1 / 14

โรคหมาบ้าภัยใกล้ตัว

โรคหมาบ้าภัยใกล้ตัว. ทำอย่างไรให้ชุมชนของท่านปลอดภัย. โดย สัตวแพทย์หญิงอภิรมย์ พวงหัตถ์ หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าย้อนหลัง 6 ปี (2548-2553). ปี 2553 รายงานถึง 16 กุมภาพันธ์ 2553.

Download Presentation

โรคหมาบ้าภัยใกล้ตัว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคหมาบ้าภัยใกล้ตัว ทำอย่างไรให้ชุมชนของท่านปลอดภัย โดยสัตวแพทย์หญิงอภิรมย์ พวงหัตถ์ หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

  2. สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าย้อนหลัง 6 ปี (2548-2553) ปี 2553 รายงานถึง 16 กุมภาพันธ์ 2553

  3. สถานการณ์ผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ารายงานตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2552 ปี 2552 สูงถึง 24 ราย ภาคกลาง 20 ราย กรุงเทพมหานคร 7 ราย กาญจนบุรี 4 ราย สงขลา 3 ราย สุพรรณบุรี ราชบุรี ระยอง จังหวัดละ 2 ราย ปราจีนบุรี สมุทรสาคร นนทบุรี ตาก จังหวัดละ 1 ราย เป็นผู้ใหญ่ 19 ราย เด็ก 5 ราย (ชาย 16 ราย หญิง 8 ราย)

  4. รายที่ 1 สมุทรปราการ (ตาย 11 มกราคม 2553 ถูกกัดเมื่อกลางพฤศจิกายน 2552) รายที่ 2 กาญจนบุรี (ตาย 17 มกราคม 2553 อุ้มลูกสุนัขตนเองที่ถูกสุนัขกัด ประมาณ 1 ปีมาแล้ว) รายที่ 3 สระบุรี (ป่วยอยู่โรงพยาบาลสระบุรี 16 มกราคม 2553 ถูกกัด 10 ธันวาคม 2552) รายที่ 4 , 5 และ 6 กรุงเทพมหานคร (ตาย 19 มกราคม, 24 มกราคม และ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ถูกกัดเมื่อ 9, 10 ธันวาคม 2552 และ 1ธันวาคม 2552) หมายเหตุ รายสุดท้ายเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขถูกสุนัขตัวเองกัดเป็นข่าวอยู่ขณะนี้ เป็นชาย 4ราย หญิง 2ราย สถานการณ์ผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2553รายงานตั้งแต่ 1 มกราคม - 16 กุมภาพันธ์ 2553 6 ราย ได้แก่

  5. ปี 2552 ข้อมูล 21 ราย มีสาเหตุจากสุนัขทั้งสิ้น (ยังไม่ทราบข้อมูล 3 ราย) เป็นลูกสุนัข 7 ราย สุนัขมีเจ้าของทั้ง 16 ราย ไม่เคยฉีดวัคซีน หลังจากสุนัขตาย มีการส่งหัวตรวจ 1 ราย

  6. ปี 2553 ข้อมูลสัตว์ต้นเหตุ สุนัขมีเจ้าของ 5 ราย หลังจากสุนัขตาย ไม่มีการส่งหัวตรวจ

  7. ข้อมูลผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า จากโรงพยาบาลต่างๆ ที่รายงาน Online 446,255 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม 2553) สัตว์ที่กัดเป็นสุนัขสูงสุด 390,135 ตัว (83.67%) รองลงมาเป็นแมว 55,222 ตัว (11.84%) เป็นสัตว์มีเจ้าของ 360,520 ตัว (77.32%) ไม่มีเจ้าของ 64,014 ตัว (13.73%) กลุ่มอายุที่ถูกกัดมากที่สุด 1 - 5 ปี 83,465 คน (17.90%) รองลงมากลุ่มอายุ 6 - 10 ปี 73,547 คน (15.77%)

  8. ข้อมูลผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า จากโรงพยาบาลต่างๆ ที่รายงาน Online 446,255 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม 2553) สถานที่ถูกกัดมากที่สุด ในเขต อบต. 250,139 (75.10%) การดูแลบาดแผลหลังถูกกัด ไม่ได้ล้างแผล 159,656 (34.24%) ไม่ได้ใส่ยา 306,509 (65.74%)

  9. ข้อสังเกตพื้นที่ที่มีผู้เสียชีวิต มักพบในพื้นที่ซ้ำหรือใกล้เคียง จังหวัดกรุงเทพมหานครพบในเขตชานเมือง ได้แก่ หนองจอก ลาดกระบัง นวมินทร์ แห่งละ 1 ราย บางขุนเทียน วังทองหลาง แห่งละ 2 ราย (ปี 2551 มีผู้เสียชีวิตที่หนองจอก, ลาดกระบัง) จังหวัดกาญจนบุรีมีผู้เสียชีวิตถึง 4 ราย โดย 3 ราย อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงคือ อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี (ตาย 1 กันยายน 2552, 18 กันยายน 2552, 26 พฤศจิกายน 2552) จังหวัดสงขลามีผู้เสียชีวิต 3 ราย ที่อำเภอหาดใหญ่ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นสุนัขของตนเอง และอีก 1 ราย ที่อำเภอคลองหอยโข่ง ซึ่งอำเภอนี้พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำ จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เสียชีวิตอยู่ในอำเภออู่ทอง ทั้ง 2 ราย พบเสียชีวิต รายแรกในเดือนมิถุนายน 2552 (สัมผัสเชื้อมีนาคม 2552 สุนัขไม่ทราบเจ้าของ) และกันยายน 2552 (สัมผัสเชื้อมิถุนายน 2552 สุนัขมีเจ้าของ)

  10. ข้อสรุปปัญหาที่พบในประเทศไทยปัจจุบันข้อสรุปปัญหาที่พบในประเทศไทยปัจจุบัน 1. ความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขยังไม่ถึงร้อยละ 80 ของทุกพื้นที่ 2. ยังไม่มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายหรือการนำสัตว์จากพื้นที่อื่นเข้ามาในพื้นที่ที่มีการควบคุมโรคดีแล้ว ทำให้มีการแพร่โรคพิษสุนัขบ้าไปได้ไกลๆ เช่น ในปี 2548 นำลูกสุนัข 1 ตัวจากระยองทำให้กัดคนที่กรุงเทพฯ เป็นโรคพิษสุนัขบ้าถึง 3 ราย ปี 2551 (1) นำลูกสุนัขจากกรุงเทพฯไปกัดเด็กที่จังหวัดเลยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า 1 ราย (2) นำลูกสุนัขจากระยองไปกัดคนที่หนองบัวลำภูเป็นโรคพิษสุนัขบ้า 1 ราย ปี 2552 นำสุนัขที่กัดคนจังหวัดระยองไปให้คนอื่นที่อุทัยธานี

  11. 3. คนที่มีความเสี่ยงถูกสัตว์ที่อาจจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือข่วนแล้วไม่ได้มาพบแพทย์โดยเร็วทำให้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า3. คนที่มีความเสี่ยงถูกสัตว์ที่อาจจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือข่วนแล้วไม่ได้มาพบแพทย์โดยเร็วทำให้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า 4. การส่งหัวสัตว์ตรวจน้อยลงเนื่องจาก (1) วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับฉีดในคนที่สัมผัสโรคมีความปลอดภัยสูง คนถูกสุนัขกัดจึงไปฉีดวัคซีนเลยโดยไม่สนใจว่าสัตว์จะเป็นบ้าหรือไม่ (2) การส่งหัวสัตว์ยุ่งยาก ไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบส่งต่อ จึงทิ้งสัตว์ที่ตายไปโดยไม่ส่งตรวจและต้องเสียค่าใช้จ่ายเองด้วย ทำให้ระบบเฝ้าระวังควบคุมโรคในสัตว์เสียไป ปกติแล้วเมื่อมีหัวสัตว์พบเชื้อเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จะไปดำเนินการฉีดวัคซีนให้สุนัขโดยรอบรัศมี 5 กิโลเมตร (Ring Vaccination) ข้อสรุปปัญหาที่พบในประเทศไทยปัจจุบัน

  12. ปี 2552 ผู้เสียชีวิต 4 ราย ไปพบแพทย์แล้วเสียชีวิต รายที่ 1 ถูกสุนัขที่จังหวัดสมุทรสาครกัดได้รับวัคซีนและ RIG และได้รับ RIG อีกครั้งในวันที่ 4 หลังจากถูกกัด รายที่ 2 ได้แก่ คนไข้ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้รับวัคซีนและ RIG ช้า โดยฉีดหลังจากที่ลูกชายเสียชีวิตแล้ว (หลังจากถูกกัดเกือบ 2 เดือน) รายที่ 3เป็นคนไข้เด็กหญิง อายุ 3 ขวบ อยู่อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้รับการรักษาบาดแผล แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รายที่ 4เป็นคนไข้เด็กชายชาวกระเหรี่ยง อายุ 2 ปี จังหวัดกาญจนบุรี เจ้าของหลอกว่าฉีดวัคซีนแล้ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงไม่ได้ฉีดวัคซีนให้คนไข้

  13. ปี 2552 กรมควบคุมโรคร่วมกับกรมปศุสัตว์ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2563 (ตามเป้าหมายที่ WHO OIE ตั้งไว้) ร่วมหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (กทม. อบต. อบจ. เทศบาล) และจัดทำคู่มือหลักเกณฑ์การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

  14. ปี 2553 1. โครงการที่ดำเนินการร่วมกันโครงการถ่ายทอดยุทธศาสตร์กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ข้อตกลงความร่วมมือกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไประหว่างกรมควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 3. จัดตั้งคณะกรรมการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าแห่งชาติ 4. จัดงานวันรณรงค์โรคพิษสุนัขบ้าโลก 28 กันยายน พ.ศ. 2553 World Rabies Day 28 September 2010 (ปี 2553 กทม. เป็นเจ้าภาพหลัก)

More Related