1 / 24

กลุ่มที่ 11 ปฏิทิน ที่ แตกต่าง กับ การหาวันสร้างเมืองเชียงใหม่

กลุ่มที่ 11 ปฏิทิน ที่ แตกต่าง กับ การหาวันสร้างเมืองเชียงใหม่. หัวข้อหลัก. คลิกเลือกหัวข้อเพื่อเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาได้เลยครับ. จุดเริ่มต้นแห่งการสร้างเมืองเชียงใหม่ เทียบวันสร้างเมืองเชียงใหม่ การศึกษาค้นคว้าของผู้ทรงคุณวุฒิ บทสรุปและการวิเคราะห์ รายชื่อสมาชิก เอกสารอ้างอิง.

jariah
Download Presentation

กลุ่มที่ 11 ปฏิทิน ที่ แตกต่าง กับ การหาวันสร้างเมืองเชียงใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่มที่ 11 ปฏิทินที่แตกต่าง กับการหาวันสร้างเมืองเชียงใหม่

  2. หัวข้อหลัก คลิกเลือกหัวข้อเพื่อเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาได้เลยครับ จุดเริ่มต้นแห่งการสร้างเมืองเชียงใหม่ เทียบวันสร้างเมืองเชียงใหม่ การศึกษาค้นคว้าของผู้ทรงคุณวุฒิ บทสรุปและการวิเคราะห์ รายชื่อสมาชิก เอกสารอ้างอิง

  3. จุดเริ่มต้น แห่งการสร้างเมืองเชียงใหม่ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  4. ย่อความในอดีต เมื่อ พ.ศ.๔๓๐มีกลุ่มชนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่ง อพยพจากตอนใต้ของจีนลงมาตั้งหลักแหล่ง ณ บริเวณใกล้ฝั่งแม่น้ำโขง และได้สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ในปี พ.ศ.๑๑๘๒หรือจุลศักราชที่ ๑ตำนานกล่าวว่า ลวจกเทวบุตรเนรมิตเกริ่นเงิน ลงมาจากจอมเขาเกตุบรรพต (ดอยตุง) ลงมาสถิตย์เหนือแท่นเงินภายใต้ต้นพุทรา ใกล้ฝั่งแม่น้ำละว้านที ให้นามเมืองว่า “เหรัญนครเงินยางเชียงแสน”และสืบราชวงศ์ต่อมาถึงพญาลาวเมง(ผู้ให้กำเนิดพญามังรายมหาราช) แต่ในทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าลวจกราช ไม่ใช่เทวบุตร แต่เป็นหัวหน้าชาวป่าของชาติละว้า ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่บนดอยตุงนั่นเอง เมื่อพญาลาวเมงเสด็จสวรรคต พญามังรายจึงสืบราชสมบัติต่อ แต่ก็ยังมีกษัตริย์แห่งเมืองต่างๆไม่ยอมสวามิภักดิ์ พระองค์จึงต้องทำการปราบเมืองต่างๆเพื่อความเป็นปึกแผ่น ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลักหน้าถัดไป

  5. การเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่การเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.ศ.๑๘๓๙พญามังรายจะทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ ณ เชิงดอยสุเทพ ริมฝั่งแม่น้ำปิง จึงได้อัญเชิญพญาร่วงแห่งเมืองสุโขทัยและพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา มาร่วมปรึกษาหารือ พญามังรายได้ถามพญาร่วงและพญางำเมืองว่า เมืองนี้จะเป็นมงคลหรือไม่ พญาร่วงได้กล่าวว่า เมืองนี้ข้าศึกจะเบียดเบียนทำร้ายมิได้ และคนไหนมาอยู่ก็จะร่ำรวยยิ่งขึ้น ส่วนด้านพญางำเมืองได้กล่าวว่า เมืองนี้ทำเลดีจริง เพราะว่าเนื้อดินมีพรรณรังสี ๕ประการ และ มีไชย ๗ ประการด้วย ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  6. การสร้างเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกการสร้างเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก เชื่อว่าเป็นการสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น ซึ่งกล่าวถึงเพียงพญามังราย โดยแบ่งออกได้เป็น ๓ความเชื่อ ๑.ตามตำนานพื้นเมืองของเชียงใหม่ ส่วนกลางได้อนุมัติให้พญามังรายสามารถสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายจึงเริ่มในเดือน ๗ขึ้น ๘ค่ำ ของวันพฤหัสบดี ขึ้นเถลิงศกเป็นจุลศักราช ๖๕๔ ๒. ตามพงศาวดารโยนก หลังจากพญามังรายกลับมาจากการประพาสป่า ก็ได้มีคำสั่งจากส่วนกลางให้สร้างเมืองขึ้น เริ่มในเดือน ๗ ขึ้น ๘ค่ำ ของวันพฤหัสบดี ขึ้นเถลิงศกเป็นจุลศักราช ๖๕๔ปีมะโรง (พ.ศ.๑๘๓๔) ๓. ตามความใน ๑๕ราชวงศ์ พญามังรายได้สร้างเมืองขึ้นในเดือน ๗ขึ้น ๘ค่ำ ของวันพฤหัสบดี ขึ้นเถลิงศกเป็นจุลศักราช ๖๕๔ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  7. การสร้างเมืองเชียงใหม่ครั้งที่สองการสร้างเมืองเชียงใหม่ครั้งที่สอง ถือว่าเป็นการสร้างเมืองโดยแท้ โดยแบ่งออกได้เป็น ๔ความเชื่อ ๑.ตามความในพงศาวดารโยนก พญามังราย พ่อขุนรามคำแหงและพ่อขุนงำเมืองได้พิธีบวงสรวงเทวดา เมื่อได้ฤกษ์ดีที่เหมาะสมก็ทำส่วนเมือง และขุดคูเมือง มีพิธีการฝังนิมิตหลักเมืองในวันพฤหัสบดีวันเพ็ญเดือน ๘ปีจุลศักราช ๖๕๘ (พ.ศ. ๑๘๓๙) ๒.ตามความในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พญามังรายให้ผู้มีความสามารถในการสร้างเมือง ให้มีการขุดก่อกำแพงเมืองทั้งสี่ด้าน ในปี พ.ศ.๑๘๓๙เดือน๘ขึ้นวันเพ็ญเม็งวันพฤหัสบดี ๓.ตามความในตำนาน ๑๕ราชวงศ์ พญามังรายให้ผู้มีความสามารถในการสร้างเมือง ในช่วงเดือน8ขึ้นวันเพ็ญ ๔.ตามความในศิลาจารึกวัดเชียงมั่น วันพฤหัสบดีวันเพ็ญเดือน ๘ปีจุลศักราช ๖๕๘ (พ.ศ. ๑๘๓๙) พญามังราย พ่อขุนรามคำแหงและพ่อขุนงำเมือง ได้สั่งให้มีการสร้างกำแพงสามชั้นขึ้นทั้งสี่ด้านของเมืองและก่อสร้างเจดีย์ไว้ที่บ้านเชียงมั่น เลยตั้งชื่อวัดเพื่อเป็นกุศลทานว่า วัดเชียงมั่น ตั้งแต่นั้นมา ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  8. เทียบวันสร้างเมืองเชียงใหม่ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  9. การเปรียบเทียบวันสร้างเมืองเชียงใหม่การเปรียบเทียบวันสร้างเมืองเชียงใหม่ เปรียบเทียบความในศิลาจารึกวัดเชียงมั่น กับพงศาวดารโยนก ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานสิบห้าราชวงศ์ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  10. การเปรียบเทียบวันสร้างเมืองเชียงใหม่ (ต่อ) เปรียบเทียบความในศิลาจารึกวัดเชียงมั่นระหว่างข้อความตัวเลขที่ดวงเมืองกับข้อความตัวหนังสือข้างล่าง เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปของนักโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ว่า วันเถลิงศกหรือวันพญาวันของจุลศักราช 654 (พ.ศ. 1839) นั่นคือ วันที่ 27 มีนาคม วันอังคารตรงกับแรม 7 ค่ำของเดือน 5 หรคุณ 240.341 วันล้วงเล้า เมื่อไล่เรียงตามวันสุริยคติและจันทรคติจากวันเถลิงศกถึงหรคุณ 240.341- 240.356 จะปรากฏว่าเป็นวันพุธขึ้น 8 ค่ำ ตรงกับวันที่ 11 เมษายน ถ้าถือเลขหรคุณ 240.356 เป็นวันสร้างเมืองเชียงใหม่ ก็จะไม่ตรงกับข้อความข้างล่างศิลาจารึกที่ดวงเป็นพฤหัสบดีขึ้น 8 ค่ำเดิอนวิสาขะ (เดือน 8 ของภาคเหนือหรือ เดือน 6 ภาคกลาง) ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  11. การศึกษาค้นคว้าของผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  12. ๓.๑. ศาสตราจารย์ พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนจินดา • ๑.ข้อเสนอพิจารณาทบทวนประวัติวันสร้างเมืองเชียงใหม่ ๒. การคำนวณเทียบวันตามสูตรของโหร ๓. ผลของการเทียบวันที่ได้จากสูตรของโหร ๔. ข้อสังเกตจากการเทียบวันที่ วันที่ในปฏิทิน ไม่ตรงกับวันที่อ่านได้จากศิลาจารึก ซึ่งหากจะถือวันสร้างเมืองเชียงใหม่เป็น วันขึ้น ๘ ค่ำ จะตรงกับวันพุธที่ ๑๑ เมษายน และเป็นวัน รวายไจ้ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  13. ๓.๒.ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้มีการค้นพบวันสร้างเมืองเชียงใหม่จากศิลาจารึกวัดเชียงมั่นว่าวันเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ ตรงกับวันทางจันทรคติคือ วันพฤหัสบดีขึ้น ๘ ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน ๘ เหนือหรือเดือน ๖ ใต้) จ.ศ. ๖๕๘ หรือ พ.ศ.๑๘๓๙อีกทั้งในจารึกวันเชียงมั่น มีตัวเลขของดวงชะตาปรากฏอยู่ด้วย ดังนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร จึงได้เสนอให้ใช้ วันที่ ๑๒ เมษายน ค.ศ. ๑๒๙๖ ตามปฏิทินจูเลี่ยน ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นเป็นวันสร้างเมืองเชียงใหม่ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  14. ๓.๓.ทวี สว่างปัญญางกูร การคำนวณเทียบวันสร้างนครเชียงใหม่ตามสุริยคติ ศิลาจารึกวัดเชียงมั่นระบุว่า วันเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่คือ วันพฤหัส วันหนไทยเป็นวันเมิงเป้า วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน ๘ เหนือ) ปีระวายสัน จุลศักราช ๖๕๘(พ.ศ. ๑๘๓๙หรือ ค.ศ. ๑๒๙๖) ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  15. ๓.๔.พระอาจารย์ไสย์ยนุตสีโล๓.๔.พระอาจารย์ไสย์ยนุตสีโล อาศัยหลักฐานจากหลักที่ ๗๖ ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น เพื่อความสะดวกในการเทียบศักราชต่างๆ และเทียบสุริยคติ จันทรคติโดยคัมภีร์สุริยยาตร์ ส่วนทางสุริยคติใช้กฎของปฏิทินจูเลียน จากการคำนวณมัธยมผสุดาวเคราะห์ดวงเมืองเชียงใหม่ได้กำหนด วันสถาปนา ดังนี้ วันที่ ๕ ๖ ค่ำ ปีรวายสัน จุลศักราช ๖๕๘ สุรทินที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๘๓๙ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  16. ๓.๕ คำคง สุระวงศ์ ในทางจันทรคติเมืองเชียงใหม่สร้างเมื่อ วันเม็ง คือวาร ๕ วันพฤหัสบดี เดือน ๘ เพ็ง แต่ในทางสุริยะคติไม่ชัดเจน และเมื่อทำการหรคุณและคำนวณแบบทางสุริยคติแล้วการสร้างเมืองเชียงใหม่ จะตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ซึงตรงกับวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๑๘๓๙ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  17. ๓.๖.พันเอก(พิเศษ) เอื้อน มนเทียรทอง • พันเอกเอื้อน ได้ดูในพงศาวดารโยนก ที่กล่าวว่า “ฝังนิมิตหลักเมืองในวันพฤหัสบดี เพ็ญเดือน ๘ ทางเหนือ ปีวอกอัซศก จุลศักราช ๖๕๘ จันทร์เสวยฤกษ์ ๑๖” • ฤกษ์วันสร้างเมืองเชียงใหม่นั้น เป็นวันฝังนิมิตหลักเมือง ก็คือวันฝังเสาหลักเมืองนั่นเอง ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  18. บทสรุปและการวิเคราะห์บทสรุปและการวิเคราะห์ ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  19. จากนักวิชาการผู้ที่ศึกษาทั้ง ๖ ท่าน ได้มาวิเคราะห์ถึงเกี่ยวกับการ หาวันกำเนิดเชียงใหม่ ที่มีความน่าสนใจ ซึ่งสามารถสรุป ได้ดังนี้ ประการแรก ทางประวัติศาสตร์นั้นดวงเมืองถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ อันเป็นจุดอ่อนทางโหราศาสตร์ที่คนสมัยก่อนยึดถือเป็นหลักกัน ดังนั้นอาจมีผลต่อการบันทึกในศิราจาลึกที่อาจจะเขียนหลากหลายเพื่อลวงข้อมูล รวมไปถึงสร้างความสับสนแต่เมื่อเวลาล่วงเลยไปกลับกลายเป็นปัญหาในความไม่ชัดเจน เพื่อไปเป็นต้นข้อมูลในการค้นหาไว้ที่ถูกต้อง ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  20. ประการที่สอง การยึดถือวันในทางตะวันตก แบบสุริยคติที่เป็นสมัยนิยมนั้นก็ต้องแลกมากับการมีข้อผิดพลาด เนื่องจากในแต่ละปีที่กำหนดวันทางจันทรคติย่อมไม่มีทางที่จะตรงกันได้ในทุกๆปี ซึ่งสามารถตั้งข้อสังเกตได้จะเห็นได้ว่าแต่ละปีมีวันที่ไม่ตรงกัน โดยยึดถือทางจันทรคติเป็นหลัก ซึ่งการหาวันครบรอบเมืองเชียงใหม่เพื่อเป็นการทำบุญหรือฉลองครบรอบวันก่อร่างสร้างเมืองเชียงใหม่แท้จริง จะไปยึดตามสมัยนิยมด้วยบริบทก็ย่อยเป็นสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อการศึกษาเรื่องเชียงใหม่เป็นไปอย่างสากล แต่เสมือนเป็นการทิ้งรากเหง้าดั้งเดิมในประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่นไปด้วย ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  21. ประการที่สาม นอกจากการเปรียบเทียบข้ามกันในระหว่างปฏิทินที่เป็นแบบสุริยคติและจันทรคติแล้ว ในทางสุริยคติเองก็มีความแตกต่างเช่นเดียวกัน ซึ่งในช่วงปัจจุบันนั้นใช้ในรูปแบบของ เกรกอเรียน แต่ในอดีตนั้นใช้แบบจูเลี่ยน จึงต้องมีการเทียบเคียงปีให้ถูกต้อง โดยต้องลำดับประวัติศาสตร์ให้ตรงช่วง และเลือกใช้การคำนวณให้ตรงกับทางตะวันตก ที่ใช้อยู่ในสมัยนั้น เพื่อให้เกิดความแม่นยำและถูกต้อง ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  22. บทสรุป ดังนั้นแล้ว การมีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของล้านนาเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถคำนวณหาวันได้อย่างแท้จริง แต่ควรที่จะต้องรับทราบถึงประวัติศาสตร์ทางด้านปฏิทินทั้งทางสุริยคติที่มีทั้งแบบจูเลี่ยนและเกรกอเรียน รวมไปถึงทางจันทรคติที่ต้องแปลงคำนวณไปสุริยคติได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแปลค่าจากดวงเมืองออกมาให้ได้ชัดเจนอันเป็นปฐมภูมิที่สำคัญเนื่องจากในปัจจุบันได้ใช้ปฏิทินเป็นสุริยคติแบบเกรกอเรียน นำไปสู่การสร้างความเข้าใจแก่ผู้คนได้แพร่หลายมากกว่าจันทรคติที่ทำการบันทึกไว้ ถึงแม้จะพูดไปแต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยากที่จะนับวันเหล่านั้นได้ว่าเป็นในช่วงใด ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  23. รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1. นายชวกร ศรีเงินยวง 550610311 ลำดับที่ 19 2. นายศุภวิชญ์ ใบสุขันธ์ 550610425 ลำดับที่ 23 3. นายเทอดธิติ จิตต์เกษม 551610045 ลำดับที่ 39 4. นางสาวจิราภา แพทย์เจริญ 551910019 ลำดับที่ 46 5. นายศุภมิตร ดอยลอม 551910086 ลำดับที่ 47 6. นางสาวสิริวิมล วรรณายุวัฒน์ 551910087 ลำดับที่ 48 7. นายธนพงษ์ ศักดิ์เสรีพงศ์ 551910220 ลำดับที่ 52 8. นางสาวพศิกาศิริพันธุ์ 560510093 ลำดับที่ 79 ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก หน้าถัดไป

  24. เอกสารอ้างอิง • คำคง สุระวงศ์.ดวงเมือง วันสร้างเมืองเชียงใหม่ ประวัติสังเขปของพญาพรหมโวหาร และค่าวฮ่ำ. เชียงใหม่ : ม.ป.พ., 2534. • ทวี สว่างปัญญางกูร. การคำนวณเทียบวันสร้างนครเชียงใหม่ตามสุริยคติ. เชียงใหม่ : ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2532. • คณะกรรมการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมืองและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.จดหมายเหตุการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะกรรมการ, 2539.(พิมพ์ครั้งที่ 2). ก่อนหน้านี้กลับไปหน้าหลัก

More Related