1 / 27

แนวทางการให้บริการจัดหางาน แก่คนพิการ

แนวทางการให้บริการจัดหางาน แก่คนพิการ. ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕. กรมการจัดหางานกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. กรมการจัดหางานเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 อย่างไร

Download Presentation

แนวทางการให้บริการจัดหางาน แก่คนพิการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการให้บริการจัดหางานแก่คนพิการแนวทางการให้บริการจัดหางานแก่คนพิการ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕

  2. กรมการจัดหางานกับพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 • กรมการจัดหางานเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 อย่างไร • มาตรา 22 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องใดมีหน้าที่ให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามหน้าที่นั้น

  3. กรมการจัดหางานกับพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 • มาตรา 20 (3) คนพิการมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพ...ฯลฯ...

  4. กรมการจัดหางานกับพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 33 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะ ของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถาน ประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนที่นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้อง รับคนพิการเข้าทำงาน

  5. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 • ข้อ 3 ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป รับคนพิการที่สามารถทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่ คนพิการทุกหนึ่งร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคน ต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน การนับจำนวนลูกจ้างให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคม ของแต่ละปี และกรณีนายจ้างหรือ เจ้าของสถานประกอบการผู้ใดมีหน่วยงานหรือสำนักงานสาขาในจังหวัดเดียวกัน ให้นับรวมลูกจ้างของหน่วยงาน หรือสำนักงานสาขาทุกแห่งในจังหวัดนั้นเข้าด้วยกัน

  6. วิธีการคำนวณ Ex สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มีลูกจ้าง 31 คน มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลูกจ้าง 100 คน • จังหวัดปราจีนบุรี มีลูกจ้าง 151 คน • จังหวัดฉะเชิงเทรา มีลูกจ้าง 45 คน วิธีการนับให้เอาสำนักงาน+สาขา = 327/100=3.27 สรุปต้องจ้างงานคนพิการ เท่ากับ 3 คน

  7. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 (ต่อ) ข้อ 4 ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปรับ คนพิการที่สามารถทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดในอัตราส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มิใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของ หนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน

  8. ปัญหาในทางปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2554) • ถ้าสถานประกอบการมีสาขาอยู่ในต่างจังหวัดจะนับจำนวนลูกจ้างอย่างไร • จำเป็นต้องสำรวจหรือสอบถามสถานประกอบการหรือไม่ ว่าจะเลือกดำเนินการตามวิธีใด • ถ้าสำนักงานสาขาตั้งอยู่ต่างจังหวัด และสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หน่วยงานใดจะเป็นผู้รับแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 ให้แก่สถานประกอบการ

  9. ปัญหาในทางปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2554) • หากนายจ้างหรือสถานประกอบการได้ดำเนินการจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 33 หรือเลือกปฏิบัติตามมาตรา 35 ก่อนวันที่ 31 ม.ค. 2555 ต่อมาภายหลังคนพิการได้ลาออกจากงาน หรือคนพิการเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 35 นายจ้างต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ หรือไม่ • กฎกระทรวง (พ.ศ.2554) ข้อ 5 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการผู้ใดที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตามที่กำหนดในข้อ 3 และมิได้ดำเนินการตามมาตรา 35 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ภายในวันที่ 31 ม.ค. ของแต่ละปี ??? สจก./สจจ. ไม่ต้องรับให้บริการแก่สถานประกอบการในเรื่องมาตรา 35 แล้วใช่ไหม

  10. กรมการจัดหางานกับพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 • มาตรา 35 กำหนดว่าหากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ อาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

  11. การให้บริการตามมาตรา 35แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. 2550 • ให้สัมปทาน • จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ • จัดจ้างเหมาช่วงงาน • ฝึกงาน • ให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ

  12. ปัญหาที่ได้รับการสอบถามปัญหาที่ได้รับการสอบถาม • คนพิการที่จะขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 จะต้องมีอายุเท่าไร และต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการหรือไม่ • คนพิการมีงานทำอยู่แล้ว จะให้ผู้ดูแลมาขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 ได้หรือไม่ • ผู้ดูแลมีงานทำอยู่แล้ว ผู้ดูแลจะขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 แทนคนพิการได้อีกหรือไม่ • องค์กรคนพิการจะขอใช้สิทธิแทนคนพิการที่อยู่ในความดูแลได้หรือไม่

  13. การรับแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา 35แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 1. การรับขึ้นทะเบียนขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 (คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ) - แบบที่ใช้ กกจ.พก.1 2. การรับแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 (สถานประกอบการ/หน่วยงานของรัฐ) - แบบที่ใช้ กกจ.พก.2

  14. การรับแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา 35แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 • สจจ./สจก.ดำเนินการตรวจสอบมูลค่าให้แล้วเสร็จ ภายใน 7 วัน (แบบ กกจ.พก.5) • แจ้งผลการตรวจสอบมูลค่าให้สถานประกอบการทราบ (หนังสือภายนอกของหน่วยงาน) • ภายหลังสถานประกอบการได้รับแจ้งผลการตรวจสอบมูลค่าว่าผ่านการตรวจสอบแล้ว สถานประกอบการสามารถที่จะประกาศหาคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการเข้าไป ใช้สิทธิดังกล่าวได้ด้วยตนเอง

  15. การแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา 35แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 • หากมีการตกลงให้คนพิการเข้าใช้สิทธิตามมาตรา 35 ให้สถานประกอบการส่งเอกสารผลการดำเนินงาน หรือสำเนาสัญญาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ สจจ. หรือ สจก. และ พก. หรือ พมจ. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ (ตามระเบียบข้อ 14)

  16. การแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา 35แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 5. ทุกวันที่ 25 ของเดือน สจจ. และ สจก. ตัดยอดรายงานตามข้อ 14 แห่งระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมฯ ให้แก่ พมจ. หรือ พก. (กกจ.พก.6)

  17. ประเด็นปัญหาของมาตรา 35 • ทำไมกรมฯ ถึงไปรับงานในเรื่องมาตรา 35 มาทำ งานปัจจุบันของเราก็มากพออยู่แล้ว ไปเอางานชาวบ้าน เขามาทำอีกทำไม • การคำนวณมูลค่าสัมปทาน สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือการให้ความช่วยเหลืออื่นใด • การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการฝึกงาน

  18. สรุปผลการดำเนินงานตามกฎกระทรวงฯสรุปผลการดำเนินงานตามกฎกระทรวงฯ • สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมาย 5,774 แห่ง • ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย 4,844 แห่ง • ปฏิบัติไม่ครบ 28 แห่ง • คนพิการได้รับการจ้างงาน (ม.33) 15,430 คน • คนพิการได้ใช้สิทธิตาม (ม.35) 226 คน • สถานประกอบการส่งเงินเข้ากองทุนฯ 1,062,471,907.44 บาท • ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ณ วันที่ 17 เม.ย. 2555

  19. คู่มือ 108 ทางเลือกมาตรา 35 • สัมปทาน 1. ติดตั้งเครื่องจำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ 2. ให้พันธุ์พืช/ระบบงานต่าง ๆ เพื่อทำกสิกรรม (พืชยืนต้น,พืชล้มลุก) 3. ให้เช่ารถเพื่อประกอบอาชีพ 4. ให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเปิดร้านเกมส์ 5. ให้สัมปทานร้านกาแฟในบริเวณองค์กร 6. ให้ช่องสัญญาณวิทยุ/โทรทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ

  20. คู่มือ 108 ทางเลือกมาตรา 35 • สัมปทาน 7. ให้วัสดุ อุปกรณ์ของสถานประกอบการแก่องค์กรคนพิการเพื่อนำไปจำหน่าย 8. ให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อประกอบอาชีพ 9. ติดตั้งตู้เติมเงินมือถืออัตโนมัติ 10. จัดสรรบัตรเติมน้ำมันฟรีสำหรับคนพิการเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

  21. คู่มือ 108 ทางเลือกมาตรา 35 • จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ 1. ห้างร้านเปิดให้มีโซนสินค้า/บริการของคนพิการ 2. องค์กรธุรกิจเปิดพื้นที่ในโซนตลาดให้คนพิการขายสินค้าและบริการ 3. โรงแรมจัดพื้นที่นิทรรศการให้คนพิการได้ประชาสัมพันธ์และขายส/ค 4. องค์การเปิดโซนพื้นที่โรงอาหารให้คนพิการดำเนินการขายอาหาร ในสถานประกอบการ 5. องค์กรจัดสรรพื้นที่ให้คนพิการเปิดดำเนินการรับฝากรถ

  22. คู่มือ 108 ทางเลือกมาตรา 35 6. โรงพยาบาลจัดพื้นที่ให้คนพิการเปิดร้านขายและจัดดอกไม้ 7. องค์กรจัดพื้นที่ให้คนพิการเปิดร้านสะดวกซื้อ 8. ห้างสรรพสินค้าจัดสรรพื้นที่ให้คนพิการเปิดร้านทำนามบัตรและตรายาง 9. โรงเรียนจัดพื้นที่ให้คนพิการเปิดร้านขายเครื่องเขียนแบบเรียน 10. องค์กรจัดสรรพื้นที่ให้คนพิการเปิดร้านบริการแปลภาษา

  23. คู่มือ 108 ทางเลือกมาตรา 35 • จัดจ้างเหมาช่วงงาน 1. องค์กรจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากคนพิการ เช่น ชุดของขวัญ ชุดอาหารว่าง เพื่อจัดประชุม/อบรม 2. องค์กรเช่าสถานที่/โรงแรมขององค์กรคนพิการ สำหรับการจัดอบรม 3. องค์กรใช้บริการถ่ายเอกสารและจัดทำรูปเล่มจากคนพิการ 4. องค์กรจ้างคนพิการให้บริการล้างรถให้แก่พนักงาน/ผู้บริหารในองค์กร 5. องค์กรจ้างคนพิการในการออกแบบ/จัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  24. คู่มือ 108 ทางเลือกมาตรา 35 • จัดจ้างเหมาช่วงงาน 6. องค์กรจ้างคนพิการผลิตงานเครื่องประดับอัญมณี 7. บริษัทจ้างเหมาพนักงานทำความสะอาดที่มีลูกจ้าง เป็นคนพิการทางการได้ยิน (Outsource Service Center) 8. องค์กรอนุญาตให้คนพิการใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า 9. องค์กรให้คนพิการใช้สิทธิในการเปิดแฟรนไชส์บริการขององค์กร 10. องค์กรให้คนพิการใช้โปรแกรมซอฟท์แวร์ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ขององค์กร

  25. คู่มือ 108 ทางเลือกมาตรา 35 • การฝึกงาน 1. หลักสูตรนวดสปา และนวดแผนไทย 2. หลักสูตรการทำอาหารยุโรป 3. หลักสูตรการเย็บเครื่องหนัง 4. หลักสูตรเขียนแอปพลิเคชั่นในมือถือ 5. หลักสูตรการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

  26. คู่มือ 108 ทางเลือกมาตรา 35 • การให้ความช่วยเหลืออื่น 1. องค์กรเกี่ยวกับโทรคมนาคม จัดตั้งศูนย์ Call Center ร่วมกับองค์กรคนพิการเพื่อรับบริการลูกค้าในฟังก์ชั่นพิเศษ 2. องค์การจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า จัดตั้งศูนย์ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับองค์กรคนพิการเพื่อรับบริการซ่อมสินค้า 3. องค์กรจัดสรรทุนช่วยเหลือสำหรับการตั้งต้นเปิดร้านขายน้ำปั่นเพื่อสุขภาพให้กับคนพิการ

  27. ติดต่อ... กองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน (ฝ่ายส่งเสริมการมีงานทำให้คนพิการ) โทร/โทรสาร. ๐ ๒๒๔๕ ๒๐๑๗ Email: deps@doe.go.th

More Related