1 / 45

การวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง

ดร.สุรชาติ กิ่มมณี. การวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง. การวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง. กระบวนการที่จะทำให้มีบุคลากรตามปริมาณและคุณสมบัติเพียงพอที่จะปฏิบัติภารกิจขององค์กรให้สำเร็จ ต้องกำหนดขั้นตอนหรือกระบวนงานที่สะท้อนงานจริงของหน่วยงานที่แสดงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และไม่ซ้ำซ้อน.

jadzia
Download Presentation

การวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ดร.สุรชาติ กิ่มมณี การวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง

  2. การวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง • กระบวนการที่จะทำให้มีบุคลากรตามปริมาณและคุณสมบัติเพียงพอที่จะปฏิบัติภารกิจขององค์กรให้สำเร็จ • ต้องกำหนดขั้นตอนหรือกระบวนงานที่สะท้อนงานจริงของหน่วยงานที่แสดงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และไม่ซ้ำซ้อน

  3. ข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำหนดกรอบอัตรากำลังข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำหนดกรอบอัตรากำลัง หมายเหตุ ทั้งสามมิติควรสอดคล้องและตรงกัน

  4. กรอบแนวคิดการวิเคราะห์อัตรากำลังกรอบแนวคิดการวิเคราะห์อัตรากำลัง • การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์และภารกิจองค์กร • งานที่ดำเนินการในปัจจุบันครบถ้วน และตรงตามภารกิจขององค์กรหรือไม่/เพียงใด • การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายกำลังคน (Supply pressure) • การจัดลำดับชั้นงานที่ต้องประหยัดแต่มีประสิทธิภาพ • การจัดสรรประเภทบุคลากรที่ต้องประหยัดแต่มีประสิทธิภาพ • การวิเคราะห์ FTE (Full Time Equivalent)

  5. กรอบแนวคิดการวิเคราะห์อัตรากำลัง (ต่อ) • การวิเคราะห์ผลงานที่ผ่านมา • นำผลลัพธ์ที่ต้องการของหน่วยงานมาเชื่อมโยงกับกรอบอัตรากำลังที่ต้องการ • การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัตรากำลัง • ข้อมูลพื้นที่และการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีผลต่อกรอบอัตรากำลัง • การเกษียณอายุ • ความคิดเห็นอื่นๆ ที่มีผลต่อกรอบอัตรากำลัง • การเปรียบเทียบกรอบอัตรากำลังกับองค์กรอื่นๆ (Benchmark)

  6. ปัจจัยนำไปสู่การทบทวนกรอบอัตรากำลังปัจจัยนำไปสู่การทบทวนกรอบอัตรากำลัง • การเปลี่ยนแปลงของแผนกลยุทธ์ขององค์กร / ส่วนงาน • การเปลี่ยนสมมุติฐานการวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานอัตรากำลัง • การเปลี่ยนแปลงบริบทและสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับภาระงานองค์กรและส่วนงาน

  7. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังกระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง • การวางแผน • กำหนดคณะทำงาน • กำหนดกิจกรรมดำเนินการและเวลา • วิเคราะห์นโยบายด้านทรัพยากรบุคคลตลอดจนปัญหา • มีนโยบายการลดอัตรากำลังหรือไม่ • นโยบายทรัพยากรบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  8. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • วิเคราะห์นโยบายด้านทรัพยากรบุคคลตลอดจนปัญหา (ต่อ) • การบรรจุคนไม่สอดคล้องกับตำแหน่ง • ระดับความสมดุลของระดับตำแหน่งงานในองค์กร / ส่วนงาน • ระดับอายุบุคลากร • คุณภาพบุคลากร • ระดับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

  9. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • วิเคราะห์พันธกิจ ยุทธศาตร์ และนโยบายขององค์กร • พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ที่มีผลต่อภาระงานที่สูงขึ้นหรือลดลง หมายเหตุ การวิเคราะห์ภารกิจ ยุทธศาสตร์ และนโยบายองค์การจะทำให้สามารถประมาณ การผลลัพธ์สุดท้ายเบื้องต้นของกรอบอัตรากำลัง

  10. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • เก็บข้อมูลกระบวนการทำงานจริง • เก็บข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต • กำหนดตัวแทนของแต่ละส่วนงาน 2-3 คน ทำหน้าที่กรอกแบบฟอร์มเก็บข้อมูลที่กำหนดพร้อมทั้งทำการชี้แจง • ใช้แบบฟอร์มในการเก็บข้อมูล 3 แบบฟอร์ม • ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน • มุมมองด้านอัตรากำลัง • รายละเอียดการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

  11. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน • ดำเนินการรวบรวมข้อมูลระดับสำนักหรือหน่วยงานใต้สำนัก 1 ระดับ • ใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร • มีการตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้อง

  12. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • มุมมองด้านอัตรากำลัง • ข้อเสนอแนะการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ปรับปรุงขั้นตอนหรือระบบงานขอบเขต ความรับผิดชอบ • ข้อเสนอแนะการแก้ไขระเบียบข้อบังคับ กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพ • ข้อเสนอแนะปรับปรุง ความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน ตำแหน่งงาน • ข้อเสนอการจ้าง Outsource หรือการปรับตำแหน่งข้าราชการเป็นพนักงานราชการ • ข้อเสนอการปรับอัตรากำลังในแต่ละหน่วยงานพร้อมเหตุผล

  13. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • รายละเอียดการปฏิบัติงานของหน่วยงาน • ใช้แบบฟอร์มตามจำนวนสายงานๆ ละ 1 แบบฟอร์ม • ควรอธิบายวิธีการกรอกแบบฟอร์มให้ชัดเจน

  14. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • พิจารณาอุปสงค์กำลังคน • นำข้อมูลจากแบบฟอร์มทั้ง 3 แบบมาจัดหมวดหมู่ • ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน • พิจารณาความสอดคล้องของงานจริงกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนดโดย • พิจารณาหน้าที่หลักที่ตัวแทนหน่วยงานกรอกเทียบกับหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่กำหนดอยู่ใน Functional Description หรือเอกสารอ้างอิง เพื่อหาความต่างหรือช่องว่าง • กำหนดแนวทางเติมเต็มช่องว่าง

  15. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • พิจารณาอุปสงค์กำลังคน (ต่อ) • พิจารณาการกระจายของงานและการกำหนดผู้ปฏิบัติงานโดยใช้คำถาม • สายงานแต่ละสายงานที่อยู่ในหน่วยงานหรือส่วนงานสอดคล้องกับหน่วยงานหรือส่วนงานนั้นหรือไม่ • มีภาระงานที่ต้องอาศัยสายงานนี้หรือไม่ • การมีสายงานนี้ในหน่วยงาน / ส่วนงานเอื้อต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือไม่ • พิจารณาการปรับเปลี่ยน • โอนย้าย • เพิ่มเติม

  16. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • พิจารณาอุปสงค์กำลังคน (ต่อ) • พิจารณาแนวโน้มของปริมาณงานและความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดโดยใช้คำถาม • ปริมาณผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อภาระงานและอัตรากำลังหรือไม่ • แนวโน้มปริมาณผลลัพธ์เป็นอย่างไร / เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติ / จำนวนบุคลากร • ผลลัพธ์สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรหรือไม่

  17. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • พิจารณาอุปสงค์กำลังคน (ต่อ) • พิจารณา FTE (Full Time Equivalent) โดยใช้คำถาม • ค่า FTE สูงหรือต่ำกว่าอัตรากำลังที่มีอยู่ • ค่า FTE สูงหรือต่ำกว่าหน่วยงานที่คล้ายกันโดยเปรียบเทียบ • พิจารณามุมมองรอบด้านและจัดทำข้อเสนอแนะประกอบการกำหนดกรอบอัตรากำลัง • หมายเหตุ 6 ชั่วโมง/วัน X 5 วัน / สัปดาห์ X4 สัปดาห์/เดือน X 12 เดือน / ปี = 1,440 ชั่วโมง / ปี

  18. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • พิจารณามุมมองจากแหล่งอื่นๆ และจัดทำข้อเสนอแนะ • มุมมองจากบุคคลที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานที่วิเคราะห์ • จัดทำข้อเสนอแนะ

  19. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • กรณีที่หน่วยงานหลายพื้นที่ทำงานคล้ายกันสามารถคำนวณอัตรากำลังได้จากการเทียบเคียงโดยใช้ปัจจัยที่เป็นตัวทำให้เกิดความต้องการกำลังคน (Workload Driver) ตามขั้นตอนดังนี้ • เลือกหน่วยงานที่จะเทียบเคียง • เลือกปัจจัยที่เป็นตัวทำให้เกิดความต้องการกำลังคนมาใช้เปรียบเทียบ • จำนวนแรงงานที่มายื่นความจำนงสมัครงาน 6000 คน / นักวิชาการแรงงาน 1 อัตรา • จำนวนการออกใบสั่งซื้อ 100 ชุด / นักวิชาการพัสดุ 1 อัตรา • จำนวนผู้ถูกคุมประพฤติ 100 ราย / พนักงานคุมประพฤติ 1 อัตรา • จำนวนใบเสร็จที่จัดทำ 6000 ฉบับ / นักวิชาการเงิน 1 อัตรา

  20. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • พิจารณาอุปทานกำลังคน • พิจารณาอุปทานกำลังคน มีผลการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังของตำแหน่งใดบ้างที่ผู้ดำรงตำแหน่งมีวุฒิการศึกษาไม่ตรงและ ดำเนินการหาทางออกอย่างไร • วิเคราะห์ระดับการศึกษา วุฒิการศึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันโดยตั้งคำถามว่าคุณสมบัติเชิงการศึกษาทั้งระดับ และวุฒิการศึกษา เอื้อให้การจัดสรรอัตรากำลังทำได้ทันทีหรือไม่

  21. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • พิจารณาองค์รวม • การกำหนดจำนวน / สายงานและประเภทการจ้างกำลังคน • ลักษณะงานในหน่วยงานควรประกอบด้วยตำแหน่งประเภทใด และระดับใด • ข้าราชการ ปฏิบัติงานในภารกิจหลักลักษณะงานที่เน้นการใช้ความรู้ความสามารถและทักษะเชิง เทคนิค หรือเป็นงานวิชาการ งานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายหรือลักษณะงาน ที่มีความต่อเนื่องในการทำงาน

  22. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) 2) พนักงานราชการ ปฏิบัติงานในภารกิจรองและภารกิจสนับสนุน เป็นงานที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มและ สิ้นสุดแน่นอนตามความจำเป็นของภารกิจ มีการจ้างงานในระบบสัญญาจ้างและต่อ สัญญาจ้างได้

  23. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) 3) ลูกจ้างประจำ ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ เมื่อปรับใช้ระบบพนักงานราชการหรือ การจ้างเหมาบริการแทนจึงไม่มีการกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่และไม่มีการบรรจุ บุคคลในตำแหน่งดังกล่าว

  24. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) 4) ลูกจ้างชั่วคราว ปฏิบัติงานเสริมในภารกิจรอง ภารกิจสนับสนุน งานที่มีกำหนดระยะเวลาการ ปฏิบัติงานเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอนตามโครงการหรือภารกิจในระยะสั้น

  25. เกณฑ์การกำหนดประเภทของบุคลากรภาครัฐ (ก.พ.)

  26. เกณฑ์การกำหนดประเภทของบุคลากรภาครัฐ (ก.พ.)

  27. เกณฑ์การกำหนดประเภทของบุคลากรภาครัฐ (ก.พ.)

  28. เกณฑ์การกำหนดประเภทของบุคลากรภาครัฐ (ก.พ.)

  29. เกณฑ์การกำหนดประเภทของบุคลากรภาครัฐ (ก.พ.)

  30. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • การกำหนดจำนวน / สายงาน และประเภทการจ้างกำลังคน (ต่อ) • กำหนดสายงานให้ตรงกับบทบาทและภารกิจของแต่ละหน่วยงานตามขั้นตอนดังนี้ • พิจารณาว่าลักษณะงานในหน่วยงานควรประกอบด้วยตำแหน่งประเภทใด และระดับใด เช่น ประเภทอำนวยการต้น/สูง ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ / ชำนาญการ เป็นต้น • พิจารณาว่าลักษณะงานดังกล่าวควรกำหนดเป็นตำแหน่งในสายงานใด โดยเทียบกับหน้าที่รับผิดชอบและคุณสมบัติของแต่ละสายงานตามมาตรฐานตำแหน่งงาน (พรบ.ข้าราชการพลเรือน2551) • พิจารณากำหนดชื่อตำแหน่งทางการบริหารเช่น ผอ.กลุ่มงาน เป็นต้น • พิจารณาระบุหน้าที่รับผิดชอบโดยสังเขปเพื่อสนับสนุนการกำหนดสายงานรวมทั้งเพื่อนำไปจัดทำแบบบรรยายลักษณะงานต่อไป • ระบุกรอบอัตรากำลังปัจจุบันเปรียบเทียบอัตรากำลังใหม่ หมายเหตุ ควรพิจารณาวัฒนธรรมการวางแผนทางเดินสายอาชีพประกอบด้วย

  31. กระบวนการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง (ต่อ) • การจัดทำแผนกรอบอัตรากำลัง • - จัดทำบัญชีรายชื่อตำแหน่งประกอบการกำหนดอัตรากำลังเพื่อนำเสนอผู้บริหาร

  32. ข้อมูลนำมาจากคู่มือการวิเคราะห์อัตรากำลังของส่วนราชการ ของ สำนักงาน ก.พ. ตัวอย่างการวิเคราะห์อัตรากำลัง

  33. ตัวอย่าง ข้อมูลหน้าที่ความรับผิดชอบ

  34. ตัวอย่างการวิเคราะห์ตามขั้นตอนการพิจารณาอัตรากำลัง A:พิจารณาความสอดคล้องของงานจริงกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนด

  35. ตัวอย่างการวิเคราะห์ตามขั้นตอนการพิจารณาอัตรากำลัง A:พิจารณาความสอดคล้องของงานจริงกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนด

  36. ตัวอย่างการวิเคราะห์ตามขั้นตอนการพิจารณาอัตรากำลัง B:พิจารณาการกระจายของงานและการกำหนดผู้ปฏิบัติงาน

  37. ตัวอย่างการวิเคราะห์ตามขั้นตอนการพิจารณาอัตรากำลัง B:พิจารณาการกระจายของงานและการกำหนดผู้ปฏิบัติงาน

  38. ตัวอย่างการวิเคราะห์ตามขั้นตอนการพิจารณาตามอัตรากำลัง C:พิจารณาแนวโน้มของปริมาณงานและความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัด พิจารณาแนวโน้มของปริมาณงาน

  39. ตัวอย่างการวิเคราะห์ตามขั้นตอนการพิจารณาตามอัตรากำลัง D:พิจารณา Full Time Equivalent ประกอบกับ Benchmarking

  40. ตัวอย่างการวิเคราะห์ตามขั้นตอนการพิจารณาอัตรากำลัง E:พิจารณามุมมองรอบด้าน (360 องศา) และจัดทำข้อเสนอแนะ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสอบถามผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจริงซึ่งช่วย สะท้อนความเหมาะสมของอัตรากำลังในปัจจุบันมากกว่า ควรปรับเพิ่ม / ลด/หรือคงปริมาณอัตรากำลังไว้ ตารางต่อไปนี้แสดงผลสรุปมุมมองจากหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งมีต่อหน่วยงานตัวอย่าง (ส่วนจัดเก็บภาษีอากร สำนักจัดเก็บและบริหารงานภาษีอากร)

  41. สรุปจากกระบวนการทั้งหมด A,B,C,D,E พบว่า อัตรากำลังของหน่วยงานตัวอย่าง (ส่วนจัดเก็บภาษีอากร สำนักจัดเก็บและบริหารงานภาษีอากร) นี้ควรพิจารณาปรับเพิ่มอัตรากำลังจากปัจจุบัน 9 อัตราเป็น 10 อัตรา ให้สอดคล้องปริมาณภาระงานจริงและในกรณีที่ข้อมูลไม่สะท้อนทิศทางการปรับอัตรากำลังอย่างชัดเจนแนะนำให้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอันได้แก่ผู้บริหารที่กำกับดูแลหน่วยงานที่พิจารณาหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคลหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 หน่วยงานประชุมหาข้อสรุปร่วมกัน

  42. ตัวอย่างการพิจารณากำหนดสายงานแบบฟอร์มบัญชีรายชื่อตำแหน่งประกอบการกำหนดอัตรากำลังตัวอย่างการพิจารณากำหนดสายงานแบบฟอร์มบัญชีรายชื่อตำแหน่งประกอบการกำหนดอัตรากำลัง

More Related