1 / 42

"เราต้องการวิธีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้" "We shall need a radically new manner of thin

คำเตือนของไอน์สไตน์. "เราต้องการวิธีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้" "We shall need a radically new manner of thinking if mankind is to survive"--- Albert Einstien. หัวใจกาลามสูตร อย่าเพิ่งด่วนเชื่อ ต้องเผื่อใจไว้ มีการไตร่ตรอง ต้องตรวจสอบข้ออ้าง ข้อสมมติ ข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อน.

kaleb
Download Presentation

"เราต้องการวิธีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้" "We shall need a radically new manner of thin

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คำเตือนของไอน์สไตน์ • "เราต้องการวิธีคิดใหม่โดยสิ้นเชิงถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้""We shall need a radically new manner of thinking if mankind is to survive"---Albert Einstien หัวใจกาลามสูตร อย่าเพิ่งด่วนเชื่อ ต้องเผื่อใจไว้ มีการไตร่ตรอง ต้องตรวจสอบข้ออ้าง ข้อสมมติ ข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อน

  2. วิธีคิดแบบตะวันออก มีโลกทัศน์แบบเป็นองค์รวม(Holism)ไม่คิดแบบแยกส่วน (Dualism) • วิธีคิดแบบพุทธ : • กาลามสูตร๑๐(กฎไตรลักษณ์) • หลักโยนิโสมนสิการ ๑๐ ประการ(การพิจารณาโดยถ่องแท้) • วิธีคิดแบบเต๋า : • หยิน-หยาง (คู่พลังที่ตรงกันข้าม) • สรรพสิ่งมีความเปลี่ยนแปลงอย่างพลวัต

  3. พุทธตรรกวิทยา “โลกอันความคิดย่อมนำไป” (จินฺเตน นียติ โลโก) พุทธตรรกวิทยาวางอยู่บนพื้นฐานกฎอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี p q เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี ~p ~q • อัตถิกทิฏฐิ(ทฤษฎีเชื่อว่าโลกมีอยู่จริง) • นัตถิกทิฏฐิ(ทฤษฎีเชื่อว่าโลกไม่มีอยู่จริง) พุทธปรัชญา “กล่าวไม่ได้ว่าโลกมีอยู่จริงหรือว่าโลกไม่มีอยู่จริง”

  4. กาลามสูตร (Kalama) ไม่มีอะไรทำให้คนจำนนได้เท่ากับความเชื่อ การทำให้คนเชื่อเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง (ความเชื่อเป็นอำนาจในตัวเอง)  ๑. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า สิ่งนี้เป็น สิ่งที่ บอกต่อๆกันมา(ฟังตาม)  ๒. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า สิ่งนี้เป็น สิ่งที่ เขาได้ทำตามๆกันมา(ทำตาม) ๓. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า มันเล่าลือกัน กระฉ่อนไปหมดแล้ว(ตื่นข่าว)

  5.  ๔. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า มันมีอ้างอยู่ในคัมภีร์(ตำรา)  ๕. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า เป็นตรรกะ หรือLogic(เดาเอา)  ๖. อย่าได้เชื่อโดยการอนุมาน หรือหลักPhilosophy(คาดคะเน)

  6. ๗. อย่าได้เชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่แวดล้อม(Commom sene) ๘. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า เข้าได้กับลัทธิความเชื่อ (ตรงกับตน)  ๙. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า รูปร่างลักษณะน่าเชื่อถือ(มีเครดิต) ๑๐. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า ผู้สอนเป็นครูเป็นอาจารย์ของเรา(ครูเรา)   “สื่อมวลชนก็อย่าเชื่อ”

  7. ต่อเมื่อใดพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้วจึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น เรียกว่า กาลามสูตร

  8. กาลามสูตร ๑๐ (การวางท่าทีต่อความเชื่อ) เชื่อแบบบอกเล่าต่อๆกันมา/เชื่อตามพงศวดาร-ตำนานเรื่องเล่า ๑. อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะได้ยินฟังตามๆกันมา (มา อนุสฺสเวน) เช่น - ตำนาน / นิทาน - อภินิหารเกี่ยวกับประวัติบุคคล “ฟังเทศน์มหาชาติให้ครบสิบสามกัณฑ์จะได้บุญขึ้นสวรรค์พบพระจุฬามณี”

  9. ๒.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะเรื่องนั้นคนทั้งหลายถือปฏิบัติตามสืบ ๆกันมา (มา ปรมฺปราย) เชื่อแบบนำสืบกันมา/อ้างว่ามีผู้เชื่อหรือทำมาก่อน / เถรส่องบาตร • ประเพณีจารีตต่างๆที่ปฏิบัติตามๆกันมา เช่น • ผมทำตามท่านนะครับ….เพราะถือคติว่า การเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด • การทำตามแฟชั่นเพราะกลัวจะไม่ทันสมัย • ลัทธิเอาอย่าง ฯลฯ

  10. ๓.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะเสียงเล่าลือ(มา อิติกิราย) การเชื่อทำนองแบบกระต่ายตื่นตูม(ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูล) • ดาราสาวชื่อเหมือนเครื่องประดับ…..มั่วกับดาราหนุ่มชื่อเหมือนเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่ง.…(คนไหนก็ไม่รู้)

  11. “รูปแบบถูกต้องแต่เนื้อหาอาจจะผิดพลาด”“รูปแบบถูกต้องแต่เนื้อหาอาจจะผิดพลาด” ๔.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะสิ่งนั้นเป็นผลมาจากการใช้เหตุผลเชิงตรรกวิทยา (มา ตกฺกเหตุ) • ความสมเหตุสมผลของวิธีการอ้างเหตุผล อาจไม่ใช่ความถูกต้องของข้อสรุป • All a arenot bพระต้องไม่โกหก • (All) c are a ก... เป็น พระ • (All) c arenot bก..ไม่โกหก

  12. ๕.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะอ้างตำรา (มา ปิฏกสมปทาเนน) “ฉันเชื่อว่าความคิดนี้ถูกต้องเพราะอ้าง/มีในตำรา” - เธอต้องฝันถึงฉันแน่เมื่อคืนนี้(เพราะได้พลิกหมอนตามตำรา) - อ้างหนังสือชีววิทยาสมัยอริสโตเติล เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล

  13. ๖.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะการคาดคะเนเอา (มา นยเหตุ) การเชื่อมแบบโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลทางเดียว • เกิดสงครามทีไรน้ำมันขึ้นราคาทุกที ช่วงนี้น้ำมันขึ้นราคา แสดงว่าช่วงนี้มีสงครามแน่ๆ

  14. ๗.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพียงเพราะสรุปเอาตามอาการที่ปรากฏ ( มา อาการปริตกฺเกน) • อากาศอย่างนี้ฝนมันน่าจะตก • ดูซึมๆท่าทางยังงี้น่าจะอกหักมา

  15. เป็นการเชื่ออย่างมีอคติเป็นการเชื่ออย่างมีอคติ ๘.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะเห็นว่าสิ่งนั้นสอดคล้องกับแนวความคิดบางอย่างที่เราเชื่ออยู่ (มา ทิฏฐินิชฺฌาณกฺขนฺติยา) • สนั่นเป็นคนชอบดื่มไวน์ พอมีงานผลวิจัยบอกว่าดีต่อสุขภาพ เขาก็เห็นชอบและสนับสนุน (ด้วยการดื่มหนักขึ้น) • เราก็แฟนผีแดงด้วยกัน เชื่อว่าปีนี้ต้องดับเบิ้ลแชมป์ได้แชมป์พรีเมียร์และเปี้ยนลีกแน่ ตามคุณเอกราชและเซียนบอลหลายคนทำนาย (กูเชื่อตามนั้น) “กรุงเทพฯ ทราบแล้วเปลี่ยน”

  16. เป็นการเชื่อแบบตัดสินจากอาการภายนอกเป็นการเชื่อแบบตัดสินจากอาการภายนอก ๙.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะวิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีลักษณะน่าเชื่อ) “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” ( แต่ก็ไม่แน่เสมอไป) • สบู่ก้อนนี้ กลิ่นหอมดีจังน่าจะใช้ดีด้วยนะ (ใช้ที่เดียวหมดกลิ่นเลย) • คนนี้หน้าตาก็ดี พูดจาก็เพราะ ต้องเป็น คนดีแน่ๆ (คนถ่อยใส่สูท) อย่าพึงเชื่อเชื่อพวกมือถือสากปากถือศีล) -โฆษณา โรลออน “แรดยังรุมตอม (มันยังทนไม่ได้)” -โฆษณาบะหมี่สำเร็จรูป “เซ็กซี่เร่าร้อน (ชวนให้หลงไหล)”

  17. ๑๐.อย่าพึงปลงใจเชื่อเพราะถือว่าสิ่งนั้นครูหรือศาสดาของเราสอนไว้ (มา สมโณ โน ครูติ) • บางครั้งครูหรือศาสดา อาจจะสอนผิด • กาลามสูตรคือหลักการคิดเชิงวิพากษ์(Critical thinking) • การวางท่าทีที่ถูกต้องในการจะตัดสินใจเชื่ออะไรต้องทำการสังเกตตรวจสอบวิเคราะห์และพิสูจน์ข้อมูลก่อน

  18. กาลามสูตร 10 ข้อจัดได้เป็น 3 กลุ่ม 1.เรื่องการใช้เหตุผล 2.เรื่องการอ้างตำราและบุคคลที่น่าเชื่อถือ 3.เรื่องการอ้างคนส่วนมาก ระบบตรรกวิทยาของพุทธศาสนาตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎอิทัปปัจจยตา สิ่งที่พุทธศานาปฏิเสธคือการยึดมั่นในตรรกวิทยาโดยไม่พิจารณา ตรรกวิทยาแม้จะเป็นระบบการใช้เหตุผลที่น่าเชื่อถือ แต่เมื่อประยุกต์เข้ากับสิ่งต่าง ๆในโลกมันอาจจะผิดได้ (คือพยากรณ์สิ่งที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง)ก็ได้

  19. สรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า…จงอย่ายึดมั่น…สรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า…จงอย่ายึดมั่น… สรฺวมฺ ศูนฺยมฺ

  20. กระบวนวิธีคิดแบบพุทธธรรมกระบวนวิธีคิดแบบพุทธธรรม ๑.อริยมรรคมีองค์ ๘ • สัมมาทิฏฐิ • (ความรู้/ความเห็น/ความเชื่อที่ถูกต้อง) ๒.หลักโยนิโสมนสิการ ๑๐ ประการ การพิจารณา(การใส่ใจ)โดยถ่องแท้

  21. หลักโยนิโสมนสิการที่ ๑ (การคิดเชิงสาเหตุ) ๑.วิธีการพิจารณาแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัยโดยถ่องแท้ หลักคิด:สรรพสิ่งล้วนมีเหตุให้เกิด ไม่มีสิ่งใดเกิดมีขึ้นโดยบังเอิญ • สาเหตุหลักและปัจจัยประกอบ • เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

  22. หลักโยนิโสมนสิการที่๒ (การคิดเชิงวิเคราะห์) ๒. วิธีการพิจารณาแบบแยกแยะองค์ประกอบโดยถ่องแท้ • ความเข้าใจผิดมักเกิดจากภาพรวมที่เรามองเห็น • สิ่งนี้(ปรากฏการณ์นี้)มีองค์ประกอบอะไรบ้าง? • 1.... • 2.... • 3... • สิ่งมีค่า..ที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่..การมองเห็น.. • หากแต่อยู่ที่.. สิ่งที่เรา..มองไม่เห็น~

  23. หลักโยนิโสมนสิการที่๓( การคิดเชิงมโนทัศน์) ๓. วิธีการพิจารณาแบบรู้เท่าทันความจริงโดยถ่องแท้ • หลักคิด :ยอมรับกฎธรรมชาติที่ครอบคลุมสรรพสิ่ง ๓ ประการ • ๑. กฎอนิจจัง ความแปรเปลี่ยน ไม่อยู่นิ่ง • ๒. กฎทุกขัง ความขัดแย้งไม่คงทนถาวร • ๓. กฎอนัตตา ความที่สรรพสิ่งหาแก่นสารไม่ได้

  24. หลักโยนิโสมนสิการที่๔(การคิดแบบวิทยาศาสตร์)หลักโยนิโสมนสิการที่๔(การคิดแบบวิทยาศาสตร์) ๔. วิธีการพิจารณาแบบแก้ปัญหา โดยถ่องแท้ ๑.กำหนดรู้ปัญหาคืออะไร (ทุกข์) ๒. กำหนดรู้สาเหตุปัญหาอยู่ที่ไหน (สมุทัย) ๓.กำหนดรู้ว่าปัญหาแก้ได้ไหม มีกี่วิธี (นิโรธ) ๔. กำหนดรู้แนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ดีที่สุด (มรรค) • กำหนดรู้สิ่งนี้คืออะไร กำหนดรู้ว่าเป็นสิ่งที่พึงทำ กำหนดรู้ว่าได้กระทำแล้ว “ หากเราพยายามมากพอที่จะแก้ไขปัญหา เราจะพบว่าทุกปัญหาย่อมมีวิถีทางแก้ไขเสมอ"

  25. การคิดเชิงกลยุทธ์ หลักโยนิโสมนสิการที่๕ ๕. วิธีการพิจารณาแบบหลักการและความมุ่งหมายตรงกันโดยถ่องแท้ • ตั้งเป้าหมายเป็นและรู้วิธีการ • ปลูกพืชเช่นไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น • วิธีการกับเป้าหมายเป็นเอกภาพเดียวกัน วิธีการที่เลวร้ายมิอาจนำไปสู่เป้าหมายบั้นปลายที่ดีงามได้ • วิธีการคือเป้าหมายที่กำลังงอกเงยคลี่คลายตัวมันเอง(Means is the end in the process of becoming)

  26. การคิดเชิงบูรณาการ หลักโยนิโสมนสิการที่๖ ๖. วิธีการพิจารณาแบบพิจารณาคุณ-โทษและทางออกโดยถ่องแท้ • สุดโต่ง ๒ สายคือ: • การปล่อยตัวตามความรู้สึก (หย่อนเกินไป) • การตึงเครียดกับชีวิตทรมานตัวเอง (ตึงเกินไป) • ทางสายกลาง (คือทางออก) ทุกครั้งของการตัดสินใจต้องคิดอย่างรอบคอบ • การหนีจากสิ่งหนึ่งไปหาอีกสิ่งหนึ่ง (เราตัดสินใจด้วยอะไร) • ใช้แรงผลักหรือแรงจูงใจ

  27. หลักโยนิโสมนสิการที่๗หลักโยนิโสมนสิการที่๗ ๗. วิธีการพิจารณาแบบพิจารณาคุณค่าแท้-คุณค่าเทียมโดยถ่องแท้ • คุณค่าแท้คือประโยชน์อันแท้จริงเกิดจากปัญญา “ดีมานด์แท้” • เป็นการสร้างค่านิยมแบบเศรษฐกิจพอเพียง • บิล เกตส์ นั่งเครื่องบินชั้นธรรมดา ให้คุณค่าการเดินทางที่ความเร็วมากกว่าความสบาย (ถึงที่หมายพร้อมกับชั้นหนึ่ง) • คุณค่าเทียมคือสิ่งที่พอกเพิ่มอันเกิดจากตัณหา “ดีมานด์เทียม” • เป็นการสร้างค่าค่านิยมแบบวัตถุนิยม/บริโภคนิยม • ใช้หลักคิดรู้จักประมาณในการบริโภค (โภชเนมัตตัญญุตา) • อยู่ดีกินดี

  28. หลักโยนิโสมนสิการที่๘ (Positive thinking) ๘. วิธีการพิจารณาแบบปลุกเร้าคุณธรรมโดยถ่องแท้ • ความเพียรย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จ • เป็นคนควรพยายามเรื่อยไปจนกว่าจะสำเร็จ • คนย่อมล่วงทุกข์ด้วยความเพียร • คนเรามีโอกาสผิดพลาดได้แต่ต้องชนะมากกว่าแพ้ • โทมัส อัลวา เอดิสัน“ความล้มเหลวคือการทดลอง” • อเล็ก เฟอร์กูสันว่ากล่าวว่าปรัชญาทีมแมนยูฯคือ “จงยิงประตูให้ได้มากกว่าคู่แข่ง๑ ประตู”

  29. "มองให้เห็น "สิ่งดี" ใน "สิ่งเสีย"""มองให้เห็น "โอกาส" ใน "วิกฤต""คุณลักษณะเช่นนี้เราควรฝึกฝนให้เป็นนิสัย • มองเห็นข้อดีของคนที่เราเกลียดที่สำคัญคือ "มองเห็นหนทาง "การแก้ไข" ใน "ปัญหา"

  30. หลักโยนิโสมนสิการที่๙หลักโยนิโสมนสิการที่๙ ๙. วิธีการพิจารณาแบบปัจจุบันขณะโดยถ่องแท้ ชีวิตคนเรานั้นมีอยู่ชั่วขณะจิตเดียว • จงไม่ประมาทในทุกขณะของชีวิต • รู้เท่าทันความรู้สึก/ไม่ตกไปตามอำนาจของอารมณ์ • เจริญสติ/สมาธิ

  31. หลักโยนิโสมนสิการที่ ๑๐ ๑๐.วิธีการพิจารณาแบบจำแนกประเด็นโดยถ่องแท้ • การคิดและวิธีการตอบปัญหา ๔ อย่าง • ตอบแบบฟันธงหรือแบบยืนกระต่ายขาเดียว • ตอบแบบศอกกลับหรือย้อนถาม • ตอบแบบแยกแยะประเด็น • ตอบแบบนิ่งเงียบหรือไม่ตอบ

  32. วิธีฝึกการคิด 10 วิธี กรุณาจำ ๆ กันไว้หน่อย ! จะออกสอบด้วยนะ 1.วิธีการคิดเชิงวิพากษ์ คือการพยายามหาข้อบกพร่องในข้อถกเถียงนั้น ๆ หมายถึง ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่าย ๆ แต่ตั้งคำถามอย่างท้าทาย หรือโต้แย้งสมมติฐานและข้อสมมติที่อยู่เบื้องหลัง โดยพยายามเปิดแนวทางความคิดออกสู่ทางต่าง ๆ ที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้น เพื่อให้ได้คำตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่าข้อเสนอเดิม

  33. 2. วิธีการคิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนกองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น

  34. 3. วิธีการคิดเชิงสังเคราะห์ หมายถึง การคิดโดยดึงเอาองค์ประกอบต่าง ๆมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

  35. 4. วิธีการคิดเชิงเปรียบเทียบ ลูกสัตว์กับลูกคน สัตว์เดรัจฉานไม่เคยขยี้หัวใจพ่อแม่ หมายถึง การคิดโดยวิธีการเทียบเคียงความเหมือนและหรือความแตกต่างระหว่างสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิดแก้ปัญหาหรือการหาทางเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สวรรค์อยู่แทบเท้าของมารดาบิดา เจ้าจงไปสัมผัสเท้า...ไปกราบเท้า...แล้วเจ้าจะได้ขึ้นสวรรค์ (อัลกุรอาน)

  36. 5. วิธีการคิดเชิงมโนทัศน์ หมายถึง การคิดโดยการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างไม่ขัดแย้งแล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอดหรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

  37. 6. วิธีการคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดโดยการขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

  38. 7. วิธีการคิดเชิงประยุกต์ หมายถึง การคิดโดยการนำสิ่งที่มีอยู่เดิมไปปรับใช้ประโยชน์ในปริบทใหม่ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้

  39. 8. วิธีการคิดเชิงบูรณาการ หมายถึง การคิดโดยการเชื่อมโยงแนวคิดหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

  40. 9. วิธีการคิดเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การคิดโยการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไข ข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

  41. 10. วิธีการคิดเชิงวิสัยทัศน์ หมายถึง การคิดโดยการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

  42. จบบริบูรณ์ ขอให้ทุกคนโชคดีและสมปรารถนาทุกประการด้วยความเพียรอันบริสุทธิ์ ด้วยรักและห่วงใย

More Related