1 / 23

โครงสร้างภาษีประเทศไทย

โครงสร้างภาษีประเทศไทย. ความท้าทายที่มีต่อโครงภาษีของประเทศไทย. กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศไทย แนวคิดในการปฏิรูประบบภาษีอากรของประเทศไทย. ประเทศไทยได้เติบโตพ้นความเป็นประเทศที่ยากจนและล้าหลังแล้ว

karl
Download Presentation

โครงสร้างภาษีประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงสร้างภาษีประเทศไทยโครงสร้างภาษีประเทศไทย

  2. ความท้าทายที่มีต่อโครงภาษีของประเทศไทยความท้าทายที่มีต่อโครงภาษีของประเทศไทย • กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก • กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศไทย • แนวคิดในการปฏิรูประบบภาษีอากรของประเทศไทย

  3. ประเทศไทยได้เติบโตพ้นความเป็นประเทศที่ยากจนและล้าหลังแล้วประเทศไทยได้เติบโตพ้นความเป็นประเทศที่ยากจนและล้าหลังแล้ว • ภาคอุตสาหกรรมมีขนาดใหญ่กว่าภาคเกษตรโดยเด็ดขาด 3. ความเปิดประเทศมีมากขึ้น 4. เศรษฐกิจภาคทันสมัยกำลังเติบใหญ่และเศรษฐกิจภาคดังเดิมกำลังหดลง 5. โครงสร้างอายุของประชากรกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่สังคมไทยกำลังย่างเข้าสู่วัยชรา • ความตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนกำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวางรัฐธรรมนูญได้บัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน 7.นโยบายประชานิยมของฝ่ายการเมือง และบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกำลังทำให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการมากขึ้น 8. การกระจายอำนาจรัฐสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลกระทบถึงโครงสร้างอำนาจรัฐและระบบราชการไทย 9. กระแสในเรื่องธรรมาภิบาล ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

  4. โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 • รายได้ของรัฐบาลไทยส่วนใหญ่มาจากรายได้จากภาษีอากรคือประมาณร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด • รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากรมีสัดส่วนค่อนข้างน้อยคือประมาณร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด

  5. โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 • รายได้จากภาษีอากรจำแนกเป็น 2 ประเภทหลัก: • ภาษีทางตรง (Direct Taxes)ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้หรือทรัพย์สิน • ภาษีทางอ้อม (Indirect Taxes)ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตมักจะผลักภาระภาษีไปสู่ผู้บริโภค หากเป็นไปได้

  6. โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2533-2552 • รายได้ของรัฐบาลในช่วงปี 2533-2552 เพิ่มขึ้นหกเท่าตัว คือเพิ่มขึ้นจาก 404,939 ล้านบาท เป็น 1,684,297 ล้านบาท • นอกจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของรัฐบาลแล้ว โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลยังมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

  7. โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2533-2552 1. สัดส่วนของรายได้ จากรายได้ที่มาจากภาษีอากรต่อรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก 2. ภาษีทางตรงมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับจากสัดส่วนร้อยละ 28ในปี 2533 เป็นร้อยละ 45.1 ในปี 2552 โดยที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากคือจากร้อยละ 11 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 24 ในปี 2548 ซึ่งเป็นการขยายตัวตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยลดต่ำลงในช่วงปี 2551-2552 แต่โดยเฉลี่ยเพิ่มร้อยละ 12 ต่อปีในช่วง 2533-2552

  8. โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 3. ภาษีทางอ้อม มีบทบาทลดลงตามลำดับ จากสัดส่วนร้อยละ 70 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 52 ในปี 2552 4. ภาษีการขายทั่วไป มีการยกเลิกภาษีการค้าในปี 2535 และมีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาจัดเก็บแทน 5. ภาษีสรรพสามิต สัดส่วนรายได้จากภาษียาสูบ ภาษีน้ำมัน และภาษีสุราลดลง ในขณะที่สัดส่วนรายได้จากภาษีเบียร์เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชากร

  9. โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 6. มีการอนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ได้โดยเสรี ตามนโยบายภาษีของรัฐบาลอานันท์ แต่ได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากรถยนต์นั่ง และจากสินค้าบริโภคที่มีราคาแพง 7. รายได้จากภาษีสรรพสามิตอีกแหล่งหนึ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในปัจจุบัน ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 1 คือภาษีการโทรคมนาคม 8. สัดส่วนรายได้ที่มาจากอากรนำเข้าและส่งออกลดลงเป็นลำดับจากร้อยละ 23 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 5.2ในปี 2552 เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีการนำเข้าและส่งออก

  10. โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 9. ภาษีจากทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบันได้จัดสรรไปให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทนการเป็นรายได้ของรัฐบาลโดยรัฐบาลกำลังเสนอภาษีใหม่ที่จัดเก็บจากทรัพย์สินให้แก่ อปท. แทนภาษีเดิม

  11. การวิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบภาษีการวิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบภาษี • ดัชนีความเข้มข้น Concentration Index • ดัชนีการกระจาย Dispersion Index • ดัชนี Erosion Index • ดัชนีความล่าช้าในการจัดเก็บ Collection Lags Index • ดัชนีความจำเพาะ Specificity Index • Objective Index • ดัชนีการบังคับEnforcement Index • ดัชนีต้นทุนในการจัดเก็บ Cost-of-Collection Index ที่มา: VitoTanzi, Fiscal policy for Emerging Countries, Chapter 10

  12. ดัชนีความเข้มข้น Concentration Index • ระบบภาษีที่ดีรายได้ส่วนใหญ่ควรมาจากภาษีไม่มากประเภท และไม่มากอัตรา • ทำให้มีความโปร่งใสและจัดการได้ง่าย • กำหนดและประสานนโยบายภาษีได้ง่ายกว่าการที่มีภาษีหลายชนิด • การที่มีหลายอัตราอาจเหมือนการเป็นภาษีต่างชนิดกัน

  13. ดัชนีการกระจาย Dispersion Index • การไม่มีภาษีที่เก็บเล็กเก็บน้อยต่ำ (low-yielding Taxes หรือ Nuisance Taxes) • ผู้เสียภาษีรู้สึกมีต้นทุนสูงในการรับภาระภาษีหลายชนิด แม้ว่าอัตราภาษีไม่มากก็ตาม • ผู้จัดเก็บมีต้นทุนในการบริหารมาก และอาจมากกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้ • การปฏิรูปภาษีจึงต้องลดหรือยกเลิกภาษี ที่มีลักษณะดังกล่าว หรืออัตราภาษีที่ซับซ้อนตัวอย่าง ภาษีการเดินทางออกนอกประเทศ ภาษีศุลกากรเป็นต้น • พิจารณาโดยดูจากค่าเฉลี่ยต้นทุนจัดเก็บต่อรายได้ภาษีหาก(สูง) ต่ำ แสดงว่า(ไม่)เหมาะสม

  14. ดัชนี Erosion Index • ปัญหาจากการที่มีระเบียบข้อยกเว้น ลดหย่อนของภาษีที่ทำให้เก็บได้ไม่ถึง potential • การที่มีดัชนีนี้สูงบางประเทศเลือกออกภาษีหลายชนิดมากขึ้น ซึ่งทำให้สถานะโครงสร้างภาษีแย่ลง • ตัวอย่างภาษีนำเข้าเก็บได้เพียงบางส่วนของมูลค่านำเข้าทั้งหมด หรือภาษีการบริโภคเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยของมูลค่าการบริโภคทั้งหมด • สาเหตุมาจากการที่มีอัตราภาษีสูงมากเกินไป จึงทำให้มีข้อยกเว้นมากตามไปด้วย

  15. ดัชนีความล่าช้าในการจัดเก็บ Collection Lags Index • คือความล่าช้าในการจัดเก็บภาษี • อาจเนื่องจากการยินยอมให้มีการยกเว้นหรือลดหย่อนมากมาใช้ในการคำนวณภาษี หรือ • การที่ผู้เสียภาษีหลบเลี่ยงไม่ยอมชำระ และการบังคับลงโทษไม่รุนแรงพอให้เข้าสู่ระบบการเสียภาษี • มีผลให้สัดส่วนภาษีต่อ GDP อ่อนไหวต่อเงินเฟ้อ (น้อยลงเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูง และสัดส่วนสูงขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อต่ำ)

  16. ดัชนีความจำเพาะ Specificity Index • การที่ภาษีขึ้นกับภาษีต่อหน่วย (Specific taxes) เพราะสาเหตุคือ • ภาษี Ad Valorem มีอัตราสูงทำให้การหลีกเลี่ยงมากขึ้น • ภาษีต่อหน่วยทำให้การแจ้งมูลค่าต่ำกว่าจริงไม่จำเป็น รัฐบาลจึงสามารถคาดการผลของนโยบายได้ดีขึ้น • ประโยชน์ต่อการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ เพราะไม่ต้องกังวลถึงมูลค่าของการนำเข้า

  17. Objective Index • การพิจารณาภาษีตามวัตถุประสงค์ของภาษีนั้นๆ เช่นภาษีเงินได้เพื่อการวัดมูลค่ารายได้ ภาษีการบริโภคควรสะท้อนมูลค่าการบริโภค เป็นต้น • ผลทำให้สามารถรู้ผลกระทบของภาษีที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ • พยายามอย่าใช้ภาษีหนึ่งๆ เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย

  18. ดัชนีการบังคับEnforcement Index • การยอมรับภาษีที่แสดงการยินยอมจ่ายภาษีควรมีสูง อาจดูได้จากความแตกต่างระหว่างผลตามระบบภาษีที่เป็นกฎหมาย (statutory) กับ (effective) เช่นผู้จ่าย (รับภาระ) ตามกฎหมายกับผู้รับภาระแท้จริง หากแตกต่างกันมากอาจทำให้ไม่รู้ภาระภาษีที่แท้จริงว่าตกกับผู้ใด • ต้องพิจารณาบทลงโทษ และต้นทุนการบริหารจัดการควบคู่ไปด้วย

  19. ดัชนีต้นทุนในการจัดเก็บ Cost-of-Collection Index • ต้นทุนในการจัดเก็บภาษีควรที่จะต้องต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้ • การคิดว่าภาษีใดมีความเหมาะสมในประเด็นนี้ต้องคำนึงโครงสร้างของภาษีด้วยว่าแตกต่างกันอย่างไร วิธีการจัดเก็บ ความยุ่งยากในการประเมิน ความแตกต่างในกลุ่มผู้รับภาระภาษี ระดับการพัฒนา และการศึกษาของผู้เสียภาษี ฯลฯ ก่อนจะทำการเปรียบเทียบกันระหว่างประเภทของภาษี

  20. การวิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบภาษีการวิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบภาษี • ดัชนีความเข้มข้น Concentration Index (สูง) • ดัชนีการกระจาย Dispersion Index (ต่ำ) • ดัชนี Erosion Index (ต่ำ) • ดัชนีความล่าช้าในการจัดเก็บ Collection Lags Index (ต่ำ) • ดัชนีความจำเพาะ Specificity Index (สูง) • Objective Index (สูง) • ดัชนีการบังคับEnforcement Index (เหมาะสม) • ดัชนีต้นทุนในการจัดเก็บ Cost-of-Collection Index (ต่ำ)

More Related