1 / 36

Unit 3 Distributed Systems And Network and Internetwork

Unit 3 Distributed Systems And Network and Internetwork. ระบบสารสนเทศแบบกระจาย Distributed Information System. อ.คเชนทร์ ซ่อนกลิ่น. Topic. ลักษณะของระบบแบบกระจาย ( Feature of Distributed System) วัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจาย ( Objective of Distributed System) ระบบเครือข่าย ( Network)

jania
Download Presentation

Unit 3 Distributed Systems And Network and Internetwork

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Unit 3 Distributed Systems And Network and Internetwork ระบบสารสนเทศแบบกระจาย Distributed Information System อ.คเชนทร์ ซ่อนกลิ่น

  2. Topic • ลักษณะของระบบแบบกระจาย (Feature of Distributed System) • วัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจาย (Objective of Distributed System) • ระบบเครือข่าย (Network) • ประเภทของระบบเครือข่าย (Type of Network) • การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) • ระบบเครือข่ายแบบ Ethernet, Internet and Intranet • มิดเดิลแวร์ (Middleware)

  3. ลักษณะของระบบแบบกระจายลักษณะของระบบแบบกระจาย Multiprocessorเป็นระบบที่เชื่อมต่อกันกันเป็นจำนวนมาก โดยโปรเซสเซอร์แต่ละตัวจะใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น หน่วยความจำหลัก, Hard disk, สัญญาณนาฬิกา (clock) เป็นต้น Distributed system เป็นระบบที่เชื่อมกันแต่จำนวนไม่หนาแน่น โปรเซสเซอร์แต่ละตัวจะมีหน่วยความจำ, Hard disk, สัญญาณนาฬิกา (clock) เป็นของตัวเองและมีการเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่าย

  4. ลักษณะของระบบแบบกระจายลักษณะของระบบแบบกระจาย • โปรเซสเซอร์ถูกเชื่อมต่อผ่านระบบเน็ตเวิร์ค • ถ้าอยู่ห่างไกลเรียกว่า Remote • ถ้าอยู่ใกล้กันเรียกว่า local • ระบบแบกระจายจะมีขนาดและหน้าที่แตกต่างกันออกไป • มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเช่น site, node, host เป็นต้น

  5. วัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจายวัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจาย • การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing) ตัวอย่าง - ลักษณะของสถานที่ ที่แตกต่างกัน โดยมีการเชื่อมต่อไปยังจุดใดจุดหนึ่ง อาจมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ผู้ใช้ ณ สถานที่ A อาจใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่ตั้งอยู่ที่ B ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ ณ สถานที่ B อาจเข้าถึงแฟ้มข้อมูลที่อยู่ ณ สถานที่ A - โดยทั่วไปการใช้ทรัพยากรร่วมกันในระบบประมวลผลแบบกระจายได้รวมถึงกลไกในการใช้แฟ้มข้อมูลที่อยู่ในระยะไกล, ข้อมูลการประมวลผลในฐานข้อมูลแบบกระจาย, การพิมพ์แฟ้มข้อมูลจากเครื่องระยะไกล ใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีลักษณะเฉพาะ (เช่น การประมวลผลอาเรย์ความเร็วสูง) และประสิทธิภาพการดำเนินงานอื่น ๆ

  6. วัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจายวัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจาย • เพิ่มความเร็วในการประมวลผล (Computation speedup) ถ้าสามารถแบ่งการคำนวณออกเป็นส่วนย่อยๆ จะทำให้สามารถทำงานควบคู่กันได้ ดังนั้นระบบประมวลผลแบบกระจายจึงช่วยให้เรากระจายส่วนย่อยของการคำนวณระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ส่วนย่อยของการคำนวณสามารถทำงานควบคู่กันไปได้ ดังนั้นจึงทำให้ความเร็วในการคำนวณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ถ้าสถานที่ทีทำงานอยู่ในปัจจุบันนั้นทำงานเกินกำหนด บางส่วนของงานจะย้ายไปยังสถานที่อื่น การเคลื่อนย้ายของงานนี้เรียกว่า การแบ่งงาน - การแบ่งงานโดยอัตโนมัติในระบบปฏิบัติการแบบกระจายนั้นจะทำการย้ายงานโดยอัตโนมัติ แต่ยังไม่ได้ใช้ทั่วไปในเชิงพาณิชย์

  7. วัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจายวัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจาย • ความเชื่อถือได้ (Reliability) - ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งในระบบประมวลผลแบบกระจายเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ส่วนที่เหลือจะยังทำงานต่อไป ทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น - ถ้าระบบประกอบด้วยการติดตั้งมากมายที่เป็นอิสระต่อกัน ข้อผิดพลาดเพียงหนึ่งส่วนของทั้งหมดไม่ควรจะส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่นๆ - อย่างไรก็ตามระบบสามารถทำงานต่อได้แม้จะมีบางส่วนล้มเหลว - งานที่อาจเกิดความผิดพลาดสามารถเปลี่ยนให้สถานที่อื่นทำได้ ระบบต้องมั่นใจว่าการเคลื่อนย้ายงานเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง แม่นยำ และเมื่อข้อผิดพลาดถูกคืนสภาพหรือแก้ไข ต้องมีกลไกที่จะรวบรวมข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลับเข้าไปในระบบอย่างลาบลื่น

  8. วัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจายวัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจาย • การติดต่อสื่อสาร (Communication) ข้อดีของระบบประมวลผลแบบกระจาย คือฟังก์ชันสามารถดำเนินการด้วยระยะทางที่สั้นกว่า คนสองคนที่มีระยะทางของสถานที่ ที่ห่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ ข้อดี ในเชิงอุตสาหกรรม สามารถช่วยลดต้นทุน หลายๆ บริษัทมีการแทนที่เครื่องเมนเฟรมด้วยระบบการประมวลผลแบบกระจาย เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มความยืดหยุ่นของงานอีกทั้งยังสะดวกสบายขึ้น

  9. ระบบเครือข่าย • “ระบบเน็ตเวิร์ก หรือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์” คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ • ระบบเครือข่าย หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน

  10. ระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ 1. LAN (Local Area Network) ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ http://www.computer-networking-success.com/computer-lan-network.html#sthash.3l6QJuhV.dpbs

  11. ระบบเครือข่าย 2. MAN (Metropolitan Area Network) ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก http://kingofnetworking.weebly.com/different-types-of-computer-networks.html

  12. ระบบเครือข่าย 3. WAN (Wide Area Network) ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (Integrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน) http://kingofnetworking.weebly.com/different-types-of-computer-networks.html

  13. ประเภทของระบบเครือข่ายประเภทของระบบเครือข่าย 1. Peer To Peer • เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน • ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์ (Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่น • โปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal Netware http://www.ifwonline.com/clients/peer-to-peer.htm

  14. ประเภทของระบบเครือข่ายประเภทของระบบเครือข่าย 2. Client / Server เป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอยู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป http://www.ifwonline.com/clients/peer-to-peer.htm

  15. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) โทโพโลยี คือรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายเชิงกายภาพมีอยู่ 2 รูปแบบคือ การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด และการเชื่อมต่อแบบหลายจุด

  16. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) 1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองตัว โดยช่องทางสื่อสารจะถูกจับจองเพื่อการสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองเท่านั้น ข้อดี สามารถใช้ความเร็วในการสื่อสารได้อย่างเต็มที่ เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลทีละมากๆ ข้อเสีย ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่ Link cable Link cable Link Microwave

  17. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) 1. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multi-Point/Multi-Drop) เป็นการเชื่อมต่อแบบมีอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งอุปกรณ์ที่สามารถใช้ลิงก์ร่วมกันเพื่อการสื่อสาร ได้ หมายถึงการใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกันนั่นเอง ข้อดี ประหยัดค่าสายสื่อสาร ข้อเสีย อาจทำให้ข้อมูลที่สื่อสารเกิดการชนกัน

  18. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) โทโพโลยีเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างโหนด ลักษณะเชิงกายภาพ สามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 1. โทโพโลยีแบบบัส (Bus Topology) 2. โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology) 3. โทโพโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology) 4. โทโพโลยีแบบเมช (Mesh Topology)

  19. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) 1. โทโพโลยีแบบบัส (Bus Topology) จัดเป็นรูปแบบที่ง่าย ประกอบด้วยสาย เคเบิลเส้นหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเส้นหลัก ที่เรียกกว่า ”บัส” โดยทุกๆ โหนดบนเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายบัสและในการเชื่อมต่อสายเคเบิลจะต้องมีอุปกรณ์ที่ เรียกว่าแท็ปเพื่อนำไปประกอบกับคอนเน็กเตอร์ของการ์ดเครือข่าย หรือที่เรียกว่าทีคอน เน็กเตอร์ (T-Connector) Bus

  20. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) การเชื่อมต่อแบบ Bus Topology ข้อดี1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและค่าบำรุงรักษา2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปในเครือข่ายได้ง่ายข้อเสีย1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลายๆ จุด

  21. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) 2. โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology) การเชื่อมโยงเครือข่ายตามมาตรฐานโทโพโลยี แบบดาว จะมีอุปกรณ์สำคัญที่เรียกว่าฮับ (Hub) โดยคอมพิวเตอร์ทุกโหนดบนเครือข่าย จะต้องเชื่อมโยงสายเคเบิลเข้ากับฮับ ฮับ เป็นจุดศูนย์กลางการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

  22. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) การเชื่อมต่อแบบ Star Topology ข้อดี 1. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย 2. หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อ สายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ ข้อเสียถ้าสถานีกลาง(Hub)เกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้และต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าโทโปโลยีแบบบัส และ แบบวงแหวน สาย LAN HUB

  23. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) 3. โทโพโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็น วงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไป ใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน วิธีที่จะส่งข้อมูลในโทโพโลยีแบบวแหวนเรียกว่า การส่ง ต่อโทเคน (Token Passing) A D B การส่งต่อโทเคน (Token Passing)วิธีที่จะส่งข้อมูลในโทโปโลยีแบบวงแหวนเรียกว่าการส่งต่อโทเคน โทเคนเป็นข้อมูลพิเศษที่ส่งผ่านในเครือข่ายแบบวงแหวน แต่ละเครือข่ายจะมีเพียงโทเคนเดียวเท่านั้น โทเคนนี้จะส่งต่อกันไปเรื่อยๆ สำหรับเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลเมื่อได้รับโทเคนแล้วก็จะมีสิทธิ์ที่จะส่งข้อมูล การส่งข้อมูลก็ทำได้โดยใส่ที่อยู่ของเครื่องรับไว้ในข้อมูลแล้วส่งต่อๆ กันไป เมื่อข้อมูลมาถึงเครื่องปลายทาง หรือเครื่องที่มีที่อยู่ตรงกับที่ระบุในเฟรมข้อมูล เครื่องนั้นก็จะนำข้อมูลไปโพรเซสส์ และส่งเฟรมข้อมูลตอบรับกลับไปยังเครื่องส่งเพื่อบอกให้ทราบว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เมื่อเครื่องส่งได้รับการตอบรับแล้ว ก็จะส่งผ่านโทเคนต่อไปยังเครื่องถัดไป เพื่อเครื่องอื่นจะได้มีโอกาสส่งข้อมูลบ้าง C

  24. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) การเชื่อมต่อแบบ Ring Topology ข้อดี1. แต่ละโหนดในวงแหวนมีโอกาสในการส่งข้อมูลเท่าเทียมกัน2. ประหยัดสายสัญญาณ โดยจะใช้สายสัญญาณเท่ากับจำนวนโหนดที่เชื่อมต่อ 3. ง่ายต่อการติดตั้งข้อเสีย1. หากวงแหวนชำรุดหรือเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด 2. ตรวจสอบได้ยาก ในกรณีที่มีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดข้อขัดข้อง

  25. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) 4. โทโพโลยีแบบเมช (Mesh Topology) เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดอย่างแท้จริง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการ เชื่อมต่อ ข้อดี1. หากมีสายใดชำรุด ระบบก็ยังสามารถทำงานได้ 2. มีความปลอดภัยเนื่องจากระบบจะส่งข้อมูลกัน ระหว่างโหนดข้อเสีย1. ใช้สายสัญญาณเยอะ สิ้นเปลืองค่าสายสัญญาณ มากที่สุด

  26. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) สำหรับจุดเชื่อมต่อที่ต้องใช้สายสื่อสารเชื่อมโยงในโทโพโลยีแบบเมช สามารถคำนวณได้ จากสูตรดังนี้ Connections = Ex.มีคอมพิวเตอร์ 5 เครื่องโดย 2 เครื่องตั้งอยู่ที่ Location 1 และอีก 3 เครื่อง ตั้งอยู่บน Location 2 จากโจทย์เมื่อแทนค่าในสูตร จะต้องใช้สายเพื่อการเชื่อมต่อครั้งนี้เท่ากับ โดยที่ Nคือจำนวนคอมพิวเตอร์ จำนวนสายสื่อสารจำนวน 10 เน้นที่ต้องนำมาใช้ เพื่อการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด กับคอมพิวเตอร์จำนวน 5 เครื่อง Location 1 Location 2

  27. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) 5. เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวง สิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้าย คอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ต้องใช้การ์ด แลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Pointซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่าย สัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย

  28. การเชื่อมต่อ หรือโทโปโลยี (Topology) 5. เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) http://www.devolo.com/consumer/dlan-200-av-wireless-n/pictures/application-dlan-200-av-wireless-n-eu-example05.jpg

  29. เครือข่ายอีเทอร์เน็ต • Ethernet ในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์และสามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ได้ • การเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลที่เรียกว่า “Ethernet” • การรับส่งข้อมูลจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อสัญญาณว่าง • จะมีการรอฟังสัญญาณว่ามีเครื่องใดกำลังทำการส่งข้อมูลถ้าว่างจึงจะส่งได้ • ถ้ามีการส่งข้อมูลพร้อมกันจะเกิดการชนกันเรียกว่า “collision” เมื่อเกิดเหตุการณ์ • นี้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ส่งข้อมูลชนกันจะหยุดและเริ่มใหม่ • มีข้อจำกัดคือเรื่องความยาวของสาย ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยที่เรียกว่าบริดจ์ (Bridge) หรือสมัยใหม่จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า สวิตช์ (switch) Robert Metcalfe

  30. เครือข่ายอีเทอร์เน็ต Ethernet SW Ethernet

  31. เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • Internet • เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั่วโลกให้สามารถติดต่อกันได้ • เริ่มจากอาร์ดาร์ปาร์ (DARPA) • เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่อยู่ไกลกันมากจึงต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจัดหาเส้นทางที่เรียกว่า “Router” • ความแตกต่างระหว่าง Switch และ Router คือ Switch ทำงานที่ Network layer 2 ส่วน Router ทำที่ layer 3 DARPA Network ARPANet INTERNET

  32. เครือข่ายอินทราเน็ต อินทราเน็ต  คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อมๆ กัน http://www.bioxing.com/Products/hwconfiguration.htm

  33. มิดเดิลแวร์ (Middleware) • หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้ซอฟต์แวร์ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันได้ • โดยในปัจจุบันนี้ซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในหรือภายนอกองค์กร ต่างมีความต้องการสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน • ดังนั้นจำเป็นต้องใช้ Middleware หากแต่เมื่อข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สำคัญทั้งของตัวบุคคลและ/หรือ องค์กรแล้ว โอกาสที่จะถูกโจมตีจาก Middleware ก็มีสูง • ดังนั้นจึงนำไปสู่ Security Middleware ตัวอย่างเช่น การใช้ PKI สำหรับยืนยันตัวบุคคล ก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูล

  34. มิดเดิลแวร์ (Middleware) • จะเห็นว่าระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาทั้งหมดยังดูไม่ค่อยเหมือนเป็นระบบแบบกระจายเท่าไหร่ ซึ่ง Middleware จะเข้ามาช่วยในจุดๆ นี้ ทำให้มี Transparency สูงขึ้น โดยจะอยู่เหนือระบบปฏิบัติการเครือข่ายและอยู่ภายในโปรแกรมประยุกต์ อีกที • ลักษณะการทำงานจะมีหลายแบบเช่น ใช้ distributed file systems, RPC, distributed object และ distributed document ที่มี WWW เป็นตัวอย่าง • นอกจากจะมี Transparency สูงแล้ว Middleware ยังมี Openness อีกด้วยเนื่องจากการที่ ทุกเครื่องมี Middleware ตัวเดียวกัน การเขียนโปรแกรมก็ใช้ Interface เดียวกัน ใครก็สามารถมาติดต่อได้

  35. มิดเดิลแวร์ (Middleware) http://clacklisp.org/tutorial/07-middleware.html

  36. แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 1. จงอธิบายความหมายของเครือข่ายแบบ Peer To Peer 2. จงบอกชื่อของโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Remote 3. จงอธิบายความแตกต่างของคำว่า Internet กับ Intranet 4. จงบอกวัตถุประสงค์ของระบบแบบกระจาย

More Related