1 / 36

ทิศทางคุณภาพการศึกษาไทย

ทิศทางคุณภาพการศึกษาไทย. ดร.กมล รอดคล้าย. ประเด็น. การศึกษาคือพลังอำนาจของชาติ ปัญหาการศึกษาไทย การศึกษาไทยกับโลกและอาเซียน นโยบายด้านการศึกษาและจุดเน้น สพฐ. การศึกษาคือพลังอำนาจของชาติ. เป้าหมายและบทบาทของการศึกษา 1. การศึกษาเพื่อผลิตกำลังคน (Man Power)

jaclyn
Download Presentation

ทิศทางคุณภาพการศึกษาไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทิศทางคุณภาพการศึกษาไทยทิศทางคุณภาพการศึกษาไทย ดร.กมล รอดคล้าย

  2. ประเด็น • การศึกษาคือพลังอำนาจของชาติ • ปัญหาการศึกษาไทย • การศึกษาไทยกับโลกและอาเซียน • นโยบายด้านการศึกษาและจุดเน้น สพฐ.

  3. การศึกษาคือพลังอำนาจของชาติการศึกษาคือพลังอำนาจของชาติ เป้าหมายและบทบาทของการศึกษา 1. การศึกษาเพื่อผลิตกำลังคน (Man Power) 2. การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) 3. การศึกษาเพื่อสร้างสังคมฐานความรู้ (Knowledge Base Society)

  4. ทิศทางการจัดการศึกษา 1. สร้างโอกาส 2. เพิ่มคุณภาพ 3. พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

  5. กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ (Learning) 1) ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) 2) ผ่านระบบการศึกษา (Education)

  6. ปัญหาการศึกษาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการศึกษาและแนวทางการแก้ไข • 1. ยังมีเด็กตกหล่น ออกกลางคัน และไม่เรียนต่อ • แก้ไขโดย จัดบริการการศึกษาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย จัดปัจจัยพื้นฐาน ให้แก่เด็กด้วยโอกาส ดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดหาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตร และส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน • 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระหลัก : คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ยังไม่น่าพอใจ • แก้ไขโดย พัฒนาครู จัดหานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนสร้างเครือข่าย และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

  7. 3. ขาดแคลนครูตามเกณฑ์และครูสาขาเฉพาะทาง • แก้ไขโดย สร้างแรงจูงใจให้คนดีคนเก่งมาเรียนครู ประสานกับสถาบันอุดมศึกษาในการผลิตและพัฒนาครู จ้างครูให้สถานศึกษาที่ขาดแคลนในขั้นวิกฤต คืนอัตราครูเกษียณครบ 100% เพิ่มอัตราครูผู้สอน และใช้อัตราจ้าง • 4. สถานศึกษาขนาดเล็กและอยู่ในพื้นที่ห่างไกลยังขาดประสิทธิภาพ • แก้ไขโดย พัฒนาระบบบริหารจัดการ ใช้รูปแบบการเรียนการสอนคละชั้น ควบรวมชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพ ระดมทรัพยากรจากชุมนุม ท้องถิ่น และทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน • 5. เหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลกระทบต่อ การพัฒนาการศึกษา • แก้ไขโดย พัฒนาแนวทางการศึกษาที่หลากหลาย ส่งเสริมอาชีพและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

  8. การศึกษาไทยกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและอาเซียนการศึกษาไทยกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและอาเซียน • ทำไมต้องหาโมเดลใหม่ด้านการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 • 1. โลกกำลังเปลี่ยนแปลง • 2. โรงเรียนและนักเรียนยังไม่ปรับตัวตามโลกที่เปลี่ยนแปลง • 3. ประเทศไทยขาดเป้าหมายหรือทิศทางที่ชัดเจนในการรักษาศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในอนาคต

  9. กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 1. วิชาแกนและแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี 4. ทักษะชีวิตและการทำงาน 5. ระบบสนับสนุนการศึกษา

  10. กฎบัติอาเซียน (ASEAN Charter) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัติอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อน การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558

  11. ประชาคมอาเซียนคืออะไรประชาคมอาเซียนคืออะไร ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio – Cultural Community - ASCC

  12. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข โดยการแก้ไขปัญหาในภูมิภาคโดยสันติวิธีและยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน (1) ใช้ข้อตกลงและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาครวมทั้งการเผชิญหน้ากับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่นการก่อการร้ายการลักลอบค้ายาเสพย์ติด การค้ามนุษย์อาชญากรรมข้ามชาติอื่น ๆการขจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (2) ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคง (3) ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล

  13. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่งคง มั่งคั่งและสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย (1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม (2) ทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (3)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงินและตลาดทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือ ด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยวการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาการพัฒนาฝีมือแรงงาน

  14. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีจุดมุ่งหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาเซียน (1) การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร (2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง (4) ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งการรับรู้ข่าวสารซึ่งเป็นรากฐานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

  15. ความร่วมมืออาเซียนด้านการศึกษาความร่วมมืออาเซียนด้านการศึกษา มีการจัดตั้ง ASEAN Committee on Education (ASCOE) เป็นกลไกการบริหารความร่วมมืออาเซียนด้านการศึกษาตั้งแต่ปี 2532 ในปี 2549 ได้มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนครั้งแรก ทั้งนี้มีการดำเนินงานสำคัญๆ ได้แก่ 1) แผนงานจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2) การจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 3) การส่งเสริมทุนอาเซียนและเครือข่ายการศึกษา 4) การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกัน 5) การพัฒนาเยาวชนอาเซียน

  16. การดำเนินการด้านการศึกษาของไทยในกรอบอาเซียนการดำเนินการด้านการศึกษาของไทยในกรอบอาเซียน 1.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานภายใต้กรอบรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน กรอบประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน และการจัดตั้งสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา 2.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโครงการ Education Hub School และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ Spirit of ASEAN (Sister/Partner School และ Buffer School) การพัฒนาหลักสูตรและสื่อเกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งกิจกรรมค่ายเยาวชนเพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 3.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษามาเลเซีย – อินโดนีเซีย – ไทย การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้านการอุดมศึกษา และการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษาอาเซียน

  17. การดำเนินการด้านการศึกษาไทยในกรอบอาเซียน (ต่อ) 4.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โครงการเวทีเลกเปลี่ยนความรู้เกษตรนานาชาติ จัดการเรียนการสอนบริการสังคมร่วมกับนักศึกษาสิงคโปร์โครงการแลกเปลี่ยนกับ Institute Of Technical Education Collage East สิงคโปร์ โครงการพัฒนาโรงเรียนเทคนิคลาว แลกเปลี่ยนนักศึกษาเทคนิคทวิภาคีระดับ ปวส. กับบรูไนฯ โรงเรียนพระราชทานฯ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลกัมพูชา ร่วมมือกับ SEAMEO SEAMOLEC ประเทศอินโดนีเซีย จัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา จัดโครงการสัมมนาการวิจัยการศึกษาไทย – มาเลเซีย การจัดการศึกษาเพื่อปวงชนและคนด้อยโอกาสให้กับผู้แทนมาเลเซีย โครงการพัฒนานโยบายการศึกษาสู่อาเซียน : กรณีศึกษาไทย – ลาว - เวียดนาม

  18. การดำเนินการด้านการศึกษาไทยในกรอบอาเซียน (ต่อ) 6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนให้ประเทศเพื่อนบ้าน อบรมเทคนิคการจัดนิทรรศการการนำเสนอข้อมูล ส่งเสริมความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนในศูนย์วิทยาศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน 7. สำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องอาเซียนแก่บุคลากร ใน สช.และโรงเรียนเอกชนสนับสนุนโรงเรียนเข้าแข่งขันกีฬาประถมศึกษาอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนมัธยมศึกษา ร่วมสัมมนาวิชาการและนิทรรศการ 8. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คุรุสภาได้เข้าร่วมเป็นภาคีองค์กรสมาชิกสภาครูอาเซียน 9. เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายในอาเซียน มีการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินหลักสูตรในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น เคมี คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ

  19. แนวทางการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา 1. การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน 2. การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาและประชาชน ให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ ในอาเซียน รวมทั้งให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา 4. การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีทางการศึกษาในอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ 5. การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

  20. นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล 1. นโยบายเร่งด่วน ด้านการศึกษา ได้แก่ 1.1 เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน กลับสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.2 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) ให้แก่โรงเรียน

  21. 2. นโยบายการศึกษา ได้แก่ 2.1 เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบความรู้ของสังคมไทย 2.2 สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย โดยคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่ม 2.3 ปฏิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง 2.4 จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษา และอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

  22. 2.5 เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ 2.6 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ 2.7 เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

  23. แนวคิดและนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาการศึกษาแนวคิดและนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาการศึกษา 1. การพัฒนาหลักสูตรและตำราการศึกษาพื้นฐาน 2. การยกระดับ PISA การเพิ่มคะแนน O-NET การพัฒนาระบบวัดผล 3.โรงเรียนมาตรฐานสากล 4.โรงเรียนนิติบุคคล 5. การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พื้นที่สูงโรงเรียนชายแดน 6. การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนอัตลักษณ์ 7. การพัฒนาโรงเรียนบ่มเพาะ 8. การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 9. การพัฒนาศักยภาพครู/ ผู้บริหารสถานศึกษา สู่อาเซียนและสากล 10. ศูนย์ภาษาอาเซียน 11. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การแนะแนว การพัฒนาทักษะชีวิต ค่ายเยาวชนอาเซียน ฯลฯ 12. การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

  24. จุดมุ่งหมายของการศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา • UNESCO (1970) : การศึกษาคือขุมทรัพย์ในกายตน • Learn to Know • Learn to do • Learn to live together • Learn to be

  25. สวัสดี

More Related