1 / 115

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุน อบต. / เทศบาล)

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุน อบต. / เทศบาล).

istas
Download Presentation

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุน อบต. / เทศบาล)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุน อบต./เทศบาล)

  2. มาตรา ๔๗ ( พรบ.หลักประกันสุขภาพฯ) “เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจาก กองทุน”

  3. คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ เห็นชอบหลักเกณฑ์การสนับสนุนให้ อบต.หรือเทศบาลดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 สปสช. ออกประกาศดำเนินงาน

  4. บันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ อปท. ในเรื่องการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ของ ๗ หน่วยงาน/องค์กร เมื่อ 19 มีค. 2550 (สปสช. สธ. พม. มท. สมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคม อบต. แห่งประเทศไทย)

  5. ให้ อปท. สมทบงบประมาณเข้าระบบหลักประกันสุขภาพฯ ตามประกาศคณะกก.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยตั้งแต่งบปี 2550เป็นต้นไป ให้ อบต./เทศบาล ตั้ง งบประมาณสมทบไว้ในรายจ่ายงบกลางประเภทรายจ่ายตามข้อผูกพัน หนังสือที่ มท.0891.3/ว1110 ลวท.3เมย.2550

  6. จัดตั้งกองทุนประจำทุกพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานสาธารณสุขชุมชน อย่างต่อเนื่อง เน้นการสร้างสุขภาวะของประชาชนและชุมชน โดยการ มีส่วนร่วมของประชาชน อปท. และจนท.สาธารณสุข กระจายอำนาจให้ อปท. ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาคมและการสนับสนุนทางวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ แนวทางดำเนินงาน

  7. วัตถุประสงค์ของกองทุนฯวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ 1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข ของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น สถานบริการทางเลือกในพื้นที่ โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่กำหนด

  8. 3. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่ จัดทำกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 4. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนหลักประกันสุขภาพในรอบปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทต่อหน่วย

  9. ที่มาของเงินทุน เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด (40 บาทต่อประชากร) เงินอุดหนุนที่ได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล หรือที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชน รายได้อื่นๆหรือทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน

  10. สัดส่วนเงินสมทบ • อบต.ขนาดใหญ่หรือเทศบาลสมทบไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกัน ฯ • อบต.ขนาดกลางสมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุน ฯ • อบต.ขนาดเล็กสมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุน ฯ

  11. องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล ที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) มีความประสงค์เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ (๒) มีการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องโรคในพื้นที่มาก่อนแล้ว และมีการจัดทำแผนและดำเนินการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆในพื้นที่ (๓) มีความพร้อมในการอุดหนุนเงินหรืองบประมาณตามอัตราส่วนที่กำหนด

  12. คณะกรรมการบริหารกองทุนคณะกรรมการบริหารกองทุน ผอ.โรงพยาบาลชุมชนและสาธารณสุขอำเภอ เป็นที่ปรึกษา 1. นายก อบต.หรือนายกเทศมนตรี เป็นประธาน 2. ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ จำนวน ๒ คน เป็นรองประธาน 3. สมาชิกสภา อบต.หรือสภาเทศบาลที่สภาฯ คัดเลือก จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ 4. หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ เป็นกรรมการ 5. ผู้แทน อสม. ในพื้นที่คัดเลือกกันเอง 2 คน เป็นกรรมการ

  13. 6. ผู้แทนหมู่บ้าน/ชุมชนที่ประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน เลือกกันเอง ไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการ 7. ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ประชาชนหรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่ หน่วยละ ๑ คน (ถ้ามี) เป็นกรรมการ 8. ปลัด อบต. หรือปลัดเทศบาลหรือ เจ้าหน้าที่อื่นที่นายก อบต. หรือนายกเทศบาล มอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี คณะกรรมการอาจหมดอายุการทำงานก่อนกำหนด โดยคำสั่งของ สปสช.

  14. การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารกองทุนการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารกองทุน พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ตาย ลาออกหรือย้ายไปดำรงตำแหน่งหรือทำอาชีพในพื้นที่อื่น เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นบุคคลล้มละลาย

  15. หน้าที่คณะกรรมการ บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รับผิดชอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามที่กำหนด ดำเนินการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในความรับผิดชอบสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จัดทำข้อมูลและแผนดำเนินงานที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมายและหน่วยบริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง

  16. 5. จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เมื่อสิ้นปีงบประมาณเพื่อเสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลภายในเดือนธันวาคมของทุกปี แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น กองทุนหลักประกันสุขภาพใด ที่ไม่มีเงินสมทบจาก อบต. หรือเทศบาล หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดๆ ต่อเนื่องตั้งแต่ ๒ ปี ขึ้นไป สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอาจประกาศยุบเลิกกองทุนหลักประกันสุขภาพนั้นได้ และให้โอนเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหลักประกันสุขภาพดังกล่าวเป็นของหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่นั้น ตามวิธีการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

  17. สนับสนุนงบประมาณเป็นรายปีแก่หน่วยบริการ( สอ.หรือ รพช.) ในเขตพื้นที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการในชุมชน สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น สถานบริการทางเลือกเพื่อจัดบริการให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ การบริการปฐมภูมิได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เงินระบบ(กองทุน)ฯ อาจใช้จ่ายได้ภายใต้กรอบแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้

  18. 3. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรประชาชนในเขตพื้นที่จัดทำกิจกรรมที่เกิดจากความริเริ่มของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นเอง เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ 4. สนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อบริหารหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของระบบหลักประกันสุขภาพในรอบปีงบประมาณนั้น เงินระบบ(กองทุน)ฯ อาจใช้จ่ายได้ภายใต้กรอบแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้ (ต่อ)

  19. - สปสช. โอน 40 บ./หัว – อบต./เทศบาล สมทบ 20,30,50% ส่งเสริมสุขภาพ - คัดเลือก อบต./เทศบาลที่ผ่านเกณ์ - ทำข้อตกลง ชี้แจงทำความเข้าใจ – แต่งตั้ง กก.บริหารกองทุน – เปิดบัญชี ธนาคาร ฟื้นฟูสมรรถภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต. และเทศบาล ป้องกันโรค บริการปฐมภูมิ คณะ กก.บริหารกองทุน ผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง เด็ก/เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ แผนสุขภาพชุมชน ประชาชน ชุมชนมีส่วนร่วม

  20. ภาพรวมการดำเนินงาน หลักเกณฑ์เห็นชอบเมื่อ 27 กพ. 49 การพัฒนาศักยภาพ จัดทำข้อตกลงร่วมกับ สนง.สาขาเขต ทำบันทึกความร่วมมือ 7 องค์กร - อบรมวิทยากรแกนนำ 75 จว. - อบรม กก. บริหารกองทุน – อบรมบันทีกข้อมูล on line - จัดทำคู่มือวิทยากร/ กก. - ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ ขยายปี 53 พท.ที่พร้อมทั่วประเทศ อบต./เทศบาล 3,935 พื้นที่ ปี 2552 เครื่องมือพัฒนา/ค้นหานวัตกรรม - รายงานไตรมาส/ ประจำปี - ประเมินผลเชิงนโยบาย บริหารจัดการ - ใช้แผนที่ยุทธศาสตร์บริหารจัดการ ติดตามสนับสนุน – จัดทีมนวัตกรรม จว./พื้นที่ อบต./เทศบาลสมทบงบ 20,30,50 % สปสช.โอนงบ 40 บ./หัว

  21. จัดทำข้อมูลชุมชน แผนที่ยุทธศาสตร์ แผนสุขภาพชุมชน การดูแลผู้สูงอายุ ผป.เรื้อรังและคนพิการในชุมชน การป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอดส์ วัณโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน บทบาทของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับการสนับสนุนระบบสุขภาพในพื้นที่

  22. แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

  23. มีคณะกรรมการกองทุนฯโดย สปสช.เป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง เงินของกองทุนฯมีอย่างน้อย 2 ส่วน(สปสช.,อบต./เทศบาล) มีแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯทั้ง 4 ประเภท รายงานผ่านระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.th องค์ประกอบการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

  24. ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ 1.กองทุนใหม่(ประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง) ครั้งที่ 1 ชี้แจงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทางบริหารจัดการ ยกร่างระเบียบกองทุนตัวอย่างมีที่(http://tobt.nhso.go.th) ครั้งที่ 2 เห็นชอบ ประกาศใช้ระเบียบกองทุนฯ พิจารณาข้อมูลสุขภาพโดยทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ แผนสุขภาพชุมชน ประชาสัมพันธ์กองทุน ครั้งที่ 3 พิจารณาและอนุมัติโครงการ ครั้งต่อไป อย่างน้อยทุก 2 เดือน รายงานความก้าวหน้า รายงานการเงิน ติดตามการบันทึกผ่านระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.th การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

  25. 2.กองทุนเก่า ต.ค.-ธ.ค. สรุปผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา กำหนดกรอบแผนงาน/โครงการปีต่อไป พิจารณาโครงการ ม.ค.-ก.ย. พิจารณาโครงการระหว่างปี ติดตามผลการดำเนินงาน รายงานการเงินรายไตรมาส ติดตามบันทึกผลงานผ่านระบบออนไลน์ ทบทวนปัญหาสาธารณสุข การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

  26. เลขานุการกองทุนจัดทำระเบียบวาระการประชุม และบันทึกรายงานการประชุม การประชุมแต่ละครั้ง องค์ประชุมต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และใช้ความเห็นชอบร่วมกันของกรรมการเป็นเกณฑ์ วาระประจำการประชุมแต่ละครั้ง มีรายงานการรับ-จ่ายเงินให้ที่ประชุมรับทราบ บันทึกรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรรูปแบบใดก็ได้ เพื่อเก็บรักษาไว้ใช้อ้างอิงและตรวจสอบ โดยมอบให้ประธาน เลขานุการเป็นผู้ลงนาม รับผิดชอบความถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

  27. ลักษณะกิจกรรม ที่ขอสนับสนุนเงินกองทุนฯ 1.การจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ 2.สนับสนุนแก่หน่วยบริการสาธารณสุขตามแผนงาน/โครงการ 3.สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น 4.กิจกรรมบริหารกองทุน พัฒนาศักยภาพกรรมการ พัฒนาระบบบริหารจัดการ(ครุภัณฑ์ 20,000บาทต่อหน่วย ค่าตอบแทนกรรมการไม่เกิน 200 บาท/ครั้ง)

  28. ประกาศ สปสช.เรื่องแนวทางการรับเงิน การจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน จัดทำบัญชี ลว 16 ธ.ค.2552 หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท 0891.3/ว 1110 ลว 3 เม.ย. 2550 แหล่งเงินกองทุนฯ -สปสช. สนับสนุนเป็นรายปี -อบต./เทศบาล เมืองพัทยา สมทบตามอัตราที่ สปสช.กำหนด ในรายจ่ายงบกลาง ประเภทรายจ่ายตามข้อผูกพัน -เงินสมทบจากชุมชน กองทุนชุมชน -รายได้อื่นๆ หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการดำเนินกิจกรรมของกองทุนฯ “เปิดบัญชีไว้กับ ธ.ก.ส. ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ชื่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต./เทศบาล......... อ........จ..........” ผู้มีอำนาจเบิกจ่าย 2 ใน 4 การบริหารงบประมาณ การรายงานการเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

  29. การรับเงินกองทุนฯ รับได้ 4 ลักษณะ 1.เงินสดหรือรับเงินโดยการโอนผ่านทางธนาคาร 2.เช็ค 3.ตั๋วแลกเงิน 4.ธนาณัติ ให้คณะกรรมการมอบหมายกรรมการคนหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบนำเงินส่งเข้าบัญชีเงินฝากกองทุนฯภายใน ๓ วันทำการธนาคาร

  30. หลักฐานการรับเงินของกองทุนฯหลักฐานการรับเงินของกองทุนฯ 1.กองทุนออกใบเสร็จรับเงินในนามคณะกรรมการให้กับบุคคล กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคล 2.รับเงินค่าบริการสาธารณสุขจาก สปสช.ให้ใช้หนังสือแจ้งการโอนจาก สปสช.เป็นหลักฐานแล้วออกใบเสร็จรับเงิน 3.การรับเงินสมทบจาก อปท.ให้ใช้สำเนาใบนำฝากเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน แล้วออกใบเสร็จรับเงินตามข้อ 2 ส่งให้ อปท. ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจกำหนดให้มีหลักฐานการรับเงิน ในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นควร

  31. การสั่งจ่ายเงินของกองทุนฯการสั่งจ่ายเงินของกองทุนฯ สั่งจ่ายเงินของกองทุนฯ แยกประเภทรายจ่ายตามกิจกรรม 4 ประเภท 1.ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดซื้อชุดสิทธิประโยชน์ 2.ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนแก่หน่วยบริการ 3.ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนองค์กร ภาคี ประชาชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค 4.ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหารจัดการกองทุน กิจกรรม 1-3 ไม่กำหนดสัดส่วน แต่กิจกรรมที่ 4 ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในปีงบประมาณนั้นๆ

  32. วิธีการจ่ายเงินกองทุนฯ รับได้ 4 ลักษณะ 1.เงินสดหรือรับเงินโดยการโอนผ่านทางธนาคาร 2.เช็ค 3.ตั๋วแลกเงิน 4.ธนาณัติ

  33. หลักฐานการจ่ายเงินกองทุนฯหลักฐานการจ่ายเงินกองทุนฯ 1.การจ่ายเงินให้กับบุคคล กลุ่มบุคคล นิติบุคคล ให้มีหลักฐานใบสำคัญการจ่ายเงิน ให้ผู้มีสิทธิรับเงิน ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง 2.การจ่ายเงินให้กับหน่วยงานราชการหรือเอกชน หน่วยงานนั้นๆออกใบเสร็จรับเงินให้กับกองทุน และเก็บเป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน 3.การจ่ายเงินโดยโอนผ่านธนาคาร ให้เก็บหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเป็นหลักฐาน คณะกรรมการกองทุนฯอาจกำหนดให้มีหลักฐานการจ่ายเงินรูปแบบอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร

  34. การเก็บรักษาเงินสด คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการหรือเลขานุการ เก็บรักษาเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่ายภายในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท

  35. ระบบบัญชีกองทุน 1.วันที่กองทุนได้รับเงินจาก สปสช.หรือ อปท. ให้ถือเป็นวันเริ่มระบบบัญชีของกองทุนฯ 2.รอบระยะเวลาบัญชี ให้ถือตามปีงบประมาณ 3.ระบบบัญชีของกองทุนฯ ให้แยกการจัดทำบัญชีออกจากระบบบัญชี ออกจากระบบบัญชีของ อปท. แต่การบันทึกให้บันทึกตามระบบบัญชีของ อปท. โดยรายงานผ่านระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.thทุกเดือน กองทุนฯจัดพิมพ์เก็บไว้ทุกเดือน เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ และเก็บไว้ให้ สตง.ตรวจสอบ

  36. ระบบรายงานการเงิน ผลการดำเนินงานกองทุน กองทุนรายงานผ่านระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.th การเงิน 1.รายงานการรับจ่ายเงินประจำเดือน และพิมพ์รายงานเสนอประธานกรรมการ เลขานุการ ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแล้วจัดเก็บไว้ 2.รายงานการเงินรายไตรมาส กองทุนจัดพิมพ์จากระบบออนไลน์ให้ประธานกรรมการ เลขานุการ ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จัดทำเป็น 2 ชุด ชุด 1 เก็บไว้เป็นหลักฐานที่กองทุน ชุด 2 จัดส่งให้ อปท. ไตรมาส 1 วันที่ 10 ม.ค. ไตรมาส 2 วันที่ 10 เม.ย. ไตรมาส 3 วันที่ 10 ก.ค. ไตรมาส 4 วันที่ 10 ต.ค. ผลการดำเนินงาน 1.รายงานเมื่อแผนงาน/โครงการผ่านการอนุมัติ 2.เมื่อมีการเบิกจ่ายตามแผนงาน/โครงการ

  37. รายงานสรุปผลการดำเนินงานกองทุนประจำปีรายงานสรุปผลการดำเนินงานกองทุนประจำปี กองทุนรายงานให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยมีองค์ประกอบของรายงาน อย่างน้อย 1.ข้อมูลทั่วไป 2.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ 3.รายงานสรุปผลรายงานการเงิน จัดส่งให้ อปท. 1 ชุด เก็บไว้ที่กองทุน 1 ชุด

  38. ลักษณะการจ่ายเงินกองทุนลักษณะการจ่ายเงินกองทุน ก่อนจ่ายเงินกองทุน ต้องมีองค์ประกอบครบ 4 องค์ประกอบ 1)คณะกรรมการกองทุน แต่งตั้งโดย สปสช. 2)มีงบประมาณสมทบจาก สปสช. และ อปท. 3)มีระเบียบการใช้เงินกองทุน ที่ผ่านมติเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฯ 4)มีแผนงาน/โครงการผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ กองทุนฯอาจทดรองจ่ายให้ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 ลักษณะ 1.จ่ายตามข้อตกลง -จ่ายบางส่วน -จ่ายเต็มจำนวน ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรเป็นรายข้อตกลง 2.จ่ายตามใบยืม -จ่ายบางส่วน -จ่ายเต็มจำนวน แต่มีการส่งเอกสารประกอบการใช้เงินยืม 3.จ่ายตามกิจกรรม จ่ายหลังมีกิจกรรมตามกิจกรรม โครงการแล้ว กองทุนเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำเอกสารการเบิกจ่ายเองทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมบริหารจัดการกองทุน เช่น ประชุมกรรมการ จัดหาวัสดุ

  39. การติดตามและประเมินผลการติดตามและประเมินผล วัตถุประสงค์ เกิดการพัฒนาบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ 1.แบบประเมินการบริหารจัดการกองทุน A+ 90-100 คะแนน เป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูงและเป็นศูนย์เรียนรู้ A 70-89 คะแนน เป็นกองทุนที่มีศักยภาพดี B 50-69 คะแนน เป็นกองทุนที่มีศักยภาพปานกลาง C<50 คะแนน เป็นกองทุนที่ยังขาดความพร้อม ต้องเร่งพัฒนา 2.แบบประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารประชาชน กองทุนฯควรสำรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  40. หน่วยงานสาธารณสุขใน พท. (สสจ. สสอ. สอ. รพช.) รับรู้ เข้าใจ และร่วมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่อย่างเข้มแข็งโดยทีมวิทยากรจังหวัด ขยายพื้นที่ อบต. หรือเทศบาลที่มีความพร้อมและสนใจร่วมดำเนินงานปี 2553 (มีงบสมทบ/มีคณะกก.บริหาร/มีข้อมูลสุขภาพ/มีกิจกรรมพัฒนากรรมการบริหาร) ทุกพื้นที่มีการประชุมคณะกรรมการฯ มีการอบรมพัฒนาศักยภาพของกรรมการฯ มีการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนหรือแผนที่ยุทธศาสตร์และทำกิจกรรม(เน้นโรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง เอดส์ วัณโรค คนพิการ ผู้สูงอายุ) มีการบันทึกรายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาส รายปีและรายงานการเงิน มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายแนวทางที่อยากให้เกิดปี 2554

  41. ทุกจังหวัดรวบรวมข้อมูลพื้นที่ที่มีผลงานประสบการณ์โดดเด่นเพื่อเป็นต้นแบบศึกษาเรียนรู้อย่างน้อย 1-2 แห่ง มีการถอดบทเรียนเพื่อเผยแพร่ ทุกพื้นที่มีและใช้ระบบสารสนเทศข้อมูลสุขภาพชุมชนและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อประสานข้อมูลกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ กับ สปสช. ส่วนกลาง สาขาเขตและสาขาจังหวัด มีการติดตามค้นหานวัตกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีรายงานผลงานรายไตรมาส รายปีจากทุกพื้นที่ เป้าหมายแนวทางที่อยากให้เกิดปี 2554 (ต่อ)

  42. กองทุน อบต./เทศบาลบูรณาการร่วมกับ กองทุนพัฒนาระบบปฐมภูมิ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ และกองทุนบริหารโรคเรื้อรังเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข อสม. ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่พัฒนากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ มีระบบอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ คนพิการ คนด้อยโอกาสให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประชาชนในพื้นที่มีความรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมดำเนินการ ท้องถิ่นมีการบริหารจัดการสุขภาพในชุมชนได้ครอบคลุม เข้มแข็งมากขึ้น เป็นท้องถิ่นชุมชนสุขภาวะ ประชาชนสุขภาพดีขึ้น มีนวัตกรรมสุขภาพชุมชนของกองทุนต้นแบบ เพื่อศึกษาเรียนรู้ เผยแพร่สู่สาธารณะ พัฒนาร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชน ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ทิศทางกองทุนปี 2554

  43. อบต. และเทศบาลทุกแห่งร่วมดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ทุกกองทุนมีข้อมูลสุขภาพกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ มีแผนสุขภาพชุมชน แผนที่ยุทธศาสตร์ชุมชนร่วมกับหน่วยบริการ ทุกกองทุนมีการตรวจคัดกรอง สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคเรื้อรัง เน้นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ทุกกองทุนมีกิจกรรมและอาสาสมัครดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คนพิการ คนด้อยโอกาสร่วมกับหน่วยบริการและท้องถิ่น ทุกกองทุนมีการติดตามประเมินผลกองทุนโดยคณะทำงาน จว. อำเภอ เขต ประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และมีรายงานการเงินทุกไตรมาส และประจำปี ทุกจังหวัดมีพื้นที่กองทุนต้นแบบเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้ ทุกภูมิภาคมีศูนย์การเรียนรู้และขยายผลเป็นเครือข่ายเรียนรู้ทั่วประเทศ เป้าหมายกองทุนปี 2554

  44. ตัวชี้วัดกองทุนฯ มีข้อมูลสุขภาพชุมชนในพื้นที่ มีแผนสุขภาพชุมชน หรือ แผนที่ยุทธศาสตร์ชุมชน มีการสมทบงบประมาณรายปีตามเกณฑ์ มีกิจกรรมตรวจคัดกรองผู้ป่วย DM / HT มีการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ มีรายงาน รายไตรมาส และ ประจำปี

  45. ผู้บริหาร อบต. และเทศบาลเห็นชอบและประสงค์เข้าร่วมดำเนินงาน มีการดำเนินกิจกรรมและจัดทำแผนด้านสุขภาพหรือแผนที่ยุทธศาสร์ในพื้นที่มาก่อนแล้ว มีการจัดเวทีประชาคม ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกองทุนให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและร่วมดำเนินงาน มีการตั้งงบประมาณหรือสมทบงบประมาณปี 2554 แล้ว มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ มีข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ แนวทางการประเมิน อบต./เทศบาล ที่พร้อมเข้าร่วมดำเนินงานปี 2554

  46. กองทุนฯ เก่ามีการบันทึกข้อมูลและจัดส่งรายงานประจำปี/รายงานทางการเงิน มีความพร้อมสมทบเงินและแต่งตั้งคณะกรรมการฯตามประกาศฉบับแก้ไขหลักเกณฑ์ ภายในเดือนตุลาคม 2552 มีแผนสุขภาพชุมชนหรือแผนที่ยุทธศาสตร์ของกองทุนที่ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมต่อเนื่องทุกปี ประธานกรรมการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเลขานุการผ่านการอบรมเพิ่มศักยภาพการบริหารกองทุน หลักเกณฑ์การต่ออายุกองทุนฯเก่า

  47. ผู้บริหาร อบต.และเทศบาล เห็นชอบและประสงค์เข้าร่วมดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยมีหนังสือแสดงความพร้อมของผู้บริหาร อบต.และเทศบาล มีการตั้งงบประมาณหรือสมทบเงินในปี 2554 และเปิดบัญชีรองรับ มีความพร้อมในการตั้งหรือคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกองทุนแบบมีส่วนร่วม มีนโยบายหรือมีแผนจัดทำข้อมูลชุมชน แผนชุมชนหรือแผนที่ยุทธศาสตร์ในพื้นที่ กรรมการ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเลขานุการผ่านการอบรมเตรียมความพร้อม ความเข้าใจกองทุน หลักเกณฑ์การคัดเลือกกองทุนฯใหม่

  48. อบต./เทศบาล ส่งหนังสือแสดงความจำนงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบคุณสมบัติ อบต./เทศบาล ส่งหลักฐานการจัดตั้งกองทุน(ข้อตกลง,บัญชีกองทุน,รายชื่อคณะกรรมการ) ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

  49. ไม่มีเงินสมทบจาก อบต./เทศบาล หรือไม่มีกิจกรรมดำเนินงานต่อเนื่อง 2 ปี ขึ้นไป สปสช.ประกาศยุบเลิก โดยทรัพย์สินที่เหลือตกเป็นของหน่วยบริการปฐมภูมิตามวิธีการที่ สปสช.กำหนด การยุบเลิกกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

More Related