1 / 12

บุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก

บุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก. บุคลิกภาพ. ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2505 หมายถึง สภาพนิสัยจำเพาะของบุคคล บุคลิกภาพ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “ Personality ”. บุคลิกภาพของบุคคลสามารถแสดงให้เห็นได้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ. ลักษณะบุคลิกภาพที่ไม่สามารถควบคุมได้

jana-joseph
Download Presentation

บุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึกบุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก

  2. บุคลิกภาพ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2505 หมายถึง สภาพนิสัยจำเพาะของบุคคล บุคลิกภาพ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Personality”

  3. บุคลิกภาพของบุคคลสามารถแสดงให้เห็นได้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ลักษณะบุคลิกภาพที่ไม่สามารถควบคุมได้ • ลักษณะที่ตกทอดมา • รูปร่างลักษณะ • การอบรมเลี้ยงดูตอนเด็ก ลักษณะบุคลิกภาพที่สามารถควบคุมได้ • ลักษณะท่าทาง • การพูด,การเจรจา • พฤติกรรม,การกระทำ • การแต่งตัว

  4. แนวคิดทางบุคลิกภาพ ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคลิกภาพประกอบด้วย 3 ระบบ คือ Id – แรงขับ,แรงกระตุ้น,สัญชาติญาณ Ego – สนองความต้องการของ Id Superego – คุณธรรม,จริยธรรม,ค่านิยม

  5. บุลคิกภาพในความหมายของ คาร์ล จี จุง (Carl,G,Jung) • ประเภทชอบสังคมหรือชอบแสดงตน มักจะคล่องแคล่วว่องไว ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบเด่น และเป็นตัวของตัวเอง • ประเภทชอบเก็บตัว จะเป็นคนเก็บตัว ไม่ชอบแสดงตน ชอบอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียว คิดมาก รับไม่ได้ถ้าหากถูกวิจารณ์

  6. บุลคิกภาพในความหมายของอัลเฟรด อัตเลอร์ (Alfred Adler) เชื่อว่าอิทธิพลทางสังคม จะมีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล ประเพณี หรือวัฒนธรรม ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้เกิดการดิ้นรน และขวนขวายเพื่อไปหาสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต “แรงกระตุ้นทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่การมีพฤติกรรมทางด้านบวกในสังคม”

  7. สรุปความหมายของบุคลิกภาพสรุปความหมายของบุคลิกภาพ บุคลิกภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต ต่ออาชีพการงานของแต่ละบุคคล การได้รับความรักความอบอุ่นในครอบครัว จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาในแต่ละขั้นพัฒนาไปได้ด้วยดี และส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี

  8. ภาวะความเป็นผู้นำ ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับเลือกจากกลุ่ม เป็นผู้วางแผนและรับผิดชอบของกลุ่ม เป็นผู้ควบคุมความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นตัวแทนในการติดต่อกับผู้อื่น ผู้นำ ต้องมีความโดดเด่นกว่าผู้อื่น จะต้องความเข้มแข็งอดทน มีมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และที่สำคัญคือควร “เป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก”

  9. ประเภทของการเป็นผู้นำประเภทของการเป็นผู้นำ • พิจารณาตามความรับผิดชอบที่ผู้นำรับผิดชอบอยู่ - ผู้นำซึ่งได้มาโดยอำนาจ • พิจารณาจากวิธีการที่ผู้นำใช้ - ผู้นำแบบอัตนิยม - ผู้นำแบบประชานิยม - ผู้นำแบบเสรีนิยม • พิจารณาจากบทบาทที่ผู้นำแสดง - ผู้นำแบบแสดงตนเอง - ผู้นำแบบใช้กลอุบาย - ผู้นำในลักษณะผู้เชี่ยวชาญ

  10. องค์ประกอบของการเป็นผู้นำองค์ประกอบของการเป็นผู้นำ • องค์ประกอบทางสรีระ รูปร่าง, น้ำหนัก, ส่วนสูง, ความแข็งแรงของร่างกายจะผันแปร ไปตามลักษณะของกลุ่มแต่ละกลุ่ม • องค์ประกอบทางสติปัญญา ความสามารถในการที่จะปรับปรุงตนเอง เปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ • องค์ประกอบทางอารมณ์ ความสามารถในการรับรู้ถึงความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง บริหารจัดการอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น

  11. จิตสำนึกของการเป็นผู้นำที่ดีจิตสำนึกของการเป็นผู้นำที่ดี 1. มีความเชื่อมันในตนเอง หนักแน่น ไม่อ่อนไหว 2. รู้จักตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองและผู้อื่น 3. รู้สิ่งที่ถูกและสิ่งที่ผิด 4. มีสุขภาพดี ไม่หวั่นไหว มองโลกในแง่ดี 5. มีความกระตือรือร้น รับผิดชอบทั้งตนเองและผู้อื่น 6. สามารถควบคุมตัวเองได้ เป็นตัวของตัวเอง 7. มีจิตใจเข้มแข็ง อดทน อดกลั้น มานะ พยายาม 8. เป็นผู้ที่มีความรู้ รู้จักฟัง รู้จักคิดในทางสร้างสรรค์ 9. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความจริงใจ 10. เป็นผู้ที่ยืดหยุ่นเป็น รู้จักผ่อนปรน 11. มีความสามารถในการจูงใจผุ้อื่น

  12. สรุป การพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้นำที่มีจิตสำนึกได้นั้น ต้องเลือกสรรบุคคลที่จะรับการพัฒนา ในเวลาเดียวกันต้องพิจารณาสติปัญญา ลักษณะบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยโดยรวม มีความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง ควบคู่ไปกับการยอมให้ความร่วมมือให้ผู้อื่นพัฒนาให้ด้วย

More Related