1 / 24

การควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสตรง

Unit 8. การควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสตรง. งาน อุตสาหกรรมบางประเภท มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง และอุปกรณ์บางชนิดที่ ใช้ไฟ กระแสตรง เมื่อโหลดเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องปรับแรงดันและกระแส ซึ่งทำให้ กำลังเปลี่ยนแปลง ด้วย ดังนั้นในงานอุตสาหกรรมนิยมใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ไปควบคุมกำลัง โดย

kamana
Download Presentation

การควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสตรง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Unit 8 การควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสตรง

  2. งานอุตสาหกรรมบางประเภท มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง และอุปกรณ์บางชนิดที่ใช้ไฟกระแสตรง เมื่อโหลดเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องปรับแรงดันและกระแส ซึ่งทำให้กำลังเปลี่ยนแปลงด้วย ดังนั้นในงานอุตสาหกรรมนิยมใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ไปควบคุมกำลัง โดย อุปกรณ์ที่นิยมใช้คือ เอสซีอาร์

  3. 1. เอสซีอาร์ เอสซีอาร์(Silicon Controlled Rectifier) คือ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มี 3 รอยต่อ มีขั้ว 3 ขั้วคือแอโนด(A) แคโทด(K) และเกต(G) เอสซีอาร์จะนำกระแสได้เมื่อแรงดันที่แอโนดเป็นบวกมากกว่าแคโทด และมีการกระตุ้นกระแสที่เกต (IG) โดยจ่ายแรงดันวกที่เกตให้มีกระแสไหลเข้าสู่ขาเกตของแอสซีอาร์ จะทำให้เอสซีอาร์นำกระแสได้ จะเกิดกระแสไหลผ่านระหว่างขั้วแอโนดสู่ขั้วขั้วแคโทดของเอสซีอาร์ โครงสร้างของเอสซีอาร์ ดังรูปที่ 1 ก

  4. รูปที่ 1 โครงสร้างภายในและสัญลักษณ์ สัญลักษณ์ของเอสซีอาร์ ดังรูปที่ 1 ข การนำเอสซีอาร์ไปใช้งาน เช่น วงจรเนียงกระแสที่ควบคุมแรงดันได้ ควบคุมความเร็วมอเตอร์ ควบคุมความสว่างของหลอดไฟฟ้า ควบคุมปริมาณความร้อนของลวดความร้อน เป็นต้น

  5. วงจรสมมูลของเอสซีอาร์วงจรสมมูลของเอสซีอาร์ วงจรสมมูลของเอสซีอาร์เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างของชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำทั้ง 4 ชิ้นที่ต่อกันทำให้เกิดรอยต่อ 3 รอยต่อแล้ว จะพบว่าที่แอโนดของเอสซีอาร์คล้ายทรานซิสเตอร์ชนิดpnp ดังรูปที่ 2 และที่แคโทด เปรียบเทียบมีทรานซิสเตอร์ชนิด npnโดยที่คอลเล็กเตอร์ของ pnpต่อกับเบสของ npnต่อออกเป็นขั้วเกตของเกตเอสซีอาร์ ดังรูปที่ 2

  6. รูปที่ 2 วงจรสมมูลของเอสซีอาร์

  7. เมื่อพิจารณาในรูปที่ 2 ลักษณะการทำงาน คล้ายกับทรานซิสเตอร์ 2 ตัวต่อกัน ดังนั้นเมื่อป้อนกระแสที่เกตทำให้ทรานซิสเตอร์ทั้ง 2 ตัวเริ่มนำกระแสดังนั้น กระแสที่แอโนดที่ทรานซิสเตอร์pnpจะไหลขั้วสู่แคโทดที่ทรานซิสเตอร์ npnเมื่อหยุดจ่ายกระแสเกตทรานซิสเตอร์ยังคงนำกระแสได้ดังรูปที่ 3

  8. ic1 = α1i + ICO1 = iB2 ic2 = α2i + ICO2 = iB1 แต่ผลรวมของ ic1 + ic2 มีค่าเท่ากับกระแส I ic1 + ic2 = I ดังนั้นผลรวมที่ได้คือ i(α1+ α2) + ICO1 + ICO2 = I i= (ICO1 + ICO2)/(1 - (α1+ α2))

  9. รูปที่ 3 การนำกระแสของเอสซีอาร์

  10. 2. การทำงานของเอสซีอาร์ รูปที่ 4 กระบวนการจุดชนวนให้เอสซีอาร์นำกระแส

  11. การป้อนกระแสเกตให้เอสซีอาร์ เรียกว่า การจุดชนวน(Triggering) เมื่อจุดชนวนให้เอสซีอาร์นำกระแสได้แล้วไม่จำเป็นต้องคงค่ากระแส(IG) ไว้ตลอดไป สามารถลดค่ากระแสเกตให้เป็นศูนย์ได้(IG = 0) โดยที่เอสซีอาร์ยังคงนำกระแสได้ เพราะ IB2 จะไหลมาจากคอลเลกเตอร์pnp นำกระแส เอสวีอาร์ยังคงนำกระแสได้ ดังรูปที่ 4 ค

  12. รูปที่ 5 กราฟคุณสมบัติของเอสซีอาร์

  13. 3. การทำให้เอสซีอาร์หยุดนำกระแส หลักการทำให้เอสซีอาร์หยุดการนำกระแสคือ ลดกระแสที่ผ่านแอโนดให้ต่ำกว่ากระแสโฮลดิ่ง(IH) เทคนิคต่าง ๆ ที่จะใช้หยุดนำกระแสของเอสซีอาร์มีหลายวิธี แต่สามารถอธิบายได้ 2หลักการคือ

  14. 3.1 การหยุดนำกระแสด้วยวิธี Line Commutation คือการใช้เอสซีอาร์กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ เมื่อกระแสไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายลดลงเป็นศูนย์ จะทำให้เอสซีอาร์หยุดนำกระแสโดย ธรรมชาติ วิธีนี้เรียกว่า การสับเปลี่ยนแบบธรรมชาติ (Natural Commutation) ดังรูปที่ 6

  15. รูปที่ 6 วิธีการหยุดนำกระแสของเอสซีอาร์โดยธรรมชาติ

  16. 3.2 การหยุดนำกระแสด้วยวิธีบังคับ Force Commutation คือ การใช้เทคนิคต่อกระแสหรือแรงดันไปบังคับการไบอัสเอสซีอาร์ เพื่อให้กระแสแอโนดลดลงให้น้อยกว่ากระแสโฮลดิ้ง ดังรูปที่7

  17. รูปที่ 7 วิธีการหยุดนำกระแสของเอสซีอาร์โดยการบังคับ

  18. ค่าคุณลักษณะและค่าพิกัดของเอสซีอาร์ค่าคุณลักษณะและค่าพิกัดของเอสซีอาร์ ค่าพิกัดและค่าคุณลักษณะของเอสซีอาร์ที่สำคัญและค่าที่ควรทราบ คือ 1.Forward breakover Voltage, VBR(F)คือแรงดันไบอัสตรงที่จ่ายให้เอสซีอาร์และสามารถทำให้เอสซีอาร์นำกระแสได้โดยไม่มีสัญญาณกระตุ้นเกต(IG = 0)

  19. 2.Holding Current, IH เมื่อเอสซีอาร์นำกระแส มีกระแสแอโนดไหลผ่านขั้วแอโนดและแคโทด ถ้าปริมาณกระแสแอโนดต่ำกว่าค่ากระแส IH จะทำให้เอสซีอาร์หยุดนำกระแส(OFF) 3.Gate Trigger Current, IGT คือปริมาณกระแสจ่ายให้กับเอสซีอาร์และทำให้เอสซีอาร์นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสตรง โดยเอสซีอาร์ไม่พัง

  20. 4.Average Forward Current, IF(AVG) คือปริมาณกระแสแอโนดเฉลี่ย(DC Current) ที่ไหลผ่านเอสซีอาร์ตามปกติ ไม่ทำให้เอสซีอาร์เสียหาย 5.Reverse-breakdown Voltage, VBD(R) คือค่าแรงดันไบอัสกลับที่ป้อนให้แอโนดและแคโทดของเอสซีอาร์และทำให้เอสซีอาร์นำกระแสได้โดยไม่ต้องมีสัญญาณกระตุ้นเกต

  21. 4.การนำเอสซีอาร์ไปใช้งาน4.การนำเอสซีอาร์ไปใช้งาน โดยทั่วไปนิยมนำๆไปใช้ในงานด้านควบคุมกำลังไฟฟ้า(Power Control) และการทำงานเป็นสวิตซ์ เช่น วงจรควบคุมการเปิดปิด, วงจรเรียงกระแสและวงจรควบคุมความร้อน ดังรูปที่ 8

  22. รูปที่ 8 การประยุกต์เอสซีอาร์เป็นวงจรต่าง ๆ

  23. การควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสตรง ดังรูปที่ 9 เมื่อ เอสซีอาร์สถานะ ไม่นำกระแส จะทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมโหลดเป็นศูนย์ และสถานะ นำกระแส จะทำให้แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมโหลดทำให้กำลังเป็นเปลี่ยน รูปที่ 9 การควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสตรง

  24. งานบางประเภท ใช้เอสซีอาร์เป็นตัวควบคุมกำลัง เช่น วงจรชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง ดังรูปที่ 10 รูปที่ 10 วงจรชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง

More Related