1 / 30

Operators

Operators. กนกวรรธน์ เซี่ยงเจ็น สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา. ตัวดำเนินการ (Operators). Assignment Operator Arithmetic Operators Comparison Operators Logical (Bitwise) Operators String Operator สรุป. Assignment Operator.

Download Presentation

Operators

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Operators กนกวรรธน์ เซี่ยงเจ็น สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา

  2. ตัวดำเนินการ (Operators) • Assignment Operator • Arithmetic Operators • Comparison Operators • Logical (Bitwise) Operators • String Operator • สรุป

  3. Assignment Operator • เป็นการกำหนดค่าทางขวามือ มาจัดเก็บในตัวแปรทางซ้ายมือโดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ “=” 100 A A =100 B =2 C =A + B D =A ^ B B 2 C 102 10000 D

  4. Arithmetic Operators • ได้แก่กลุ่มของตัวดำเนินการที่ใช้ในการคำนวณ อันประกอบด้วย ตัวดำเนินการต่างดังแสดงในตารางหน้าถัดไป

  5. Arithmetic Operators(ต่อ)

  6. Arithmetic Operators(ต่อ)

  7. Arithmetic Operators(ต่อ)

  8. ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ • ในการคำนวณ นิสิตต้องพิจารณาความสำคัญของตัวดำเนินการในแต่ละตัว เพื่อที่จะสามารถแสดงลำดับการประมวลผลได้อย่างถูกต้องเรายังสามารถใช้ฟังก์ชันของ Class Mathสำหรับคำนวณได้อีกด้วย • การประมวลผลกรณีมีลำดับความสำคัญเท่ากันจะพิจารณาจากลำดับของตัวดำเนินการที่เท่ากันโดยทำจากซ้ายไปขวา(เฉพาะตัวดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญเท่ากัน)

  9. ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ (ต่อ)

  10. ตัวอย่าง: ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ • A = 10; B = 2; C = 3; D = 4; • A + B * C / D • 10 + 2 * 3 / 4(คูณกับหารมีระดับเดียวกันทำจากซ้าย -> ขวา) • 10 + 6 / 4 (หารมีระดับสูงกว่าบวก ดังนั้นทำการหารก่อน) • 10 + 1.5(ทำการบวก) • 11.5 (ผลลัพธ์ที่ได้จากการบวก)

  11. ตัวอย่าง: ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ • A = 10; B = 2; C = 3; D = 4; • A*B ^ C + D * B • 10 * 2 ^ 3 + 4 * 2 (ยกกำลังมีระดับสูงสุดทำก่อน) • 10 * 8 + 4 * 2 (คูณมีระดับเท่ากันทำจากซ้าย -> ขวา) • 80 + 4 * 2(คูณมีระดับสูงกว่าบวกทำคูณก่อน) • 80 + 8(ทำการบวก) • 88 (ผลลัพธ์ที่ได้จากการบวก)

  12. Comparison Operators • ได้แก่กลุ่มของตัวดำเนินการ ที่ใช้เปรียบเทียบค่าของตัวแปร หรือประโยคคำสั่งตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าเป็น จริง (True)หรือ เท็จ(False)อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังแสดงในตัวอย่างหน้าถัดไป

  13. Comparison Operators(ต่อ)

  14. Logical (Bitwise) Operators • ได้แก่ กลุ่มของตัวดำเนินการที่นำเอาค่าจริง(True)หรือ เท็จ(False)ของแต่ละประโยคคำสั่งมาเปรียบเทียบเพื่อสรุปผลว่าสุดท้ายแล้ว กลุ่มของตัวดำเนินการข้างต้นจะมีผลลัพธ์เป็น จริง(True) หรือ เท็จ(False)

  15. Logical (Bitwise) Operators

  16. Not • ผลลัพธ์ที่ได้จะตรงข้ามกับค่าของประโยคเสมอ ตัวอย่าง: A = True; B = False; C = Not(A) = False D = Not(B) = True

  17. And • เป็นจริงก็ต่อเมื่อค่าของประโยคเป็นจริงทั้งหมด นอกจากนั้นเป็น เท็จ

  18. Or • เป็นเท็จก็ต่อเมื่อค่าของประโยคเป็นเท็จทั้งหมด นอกจากนั้นเป็น จริง

  19. Xor • เป็นเท็จก็ต่อเมื่อค่าของ 2 ประโยคเหมือนกันทั้งหมด นอกจากนั้นเป็น จริง

  20. AndAlso • ถ้าค่าในประโยคแรกมีค่าเป็นเท็จ แล้วผลที่ได้จะเป็นเท็จเสมอ

  21. AndAlso • คำถาม:AndAlsoมีความแตกต่างจาก Andธรรมดา ตรงไหน? • คำตอบ:AndAlsoกับ Andมีการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่ AndAlsoมีข้อดี คือ ในกรณีที่มีการวนรอบจำนวนมาก การเปรียบเทียบเงื่อนไข 2 เงื่อนไขจะทำให้โปรแกรมช้าลง ถ้าเราใช้ Andธรรมดา ก็จะพบว่า ถ้ามีเงื่อนไขใด เงื่อนไขหนึ่งเป็น เท็จที่เหลือก็จะเป็นเท็จ แต่ในคอมพิวเตอร์แทนที่เมื่อเจอเงื่อนไขที่ 1 เป็นเท็จแล้ว คอมพิวเตอร์ก็ยังคงตรวจสอบเงื่อนไขที่ 2 ต่อไป (ได้ผลลัพธ์จริงหรือเท็จ) ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายก็จะได้เท็จอยู่ดี ทำให้เสียเวลาในการประมวลผลมากขึ้น • ดังนั้น กรณีที่มี 2 เงื่อนไข นิสิตสามารถใช้ AndAlsoโดยเขียนเงื่อนไขที่ 1 เป็นเงื่อนไขที่มีโอกาสเป็นเท็จบ่อยๆ เพราะว่าเมื่อเงื่อนไขที่ 1 เป็นเท็จ เงื่อนไขที่ 2 จะมีค่าความจริงอย่างไร ก็ให้ผลลัพธ์เป็นเท็จ เช่นกัน

  22. AndAlso • คำถาม: ถ้าเราเปรียบเทียบมากกว่า 2 เงื่อนไข AndAlsoจะมีผลหรือไม่? • คำตอบ: กรณีที่เงื่อนไขเป็น AndAlsoทั้งหมดก็จะมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่ถ้ามี Orหรือ OrElse ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้อาจแตกต่างไป

  23. OrElse • ถ้าค่าในประโยคแรกมีค่าเป็นจริง แล้วผลที่ได้จะเป็น จริง เสมอ

  24. OrElse • คำถาม:OrElseมีความแตกต่างจาก Orธรรมดา ตรงไหน? • คำตอบ:OrElseกับ Orมีการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่ OrElseมีข้อดี คือ ในกรณีที่มีการวนรอบจำนวนมาก การเปรียบเทียบเงื่อนไข 2 เงื่อนไขจะทำให้โปรแกรมช้าลง ถ้าเราใช้ Orธรรมดา ก็จะพบว่า ถ้ามีเงื่อนไขใด เงื่อนไขหนึ่งเป็นจริงที่เหลือก็จะเป็นจริง แต่ในคอมพิวเตอร์แทนที่เมื่อเจอเงื่อนไขที่ 1 เป็นจริงแล้ว คอมพิวเตอร์ก็ยังคงตรวจสอบเงื่อนไขที่ 2 ต่อไป (ได้ผลลัพธ์จริงหรือเท็จ) ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายก็จะได้จริงอยู่ดี ทำให้เสียเวลาในการประมวลผลมากขึ้น • ดังนั้น กรณีที่มี 2 เงื่อนไข นิสิตสามารถใช้ OrElseโดยเขียนเงื่อนไขที่ 1 เป็นเงื่อนไขที่มีโอกาสเป็นจริงบ่อยๆ เพราะว่าเมื่อเงื่อนไขที่ 1 เป็นจริง เงื่อนไขที่ 2 จะมีค่าความจริงอย่างไร ก็ให้ผลลัพธ์เป็นจริง เช่นกัน

  25. OrElse • คำถาม: ถ้าเราเปรียบเทียบมากกว่า 2 เงื่อนไข OrElseจะมีผลหรือไม่? • คำตอบ: กรณีที่เงื่อนไขเป็น OrElseทั้งหมดก็จะมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่ถ้ามี Andหรือ AndAlso ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้อาจแตกต่างไป

  26. String Operator • ได้แก่ตัวดำเนินการ &เพื่อใช้ในการต่อข้อความเข้าด้วยกัน ตัวอย่าง: A = “Hello” B = “World” C = A & “, ” & B ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงข้อความ “Hello, World”

  27. String Operator • Operatorนี้ เป็นตัวดำเนินการที่สำคัญ ในการนำไปใช้กับฐานข้อมูล (ADO.NET)โดยนำไปใช้เกี่ยวกับการสร้างชุดคำสั่ง SQLซึ่งเป็นหัวใจของการใช้งานฐานข้อมูลต่อไป

  28. String Operator DimStudent_IDAs Integer DimsqlStudentAs String Student_ID = 50280007 sqlStudent = “SELECT * FROM STUDENT ” sqlStudent = sqlStudent& “ WHERE STUDENT_ID = ” sqlStudent = sqlStudent&Student_ID ผลลัพธ์ที่ได้คือsqlStudent จะจัดเก็บคำสั่งSQL ดังนี้ “SELECT * FROM STUDENT WHERE STUDENT_ID = 50280007”

  29. สรุป • การพัฒนาโปรแกรม จำเป็นต้องมีการประมวลผลตัวแปร (Variable)ต่างๆ โดยใช้ ตัวดำเนินการ (Operator)ในการประมวลผล โดยที่นิสิตจะต้องเลือกใช้ตัวดำเนินการที่เหมาะสม กับการประมวลผลนั้น ๆ เช่น • การกำหนดค่าทางขวาส่งให้ตัวแปรทางซ้ายจะใช้ Assignment Operator (=) • การตัดสินใจเปรียบเทียบว่า เท่ากันหรือไม่ ต้องใช้ Comparison Operator (=)

  30. สรุป • ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นิสิตต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานตัวดำเนินการ (Operator)ให้ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม

More Related