1 / 32

การเขียนวิทยานิพนธ์

การเขียนวิทยานิพนธ์. รองศาสตราจารย์ ดร. สุรศักดิ์ วัฒเนสก์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การเขียนวิทยานิพนธ์. “ไม่มีใครเขียนเก่งมาตั้งแต่เกิด แต่เขียนเก่งเพราะฝึกฝน”. “ไม่เคยมีใครเขียนได้ดีในครั้งเดียว”. 1. ก่อนลงมือเขียน :. นักศึกษาควรจะ.

Download Presentation

การเขียนวิทยานิพนธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุรศักดิ์ วัฒเนสก์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. การเขียนวิทยานิพนธ์ “ไม่มีใครเขียนเก่งมาตั้งแต่เกิด แต่เขียนเก่งเพราะฝึกฝน” “ไม่เคยมีใครเขียนได้ดีในครั้งเดียว” 1. ก่อนลงมือเขียน : นักศึกษาควรจะ • - เรียนรู้และฝึกหัดใช้ word processing program • - ทดลองเขียน หรือส่งบางส่วนของผลการค้นคว้าเพื่อตีพิมพ์ • วางเค้าโครงร่าง (outline) และระบุประเด็นต่างๆเป็นลำดับที่จะ • เขียนถึงให้เรียบร้อยเสียก่อน 2/32

  3. 2. การเตรียมตัวเขียน ขั้นตอนการวางเค้าโครงเรื่อง: 1. รวบรวมความรู้ ความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะ เขียน จากที่บันทึกไว้ระหว่างการค้นคว้าวิจัยและจาก ข้อมูลเพิ่มเติม (ยังไม่ต้องเรียงลำดับอะไร) 2. จัดหมวดหมู่ของสิ่งที่รวบรวมไว้ โดยอาจจะแบ่งตาม ลำดับเหตุการณ์ ความสำคัญของประเด็น ตามเหตุ และผล ฯลฯ 3/32

  4. 3. จัดลำดับให้เป็นระเบียบ เพื่อให้การติดตามเรื่องราว ทำได้ง่าย เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง โดยแบ่งออก เป็นบท หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หรือหัวข้อย่อย 4. ทบทวนเค้าโครงร่างที่วางไว้ และปรับปรุงแก้ไข หากจำเป็น การเขียน น่าจะกำหนดไว้ได้เลยว่า ต้องมีการร่างและปรับปรุงแก้ไขมากกว่าหนึ่งครั้ง 4/32

  5. - เขียนตามลำดับ บท หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ที่วาง โครงเรื่องไว้แล้ว 2.1 ร่างครั้งแรก - เน้นเนื้อหาและความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอ ยังไม่ต้องพะวงเกี่ยวกับเรื่องความสละสลวยของ ภาษา หรือการเลือกใช้คำ - ควรเขียนเว้นบรรทัดห่างๆ เพื่อไว้ใส่ข้อความเพิ่ม เติม หรือปรับปรุงข้อความในภายหลัง - ควรอ้างอิงให้ถูกต้องสมบูรณ์ตั้งแต่ขั้นตอนนี้ 5/32

  6. 2.2 แก้ไขร่างครั้งแรก - ระหว่างเขียนร่างครั้งแรก ถ้าพบข้อบกพร่อง เช่น ที่เกี่ยวกับเนื้อหา หลักฐาน เหตุผล หรือข้อมูล ฯลฯ ควรทำหมายเหตุบันทึกไว้ว่า จะต้องแก้ไขปรับปรุง อะไรบ้าง เพราะจะทำให้ ความคิดต่อเนื่องขาดตอนไปไม่ลื่นไหล ไม่ควรแก้ไขในทันทีที่พบ - เมื่อเขียนร่างครั้งแรกเสร็จแล้ว จึงค่อยแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมร่างครั้งแรก 6/32

  7. 2.3 แก้ไขร่างครั้งที่สอง - อาจแก้ไข ปรับปรุงเนื้อหา หรือ รายละเอียดเนื้อความบทต่างๆ เพิ่มจากการแก้ไขครั้งแรก - ควรแก้ไข ปรับปรุงภาษา ความสละสลวย พร้อมกันไปด้วย โดยเน้นความชัดเจน การสื่อความหมาย - พยายามตัดถ้อยคำฟุ่มเฟือย ทุกคำที่เขียนต้องตอบได้ว่า เขียนไว้ทำไม 7/32

  8. 3. การเขียนอย่างมีคุณภาพ 3.1 หลักการพื้นฐานของงานเขียนที่ดี “ ซื่อสัตย์ ชัดเจน ไม่ลวดลาย แต่หลากหลาย” ซื่อสัตย์ ข้อมูล สิ่งที่ค้นพบ ที่นำเสนอ ต้องเป็นจริง ชัดเจน ถูกต้องแน่นอน ไม่คลุมเครือ ไม่ลวดลาย กะทัดรัด ตรงไปตรงมา ไม่เยิ่นเย้อ หลากหลาย เขียนให้น่าอ่าน โดยเลือกคำ ข้อความ ประโยค ที่แตกต่างกันในการสื่อความ 8/32

  9. 3.2 กฎ กติกา มารยาท 3.2.1 พึงละเว้น - การลอกเลียนความคิดของผู้อื่น ไม่ว่าจะ โดยตรง ดัดแปลง หรือแต่งเติม 3.2.2 พึงแสดงความขอบคุณ - ต่อองค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่ให้ ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ 3.2.3 พึงยกย่อง ให้เกียรติเจ้าของผลงาน - โดยระบุชื่อเจ้าของผลงานที่ยืมมาใช้ 9/32

  10. 3.2.4 พึงตรงต่อเวลา - โดยส่ง”ร่าง”งานเขียนให้อาจารย์ที่ปรึกษาตามกำหนดหรือก่อนกำหนด 3.2.5 พึงรายงานผล เสนอข้อสรุป แสดงความคิดเห็น -ตามความเป็นจริงด้วยเจตนาบริสุทธิ์ โดยเฉพาะในกรณีที่ผลการวิจัยขัดแย้ง หรือแตกต่างจากที่ผู้อื่นเคยทำมาแล้ว ไม่ต้องกลัวความขัดแย้งทางวิชาการ 10/32

  11. 3.3 ข้อเตือนใจ วิทยานิพนธ์ ไม่ใช่กวีนิพนธ์ หรือ นวนิยาย ต้องเขียนจากข้อมูลที่เป็นจริง จากการค้นคว้า ทดลอง และวิจัย ต้องเขียนให้ชัดเจน เชิงบรรยาย สื่อความตรงไปตรงมา แบบร้อยแก้ว ต้องเข้าใจประเด็นหลักของเรื่องที่จะเขียนอย่างกระจ่าง แจ้ง 11/32

  12. 3.4 คุณภาพที่ดีสี่ประการของงานเขียน ต้องมี - ความถูกต้อง - ความชัดแจ้งและเรียบง่าย - ความกระชับ -เอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ 12/32

  13. 3.4.1 ความถูกต้อง การเขียนรายงานที่ถูกต้องเป็นจริง เป็นการแสดงความ ซื่อสัตย์ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณอันดีงาม ดังนั้น อย่า • เลือกนำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงที่สนับสนุน • ข้อสรุปที่มีอยู่ • ละเว้นไม่นำเสนอข้อมูลที่ขัดแย้งกับข้อสรุป • ที่มี • หลอกตัวเองและผู้อ่าน ความน่าเชื่อถือของวิทยานิพนธ์ทั้งฉบับขึ้นอยู่กับความถูกต้องของข้อเขียน 13/32

  14. สิ่งที่ควรตรวจสอบเป็นพิเศษได้แก่สิ่งที่ควรตรวจสอบเป็นพิเศษได้แก่ ตัวเลข ศัพท์เทคนิคและศัพท์ชื่อเฉพาะ ผลลัพธ์การคำนวณ ตำแหน่งจุดทศนิยม สูตรเคมี 14/32

  15. 3.4.2 ความชัดแจ้งและความเรียบง่าย บันได 12 ขั้น สู่งานเขียนที่ชัดเจน 1. เขียนให้กระชับ 2. เลือกใช้คำที่เหมาะสม 3. อย่าใช้ วลี หรือข้อความซ้ำกันบ่อย 4. เขียนประโยคในลักษณะ passive voice 5. เขียนให้ตรงประเด็น 6. เลี่ยงประโยคที่มีคำขยายยาวๆ 7. เลือกใช้ประโยคบอกเล่า เลี่ยงประโยคปฏิเสธ 15/32

  16. 8. เลี่ยงการใช้คำหรือวลี ที่รู้ความหมายกัน เฉพาะใน กลุ่ม (jargon) 9.พึงระวังการวางตำแหน่งวลี หรือข้อความในวงเล็บ เพื่อการขยายความ 10. หลีกเลี่ยงการเขียนที่เปลี่ยนประเด็น แนวคิด แบบทันทีทันใด 11.ใช้การแต่งประโยค (การเรียงคำ การวางส่วนขยาย) รูปแบบเดียวกัน เมื่อต้องการสื่อความทำนองเดียวกัน 12. จัดลำดับความคิดตามเหตุผล เริ่มจากง่ายไปยาก 16/32

  17. 4. หลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการเขียน 4.1 การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และเครื่องหมายอื่นๆ 4.1.1 เลือกใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามความจำเป็น เพื่อให้การแบ่งข้อความต่างๆชัดเจนยิ่งขึ้น 4.1.2 ถ้าจะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ยึดหลักไวยากรณ์ 4.1.3 การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และเครื่องหมายอื่นๆ กับสูตร สัญลักษณ์ คำย่อ อักษรย่อฯลฯ ขึ้นกับ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 17/32

  18. 4.2 การใช้ตัวเลขในข้อความบรรยาย 4.2.1 เขียนเป็นตัวหนังสือสำหรับเลขหลักหน่วย (1-9) ส่วนเลขหลักสิบขึ้นไปให้ใช้ตัวเลข 4.2.2 ตัวเลขตั้งแต่หกหน่วยขึ้นไปให้เขียนตัวอักษรกำกับไว้ใน วงเล็บ 4.3 การสะกดคำ 4.3.1 ใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นเกณฑ์ 4.3.2 การเขียนทับศัพท์คำภาษาต่างประเทศเป็น ภาษาไทยให้ใช้หลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน 18/32

  19. 4.4 ตาราง 4.4.1 ตารางที่นำเสนอจะจัดทำขึ้นเอง หรือคัดลอกจากที่อื่น ก็ได้ แต่ต้องระบุที่มาด้วย 4.4.2 การอ้างอิงตารางให้อ้างตามหมายเลขตาราง ว่า ตามตาราง.... 4.4.3 ทุกตารางที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ จะต้องมีการกล่าว ถึงในส่วนของเนื้อความ 4.5 รูปภาพ ทำในลักษณะเดียวกับตาราง 19/32

  20. 5. การเขียนบทสรุปและบทคัดย่อ 5.1 บทสรุป - เมื่อเขียนจบแต่ละหัวข้อใหญ่ หรืออย่างน้อยเมื่อเขียน จบแต่ละบท ควรมีข้อสรุปของหัวข้อ หรือบทนั้นๆเป็น ย่อหน้าส่งท้าย เพื่อให้เห็นชัดเจนว่า สาระสำคัญที่เขียน มาของหัวข้อหรือบทนั้นๆ คืออะไร อาจขมวดปม หรือ เปิดประเด็นเพิ่ม เพื่อนำไปสู่เนื้อหาตอนต่อไป 20/32

  21. ถ้าทุกบทมีข้อสรุปแล้วการเขียนบทสรุปเป็นเพียง ถ้าทุกบทมีข้อสรุปแล้วการเขียนบทสรุปเป็นเพียง • การรวบรวมข้อสรุป เชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ • และสื่อความให้เห็นว่า งานวิจัยที่ทำค้นพบความรู้ • ใหม่อะไรสอดคล้องกับสมมติฐานหรือตรงตามวัตถุ • ประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ 5.2 บทคัดย่อ - เป็นส่วนสำคัญที่สุดของวิทยานิพนธ์ เพราะเป็นส่วน ของสาระของงานวิจัยนั้น - ต้องสะท้อนให้เห็นได้ว่า งานวิจัยนั้นเกี่ยวกับอะไร ทำ อย่างไร ได้ผลหรือค้นพบอะไรบ้าง 21/32

  22. ลักษณะของบทคัดย่อที่ดีลักษณะของบทคัดย่อที่ดี - มีความหมายสมบูรณ์โดยตัวเอง - ชัดเจน กระชับ - มีสาระสำคัญของงานและข้อสรุป - ต้องไม่มี การอ้างอิง การยกตัวอย่าง ข้อความ สมการ ภาพ คำวิจารณ์ คำฟุ่มเฟือย 22/32

  23. 6. ตัวอย่างการใช้ภาษาในการเขียน ตัวอย่างคำฟุ่มเฟือย “ เขาเดินทางไปสำรวจตามลำพังโดยไม่มีผู้ติดตาม(แม้แต่คนเดียว)” “ ล้อมรอบทุกๆด้านโดย” “แบ่งครึ่งออกเป็นสองส่วน(เท่าๆกัน)” “ตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ” ตัวอย่างการเขียนที่ถอดความจากภาษาอังกฤษโดยตรง “การนำเสนอเช่นนี้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ” ควรเขียนเป็น “ การนำเสนอเช่นนี้เข้าใจได้ง่าย ” 23/32

  24. “มันเป็นความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม”“มันเป็นความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม” ควรเขียนเป็น “ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม” ตัวอย่างคำ/ประโยคกำกวม ความหมายไม่ชัดเจน “การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นเฉพาะต้นไม้ที่มีชื่อในวรรณคดี” “นักศึกษาวิ่งชนอาจารย์ล้มลงแขนหัก” ตัวอย่างคำขยายอยู่ผิดที่ “ ตัวอย่างถูกเก็บไว้เพื่อการวิเคราะห์ต่อไปในหลอดแก้ว” “ เขาถูกฟ้องฐานวิ่งราวทรัพย์ในศาลอาญา” 24/32

  25. 7. การทำหลักฐานอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม การทำหลักฐานอ้างอิงที่นิยมทำกันมี 2 ระบบ คือ (1) ระบบนาม-ปี (Name-Year System) (2) ระบบหมายเลข(Number System) 25/32

  26. 7.1 ระบบนาม-ปี 7.1.1 ระบุเฉพาะนามสกุลของผู้เขียน และปีที่พิมพ์ เช่น Thompson(1986;1987) ทำได้ 3 แบบ คือ หรือ Williams and Thompson(1986) หรือ Smith et al.(1991) ถ้าผู้เขียนคนเดียวกัน มีเอกสารตีพิมพ์หลายเรื่อง และ พิมพ์ในปีเดียวกัน ให้ใส่อักษร a, b, c ไว้ท้ายปีที่พิมพ์ เช่น Thompson(1985a; 1985b) 26/32

  27. 7.1.2 ระบุทั้งชื่อและนามสกุลของผู้เขียน ปีที่พิมพ์ สง่า สรรพศรี (2525) Direk E. Thompson (1985) 7.1.3 ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และ เลขหน้าของเอกสาร เช่น อัญชลี ดุษฎีพรรณ์ (2527:101) หรือ Nicolas Ferguson and Maire O’Reilly (1979a: 35-40) 27/32

  28. การลงรายชื่อเอกสารอ้างอิงระบบนาม-ปี ไว้ท้ายเล่มในส่วนของบรรณานุกรมนั้น มีหลักดังนี้ • เรียงรายชื่อตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการ • ระบุปีที่พิมพ์ถัดจากชื่อ-นามสกุลของผู้แต่ง • แยกรายการสิ่งพิมพ์ภาษาไทยและอังกฤษออกจากกัน ตัวอย่าง ณรงค์ รัตนะ. 2528ก. การครอบครองและการรอบรู้เทคโนโลยี ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:[ยูเนสโก] ศูนย์ถ่ายทอดเทคโน- โลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน. 28/32

  29. สง่า สรรพศรี. 2525. ทรัพยากรธรรมชาติ และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: อักษรสยาม การพิมพ์. อัญชลี ดุษฎีพรรณ์. 2527. การวางแผนให้บริการทันตสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิท- ยาลัยเชียงใหม่. Becker, L. J.,and Saligman, C. 1981. “Welcome to the energy crisis”. Journal of Social Issues, 57(2) : 1-7. 29/32

  30. 7.2 ระบบหมายเลข 7.2.1 ใส่หมายเลขก่อนหลังตามลำดับที่อ้างอิง แบ่งย่อยเป็น 2 รูปแบบ คือ 7.2.2 ใส่หมายเลขก่อนหลังตามลำดับอักษร 30/32

  31. ขอบคุณที่สนใจฟัง

More Related