1 / 17

บ่อเกิดวรรณกรรม

บ่อเกิดวรรณกรรม. แนวคิด.. บ่อเกิดวรรณกรรม. ม.ล. ตุ้ย ขุมสาย ( 2516).

jamuna
Download Presentation

บ่อเกิดวรรณกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บ่อเกิดวรรณกรรม

  2. แนวคิด.. บ่อเกิดวรรณกรรม

  3. ม.ล. ตุ้ย ขุมสาย (2516) • ม.ล. ตุ้ย ขุมสาย (2516 : 50-54) ได้แสดงความคิดเห็นว่า จุดเริ่มต้นของวรรณกรรมอยู่ที่สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมถือเป็นสิ่งเร้าที่ทาให้ผู้ประพันธ์เกิดอารมณ์ ความรู้สึก แล้วก่อตัวขึ้นเป็นมโนภาพแต่โดยนิสัยของนักประพันธ์ เขามักเกิดแรงบันดาลใจที่จะถ่ายทอดมโนภาพนั้นไปให้ผู้อื่นได้รับทราบด้วย จึงเกิดวรรณกรรมขึ้น

  4. บรรจง บรรเจอดศิลป์ (2524) • บรรจง บรรเจอดศิลป์ (2524 : 7) กล่าวว่า ที่กาเนิดแห่งศิลปะและวรรณกรรมนั้น คือชีวิตที่เป็นจริงของมนุษย์ คือ สิ่งที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งการคลี่คลายขยายตัวทางเศรษฐกิจของสังคม คือผลงานประวัติศาสตร์ทั้งหมดของโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือกล่าวย่อ ๆ ก็คือ ความเป็นจริงทางภววิสัย (Objective Reality) ของมนุษย์นั่นเองเป็นแหล่งกาเนิดแห่งศิลปะและวรรณกรรม

  5. บำรุง สุวรรณรัตน์ และชูศักดิ์ เอกเพชร (2523) ได้กล่าวถึงบ่อเกิดของวรรณกรรมไว้หลายลักษณะดังนี้ คือ • 1. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นเพราะแรงกระตุ้นทางธรรมชาติ ได้แก่ บทชมธรรมชาติ ชมปลา เหล่านี้เป็นต้น ทางประเทศตะวันตกมีงานเขียนที่เกิดขึ้นเพราะแรงกระตุ้นทางธรรมชาติโดยเฉพาะ เช่น นวนิยาย "ฤดูหนาวอันยาวนาน" ของ ลอรา อิงกัลส์ ซึ่งสุคนธรส แปลเป็นภาษาไทย

  6. บำรุง สุวรรณรัตน์ และชูศักดิ์ เอกเพชร (2523) • 2. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางศาสนาและปรัชญา ที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน ศาสนาโดยตรง เช่น พระปฐมสมโพธิกถา ทศชาติชาดก มหาเวสสันดรชาดก นันโทปนันทสูตรคาหลวง พระมาลัยคาหลวง เป็นต้น นอกจากนี้ในยุคที่ศีลธรรมเสื่อม กวีก็มักเสนอผลงานออกมาในเชิงเตือนสติให้คนหันมาคานึงถึงศีลธรรม ชี้โทษแห่งอบายมุขและพระภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติผิดวินัย ดังจะเห็นได้จากงานเขียนบางบทใน "ฤาสมัยนี้โลกมันเอียง" "ดาบที่หมกอยู่ในจีวร" "บังอบายเบิกฟ้า" เป็นต้น

  7. บำรุง สุวรรณรัตน์ และชูศักดิ์ เอกเพชร (2523) • 3. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยทางวรรณกรรมด้วยกัน ข้อนี้หมายความว่า เมื่อกวีหรือนักเขียนได้อ่านหรือได้ฟังเรื่องราวจากวรรณกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ก็เกิดแรงบันดาลใจให้ผลิตผลงานสืบเนื่องต่อมา อาจออกมาในรูปของการแปล การนาเค้าเรื่องมาดัดแปลงแล้วรจนาขึ้นใหม่หรือคิดสืบเนื่องต่อออกไปเป็นวรรณกรรมเรื่องใหม่ เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา รุไบยาต พันหนึ่งทิวา เป็นต้น

  8. บำรุง สุวรรณรัตน์ และชูศักดิ์ เอกเพชร (2523) • 4. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวกับชีวิต ข้อนี้อาจถือเป็นเหตุปัจจัยอันยิ่งใหญ่ เพราะชีวิตย่อมประกอบขึ้นด้วยประสบการณ์รอบด้าน ทั้งความดี ความชั่ว ความรัก ความชัง ความสมหวัง ความผิดหวัง ฯลฯ เรื่องราวของชีวิตนี่แหละเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดวรรณกรรมได้อย่างดีที่สุดดังจะเห็นได้จากวรรณกรรม และวรรณคดีทุกเรื่องที่จะละเลยในการกล่าวถึงวัฏจักรของชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ แล้วเป็นไม่มี

  9. บำรุง สุวรรณรัตน์ และชูศักดิ์ เอกเพชร (2523) • 5. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นเพราะความผันผวนทางการเมืองและสังคม เช่น "ปีศาจ" ของเสนีย์ เสาวพงศ์ "สี่แผ่นดิน" ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนขึ้นจากสภาพที่กลุ่มบุคคลชั้นเจ้าขุนมูลนายต้องมีอาการคลอนแคลนด้านสถานภาพทางสังคมและกลุ่มชนชั้นกลางจะขึ้นมามีอานาจแทน "ไผ่แดง" ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนขึ้นจากสภาพการต่อสู้ของความคิดทางการเมือง ระหว่างค่ายเสรีนิยมกับค่ายสังคมนิยม "แม่" ของแมกซิมกอร์กี้ เขียนขึ้นจากสภาพการรวมกลุ่มของชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อเป็นพลังต่อสู้และต่อรองกับฝ่ายนายทุน "เรื่องจริงของอาคิว" ของหลู่ซิ่น เขียนขึ้นจากสภาพชีวิตของคนจีนส่วนหนึ่งที่ยากจนค่นแค้น ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แต่กลับถูกรับบาปซึ่งผู้มีอานาจโยนให้

  10. บำรุง สุวรรณรัตน์ และชูศักดิ์ เอกเพชร (2523) • นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาดูวรรณคดีเก่า ๆ ของไทยที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางการเมือง และสังคม หรือเรียกรวม ๆ กันว่า "ปัจจัยทางประวัติศาสตร์" ก็มีไม่น้อย เช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตตะเลงพ่าย สามกรุง บทเสภาพระราชพงศาวดาร เป็นต้น

  11. บำรุง สุวรรณรัตน์ และชูศักดิ์ เอกเพชร (2523) • ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวรรณกรรม นั้นตามความเป็นจริงแล้ววรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ๆ มิได้เกิดจากเหตุปัจจัยเดียว หากมีแรงกระตุ้นจากหลายทิศหลายทาง ผสมปนเปกันไป วรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ๆ จึงมีหลายรสหลายชาติ อุดมไปด้วยเหตุการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อุดมไปด้วยความคิดทางปรัชญา ศีลธรรมสภาพทางการเมืองและสังคม ที่ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นวรรณกรรม

  12. ดวงใจ ไทยอุบุญ (2540) ได้กล่าวถึงบ่อเกิดของวรรณกรรมไว้แตกต่างกันดังต่อนี้ไปนี้ • 1. เกิดจากการชื่นชมและเทิดทูนวีรบุรุษ คิดว่าบรรพบุรุษของตนมีความเก่งกล้าสามารถเกิดความภาคภูมิใจ จึงต้องการที่จะยกย่องเชิดชู และให้คนรุ่นลูก รุ่นหลานได้รู้จักบรรพบุรุษของตน โดยได้นาเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้น ๆ มาแต่งขึ้นเป็นเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ ดังเช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตตะเลงพ่าย สามกรุง เป็นต้น

  13. ดวงใจ ไทยอุบุญ (2540) • 2. อิทธิพลทางศาสนา ศาสนามีอิทธิพลต่อจิตใจคน เป็นหลักยึดปฏิบัติในการดาเนินชีวิตโดยเฉพาะเมื่อมีคนหมู่มาก ศาสนาจะเป็นเครื่องโน้มเหนี่ยวใจให้คนเรามีศีลธรรมประจาใจและอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก กวีจึงได้นาคาสั่งสอนหรือพุทธปรัชญามาแต่งขึ้นเพื่อสอนใจประชาชน เช่น สุภาษิตพระร่วง ไตรภูมิกถาหรือมหาชาติคาหลวง กาพย์มหาชาติ เป็นต้น

  14. ดวงใจ ไทยอุบุญ (2540) • 3. เกิดจากกวีต้องการบันทึกเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตน ให้ชนรุ่นหลังได้ทราบทั้งทางด้านวัฒนธรรมประเพณี การศึกษา ประวัติศาสตร์ หรือความนึกคิดของคนในสมัยนั้น ๆ เช่น จินดามณี นิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นต้น

  15. ดวงใจ ไทยอุบุญ (2540) • 4. เกิดจากการถ่ายทอดวัฒนธรรมระหว่างชาติ ที่ทาให้เราได้รู้จักเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของชาติอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ เรื่องแปลจากต่างประเทศ เช่น สามก๊ก เวนิสวานิช นิทานเวตาล เป็นต้น หรือเรื่องที่แต่งขึ้นจากประสบการณ์ตรงของผู้แต่ง ที่ได้มีโอกาสไปเห็นไปสัมผัสกับวัฒนธรรมต่างชาติ เช่น นิราศลอนดอน สามกรุง เป็นต้น

  16. ดวงใจ ไทยอุบุญ (2540) • 5. เกิดจากอารมณ์หรือความรู้สึกของกวี ซึ่งอาจเกิดจากประสบการณ์ของกวี ทาให้มีแรงบันดาลใจที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนั้นออกมาเป็นเรื่อง เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โศก เคียดแค้น โกรธ ดังเช่น วรรณคดีที่เรารู้จักกันดี คือ มัทนะพาธา นิราศนรินทร์ กาศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น

  17. จบแล้วจ้า =] จะเห็นได้ว่า บ่อเกิดของวรรณกรรมเกิดขึ้นจากหลาย ๆ สาเหตุด้วยกัน และวรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ๆ อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุก็ได้

More Related