1 / 21

รายละเอียดประจำวิชา

รายละเอียดประจำวิชา. การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู Usage of Language and Technology for Teachers ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เทคโนโลยีสำหรับครู. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. ความรู้เรื่องการสื่อสาร จุดประสงค์ของการเรียน

Download Presentation

รายละเอียดประจำวิชา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายละเอียดประจำวิชา การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู Usage of Language and Technology for Teachers ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เทคโนโลยีสำหรับครู

  2. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความรู้เรื่องการสื่อสาร จุดประสงค์ของการเรียน เมื่อศึกษาเรื่องนี้จบแล้ว นิสิตสามารถ อธิบายความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสารได้ ระบุวิธีที่ใช้ในการสื่อสารได้ บอกปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารสัมฤทธิผลได้ ระบุอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการสื่อสารได้

  3. 1. องค์ประกอบของการสื่อสาร 1.1 ความหมายของการสื่อสาร คำว่า การสื่อสาร หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า communication มาจากภาษาลาติน ว่าcommunis แปลว่า ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การที่มนุษย์สื่อสารกัน เพราะต้องการให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ความเห็น ความต้องการของตนเองด้วยเหตุนี้คนจึงสื่อสารกันด้วยเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน จึงจะเกิดการรับรู้ หรือเข้าใจ ที่ตรงกัน ผู้สื่อสารจำเป็นต้องมีความเข้าใจในความหมายของภาษาหรือมีภาษาร่วมกัน จึงจะทำให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร

  4. 1.2องค์ประกอบของการสื่อสาร • ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ • ผู้ส่งสาร ( source ) • สาร ( massage ) สารจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ประการคือ • รหัสของสาร (massage code) • เนื้อหาของสาร (massage content) • การจัดสาร (massage treatment) • สื่อ (media) หรือช่องทาง (channel) แบ่งตามลักษณะของสื่อเป็น • เกณฑ์ ได้ 5 ประเภท • สื่อธรรมชาติ • สื่อมนุษย์ • สื่อสิ่งพิมพ์ • สื่ออิเล็กทรอนิกส์ • สื่อระคน

  5. การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้จำนวนและลักษณะของการเข้าถึงการแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้จำนวนและลักษณะของการเข้าถึง • ของผู้รับสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ประเภท • สื่อระหว่างบุคคล • สื่อบุคคล • สื่อมวลชน • สื่อเฉพาะกิจ • สื่อประสม • ผู้รับสาร (receiver) • ผลของการสื่อสาร (effect) • องค์ประกอบของการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการ • สื่อสารประกอบด้วย ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร แต่ละองค์ประกอบ • มีความสำคัญต่อการสื่อสาร โดยมีผลของการสื่อสารเป็นตัวกำหนด • ให้เห็นว่าการสื่อสารในครั้งนั้น ๆ ประสบความสำเร็จหรือไม่

  6. 1.3 แบบจำลองของการสื่อสาร แบบจำลอง (model) ของการสื่อสาร คือตัวแทนของปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นจริงขององค์ประกอบต่างๆ ในการสื่อสารของมนุษย์ แสดงให้ เห็นถึงหน้าที่และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีต่อกัน นักวิชาการทางด้านการสื่อสารได้สร้างแบบจำลองที่อธิบายและ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารไว้หลายแบบ ตัวอย่าง แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของลาสเวลล์ (ใคร) ผู้ส่งสาร (พูดอะไร) สาร (ในช่องทางใด) สื่อ (กับใคร) ผู้รับสาร (เกิดผลอย่างไร) ผลของการสื่อสาร

  7. ตัวอย่าง แบบจำลองการสื่อสารของ เบอร์โล เดวิด เค เบอร์โล เสนอแบบจำลองที่เรียกว่า SMCR Model ซึ่งเป็นแบบจำลองที่ได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง S M C R ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง ผู้รับสาร ส่วน โครง ประกอบ สร้าง การจัด เนื้อ การ หา รหัส ทักษะในการสื่อสาร (ตา) การเห็น ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ (หู) การได้ยิน ทัศนคติ ความรู้ (กาย) การสัมผัส ความรู้ ระบบสังคม (จมูก) การได้กลิ่น ระบบสังคม วัฒนธรรม (ลิ้น) การลิ้มรส วัฒนธรรม

  8. วิธีการสื่อสาร

  9. 2. วิธีการสื่อสาร การสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในกระบวนการสื่อสาร มีวิธีหรือประเภทของการสื่อสารที่ใช้กันโดยทั่วไป ดังนี้ 2.1 การสื่อสารที่เป็นวัจนภาษา(Verbal Communication) คำว่า “วัจนะ” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน (2535) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ถ่อยคำ” “คำพูด” วัจนภาษาจึงหมายถึง ภาษาที่สื่อ ความหมายหรือแสดงออกโดยการใช้ถ้อยคำหรือคำพูด เป็นภาษาที่เกิดจากเสียง ในระบบของภาษา ได้แก่ เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ มารวมกัน เข้าเป็นคำที่มีความหมาย และจากคำที่มีความหมายก็ถูกเรียบเรียงออกมาเป็นประโยคในรูปแบบต่างๆ จนกระทั้งเป็นข้อความที่ใช้สื่อสารกัน มนุษย์จะใช้วัจนภาษา เป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิดความรู้สึก ความต้องการต่างๆ ออกมาในรูปแบบ ของภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร

  10. ภาษาพูด คำว่า “พูด” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2552:602)ได้ ให้ความหมายไว้ว่า “เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ” ดังนั้น ภาษาพูด จึงหมายถึง ภาษาที่มีการเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ เป็นภาษาที ส่วนใหญ่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันเพราะการพูดเป็นวิธีการสื่อสาร ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไร เพียงแต่ อาศัย สีหน้า กิริยาท่าทาง ประกอบการพูดของผู้พูดเท่านั้น

  11. ภาษาพูดแบ่งออกได้ดังนี้ภาษาพูดแบ่งออกได้ดังนี้ 1. พูดระดับประโยค โดยปกติ การพูดสนทนา หรือการเจรจาแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกนของคนในสังคมจะไม่พูดเป็นคำๆ เพราะไม่ สามารถถ่ายทอดความคิดของผู้พูดได้ครบถ้วนสมบูรณ์ เหมือนกับประโยค ในหนึ่งประโยคเราสามารถสื่อความคิด หลักๆ เช่น ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ได้อย่างครบถ้วน นอกจากประโยคสื่อความหมายหลักแล้ว ประโยคยังสามารถ บอกให้ทราบเจตนาของผู้พูดได้ด้วย

  12. 2. ประเภทของประโยคพูด • จำแนกตามหลักการของโครงสร้างทางไวยากรณ์ได้ 2 ชนิด • ประโยคสมบูรณ์ คือประโยคที่มีการเรียงคำครบถ้วน • ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ • ประโยคไม่สมบูรณ์ คือประโยคที่มีส่วนใดส่วนหนึ่ง • ขาดหายไป หรือมีรูปบางรูปเป็นรูปแทน

  13. ประโยคแสดงเจตนา ประโยคหลักหรือประโยคพื้นฐานมีรูปแบบของประโยค เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ประโยคบอกเล่ารวมประโยคปฏิเสธด้วย ประโยคคำสั่งนอกจากจะใช้รูปแบบประโยคเหล่านี้เพื่อสื่อความคิด ความหมายแล้ว รูปประโยคเหล่านี้ยังแฝงเจตนาของผู้พูดเอาไว้ด้วย ถ้าผู้พูดเลือกใช้ประโยครูปแบบของประโยคนั้นๆ เจตนาขอผู้พูด ที่แฝงอยู่ในประโยคนั้น เรียกว่า “วัจนภาษา”

  14. 4. พูดระดับข้อความ • ในทางภาษาศาสตร์ ข้อความเป็นหน่วยสร้างทางภาษา • ที่ประกอบขึ้นจาก คำ วลี ประโยค มารวมกัน เป็นหน่วยที่ • มีความหมาย ซึ่งความหมายของข้อความมิได้ • เกิดจากการนำความหมายของหน่วยต่างๆ เหล่านั้น และทำให้ • ข้อความมีใจความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน • ประเภทของการพูดระดับข้อความ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ • 1) การพูดในที่ประชุม • การพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวมาก่อน • การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ • การพูดโดยการท่องจำ • การพูดโดยมีการเตรียมตัวล่วงหน้า

  15. 2) การพูดในกลุ่ม • การเล่าเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังมา • การเล่าเหตุการณ์ • 3) การพูดระหว่างบุคคล • การสนทนาโต้ตอบอย่างสั้น • การสนทนา

  16. ภาษาเขียน ภาษาเขียน คือการสื่อสารถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการสื่อสารที่ไม่ใช้เสียง แต่ลายลักษณ์อักษรหรือตัวหนังสือที่เขียนไว้นั้น เป็นเครื่องหมายที่ใช้ แทนเสียงพูดนั่นเอง โดยทั่วไปแล้ว คนเราจะใช้ภาษาเขียน เมื่อไม่สามารถ สื่อสารกันด้วยภาษาพูดได้ หรือใช้ภาษาเขียนเพื่อบันทึกการพูดเอาไว้ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานใช้อ้างอิงได้ หรือเพื่อกันลืม เช่น จดหมาย คือข้อความที่เกิดจากการเขียนเพื่อส่งข่าวสารกัน ระหว่าง ผู้ส่งสารกับผู้รับสาร จดหมายมีหลายประเภท เช่น จดหมายส่วนตัว จดหมายกิจธุระ จดหมายธุรกิจ และจดหมายราชการ

  17. การเขียนแจ้งข่าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท การเขียนประกาศ คือการแจ้งข่าวสารให้สาธารณะชน ได้ทราบอย่างแพร่หลายและทั่วกัน โดยการอาศัยสื่อสาธารณ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ สาส์นสัมพันธ์ หรือ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารนั้นเป็นเพียง การแจ้งให้ทราบแล้วให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติ การประชาสัมพันธ์ข่าว เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ให้เกิดขึ้นระหว่างองค์กร สถาบัน และ / หรือ หน่วยงานกับ ประชาชนผู้เกี่ยวข้อง

  18. 2.2 การสื่อสารที่เป็นอวัจนภาษา (Nonverbal Communication) คือวิธีการสื่อสารที่ไม่ได้ใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ในการสื่อสาร แต่เป็นการใช้อากัปกิริยา สีหน้าท่าทาง วัตถุสิ่งของ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ในการสื่อสาร การสื่อสารที่เป็นอวัจนภาษา ได้แก่ 1. เวลา (Time) 2. กริยาอาการ (Action) 3. เนื้อที่หรือระยะ (Space) 4. สิ่งของ (Object) 5. ร่างการ (Physical Characteristics)

  19. 2.3 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นวิธีการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรง และเป็นวิธีการสื่อสารแบบตัวต่อตัวระหว่างคน 2 คน ที่ทำการสื่อสารกัน จะเป็นวิธีการสื่อสารที่เห็นหน้ากัน หรือไม่เห็นหน้ากันก็ได้ 2.4 การสื่อสารกลุ่ม(GroupCommunication) ปรมะ สตเวทิน(2533) ได้สรุปความหมายของการสื่อสารมวลชน หมายถึงการสื่อสารไปยังคนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน หรือเวลาใกล้เคียงกัน โดยอาศัยสื่อมวลชน (mass media) เป็นสื่อในการสื่อสาร ดังนั้นการสื่อสารมวลชนจึงเป็นวิธีการสื่อสารไปถึงคนจำนวนมากโดยผ่านทางสื่อมวลชน ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และภาพยนตร์ ผู้รับสารมีความแตกต่างกันทั้งอายุ เพศ การศึกษา สถานภาพทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม จึงเป็นปัญหาในการเตรียมสาร

  20. จากวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารดังกล่าวมาแล้ว พอสรุปได้ว่า เมื่อคนเราจะทำการสื่อสารกันจะใช้ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ร่วมกันในการสื่อสารโดยจะปรับเนื้อหาของสารไปตามวิธีการ สื่อสารที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่มย่อย การสื่อสารกลุ่มใหญ่ และการสื่อสารมวลชน นั่นคือการเลือกใช้ภาษาและรูปแบบโครงสร้างของภาษาที่ เหมาะสมกับแต่ละวิธี โดยมีปัจจัยที่ก่อให้การสื่อสารเกิด ประสิทธิภาพหรือเกิดความสัมฤทธิผล ซึ่งในองค์ประกอบของ กระบวนการสื่อสารแต่ละองค์ประกอบนั่นเอง

  21. ใบงานที่ 1 ให้นิสิตเขียนตอบคำถามต่อไปนี้ส่งในชั่วโมงต่อไป (เท่านั้น) พร้อมกับสมัคร E – Mail สำหรับท่านที่ยังไม่มี สรุปองค์ประกอบหลักของการสื่อสาร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสื่อสาร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ยกตัวยกตัวอย่างประกอบ

More Related