1 / 23

สัมมนาสัตว์ปีก

เรื่อง ผลของช่วงเวลาและความยาวนานในการจำกัดปริมาณอาหาร ในระยะ เจริญเติบโตที่มีต่อลักษณะต่างๆของแม่พันธุ์ไก่กระทง นำเสนอโดย นางสาว กานตรัตน์ รินไชยา รหัส 45103402 สาขา สัตวศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรินทร์ ทองวิทยา. สัมมนาสัตว์ปีก. บทนำ.

Download Presentation

สัมมนาสัตว์ปีก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่องผลของช่วงเวลาและความยาวนานในการจำกัดปริมาณอาหาร ในระยะ เจริญเติบโตที่มีต่อลักษณะต่างๆของแม่พันธุ์ไก่กระทงเรื่องผลของช่วงเวลาและความยาวนานในการจำกัดปริมาณอาหาร ในระยะ เจริญเติบโตที่มีต่อลักษณะต่างๆของแม่พันธุ์ไก่กระทง นำเสนอโดย นางสาว กานตรัตน์ รินไชยา รหัส 45103402 สาขา สัตวศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรินทร์ ทองวิทยา สัมมนาสัตว์ปีก

  2. บทนำ ★ การเลี้ยงไก่แม่พันธุ์เป็นงานที่ยุ่งยาก ต้องมีการเอาใจใส่ในการจัดการด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ของผู้เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์คือ ต้องการให้ได้ผลผลิตไข่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ตามศักยภาพของสายพันธุ์นั้น ๆ ซึ่งจำนวนลูกไก่ที่ผลิตได้นั้นเป็นผลมาจากผลผลิตไข่ที่มีความเหมาะสมต่อการฟัก ซึ่งปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการฟักออกของลูกไก่ ได้แก่ ขนาดรูปร่างของแม่ไก่ , ความสมบูรณ์พันธุ์ เป็นต้น ★ การจำกัดปริมาณอาหารในไก่แม่พันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแม่พันธุ์ไก่กระทง ถือว่าเป็นการจัดการที่มีความสำคัญ เนื่องจากแม่พันธุ์ไก่กระทงมักจะมีนิสัยกินอาหารมาก ทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก และ มีน้ำหนักตัวมากเกินไป

  3. ( Mack , 1972) ผลดีในการควบคุมน้ำหนักตัวแม่พันธุ์ไก่กระทงเมื่อเปรียบเทียบกับไก่พันธุ์ไข่ มีดังนี้ 1. ไก่แม่พันธุ์มีอายุเมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรกช้า 2. ไข่ฟองแรกที่ได้มีขนาดใหญ่ 3. ผลผลิตไข่เมื่อสิ้นสุดระยะให้ผลผลิตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 4. อัตราการตายลดลง 5. ค่าใช่จ่ายในด้านค่าอาหารลดลง 6. อัตราการฟักออกเพิ่มมากขึ้น 7. ความสมบูรณ์พันธุ์เพิ่มมากขึ้น

  4. ✿ ( เกียรติศักดิ์ , 2545 ) สายพันธุ์ไก่กระทงมีแนวโน้มจะกินอาหารมากกว่าที่ได้มีการแนะนำไว้จากบริษัทผู้ผลิต ด้วยเหตุนี้การให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เป็นสาเหตุให้ไก่อ้วนมากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ ✿ เนื่องจากในปัจจุบัน การจำกัดปริมาณอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่งผลต่อสวัสดิภาพของสัตว์ (Animal Walfare) เนื่องจากการจำกัดปริมาณอาหารจะส่งผลให้ไก่เกิดความเครียด ✿ มีงานวิจัยหลาย ๆ งานได้เสนอเกี่ยวกับเรื่องช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจำกัดปริมาณอาหารแตกต่างกันไป ดังนั้นการวิเคราะห์หาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการจำกัดปริมาณอาหารในแม่พันธุ์ไก่กระทงจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลี้ยงไก่แม่พันธุ์ในเชิงธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันมีข้อจำกัดทางการค้ามากมาย และที่สำคัญที่สุดเป็นเรื่องของ Animal Welfare

  5. เนื้อเรื่อง การจำกัดปริมาณอาหารนับว่า เป็นการจัดการที่มีความสำคัญในการเลี้ยงแม่พันธุ์ไก่กระทง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงในเชิงการค้า ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตลูกไก่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีผลทำให้ไก่แม่พันธุ์แสดงศักยภาพทางด้านการผลิต ได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตามการจำกัดปริมาณอาหารเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวข้องกับ สวัสดิภาพของสัตว์ การจำกัดปริมาณเป็นเวลานานเกินไปจะส่งผลให้ไก่เกิดความเครียด ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการจำกัดอาหารเพียงบางช่วงระยะเจริญเติบโต ส่งผลดีต่อแม่พันธุ์ไก่กระทงในหลายๆด้าน ได้แก่

  6. น้ำหนักตัวและส่วนประกอบของร่างกาย ✿ อายุ น้ำหนักตัว น้ำหนักรังไข่และท่อนำ ไข่ เมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรก ✿ จำนวนผลผลิตไข่และลักษณะของไข่ ✿ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์

  7. น้ำหนักตัวและส่วนประกอบของร่างกายน้ำหนักตัวและส่วนประกอบของร่างกาย การจำกัดปริมาณอาหารนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ ควบคุมน้ำหนักตัวไก่ไม่ให้อ้วนมากเกินไป ( Bruggeman et al , 1999) ได้ทำการวิเคราะห์หาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการจำกัดปริมาณอาหารในแม่พันธุ์ไก่กระทงระยะเจริญเติบโต โดยทำการทดลองในไก่กระทงพันธุ์ Hybro G จำนวน 500 ตัว พบว่าที่อายุ 15 สัปดาห์ แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 7-14 สัปดาห์ มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกัน กราฟที่ 1 ซึ่งสอดคล้องกับ Yuet al , 1992 ซึ่งได้ทำการทดลองเรื่องผลของการให้อาหารระยะเจริญเติบโตและระยะให้ผลผลิตที่มีต่อลักษณะการเจริญเติบโตและลักษณะของซาก โดยทำการทดลองในแม่พันธุ์ไก่กระทงพันธุ์ Indain River จำนวน 400 ตัว พบว่า แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 4-18 สัปดาห์ มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกัน กราฟที่ 2

  8. กราฟที่ 1 น้ำหนักตัวของแม่พันธุ์ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน ตั้งแต่อายุ 2-32 สัปดาห์ ( A = ab libitum R = restriction ) ที่มา : Bruggeman et al, 1999

  9. กราฟที่ 2 น้ำหนักตัวของแม่พันธุ์ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน ที่มา : Yu et al , 1992

  10. นอกจากนั้นยังพบว่าไม่เพียงแต่แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าแล้ว ความยาวของแข้งยังมีขนาดสั้นกว่าด้วย ตารางที่ 1 ☻นั่นแสดงให้เห็นว่า การเจริญของแข้ง ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้อาหารในช่วงอายุระหว่าง 4-18 สัปดาห์ ► เปอร์เซ็นต์ของเถ้าซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึง การเปลี่ยนแร่ธาตุของกระดูก ซึ่งกระดูกเป็นแหล่งสะสมของแคลเซียมซึ่งไก่สามารถนำมาใช้ในการสร้างเปลือกไข่เมื่อแม่ไก่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ Yu et al , 1992ได้กล่าวไว้ว่า แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 4-18 สัปดาห์ มีเปอร์เซ็นต์เถ้าสูงกว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 2 ☻นั่นแสดงให้เห็นว่าการจำกัดปริมาณอาหารนั้น มีผลเพียงเล็กน้อยต่อการเจริญของกระดูก

  11. ตารางที่ 2 องค์ประกอบของร่างกายในแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่และจำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 5-18 สัปดาห์ ตารางที่ 1 ความยาวของแข้งในแม่ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน

  12. อายุ น้ำหนักตัว น้ำหนักรังไข่และท่อนำไข่ เมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรก ► Bruggeman et al , 1999 ได้สรุปไว้ว่า แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 7-15 สัปดาห์ จะเริ่มวางไข่ฟองแรกช้ากว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 3 ซึ่งสอดคล้องกับ Yu et al , 1992 ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 5-18 สัปดาห์ มีอายุเมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรกล่าช้ากว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกันกราฟที่ 3 ► น้ำหนักของรังไข่และท่อนำไข่ในแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่และจำกัดปริมาณให้อาหารในช่วงอายุระหว่าง 7-15 สัปดาห์นั้นมีน้ำหนักไม่แตกต่างกัน ตารางที่ 3 (สมปอง , 2537) ขนาด และรูปร่างของท่อนำไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิดและอายุของสัตว์ ☻ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการให้อาหารไม่มีผลต่อการเจริญของรังไข่และท่อนำไข่ การเจริญของรังไข่และท่อนำไข่ขึ้นอยู่กับอายุที่เพิ่มมากขึ้นของสัตว์

  13. กราฟที่ 3 อายุเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (เมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรก) ในแม่พันธุ์ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน Ad libitum Restriction

  14. จำนวนผลผลิตไข่และลักษณะของไข่ จำนวนผลผลิตไข่และลักษณะของไข่ Bruggeman et al , 1999 ได้สรุปเอาไว้ว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 7-14 สัปดาห์ ให้ผลผลิตไข่เฉลี่ยสูงที่สุด จำนวนผลผลิตไข่เฉลี่ยต่อตัวต่อสัปดาห์ต่ำที่สุดในแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ตลอดระยะให้ผลผลิต ตารางที่ 4 ซึ่งสอดคล้องกับ Yu et al, 1992 ซึ่งได้สรุปว่า แม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงอายุระหว่าง 5-18 สัปดาห์ ให้ผลผลิตไข่น้อยกว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาเดียวกัน กราฟที่ 4

  15. การให้แม่พันธุ์ไก่กระทงกินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงอายุระหว่าง 5-18 สัปดาห์ ส่งผลให้การวางไข่เบี่ยงเบน และจำนวนไข่ที่ผิดปกติ(ไข่เปลือกนิ่ม , ไข่เปลือกบาง , ไข่แฝด) เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับการจำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 5 นอกจากนั้นยังพบว่าการให้แม่พันธุ์ไก่กระทงกินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงอายุระหว่าง 4-18 สัปดาห์ ส่งผลให้ความสมบูรณ์พันธุ์(Fertility) อัตราการฟักออก(Hatchability) และจำนวนลูกไก่ที่ได้หลังจาการฟัก (Viabity) ลดลงเมื่อเทียบกับการจำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 6

  16. ตารางที่ 3 แสดงจำนวนผลผลิตไข่เฉลี่ยต่อสัปดาห์ , ผลผลิตไข่รวม และ ผลผลิตไข่ฟัก รวมเมื่อสิ้นสุดระยะให้ผลผลิต

  17. กราฟที่ 4 เปอร์เซ็นต์ Hen - day production( 20-60 สัปดาห์)ของแม่พันธุ์ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน

  18. ตารางที่ 5 ผลของการให้อาหารในระยะเจริญเติบโต (4-18 สัปดาห์ )และระยะให้ผลผลิต ( 18-62 สัปดาห์) ต่อการเกิดการเจริญของถุงไข่พร้อมกัน การวางไข่เบี่ยงเบน และไข่ผิดปกติ การวางไข่เบี่ยงเบน ไข่เปลือกบาง จำนวนไข่แฝด

  19. ตารางที่ 6 ผลของการให้อาหารในระยะเจริญเติบโตระยะเจริญเติบโต (4-18 สัปดาห์ )และระยะให้ผลผลิต ( 18-62 สัปดาห์) ต่อความสมบูรณ์พันธุ์(Fertility) อัตราการฟักออก(Hatchability) และจำนวนลูกไก่ที่ได้หลังจาการฟัก (Viabity)

  20. กราฟที่ 6 แสดงระดับฮอร์โมน LH และ FSH ในต่อม pituitaries ในแม่พันธุ์ไก่กระทงซึ่งมีลำดับของการให้อาหารแตกต่างกัน

  21. สรุปผลการทดลอง การจำกัดปริมาณการให้อาหารในช่วงอายุระหว่าง 5 สัปดาห์ไปจนถึงระยะก่อนไก่ให้ผลผลิต(prebreeding) ส่งผลดีทำให้จำนวนผลผลิตไข่เพิ่มมากขึ้น จำนวนไข่เข้าฟักเพิ่มมากขึ้น อัตราการฟักออกเป็นลูกไก่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจำนวนลูกไก่ที่ได้จึงเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่เลี้ยงแม่พันธุ์ไก่กระทงในเชิงธุรกิจ ทำให้ได้ผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการจำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาดังกล่าวส่งผลดีดังที่กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะให้ไก่กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะนอกจากเป็นการสิ้นเปลืองค่าอาหารแล้ว ทำให้น้ำหนักตัวไก่เพิ่มมากขึ้น จำนวนผลผลิตไข่ที่ได้ ยังน้อยกว่าการจำกัดปริมาณอาหารอีกด้วย ทั้งนี้ตามหลักความจริงที่ว่าไก่ต่างสายพันธุ์กันย่อมมีลักษณะการเจริญเติบโตแตกต่างกัน อายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แตกต่างกันไป ดังนั้น การนำวิธีการจำกัดปริมาณอาหารไปใช้จะต้องมีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้

  22. จบการนำเสนอ

More Related