม ปพพ.ว่าด้วยมรดกโดยอนุโลม ปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ จ่ายให้แก่ทายาท = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x 30 เดือน ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด จ่ายให้แก่ทายาท = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x 48 เดือน

  22. ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว ผู้ได้รับอันตราย เจ็บป่วย/ตาย • ลูกจ้าง หรือทายาท • มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยตามกฎหมาย ฯ เงินทดแทน หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน • จากทางราชการหรือหน่วยงานอื่นที่ทางราชการสั่งให้ไปปฏิบัติงาน • ให้เลือกรับอย่างใดอย่างหนึ่ง

  23. บำเหน็จลูกจ้าง • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2554 • มีผลบังคับตั้งแต่ 30 พ.ค. 54 • ผู้รับบำเหน็จรายเดือน หรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำเหน็จตกทอด 15 เท่าของบำเหน็จรายเดือน สูตร = บำเหน็จรายเดือน x 15 เท่า

  24. บำเหน็จลูกจ้าง ทายาทผู้มีสิทธิ • บุตรได้ 2 ส่วน ถ้ามีบุตรสามคนขึ้นได้รับ 3 ส่วน • สามีหรือภรรยาได้รับ 1 ส่วน • บิดามารดา หรือบิดามารดาที่มีชีวิตอยู่ได้ 1 ส่วน • ในกรณีไม่มีทายาททั้งสามข้อ ให้จ่ายบุคคลที่ผู้ตายแสดงเจตนาไว้ กรณีที่ทายาทและบุคคลที่แสดงเจตนาไว้ได้ตายไปก่อนให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติ

  25. สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างประจำสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างประจำ ลูกจ้างประจำมีสิทธิลาตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 ข้อ 9 วรรค สอง “การลาหยุดราชการของลูกจ้างประจำให้นำระเบียบการลาของข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม” ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 แบ่งเป็น 11 ประเภท 1. การลาป่วย 2. การลาคลอดบุตร 3. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร

  26. สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างประจำสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างประจำ 4. การลากิจส่วนตัว 5. การลาพักผ่อน 6. การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ 7. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล 8. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน 9. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ 10. การลาติดตามคู่สมรส 11. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

  27. สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 1. ลาป่วยได้รับค่าจ้างอัตราปกติระหว่างลาในปีหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ แต่ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเห็นสมควรให้จ่ายค่าจ้างระหว่างลาต่อไปอีกก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 60 วันทำการ 2. ลาคลอดบุตร โดยได้รับค่าจ้างอัตราปกติระหว่างลาไม่เกิน 90 วัน หากประสงค์จะลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรเพิ่มอีก ให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่อง โดยได้รับค่าจ้างระหว่างลาได้อีก 30 วันทำการ และให้นับรวมอยู่ในวันลากิจส่วนตัว 45 วันทำการด้วย

  28. สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 3. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร ให้ได้รับค่าจ้างระหว่างลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ แต่ถ้าเป็นการลาเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างลา เว้นแต่หัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลางหรือที่ได้รับมอบหมายเห็นสมควรให้จ่าค่าจ้างก็ได้ แต่ไม่เกิน 15 วันทำการ

  29. สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 4. การลากิจส่วนตัว ได้รับค่าจ้างระหว่างลาปีละไม่เกิน 45 วันทำการ แต่ในปีที่เริ่มเข้าปฏิบัติงานให้ได้รับค่าจ้างระหว่างลาไม่เกิน 15 วันทำการ 5. การลาพักผ่อน ปีละ 10 วันทำการ และสามารถสะสมวันลาพักผ่อนที่ไม่ได้ใช้สิทธิได้อีกปีละไม่เกิน 10 วันทำการ สำหรับผู้ที่รับราชการติดต่อกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิสะสมวันลาได้ 20 วันทำการ รวมกับวันพักผ่อนปีปัจจุบันต้องไม่เกิน 30 วันทำการ 6. การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน มีสิทธิลา โดยได้รับค่าจ้างอัตราปกติระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน

  30. สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 7. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ลูกจ้างประจำมีสิทธิลาไปรับการตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารตามกฎหมาย โดยได้รับค่าจ้างอัตราปกติในระหว่างลา แต่ถ้าพ้นระยะเวลาของการลาแล้วไม่มารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติงานภายใน 7 วัน จะไม่ได้รับค่าจ้างหลังจากนั้นจนถึงวันเข้าปฏิบัติงาน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น หัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะให้จ่ายค่าจ้างในระหว่างนั้นต่อไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 15 วัน ลูกจ้างรายวัน และรายชั่วโมง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์

  31. สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 8. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน ที่ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับหน้าที่ราชการที่ผู้นั้นปฏิบัติอยู่ ให้ได้รับค่าจ้างปกติระหว่างที่ไป 9. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ 10. การลาติดตามคู่สมรส ลูกจ้างประจำสามารถลาติดตามคู่สมรสได้ แต่ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างลา 11. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ให้ได้รับอัตราค่าจ้างระหว่างลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร แต่ไม่เกิน 12 เดือน

  32. สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ได้แก่ 1. คู่สมรส 2. บิดามารดา 3. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

  33. สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ลำดับที่ 1-3 โดยให้นับลำดับการเกิดก่อน-หลัง ไม่ว่าจะเกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ และมีอายุครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี ทั้งนี้ไม่รวมบุตรบุญธรรม และบุตรที่บิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว

  34. สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร 1. กรณีศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ หลักสูตรระดับชั้นอนุบาลถึงระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด 2. กรณีศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นของเอกชน - หลักสูตรระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ และสายอาชีพ ให้ได้รับเต็มจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด

  35. สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร - หลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า แต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรปริญญาตรี และหลักสูตรปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด

  36. สวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ลูกจ้างประจำที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คนละ 1,000 บาทต่อเดือน

  37. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ลูกจ้างประจำซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจอนุญาตให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  38. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การเดินทางไปราชการ มี 2 ประเภท ได้แก่ 1.การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร - การเดินทางไปราชการชั่วคราว - การเดินทางไปราชการประจำ - การเดินทางกลับภูมิลำเนา 2.การเดินทางไปราชการต่างประเทศ - การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว - การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ (การเทียบตำแหน่ง ลูกจ้างประจำ เทียบเท่ากับข้าราชการพลเรือนตำแหน่ง “ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน”

  39. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การเดินทางไปราชการชั่วคราว ค่าเบี้ยเลี้ยง : 240 บาท/วัน ค่าที่พัก - กรณีเลือกเบิกลักษณะจ่ายจริง - ห้องพักคนเดียว 1,500 บาท/วัน - ห้องพักคู่ 850 บาท/วัน - กรณีเลือกเบิกลักษณะเหมาจ่าย - อัตรา 800 บาท/วัน ค่าพาหนะ การเดินทางไปราชการโดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและเบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ไม่เกินสิทธิ

  40. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การเดินทางไปราชการประจำ ค่าเบี้ยเลี้ยง : เบิกได้เช่นเดียวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราว ค่าที่พัก : ตนเองและบุคคลในครอบครัว เบิกอัตราเดียวกับ ผู้เดินทาง ผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการ ในตำแหน่งระดับต่ำสุด ค่าพาหนะ : ตนเองและบุคคลในครอบครัว เบิกอัตราเดียวกับ ผู้เดินทาง ผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการ ในตำแหน่งระดับต่ำสุด ค่าใช้จ่ายอื่น : ให้เบิกได้โดยประหยัด ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว : อัตราเหมาจ่ายตามที่ กค.กำหนด

  41. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว ตนเองและบุคคลในครอบครัว เบิกอัตราสำหรับ ตำแหน่งระดับสุดท้ายก่อนออกจากราชการหรือเลิกจ้าง

  42. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพ ผู้เดินทางถึงแก่ความตายระหว่างเดินทางไปราชการ • ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินเส้นทาง ท้องที่ที่ถึงแก่ความตายท้องที่รับราชการ

  43. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพ (ต่อ) • ค่าพาหนะเดินทางไปปลงศพ ไป-กลับ (ไม่ส่งศพกลับ) - เบิกได้สำหรับคู่สมรส บุตร บิดา มารดาของผู้ตาย เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิของผู้ตาย เว้นแต่ ผู้เดินทางเป็นผู้มีสิทธิ เบิกค่าใช้จ่ายเดินทาง ให้เบิกตามสิทธิของตนเองไม่เกินเส้นทาง ท้องที่ที่รับราชการ ท้องที่ที่ถึงแก่ความตาย - ถ้าเบิกให้ผู้จัดการศพ เบิกได้เพียงคนเดียว กรณีเดินทางโดยเครื่องบินให้เบิกในอัตราต่ำสุด เว้นแต่ ผู้จัดการศพ เป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายเดินทาง ให้เบิกตามสิทธิ

  44. ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 1.การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ไม่เกินวันละ 4 ชม. อัตราชั่วโมงละ 50 บาท 2.การปฏิบัติงานวันหยุดราชการไม่เกินวันละ 7 ชม. อัตราชั่วโมงละ 60 บาท

More Related