1 / 18

MOC’s Master Strategies 2009-2011

MOC’s Master Strategies 2009-2011. Ministry of Commerce. Bangkok, August 2008. บทนำ. ในปี 25 51 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ระยะกลางสำหรับปี 2552 ถึง 2554 เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายของกระทรวงฯ

jada-hebert
Download Presentation

MOC’s Master Strategies 2009-2011

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. MOC’s Master Strategies 2009-2011 Ministry of Commerce Bangkok, August 2008

  2. บทนำ • ในปี 2551 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ระยะกลางสำหรับปี 2552 ถึง 2554 เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายของกระทรวงฯ • คณะทำงานได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์โดยทำการศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลภายในและภายนอก ซึ่งประกอบด้วย • แนวโน้มกระแสหลักของโลก (Mega Trend) และผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย • มุมมองภายในกระทรวงฯ จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงฯปี 2551 • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 และแผนปฏิบัติราชการแผ่นดิน 4 ปี (ปี 2551-2554) • การเปรียบเทียบกับข้อมูลการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในประเทศอื่นๆ • การสัมภาษณ์ผู้บริหารจากภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ ฯลฯ • การจัดทำยุทธศาสตร์ของกระทรวงพาณิชย์ในครั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์และบริษัทแมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี ได้ร่วมกันเปิดรับมุมมองจากทั้งผู้ปฎิบัติ และผู้บริหาร รวมถึงข้อคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงที่เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทั้ง 2 ครั้ง เมื่อปลายเดือนมกราคม และกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และได้รับการเห็นชอบใช้เป็นยุทธศาสตร์กระทรวงฯ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551

  3. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (1/3) • แผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ระยะกลางสำหรับปี 2552-2554ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของกระทรวงฯ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้ • วัตถุประสงค์ของกระทรวงฯ 5 ประการได้แก่ • (1) ส่งเสริมการส่งออก • (2) ส่งเสริมธุรกิจไทยสู่สากล • (3) สร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดภายในประเทศ • (4) มุ่งเน้นการค้าเสรีและเป็นธรรมให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต • (5) สนับสนุนการกระจายความเสี่ยงทางการตลาดและเสริมสร้างให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น • การวางแผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ยังได้จัดทำขึ้นโดยอาศัยแนวทางหลักที่สำคัญ 6 ประการ คือ • (1) พาณิชย์เป็นทัพหน้าทางการค้า • (2) เชื่อมโยงการค้าในประเทศสู่สากล • (3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศ • (4) มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจการค้าให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนด้วยอุปสงค์ภายในประเทศ • (5) มุ่งพัฒนานโยบายการแข่งขันทางการค้าให้เกิดผล เสริมสร้างประสิทธิภาพทางการพาณิชย์ • (6) เน้นแนวทางการมองตลาดภายในประเทศเป็นตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

  4. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (2/3) • โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 8 ข้อ (MOC’s Master Strategies) ที่สนับสนุนวัตถุประสงค์ของกระทรวงพาณิชย์ • (1) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยธุรกิจบริการ • (2) ผลิตสินค้าและบริการตามความต้องการของตลาด • (3) พัฒนาธุรกิจอย่างครบวงจร • (4) ส่งเสริมธุรกิจไทยสู่สากล มุ่งสร้าง Supply Chain และ Value Creation • (5) พัฒนาและเสริมสร้างตลาดภายในประเทศให้มีการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม • (6) มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าการเกษตรและเพิ่มมูลค่าทางการค้า • (7) ใช้ข้อตกลงการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มทางเลือก • พัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด • ในภายหลัง ท่านปลัดกระทรวงพาณิชย์มีดำริให้จัดพิมพ์แผนพับยุทธศาสตร์ดังกล่าวเผยแพร่ในวันครบรอบ 88 ปี • การสถาปนากระทรวงพาณิชย์ซึ่งได้มีการเพิ่มประเด็นยุทธศาสตร์ให้ครอบคลุมภารกิจงานทุกด้านของกระทรวง อีก 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ • เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อขยายธุรกิจและโอกาสทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ • เพิ่มโอกาสการเข้าสู่ตลาดและบูรณาการเครือข่ายธุรกิจเข้าสู่ทุกภูมิภาคในต่างประเทศ • คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมทั้งด้านราคา และปริมาณอย่างครบถ้วนและเพียงพอ

  5. MOC’s Master Strategies 2009-2011 ที่มา: งานครบรอบ 88 ปีการสถาปนากระทรวงพาณิชย์

  6. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (3/3) • นอกจากนี้ ยังได้กำหนดปัจจัยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุนการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ในภาพรวม ทั้งในด้านการพัฒนากฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาทักษะ ขีดความสามารถของบุคลากร และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ • รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ 8 ข้อ ซึ่งครอบคลุมยุทธศาสตร์ที่เพิ่มเติมด้วยแล้ว มีดังนี้

  7. 5 2 6 3 7 8 4 • การบริหารจัดการยุทธศาสตร์ ธรรมาภิบาล/โครงสร้างองค์กร การติดตามประเมินผล การบูรณาการ การประสานงาน • การพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีสารสนเทศ • กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ • ความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน แผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ปี 2552-2554 Excellent MoC 1. ส่งเสริมการส่งออก 2. ส่งเสริมธุรกิจไทยสู่สากล 3. สร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดภายในประเทศ 4. มุ่งเน้นการค้าเสรีและเป็นธรรมให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต 5. สนับสนุนการกระจายความเสี่ยงทางการตลาดและเสริมสร้างให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ • พาณิชย์เป็นทัพหน้าทางการค้า • เชื่อมโยงการค้าในประเทศสู่สากล • มุ่งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศ • มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจการค้าให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนด้วยอุปสงค์ภายในประเทศ • มุ่งพัฒนานโยบายการแข่งขันทางการค้าให้เกิดผล เสริมสร้างประสิทธิภาพทางการพาณิชย์ • เน้นแนวทางการมองตลาดภายในประเทศเป็นตลาดประชาคมแศรษฐกิจอาเซียน แนวทาง 1 ยุทธศาสตร์หลัก ใช้ข้อตกลงทางการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มทางเลือก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยธุรกิจบริการ ผลิตสินค้าและบริการตามความต้องการของตลาด พัฒนาธุรกิจ อย่างครบวงจร ส่งเสริมธุรกิจไทยสู่สากล มุ่งสร้าง Supply Chain และ Value Creation พัฒนาและเสริมสร้างตลาดในประเทศให้มีประสิทธิภาพ เสรี และเป็นธรรม มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่าทางการค้า พัฒนาระบบ โลจิสติกส์การค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป้าหมาย ในปี 2554 เกิดการรวมกลุ่มของผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ไทยที่มีประสิทธิภาพ ชั้นนำ ธุรกิจบริการเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย เป็นผู้นำในภูมิภาคด้านการผลิตสินค้า/บริการตาม Demand Trend ศูนย์กลางการพัฒนา SMEs/สินค้า OTOP แบบครบวงจร ประสบความสำเร็จกับแนวความคิดThailand Inc. ตลาดในประเทศมีโครงสร้างที่แข็งเกร่งเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า ร่วมผลักดันให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การบริหารจัดการข้อตกลงทางการค้าของไทยได้ระดับสากล ตัวขับเคลื่อน (Enablers) ที่มา: คณะทำงาน

  8. ประเด็นยุทธศาสตร์กระทรวง 8 ข้อ แผนยุทธศาสตร์ รายละเอียด เร่งผลักดันให้ภาคธุรกิจบริการเติบโต และสามารถตอบสนองต่ออุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้ความเป็นไทย (Thainess) เป็นจุดแข็งในธุรกิจสุขภาพ/ความงาม และ ใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะความเชื่ยวชาญเป็นจุดแข็งในธุรกิจ Digital Content ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยธุรกิจบริการ 1 วิเคราะห์หาความต้องการ (Trend) ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และสนับสนุนผู้ผลิตให้สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและผลิตสินค้าตาม Trend นั้นๆ เช่น อาหารฮาลาล อาหารสำเร็จรูป พืชสมุนไพร/วิตามิน เครื่องประดับ/อัญมณี สิ่งทอ และแฟชั่น ผลิตสินค้าและบริการตามความต้องการของตลาด 2 โดยเริ่มตั้งแต่ การสร้างความพร้อมในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ การเพิ่มศักยภาพด้านการออกแบบและการตลาด การใช้ตราสินค้าและทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน และการสร้างเครือข่ายการค้าต่างๆ พัฒนาธุรกิจอย่างครบวงจร 3 สนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในระดับนานาชาติรวมกลุ่มกันออกไปประกอบธุรกิจในต่างประเทศ โดยกระทรวงฯ จะสนับสนุนด้านนโยบาย กฎระเบียบทางการค้า การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกทางการค้าต่างๆ ส่งเสริมธุรกิจไทยสู่สากล มุ่งสร้าง Supply Chain และ Value Creation 4 พัฒนาและเสริมสร้างตลาดในประเทศให้มีประสิทธิภาพ เสรี และเป็นธรรม สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างตลาดภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพ มีการค้าที่เสรีและเป็นธรรม และมีระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่ดี เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปิดเสรีทางการค้าในอนาคต 5 ปรับปรุงโครงสร้างตลาด การพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในทำการธุรกิจของเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับราคาสินค้าเกษตร มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่าทางการค้า 6 ใช้ข้อตกลงทางการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มทางเลือก ติดตาม/ประเมินผล การใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าต่างๆที่มีเพื่อหาช่องทางให้ไทยได้ประโยชน์สูงสุด อาทิ ข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน JTEPA และเขตการค้าเสรีต่างๆ 7 พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า สนับสนุนการพัฒนาภาคธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยแบบครบวงจร มุ่งเน้นการปรับปรุงระบบห่วงโซ่อุปทานโดยเฉพาะในสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 8 ที่มา: Strategic thrust prioritization workshop 31st Jan 2008

  9. 46 เป็นผู้นำในการประสานงานกับสถาบันที่ให้การสนับสนุนแก่ธุรกิจบริการ พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ให้บริการ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมธุรกิจบริการ ส่งเสริมชื่อเสียงเป็นเลิศของธุรกิจบริการไทยในระดับนานาชาติ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยธุรกิจบริการ 1 รายละเอียด 1A • เป็นผู้นำในการผลักดันธุรกิจบริการที่สำคัญ โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของประเภทธุรกิจบริการอย่างมีระบบชัดเจน รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และนำนโยบายไปใช้ในทางปฏิบัติ อาทิ การพัฒนาระบบการรวบรวมข้อมูล/สถิติ ของภาคธุรกิจการบริการ 1B • พัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการ รวมถึงด้านทรัพย์สินทางปัญญา ในธุรกิจบริการสาขาที่มีความสำคัญ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรในภาคธุรกิจบริการ 1C • สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมภาคธุรกิจบริการ ทั้งเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ การเจรจาทางการค้า และจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ 1D • ประชาสัมพันธ์/เผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการบริการที่เป็นเลิศของไทยให้กับผู้ที่มีศักยภาพจะเป็นผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศ ที่มา:คณะทำงาน

  10. รายละเอียด 2B สร้างมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาสินค้าและการวางแผนการตลาด ผลิตสินค้าและบริการตามความต้องการของตลาด 2 2A • ให้ความสำคัญกับการหา Trend ใหม่ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิต รวมทั้งสร้างความสมดุลระหว่างตลาดใหม่ ตลาดเก่า และตลาดภายในประเทศ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง • พัฒนาฐานข้อมูลในเรื่อง Supply/Demand Trend ของภายในกระทรวงฯ ให้สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่หน่วยงานในภูมิภาคจนถึงสำนักงานในต่างประเทศ ศึกษา วิเคราะห์และกำหนด Trend สินค้าจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ • เสาะหาและให้การส่งเสริมผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตที่มีศักยภาพสำหรับ Trend ใหม่ๆของตลาด • ให้การสนับสนุนแบบครบวงจรในการผลิตสินค้าและการตลาด ทั้งการออกแบบ การพัฒนาสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการสร้างตราสินค้า ให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและคุณภาพสินค้าที่ดีมากเป็นพื้นฐาน • เพิ่มการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาให้มากขึ้น รวมถึงใช้ การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา • วางแผนเพื่อให้เกิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในวัตถุดิบและปัจจัยการผลิต 2C เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานสินค้า • ส่งเสริมและกระตุ้นผู้ประกอบการของไทยให้นำเอามาตรฐานที่เป็นสากลในการผลิตสินค้ามาใช้ • สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการเพิ่มขีดความสามารถในการทดสอบมาตรฐานสินค้า และเพิ่มความน่าเชื่อถือในหมู่ผู้บริโภค เช่นคุณภาพในการตรวจสอบ การออกใบประกาศนียบัตรรับรอง และความสามารถในการทดสอบคุณภาพของหน่วยงานภาครัฐ ที่มา: คณะทำงาน

  11. รายละเอียด 3 พัฒนาธุรกิจอย่างครบวงจร • ให้ความช่วยเหลือด้วยการสร้างแบบแผนและขั้นตอนในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ • ร่วมมือกับหน่วยงานทางวิชาการเพื่อให้ความรู้และให้คำปรึกษาในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ สร้างความพร้อมในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ 3A ตั้งต้น • เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่าง SMEs และแหล่งเงินทุน (VCs, funds) • ให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุน • ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการด้านการเงินและการบัญชีทั้งก่อนและหลังได้รับเงินทุน ช่วยเหลือด้านการหาแหล่งเงินทุน 3B • ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ • ให้ความช่วยเหลือในการปฏิบัติ/ดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎกติกาสากล เพื่อให้สามารถทำสัญญากับบริษัทในต่างประเทศได้ ยกระดับคุณภาพของสินค้าและบริการ 3C พัฒนา • ส่งเสริม ความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ประกอบการ SMEs • จัดทำ อำนวยความสะดวกและสร้างแบบแผนพื้นฐานให้ SMEs สามารถใช้ทรัพยากรการผลิตและทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ และแสวงหาโอกาสทางการตลาดร่วมกัน ส่งเสริมความร่วมระหว่าง SMEs 3D • เสรืมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าและบริการไทยอย่างต่อเนื่อง • ส่งเสริมการสร้างตราสินค้า/การตลาด โดยจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการตลาด • ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้า และการสร้างตราสินค้าโดยเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการสร้างตราสินค้าและการตลาด 3E การคุ้มครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา • ให้ความรู้ผู้ประกอบการในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ • ใช้ประโยชน์จากระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้าให้กับ SMEs 3F ขยายและส่งออก • อำนวยความสะดวกให้ SMEs ได้ลงทุนและสร้างเครือข่ายในต่างประเทศ • อำนวยความสะดวกให้ SMEs หาตลาดในต่างประเทศ, และสร้างช่องทางในการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาเครือข่ายในต่างประเทศ 3G ที่มา:คณะทำงาน

  12. รายละเอียด ส่งเสริมธุรกิจไทยสู่สากล มุ่งสร้าง Supply Chain และ Value Creation 4 4A • ทำการคัดเลือกธุรกิจและโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงฯในการไปสู่สากลอย่างเป็นระบบตามความสามารถของผู้ประกอบการ และตามความต้องการของตลาดสากล • ช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับการคัดเลือกในการจัดตั้ง รวมกลุ่มผู้ประกอบการให้ภาคธุรกิจนั้นๆให้เข้มแข็ง กำหนดภาคธุรกิจที่จะให้ความสำคัญและส่งเสริม • ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ในการเป็นผู้นำในการเข้าร่วมประมูลงานที่มีมูลค่าการลงทุนสูงในต่างประเทศ เพื่อเป็นแกนนำในการนำพาผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรม หรือธุรกิจบริการต่างๆไปพร้อมกัน • จัดงานโร้ดโชว์ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมหน่วยธุรกิจที่ได้รับคัดเลือกในประเทศเป้าหมายสำคัญ 4B ประชาสัมพันธ์โครงการ Thailand Inc. 4C อำนวยความสะดวกในการส่งเสริมธุรกิจไทยสู่สากล • ให้บริการต่างๆเพื่อผู้ประกอบการในการไปลงทุนต่างประเทศ (โดยผ่าน เว็บไซท์ของกระทรวงฯ) • ประสานกับกระทรวง ผู้ประกอบการ/สมาคมต่างๆตามความเหมาะสม เพี่อร่วมกันลดโครงสร้างต้นทุนและพัฒนาบุคลากร • ประสานงานระดับรัฐบาลสู่รัฐบาล เช่น การค้า/ข้อตกลงเรื่องการลงทุน การจัดโร้ดโชว์ทางธุรกิจในประเทศสำคัญต่างๆ ที่มีความต้องการในการบริโภคสูงและการสร้างเครือข่ายกับภาครัฐ • ประสานกับหน่วยงานทางการเงินต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านเงินทุนเป็นพิเศษ เช่น EXIM Bank 4D สร้างองค์ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา • ให้องค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การจดทะเบียน และข้อตกลง G2G ที่มีของไทย เพื่อหลีกเลี่ยง/ป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ประกอบการต่างประเทศ 4E • ให้ความรู้ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง ถึงโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ และแสวงหาผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพในการดำเนินกิจการตามโอกาสและความต้องการนั้นๆ • จัดตั้ง ‘globalizing circle’ เพื่อที่จะส่งเสริม ผู้ประกอบการ 100 อันดับแรก ที่มีศักยภาพสูงในการร่วมออกสู่ตลาดสากลกับรัฐบาลโดยให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินทุนและประเมินผลอยู่เสมอ • ประชาสัมพันธ์ตัวอย่างผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จและให้ได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษจากรัฐ เพื่อ กระตุ้นผู้ประกอบการรายอื่นๆ ปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ประกอบการให้ออกไปประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ที่มา:คณะทำงาน

  13. 5 พัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาโครงสร้างตลาดและพฤติกรรมผู้ค้าที่เสรีและเป็นธรรม เสริมสร้างระบบการคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้มแข็ง พัฒนาและเสริมสร้างตลาดในประเทศให้มีประสิทธิภาพ เสรี และเป็นธรรม รายละเอียด 5A • ปรับตัวบทกฎหมายและกฎข้อบังคับต่างๆมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด อาทิ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า • ส่งเสริมบรรษัทภิบาลและ CSR ในผู้ประกอบการ เช่น การให้คำปรึกษา ร่วมมือกับสมาคมธุรกิจต่างๆจัดตั้งมาตรฐานที่ควรมี • ติดตาม/วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ (ราคา ตลาด ห่วงโซ่มูลค่าสินค้า) เพื่อบ่งชี้ภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มว่าจะมีโครงสร้างนำไปสู่พฤติกรรมการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมได้ • ศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกและเตรียมความพร้อมสำหรับผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรี (เช่น การร่วมมือทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดาภายในประเทศ 5B • พัฒนาระบบตลาดที่มีประสิทธิภาพในการรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอุปทาน ของสินค้าและบริการที่สำคัญ อาทิ การวิเคราะห์โครงสร้างตลาด การวิเคราะห์โครงสร้างราคาของสินค้าสำคัญ การปรับปรุงระบบตรวจสอบ และกำหนดแนวทางแก้ไข • ส่งเสริมให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิของตนเอง เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลในการรักษาสิทธิของผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย ที่มา:คณะทำงาน

  14. 6 มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่าทางการค้า รายละเอียด 6A • ปรับปรุงการวางแผนยุทธศาสตร์ในการผลิตสินค้าเกษตร เช่น สร้างอุปสงค์ให้สอดคล้องกับอุปทาน แบ่งเขตการเพาะปลูกให้เหมาะสม รวมถึงนโยบายการปลูกพืชพลังงานทดแทนโดยการร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ) • อำนวยความสะดวก / สร้างความแข็งแกร่งให้กับสหกรณ์การเกษตร เพื่อจัดหาวัตถุดิบที่ดีขึ้น ความพร้อมทางด้านการเงิน มีอำนาจในการต่อรองกับผู้ซื้อมากขึ้น • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความสามารถมากขึ้นในการวิเคราะห์และตัดสินใจให้ถูกต้องและเป็นประโยชน์ เมื่อได้รับทราบข้อมูลจากช่องทางต่างๆ อาทิ ราคาสินค้า แนวทางการผลิตที่ได้ผลดี รายงานสภาพอากาศ โดยผ่านโครงการให้คำปรึกษา ศูนย์การเรียนรู้ และตลาดกลางทางการเกษตร พัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตร 6B เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรแปรรูป • ส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการผลิตสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าสูงขึ้น โดยการใช้ Trend ของตลาดให้เป็นประโยชน์ • จัดให้มีการสนับสนุนด้านการตลาดแบบครบวงจรเพื่อช่วยในการสร้างตราของสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูป ตลอดจนสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา ที่มา:คณะทำงาน

  15. 6 มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่าทางการค้า รายละเอียด 6C • ส่งเสริมผู้ส่งออกให้มีอำนาจในการเจรจาต่อรองในเวทีการค้าในระดับนานาชาติ โดยการกระตุ้นให้ผู้ส่งออกร่วมมือกันในการเพิ่มอำนาจต่อรองทางการตลาด • กำหนดมาตรการด้านการนำเข้า ที่สอดรับกับกฎระเบียบของ WTO เพื่อปกป้องสินค้าเกษตรบางตัวของไทย สร้างจุดยืนทางการค้าของไทยในระดับนานาชาติ 6D • หาจุดสมดุลที่เหมาะสมของมาตรการระหว่างด้านพัฒนากลไกตลาด กับด้านการแทรกแซงตลาดให้เหมาะสมเพื่อการพัฒนาตลาดที่ยั่งยืน • ปรับปรุงกลไกตลาดในปัจจุบันเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พัฒนาตลาดกลางทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำสัญญาทางการเกษตร การค้าแบบ E-Commerce • ส่งเสริม/พัฒนากลไกการแทรกแซงตลาดที่ทำให้ตลาดบิดเบือนน้อยที่สุด เพื่อให้ราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพ ปรับปรุงตลาดและสินค้าเกษตรและการจัดการด้านราคา 6E การจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ • ปรับปรุงด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องระบบโลจิสติกส์การค้าซึ่งไทยยังมีต้นทุนในเรื่องนี้สูงมาก ที่มา:คณะทำงาน

  16. ใช้ข้อตกลงทางการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มทางเลือก รายละเอียด 7 7A • รวบรวมข้อคิดเห็นจากหน่วยงานเอกชนและ NGO รวมทั้งทุกหน่วยงานภายในกระทรวงฯ ภายหลังการเจรจาทางการค้า • ติดตาม/อำนวยความสะดวกในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าที่มีอยู่ และประเมินผลการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้า และกำหนดมาตรการรองรับ การบริหารจัดการเพื่อให้ใช้ข้อตกลงทางการค้าภายหลังการเจรจาให้เกิดประโยชน์สูงสุด 7B • จัดทำฐานข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการค้าโลกผ่านระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน (one-stop-service) เช่น NTMs มาตรฐานทางการค้า กฎระเบียบต่างๆ และ พิกัดอัตราภาษีศุลกากร • ส่งเสริมและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทยเพื่อให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก one-stop service • ศึกษา/วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น/เกิดขึ้นแล้ว และหาแนวทางแก้ไข เผยแพร่เรื่องผลกระทบ ทั้งด้านที่เป็นผลประโยชน์ และด้านที่เป็นปัญหา จากการทำข้อตกลงทางการค้า และ การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบต่างๆของการค้าต่างประเทศ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การป้องกันและแก้ปัญหาทางการค้าเชิงรุก ที่มา: European commission; McKinsey analysis 16

  17. รายละเอียด พัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 8 8A • ลดขั้นตอน เอกสาร และความซับซ้อนของการปฏิบัติงานด้านศุลกากรและการส่งออกเพื่อลดเวลาในการดำเนินการ • เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบสินค้าโดยการพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆในการตรวจสอบให้พร้อมใช้งานและเข้าถึงได้โดยง่าย พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า 8B • ให้ความรู้แก่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานในเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน • พัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการในระบบห่วงโซ่อุปทานแบบ end-to-end โดยการตั้งเป้าไปที่สินค้าที่สำคัญๆ อาทิ ช่วยเหลือจัดการด้านการรวบรวมสินค้าให้ได้จำนวนมากเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง หรือการจัดหาสินค้าให้รถขนส่งในเที่ยวกลับ การจัดตั้ง Agricultural Cargo Airlineเป็นต้น พัฒนาประสิทธิภาพของระบบห่วงโซ่อุปทาน 8C • สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจทางด้านโลจิสติกส์ อาทิ การจัดตั้งกองทุน การส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่าย และการให้สิ่งจูงใจ • ส่งเสริมและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการให้ได้ใช้ประโยชน์จากระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ได้อย่างสูงสุด และวางกลยุทธ์ให้ไทยเป็นฐานของโลจิสติกส์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมธุรกิจโลจิสติกส์ ที่มา: ทีมวิจัย – แผนการพัฒนากลยุทธ์ด้านลอจิสติกส์ กระทรวงพาณิชย์

  18. ผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์หลัก ผู้รับผิดชอบ ผู้สนับสนุน สอ. พค. / ทป. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยธุรกิจบริการ 1 สอ. ทป. / คน. / คต. / สป. ผลิตสินค้าและบริการตามความต้องการของตลาด 2 พค. สอ. / ทป. / สป. พัฒนาธุรกิจอย่างครบวงจร 3 สอ. พค. / ทป. / คต. / จร. ส่งเสริมธุรกิจไทยสู่สากล มุ่งสร้าง Supply Chain และ Value Creation 4 คน. จร. / สป. พัฒนาและเสริมสร้างตลาดในประเทศให้มีประสิทธิภาพ เสรี และเป็นธรรม 5 คน. สอ. /คต. / จร. / สป. / ทป. มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่าทางการค้า 6 คต. สอ. / จร. / ทป. ใช้ข้อตกลงทางการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มทางเลือก 7 สอ. พค. / คต. / คน. / สป. พัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 8 ที่มา: งานประชุมสัมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดลำดับความสำคัญของแผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ (วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551)

More Related