1 / 43

จัดทำโดย.... สุวรรณา มณีนิธิเวทย์ นายแพทย์ 8 ศูนย์บริการสาธารณสุข 38 สำ

การสอบสวนการระบาดของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าในสถานเลี้ยงเด็กแห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร เดือน ตุลาคม 2550 ( Outbreak investigation of Rotaviral diarrhea in a daycare in Bangkok,Thailand, 2007 ). จัดทำโดย.... สุวรรณา มณีนิธิเวทย์ นายแพทย์ 8 ศูนย์บริการสาธารณสุข 38

juancarlos
Download Presentation

จัดทำโดย.... สุวรรณา มณีนิธิเวทย์ นายแพทย์ 8 ศูนย์บริการสาธารณสุข 38 สำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสอบสวนการระบาดของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าในสถานเลี้ยงเด็กแห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร เดือน ตุลาคม 2550 ( Outbreak investigation of Rotaviral diarrhea in a daycare in Bangkok,Thailand, 2007 ) จัดทำโดย.... สุวรรณา มณีนิธิเวทย์ นายแพทย์ 8 ศูนย์บริการสาธารณสุข 38 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

  2. บทนำ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2550 เวลาประมาณ 9.30 น คณะสอบสวนโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครได้รับทราบข้อมูลจากพยาบาลผู้ดูแลสถานเลี้ยง เด็กก่อนวัยเรียนแห่งหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ว่ามีเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ทยอยป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วงจำนวน 10 ราย โดยเด็กเหล่านี้มีอาการเริ่มจากไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียนและต่อมามีอาการปวดท้องและถ่ายเหลวเป็นน้ำ โดยเริ่มมีอาการ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2550 หลังจากทราบข่าวทีม SRRT ของศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้ทำการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 26 – 31 ตุลาคม 2550

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อยืนยันการวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง • เพื่อศึกษาขนาดของปัญหาและการกระจายของโรค • เพื่อเสนอแนวทางในการวางมาตรการควบคุมและป้องกันโรค

  4. วิธีการสอบสวนโรค • เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยซึ่งเป็นเด็ก ก่อนวัยเรียนอายุระหว่าง 1 – 5 ปี และบุคลากรในสถานเลี้ยงเด็กแห่งหนึ่งใน เขตดุสิต นิยามผู้ป่วย คือ เด็กเล็กก่อนวัยเรียน อายุระหว่าง 1 – 5 ปีและบุคลากรในสถาน เลี้ยงเด็กที่มีอาการถ่ายเหลวอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือมีอาการผิดปกติของระบบทางเดิน อาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยมีอาการของไข้หรือไม่มีก็ได้ และไม่มีอาการ ร่วมของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ระหว่างวันที่ 16 -31 ตุลาคม 2550

  5. ทีม SRRT เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองเด็ก ครูพี่เลี้ยงเด็ก แม่ครัว และพยาบาลผู้ดูแลสถานเลี้ยงเด็ก ประเด็นที่สัมภาษณ์ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป อาการแสดงในการเจ็บป่วย ผลการวินิจฉัยจากแพทย์ รายการอาหาร ย้อนหลัง 9 มื้อหรือ 3 วันก่อนเกิดอาการ ( วันที่ 18 - 19 และ 22 ต.ค. 2550 ) • ผู้ป่วยทุกรายตามนิยาม ผู้สัมผัสและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับความยินยอม ทางทีมสอบสวนโรคได้ทำการเก็บอุจจาระ ตรวจโดยวิธี rectal swab culture โดย ฝ่ายชันสูตรโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการ ตรวจโดยสถานพยาบาลภาคเอกชนและภาครัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ทางทีมได้มีการติดตามรวบรวมผลการตรวจอุจจาระ

  6. การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ทีม SRRT ได้ดำเนินการดังนี้ • สำรวจแหล่งรับประทานอาหารของเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก • สำรวจแหล่งปรุงอาหาร กรรมวิธีในการปรุงอาหาร และสุขอนามัยของแม่ครัว ในสถานเลี้ยงเด็ก • สำรวจสภาพและความสะอาดของห้องน้ำ และห้องส้วม • สำรวจสถานที่ที่มีการทำกิจกรรมร่วมกันของเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก • สังเกตพฤติกรรม การปฏิบัติตนในการดูแลสุขอนามัยของครูพี่เลี้ยงและแม่ครัว

  7. ผลการสอบสวนโรค • สถานเลี้ยงเด็กแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตดุสิต บนพื้นที่ประมาณ 3 .5 ไร่ ประกอบด้วย ตัวอาคาร 2 หลัง มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้ง 2 อาคาร อาคารที่ 1 ประกอบด้วย ห้องสำนักงาน และ ห้องเลี้ยงเด็ก ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องเตรียมอนุบาล ห้องอนุบาล 1 ห้องอนุบาล 2 ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องเด็กอ่อน ห้องเด็กเล็ก อาคารที่ 2 เป็นอาคารชั้นเดียว ประกอบด้วย ห้องเตรียมอาหาร และ ห้องรับประทานอาหาร

  8. แผนผังแสดงพื้นที่สถานเลี้ยงเด็กแผนผังแสดงพื้นที่สถานเลี้ยงเด็ก ชั้นล่าง ชั้นบน อนุบาล 1 เตรียมอนุบาล ห้องเด็กอ่อน ห้องน้ำเจ้า หน้าที่ ห้องพักเจ้าหน้าที่ ห้องเด็กเล็ก หัอง น้ำเด็ก ห้องอนุบาล 2 ห้องน้ำเจ้าหน้าที่ ห้องพัฒนาการ ห้องปฐม พยาบาล อำนวยการ หัองน้ำเด็ก

  9. สถานเลี้ยงเด็กแห่งนี้มีบุคลากรประกอบด้วยครูพี่เลี้ยงเด็กจำนวน 15 คน แม่ครัว 2 คน พยาบาลผู้ดูแลเด็ก 1 คนและผู้จัดการ 1 คน มีจำนวนเด็กทั้งสิ้น ประมาณ 81 คน ครูพี่เลี้ยงมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลเด็กในด้านการเรียนการ สอน การทำกิจกรรม การรับประทานอาหาร การเข้าห้องน้ำและการนอนของเด็ก มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันในการดูแลเด็กระหว่างห้องเรียน • พบว่ามีเด็กที่มีอาการเข้านิยามผู้ป่วย 17 ราย (มีอาการอุจจาระร่วง 11ราย) เป็นเด็กก่อนวัยเรียนทั้งหมด เริ่มแรกในวันที่ 16 ต.ค. 2550 • ไม่พบว่ามีการเจ็บป่วยถ่ายเหลวในกลุ่มครูพี่เลี้ยง และคนครัว • เด็กในห้องเตรียมอนุบาล ( อายุ 2-3 ปี )มีอัตราการป่วยสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 39 ของเด็กในห้องเรียน

  10. สถานที่เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนสถานที่เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน

  11. รูปที่ 1จำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงในสถานเลี้ยงเด็กแห่งหนึ่ง กทม.จำแนกตามระยะเวลาที่เริ่มป่วยในช่วงเดือน ตุลาคม 2550

  12. รูปที่ 2จำนวนร้อยละของผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงในสถานเลี้ยงเด็กแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร จำแนกตามกลุ่มอายุในช่วงวันที่ 16 -26 ตุลาคม 2550

  13. รูปที่ 3ร้อยละของผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงในสถานเลี้ยงเด็กแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานครจำแนกตามอาการป่วยในช่วงวันที่ 24 -26 ตุลาคม 2550 (ข้อมูลจากผู้ป่วย 10 ราย)

  14. ผลการตรวจอุจจาระ

  15. การศึกษาทางด้านสภาพแวดล้อม • ลักษณะของห้องครัว ห้องน้ำ และห้องรับประทานอาหาร พบว่าสะอาด ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย • ลักษณะของห้องน้ำและห้องส้วมมีการแยกระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เป็นห้องรวมชายหญิงแบ่งเป็น 2 ด้านคือห้องอาบน้ำและห้องส้วม มีอ่างล้างมือ สบู่เหลวและที่แขวนผ้าเช็ดตัวแยกเป็นสัดส่วน • เด็กในชั้นเตรียมอนุบาลและอนุบาล 1,2 ซึ่งอยู่ในอาคารชั้นเดียวกัน มีการทำกิจกรรมกลุ่มบางอย่างร่วมกันเช่น เข้าแถวเคารพธงชาติ มีการใช้ห้องกระตุ้นพัฒนาการร่วมกัน • ครูพี่เลี้ยงด็กมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนการดูแลกันระหว่างห้องเด็กเล็ก ชั้นเตรียมอนุบาล ชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2

  16. การศึกษาทางด้านสภาพแวดล้อม • อาหารสดและผักผลไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ จะส่งมาจากแผนกห้องครัวใหญ่ โดยจะมีการตรวจสอบหาสารตกค้าง เช่น ยาฆ่าแมลง กรดซาลิซาลิค ไฮโดรเจนซัลไฟด์ บอแรกซ์ และ ฟอร์มาลีน ก่อนนำมาเตรียมปรุงอาหาร ในช่วงเวลา 10.00 น. ของทุกวัน และจะนำมาล้างทำความสะอาดอีกครั้งก่อนนำมาปรุงอาหารกลางวัน ส่วนที่เหลือจะนำเก็บเข้าตู้เย็นและห้องแช่แข็ง เพื่อสำหรับเตรียมมื้อเช้าของวันรุ่งขึ้น • อาหารที่ปรุงเสร็จให้เด็กรับประทานจะเตรียมวันต่อวัน ไม่มีการเก็บอาหารเหลือค้างไว้ทานในมื้อต่อไป • นมสด และ น้ำดื่ม เป็นนมบรรจุกล่องได้มาตรฐาน มีการเจาะรูกล่องให้เด็กดูดจากหลอดดูด ส่วนน้ำเปล่าใช้น้ำบรรจุขวดขนาด 500 มล.

  17. มาตราการควบคุมและป้องกันโรคมาตราการควบคุมและป้องกันโรค • ให้สุขศึกษาโรคอุจจาระร่วง แนะนำการปฎิบัติตัวและการป้องกันโรค รวมทั้งสอนการล้างมือที่ถูกวิธีให้แก่บุคลากรของสถานเลี้ยงเด็กทุกคน พร้อมทั้งได้ฝากให้เน้นย้ำไปทางผู้ปกครองเด็กในด้านการดูแลสุขอนามัย • แนะนำให้เจ้าหน้าที่ในสถานเลี้ยงเด็กทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแก่อุปกรณ์และของเล่นที่ใช้ร่วมกันรวมถึงทำความสะอาดบริเวณสถานที่โดยรอบ

  18. มาตราการควบคุมและป้องกันโรคมาตราการควบคุมและป้องกันโรค • ให้คำแนะนำแก่แม่ครัวในการสวมถุงมือในระหว่างประกอบอาหาร • ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองของเด็ก ในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปสู่ครอบครัวและชุมชน • เฝ้าระวังผู้ป่วยต่อเนื่อง โดยประสานกับทีมผู้บริหารสถานเลี้ยงเด็ก ในการติดตามจนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 14 วัน

  19. อภิปรายผล • ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุระหว่าง 1-3 ปี (ร้อยละ 76 ) • เด็กส่วนใหญ่มีอาการของระบบทางเดินอาหารส่วนบน • ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย • ผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 ห่างจากกลุ่มแรกไม่เกิน 1 สัปดาห์ • ผู้ป่วยที่อยู่ในห้องเรียนเดียวกันมีอาการเกิดขึ้นภายใน 1-3 ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ว่าเป็นเชื้อที่มีระยะฟักตัวประมาณ 1-3 วัน และเป็นเชื้อที่แพร่ได้ง่าย • ไม่น่าจะเกิดจากสารเคมี หรือท็อกซินของเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากกลุ่มนี้จะไม่มีอาการไข้ และมักมีระยะฟักตัวสั้น (1-6 ชั่วโมง) และมักจะไม่ค่อยแพร่จากคนสู่คน

  20. อภิปรายผล • การระบาดครั้งนี้มีลักษณะเหมือนการติดเชื้อกลุ่มไวรัสมากกว่าแบคทีเรียผู้ป่วยมีอาการอาเจียนมากกว่าร้อยละ 50 และผลการเพาะเชื้อส่วนใหญ่ไม่พบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค • กลุ่มผู้ป่วยที่พบเป็นเฉพาะเด็กเล็กทำให้คิดถึงโรต้าไวรัสมากกว่าโนโรไวรัส และจากผลการตรวจอุจจาระพบว่ามีเชื้อโรต้าในอุจจาระจึงช่วยยืนยันการวินิจฉัย

  21. อภิปรายผล • เกิดในสถานเลี้ยงเด็ก เชื้อที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วน่าจะเกิดได้จากสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลเด็ก เช่น การล้างมือที่ไม่เพียงพอโดยเฉพาะหลังจากช่วยเหลือเด็กทำความสะอาดเวลาถ่ายอุจจาระ • การผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนครูพี่เลี้ยงเด็กระหว่างห้องเรียน น่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำให้เกิดการกระจายของเชื้อไปสู่ห้องต่างๆ • การไม่สวมถุงมือในขณะประกอบอาหารของแม่ครัว มีโอกาสเกิดได้ แต่มักทำให้พบผู้ป่วยหลายคนในหลายๆห้องในเวลาเดียวกัน • เด็กมีการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน เช่น การเล่นของเล่นในห้องเดียวกันทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจายได้

  22. อภิปรายผล • ผลการตรวจเพาะเชื้อจากอุจจาระพบStaphylococous aureus 1 รายแต่จากรายงานพบว่า toxin จากเชื้อ Staphylococcus aureus ทำให้เกิดอาการอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาที ถึง 8 ชั่วโมง (เฉลี่ย 2-4 ชั่วโมง) โดยส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนปวดท้อง ร่วมกับถ่ายเหลวซึ่งจากการตรวจสอบรายการอาหารก็พบว่ามีโอกาสน้อยที่จะมีการปนเปื้อนในอาหาร • ตรวจพบเชื้อ Salmonella gr. E ในผู้ป่วยเด็ก 1 ราย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในเด็กบางคนสามารถตรวจพบเชื้อได้ในอุจจาระโดยไม่มีอาการถ่ายเหลวได้

  23. สรุปผล • การระบาดของโรคอุจจาระร่วงครั้งนี้น่าจะเป็นการระบาดของเชื้อไวรัสโรต้าเนื่องจากลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย การวินิจฉัยของแพทย์ และผลทางห้องปฎิบัติการที่พบ viral Rota Antigen ร่วมกับผล rectal swab culture ไม่พบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 75 % ของจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจ • อาการแสดงมักจะพบในเด็กช่วงก่อนวัยเรียน ในขณะที่จะไม่มีอาการผิดปกติในผู้ใหญ่ • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว คือ จากการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน สุขอนามัยส่วนบุคคล การล้างมือทำความสะอาดไม่ดีพอ การผลัดเปลี่ยนครูพี่เลี้ยงและการใช้สถานที่ร่วมกันทำให้มีการปนเปื้อนและแพร่กระจายของเชื้อข้ามห้องเรียน • ขณะนี้มีการให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้าแก่เด็ก แต่วัคซีนยังไม่ได้มีการให้แก่เด็กอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในเด็กที่เกิดก่อนปี 2549

  24. ข้อเสนอแนะ • สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งควรให้ความรู้สุขศึกษาเรื่องโรคอุจจาระร่วง แนวทางในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคให้กับบุคคลากรในสถานเลี้ยงเด็กและผู้ปกครองเพื่อให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาเป็นการป้องกันการเกิดซ้ำ • เมื่อมีการรายงานการเกิดโรคอุจจาระร่วงควรมีการเตรียมความพร้อมของทีมSRRTทั้งด้านบุคคลากร การจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเก็บสิ่งส่งตรวจ การประสานงานกับทางห้องปฏิบัติการและการจัดเตรียมเอกสารให้ความรู้แก่ผู้ป่วยหรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวัง • ควรมีการดำเนินการในรูปแบบนโยบายเพื่อให้ผู้บริหารสถานเลี้ยงเด็กได้รับทราบถึง ความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสหรือการปนเปื้อนของเชื้อโรคเพื่อเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกันและสามารถค้นหาโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกรวมทั้งไม่ปล่อยให้ปัญหาผ่านไปโดยไม่มีการป้องกัน

  25. ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค • การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการบางครั้งมีความคลาดเคลื่อนในการประสานงานกับทางฝ่ายชันสูตรโรคหรือติดช่วงวันหยุดหรือนอกเวลาทำการมีผลให้การชันสูตรโรคคลาดเคลื่อนได้มาก • ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการในช่วงแรก ( วันที่ 16 -18 ตุลาคม 2550 ) ไม่เก็บตัวอย่างอุจจาระส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ จึงทำให้ขาดผลตรวจยืนยันเชื้อที่เป็นสาเหตุของการป่วยเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการออกสอบสวนโรค

  26. ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค • การเก็บตัวอย่างส่งตรวจบางชนิดมีค่าใช่จ่ายในการดำเนินการหรือบางชนิดทางฝ่ายชันสูตรโรคของสำนักอนามัยไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ • ความไม่เข้าใจถึงความสำคัญของปัญหาของเจ้าหน้าที่ในสถานเลี้ยงเด็กรวมถึงความกังวลถึงผลกระทบต่อภาพลักษณ์สถานเลี้ยงเด็กทำให้การสอบสวนโรคดำเนินไปได้ช้ากว่าที่ควร

  27. กิตติกรรมประกาศ • ขอขอบคุณ แพทย์หญิง พจมาน ศิริอารยาภรณ์ ที่ให้คำปรึกษาและ คำแนะนำ ในการสอบสวนโรค การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์ • ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 6 และ 38 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่ให้ความร่วมมือในการ ออกสอบสวนโรค สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและเก็บวัตถุส่งตรวจ • ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการฝ่ายชันสูตรโรค กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่ให้ความร่วมมือในการชันสูตรวัตถุส่งตรวจ • ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ฝ่ายระบาดวิทยา กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่ให้ความร่วมมือในการออกสอบสวนโรคและเก็บวัตถุส่งตรวจ • ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่สถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ครูพี่เลี้ยงเด็ก แม่ครัวและผู้ปกครองเด็ก ที่ให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์เป็นอย่างดี

  28. เอกสารอ้างอิง 1. D F Stroup and S B Thacker .Public health surveillance in child-care settings. Public Health Rep. 1995 Mar–Apr; 110(2): 119–124. 2. P Pipittajan, S Kasempimolporn, N Ikegami . Molecular epidemiology of rotaviruses associated with pediatric diarrhea in Bangkok, Thailand. J ClinMicrobiol. 1991 March; 29(3): 617–624. 3. Report of the Committee on infectious Disease, Red Book 2000. 25th Edition. Elk Grove Village American Academy of Pediatrics;2000 :493-495, 501-506, 770. 4.James Chin, Control of Communicable Disease Manual. 17th Edition. Washington DC., American Public Health Association; 2000 : 110-111, 203-204.

  29. Thank you for your attention.

More Related