1 / 38

วินัยและการรักษาวินัย มาตรา 82 – 97

วินัยและการรักษาวินัย มาตรา 82 – 97. โดย นาย ธี ระศักดิ์ ภัททิ ยากุล นิติกรชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. ความหมายของ “วินัย”. วินัย หมายถึง เครื่องควบคุมพฤติกรรมของคน

Download Presentation

วินัยและการรักษาวินัย มาตรา 82 – 97

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วินัยและการรักษาวินัยมาตรา 82 – 97 โดย นายธีระศักดิ์ ภัททิยากุล นิติกรชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1

  2. ความหมายของ “วินัย” • วินัย หมายถึง เครื่องควบคุมพฤติกรรมของคน • วินัย คือ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับหรือแบบแผนความประพฤติที่ควบคุมพฤติกรรมของคนภายในองค์กรให้เป็นไปในแนวทางที่พึงประสงค์

  3. ความมุ่งหมายของวินัย คือ  รักษาคนดี  กำจัดคนไม่ดี

  4. จุดมุ่งหมายของวินัยข้าราชการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หลักของทางราชการจุดมุ่งหมายของวินัยข้าราชการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หลักของทางราชการ • ความสำเร็จบรรลุผลตามเป้าหมายของงาน • ความเจริญของประเทศชาติ • ความมั่นคงของชาติ • ความผาสุกของประชาชน

  5. ขอบเขตของวินัย • เพียงเท่าที่กฎหมายกำหนดเป็นความผิด หากกฎหมายมิได้กำหนดให้การกระทำใด เป็นความผิดวินัยก็จะลงโทษทางวินัยไม่ได้

  6. จุดมุ่งหมายของมาตรการบังคับจุดมุ่งหมายของมาตรการบังคับ 1. รักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย 2. รักษามาตรฐานความประพฤติและสมรรถภาพของข้าราชการ 3. รักษาชื่อเสียงของทางราชการและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ทางราชการ 4. จูงใจให้ข้าราชการประพฤติดี

  7. การรักษาวินัยโดยตัวข้าราชการเองการรักษาวินัยโดยตัวข้าราชการเอง 1. เรียนรู้และเข้าใจวินัย 2. สำนึกในหน้าที่ที่จะต้องรักษาวินัย 3. ตระหนักในความสำคัญของวินัย 4. ปฏิบัติตามวินัย

  8. การรักษาวินัยโดยผู้บังคับบัญชาการรักษาวินัยโดยผู้บังคับบัญชา 1. เสริมสร้างและพัฒนา 2. ป้องกัน 3. ควบคุม

  9. การรักษาวินัยโดยองค์กรการรักษาวินัยโดยองค์กร 1. กำหนดนโยบาย 2. ออกระเบียบกฎเกณฑ์ 3. ส่งเสริมสนับสนุน 4. ตรวจสอบและกำกับดูแล

  10. ลักษณะของวินัยอาจแยกออกได้เป็น 6 กลุ่ม 1. วินัยต่อประเทศชาติ 2. วินัยต่อประชาชน 3. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา 4. วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน 5. วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ 6. วินัยต่อตนเอง

  11. แนวทางปฏิบัติตนของข้าราชการแนวทางปฏิบัติตนของข้าราชการ   ซื่อสัตย์สุจริต  ขยันหมั่นเพียร ตั้งใจปฏิบัติราชการ  ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ  รักษาชื่อเสียงของตน  ทำตนให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของ ประชาชนเป็นตัวอย่างที่ดีประชาชนศรัทธา ข้าราชการต้อง

  12. บทบัญญัติตามมาตราต่าง ๆ มาตรา 82 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและ ข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ

  13. การรักษาวินัย 1. ข้าราชการระวังไม่กระทำผิดวินัย 2. ผู้เกี่ยวข้องดูแลส่งเสริมและพัฒนาให้ข้าราชการมีวินัย 3. ผู้เกี่ยวข้องป้องกันมิให้ข้าราชการกระทำผิดวินัย 4. ผู้เกี่ยวข้องเยียวยาโดยดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดวินัย

  14. มาตรา 83 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้อง สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความ บริสุทธิ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบ การปกครองเช่นว่านั้น

  15. มาตรา 84 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษา ประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติจนตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจและหน้าที่ ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่น ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  16. หน้าที่ราชการเกิดจาก 1. หน้าที่ตามกฎหมาย 2. หน้าที่ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3. หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา 4. หน้าที่ที่เกิดจากเอาตัวเองเข้าไปผูกพัน

  17. การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น โดยทุจริต หมายถึง

  18. มาตรา 85 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติ หน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบ แผนของทางราชการและหน่วยงานทางการศึกษา มติ คณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาลโดยถือประโยชน์ สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและ หน่วยงานทางการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบาย ของทางราชการอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง

  19. มาตรา 86 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการหรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะเสนอความเห็นเป็นหนังสือภายในเจ็ดวัน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อเสนอความเห็นแล้วถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันเป็นหนังสือให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องปฏิบัติตาม การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  20. มาตรา 86 (ต่อ) 1. คำสั่งของผู้บังคับบัญชา - สั่งด้วยวาจา หรือ ลายลักษณ์อักษรก็ได้ 2. สั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย 3. การโต้แย้งคำสั่งต้องทำเป็นหนังสือภายใน 7 วัน

  21. มาตรา 87 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องตรง ต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียน จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  22. มาตรา 88 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ การกลั่นแกล้ง ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่หรือ ข่มเหงผู้เรียนหรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  23. มาตรา 89 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่กลั่นแกล้งกล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความจริง การกระทำตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง องค์ประกอบ 1. แกล้งร้องเรียนผู้อื่น 2. โดยปราศจากความจริง 3. โดยเจตนา

  24. มาตรา 90 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำตามวรรคหนึ่งถ้าเป็นการกระทำโดยมีความมุ่งหมายจะให้เป็นการซื้อขายหรือมให้ได้รับตำแหน่งหรือวิทยฐานะใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะเป็นการให้หรือได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่น เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยมิชอบหรือเสื่อมเสียความเที่ยงธรรม เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  25. มาตรา 91 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้าง วาน ใช้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อ ไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ร่วมดำเนินการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่นโดยมิชอบหรือรับจัดทำผลงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ เพื่อให้ผู้อื่นนำผู้อื่นนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรง

  26. มาตรา 92 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

  27. มาตรา 93 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคลหรือพรรคการเมืองใด ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการทุจริตโดยการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งอื่น การดำเนินการที่ฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  28. มาตรา 94 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่า โทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสพยาเสพติดหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด เล่นการพนันเป็นอาจิณหรือกระทำการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของตนหรือไม่ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  29. มาตรา 95 ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยและดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีมูล ที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ฯ

  30. มาตรา 96 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดฝ่าฝืน ข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องรับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7

  31. โทษทางวินัย มี 5 สถาน คือ 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือน 3. ลดขั้นเงินเดือน 4. ปลดออก 5. ไล่ออก

  32. โทษทางวินัยพนักงานราชการโทษทางวินัยพนักงานราชการ 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินค่าตอบแทน 3. ลดขั้นค่าตอบแทน 4. ไล่ออก

  33. ข้อ 24 การกระทำความผิดดังต่อไปนี้ ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรง 1. จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่ทาง ราชการกำหนดให้ปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหา อย่างร้ายแรง 2. ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความ เสียหายอย่างร้ายแรง 3. ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา หรือขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาตามข้อ 22 จนเป็นเหตุให้ ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 4. กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ 5. ประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่าง ร้ายแรง

  34. ต่อ.. 6. ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานจนทำให้งานไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ กำหนด จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง สำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการกำหนดการทำงานตามเป้าหมาย 7. ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานเป็นเวลาติดต่อเกินกว่า 7 วันสำหรับ ตำแหน่งที่ส่วนราชการกำหนดวันเวลาการมาทำงาน 8. ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหรือกระทำความผิดทางอาญาโดย คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือหนักกว่าโทษจำคุก 9.การกระทำอื่นใด ที่ส่วนราชการกำหนดว่าเป็นความผิดวินัยร้ายแรง

  35. สาเหตุวินัยเสื่อม อบายมุข ตัวอย่างไม่ดี ขวัญไม่ดี โอกาสเปิดช่องล่อใจ งานล้นมือ การปล่อยปละละเลยของผู้บังคับบัญชา

  36. บริการยอดแย่ 1. ปากหมา 2. หน้ายักษ์ 3. ตักตวง 4. ถ่วงเรื่อง 5. เชื่องช้า 6. ล้าสมัย 7. ไม่แน่ชัด 8. ปัดสวะ 9. ละเลย 10. เฉยชา

  37. ลักษณะความผิดทางวินัยลักษณะความผิดทางวินัย 1. ไม่มีอายุความ 2. การลงโทษต้องดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย 3. ต้องมีสภาพการเป็นข้าราชการ 4. ผู้สั่งลงโทษต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจลงโทษได้ - ขณะกระทำผิด - ขณะลงโทษ

  38. แนวทางการพิจารณาเรื่อง“ประพฤติชั่ว”เสียเกียรติของตำแหน่งหน้าที่การงาน สังคมรังเกียจ กระทำโดยเจตนา

More Related