1 / 27

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ. ณ ปัจจุบันประกาศใช้ มีทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วย. ระเบียบพัสดุ พ.ศ.2535, (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2538,. (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2539, (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541,.

joben
Download Presentation

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  2. LOGO ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ณ ปัจจุบันประกาศใช้ มีทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วย ระเบียบพัสดุ พ.ศ.2535, (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2538, (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2539, (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541, (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542, (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2545, (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 ทั้งนี้ มีระเบียบใหม่ล่าสุด ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อสำหรับใช้ในการดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง โดยวิธีการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549

  3. LOGO ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบด้วย ระเบียบรวม 165 ข้อ โดยจัดแบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ หมวดที่ 1 ข้อความทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 นิยาม (ข้อ 5) ส่วนที่ 2 การใช้บังคับและการมอบอำนาจ (ข้อ 6-9) ส่วนที่ 3 บทกำหนดโทษ (ข้อ 10) ส่วนที่ 4 คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (ข้อ 11-12)

  4. LOGO หมวด 2 การจัดหา แบ่งออกเป็น 8 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บททั่วไป (ข้อ 13-15) ส่วนที่ 2 การซื้อการจ้าง (ข้อ 16-73) ส่วนที่ 3 การจ้างที่ปรึกษา (ข้อ 74-94) ส่วนที่ 4 การจ้างออกแบบและควบคุมงาน (ข้อ 95-122) ส่วนที่ 5 การแลกเปลี่ยน (ข้อ 123-127) ส่วนที่ 6 การเช่า (ข้อ 128-131) ส่วนที่ 7 สัญญาและหลักประกัน (ข้อ 132-144) ส่วนที่ 8 การลงโทษผู้ทิ้งงาน (ข้อ 145)

  5. LOGO หมวด 3 การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การยืม (ข้อ 146-150) ส่วนที่ 2 การควบคุม (ข้อ 151-156) ส่วนที่ 3 การจำหน่าย (ข้อ 157-161) หมวด 4 บทเฉพาะกาล (ข้อ 162-165) • ในส่วนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 จะประกอบด้วยระเบียบรวม 13 ข้อ

  6. LOGO การบังคับใช้ • ใช้บังคับทุกส่วนราชการที่ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ โดยใช้เงินดังต่อไปนี้ 1. เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2. เงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 3. เงินที่ส่วนราชการได้รับไว้โดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ ไม่ต้องส่งคลังตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 4. เงินกู้ตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ 5. เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศ ทั้งในระดับรัฐบาลและที่มีใช้ระดับรัฐบาล มูลนิธิหรือเอกชนต่างประเทศ

  7. LOGO การพัสดุ การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ พัสดุ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณหรือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ ส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือในต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

  8. LOGO หัวหน้าส่วนราชการ • ส่วนราชการบริหารส่วนกลาง หมายความว่า อธิบดี หรือหัวหน้าส่วน • ราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นนิติบุคคล • สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่พัสดุ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามระเบียบนี้

  9. กระบวนการบริหารงานพัสดุกระบวนการบริหารงานพัสดุ กำหนดความต้องการ งบประมาณ จัดหาพัสดุ เบิกจ่ายเงิน การจัดทำ ควบคุมพัสดุ จำหน่ายพัสดุ

  10. LOGO ประเภทของการจัดหา • การจัดทำเอง • การซื้อ • การจ้าง • การจ้างที่ปรึกษา • การจ้างออกแบบและควบคุมงาน • การเช่า • การแลกเปลี่ยน

  11. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ • เจ้าหน้าที่พัสดุ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ/ชั่วคราว • หน.เจ้าหน้าที่พัสดุ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง - ข้าราชการ • หน.ส่วนราชการ อธิบดี (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ภูมิภาค) • ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อ -จ้าง หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด • คณะกรรมการต่างๆ / ผู้ควบคุมงาน

  12. วิธีการจัดหา การจัดซื้อหรือจ้าง • วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท • วิธีสอบราคา เกิน 100,000 บาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท • วิธีประกวดราคา เกิน 2,000,000 บาท • วิธีพิเศษ เกิน 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไข • วิธีกรณีพิเศษ ไม่มีกำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข • วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549

  13. LOGO การแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ 1. คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา 2. คณะกรรมการรับ และเปิดซองประกวดราคา 3. คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา 4. คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ 5. คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ 6. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ 7. คณะกรรมการตรวจการจ้าง 8. คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง /โดยวิธีคัดเลือก(ข้อ79) 9. คณะกรรมการกำหนดราคากลาง(มติคณะรัฐมนตรี)

  14. การจัดทำรายงานขอซื้อ/ขอจ้างการจัดทำรายงานขอซื้อ/ขอจ้าง หลัก - ก่อนการซื้อ/จ้าง ทุกวิธี 1) เจ้าหน้าที่พัสดุ ต้องทำรายงานขอซื้อ/จ้าง 2) เสนอขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ ข้อยกเว้น ทำรายงานขอความเห็นชอบภายหลังได้ 1) กรณีจัดหาโดยวิธีตกลงราคา/ เพราะเหตุจำเป็น เร่งด่วน /ไม่อาจคาดหมาย ไว้ก่อนล่วงหน้าได้ 2) ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ/หรือ ผู้รับผิดชอบ จัดทำ การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดยวิธีหนึ่งวิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนไป จะกระทำมิได้

  15. LOGO รายงานขอซื้อ – จ้าง จัดทำโดย เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ รายละเอียด- เหตุผลความจำเป็น - รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง - ราคามาตรฐาน หรือราคากลาง หรือราคาครั้งหลังสุด ไม่เกิน 2ปี - วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง - กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ - วิธีที่จะซื้อ – จ้าง - ข้อเสนออื่นๆ (กรรมการ , ประกาศ)

  16. Bidder 2 Bidder 3 Bidder 1 คณะกรรมการประกวดราคา LOGO ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการ พัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ( e –Auction) เริ่มใช้ 1 ก.พ. 2549 วงเงินตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป ผู้มีสิทธิเสนอราคา เจ้าหน้าที่ของรัฐ

  17. LOGO สัญญา การใด อันได้กระทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งเน้นโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลหรือนิติบุคคล ตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เงื่อนไขที่สำคัญของสัญญา 1. ข้อตกลงเรื่องรูปแบบ ปริมาณ จำนวน ราคา2. การจ่ายเงิน (งวดเงิน) 3. การจ่ายเงินล่วงหน้า (ข้อ 68) 4. หลักประกัน 5. การส่งมอบ การตรวจรับ 6. การขยายเวลา งดหรือลดค่าปรับ 7. การปรับ 8. การประกันความชำรุดบกพร่อง

  18. LOGO กรณีทำข้อตกลง/ไม่ทำตามแบบสัญญา ทำเป็นบันทึกข้อตกลงได้ กรณีดังนี้ 1. ซื้อ /จ้าง แลกเปลี่ยน โดยวิธีตกลงราคา หรือ การจ้างที่ปรึกษา 2. คู่สัญญา ส่งของได้ครบถ้วน ภายใน 5วันทำการ นับจากทำข้อตกลง 3. การซื้อ / จ้าง โดยวิธีพิเศษตามข้อ 23หรือ 24 (1)-(5) 4. การเช่าที่ไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากการเช่า ข้อยกเว้น การจัดหาวงเงินไม่เกิน 1 หมื่นบาท /การซื้อ/จ้าง โดยวิธีตกลงราคากรณีจำเป็นเร่งด่วน ตามข้อ 39 วรรคสอง

  19. LOGO การกำหนดอัตราค่าปรับในสัญญา กรณีซื้อ /จ้าง 1. ไม่ต้องการผลสำเร็จของงานพร้อมกัน ค่าปรับรายวัน อัตราตายตัว ระหว่างร้อยละ 0.01–0.20 ของราคาพัสดุ ที่ยังไม่ได้รับมอบกรณีงานจ้างก่อสร้าง 2. ที่ต้องการผลสำเร็จของงานพร้อมกัน ค่าปรับรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัว อัตราร้อยละ0.01 – 0.10 ของราคางานจ้าง แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท 3. การจ้างที่ปรึกษา ปรับรายวันในอัตรา/จำนวนตายตัว ร้อยละ 0.01 – 0.10

  20. LOGO หลักประกัน หลักประกันสัญญา • เงินสด, เช็คที่ธนาคารสั่งจ่าย, หนังสือค้ำประกัน ธนาคารฯ, หนังสือค้ำประกัน บริษัทเงินทุนฯ, พันธบัตรรัฐบาล หลักประกันซอง • หลักประกันที่ใช้กับสัญญา, หนังสือค้ำประกันธนาคารต่างประเทศ (กรณีประกวดราคานานาชาติ) มูลค่าหลักประกัน • ร้อยละ 5ของวงเงิน / ราคาพัสดุ ที่จัดหาในครั้งนั้น เว้นแต่ การจัดหาที่สำคัญพิเศษ กำหนดสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 * กรณีส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ เป็นคู่สัญญา / ผู้เสนอราคา ไม่ต้องวางหลักประกัน (ข้อ 143) การคืนหลักประกัน (ข้อ 144) • ซอง คืนภายใน 15 วัน นับแต่วันพิจารณาเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว • สัญญา คืนโดยเร็ว / อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นข้อผูกพันแล้ว

  21. LOGO การตรวจรับ หลักเกณฑ์ • ตรวจให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่ตกลง • ถ้าต้องตรวจทดลอง หรือตรวจทางเทคนิค/ วิทยาศาสตร์จะเชิญผู้เชี่ยวชาญ/ ผู้ทรงคุณวุฒิมาให้คำปรึกษา/ หรือส่งไปตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ กรณีจำเป็นตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยไม่ได้ทั้งหมด ให้ตรวจรับทางวิชาการหรือสถิต ระยะเวลาตรวจรับ ปกติ ตรวจวันที่ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง ตรวจให้เร็วที่สุด

  22. LOGO การตรวจรับ • กรณีตรวจรับถูกต้อง - รับพัสดุไว้/ ถือว่าผู้ขาย,ผู้รับจ้าง ส่งมอบครบวันที่นำพัสดุมาส่ง - มอบของให้เจ้าหน้าที่พัสดุ - ทำใบตรวจรับอย่างน้อย 2 ฉบับ (ให้ผู้ขาย 1 เจ้าหน้าที่พัสดุ 1 เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงิน ) - รายงานผลให้ หัวหน้าส่วนราชการรับทราบ • กรณีตรวจรับไม่ถูกต้อง - ไม่ถูกต้องในรายละเอียด - รายงาน หัวหน้าส่วนราชการทราบเพื่อสั่งการทันที

  23. LOGO การควบคุมพัสดุ การดำเนินการ ให้เจ้าหน้าที่รับมอบพัสดุ เมื่อคณะกรรมการตรวจรับถูกต้องแล้ว ดำเนินการ ดังนี้ 1. วัสดุลงบัญชี 2. ครุภัณฑ์ลงทะเบียนคุมทรัพย์สิน และให้หมายเลขประจำครุภัณฑ์ 3. เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และครบถ้วน ถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน การเบิกจ่ายพัสดุ หน้าที่จ่ายพัสดุ 1. ต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของใบเบิกและเอกสารประกอบ ( ถ้ามี ) 2. ลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย 3. เก็บใบเบิกไว้เป็นหลักฐาน

  24. LOGO การตรวจสอบพัสดุประจำปี ก่อนสิ้นเดือนกันยายนของทุกปี หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีพัสดุไว้จ่าย จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่พัสดุคนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุงวดตั้งแต่ 1 ตุลาคม ปีก่อน จนถึงวันที่ 30 กันยายน ปีปัจจุบัน และตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น

  25. LOGO การตรวจสอบพัสดุประจำปี (ต่อ) • การตรวจสอบพัสดุดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบจะต้องลงมือตรวจวันทำการแรกของเดือนตุลาคมเป็นต้นไปว่า - การรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ - พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามทะเบียนหรือบัญชีหรือไม่ - มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไป เพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป • ต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อผู้แต่งตั้งภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันเริ่มทำการตรวจสอบพัสดุนั้น • เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานแล้ว - ให้ส่งรายงานตามลำดับชั้นจนถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ 1 ชุด - ส่งสำเนารายงานไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค 1 ชุด

  26. LOGO การจำหน่ายพัสดุ หลังจากการตรวจสอบแล้ว หากพัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากก็ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรายงานหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ เพื่อพิจารณาสั่งการให้จำหน่ายตามวิธีการ ที่กำหนด คือ (1) ขาย (2) แลกเปลี่ยน (3) โอน (4) แปรสภาพหรือทำลาย ทั้งนี้ ตามนัยของระเบียบฯ ข้อ 157 ข้อสังเกต (1) ก่อนการจำหน่าย เจ้าหน้าที่จะต้องจัดทำรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจ (2) การจำหน่ายใช้วิธีการใด และปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือไม่ (3) เมื่อได้รับอนุมัติให้จำหน่ายได้แล้ว เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันได้รับอนุมัติให้จำหน่ายหรือไม่ (4) การจำหน่ายโดยวิธีการขายทอดตลาด ได้ดำเนินการตามกฎหมายกำหนดหรือไม่ ( ประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 505 – 517 ) (5) การจำหน่ายโดยวิธีการแลกเปลี่ยนกับเอกชน ต้องแต่งตั้งกรรมการดำเนินการแลกเปลี่ยน

  27. LOGO การจำหน่ายพัสดุ (ต่อ) การรายงานเมื่อดำเนินการจำหน่ายและจำหน่ายเป็นสูญเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ (1) ลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียน (2) แจ้งกระทรวงการคลัง ( ภายใน 30 วัน ) (3) แจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ( ภายใน 30 วัน ) สำหรับพัสดุซึ่งต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แจ้งแก่นายทะเบียนภายใน ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย

More Related