1 / 51

งานปฏิบัติการฐานข้อมูลเรื่อง

งานปฏิบัติการฐานข้อมูลเรื่อง. พันธุ์ปลาในโรงเรือนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. คณะ เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี. ชนิดของพันธุ์ปลา. ปลาหมอสี. ปลาเทวดา. ปลาตะเพียน. ปลาทอง. ปลานิล. ปลาคาร์ฟ. ปลาลายเสือ. ปลาสลิด. ปลาหมอไทย. ปลาหางนกยูง. ปลาทอง. ลักษณะ.

kele
Download Presentation

งานปฏิบัติการฐานข้อมูลเรื่อง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. งานปฏิบัติการฐานข้อมูลเรื่องงานปฏิบัติการฐานข้อมูลเรื่อง พันธุ์ปลาในโรงเรือนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะ เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี

  2. ชนิดของพันธุ์ปลา ปลาหมอสี ปลาเทวดา ปลาตะเพียน ปลาทอง ปลานิล ปลาคาร์ฟ ปลาลายเสือ ปลาสลิด ปลาหมอไทย ปลาหางนกยูง

  3. ปลาทอง ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  4. ลักษณะ .ปลาทองที่มีลักษณะหางสองแฉกเหมือนปลาไน เรียกว่าหางซิว Single tail .ปลาทองที่มีหางเป็นแฉกและครีบแยกจากกันตามแนวบนของครีบหาง เรียกว่า หางสี่ หรือหางผีเสื้อ  Double tail  .ปลาทองที่มีครีบหางคล้ายหางผีเสื้อแต่ครีบด้านบนติดกันนั้น เรียกว่าเวบเทล Wab tail  .ปลาทองที่มีครีบหางด้านบนมีอันเดียวและครีบด้านล่างมีสองแฉก เรียกว่า หางสาม Tripod tail  ปลาทองที่มีหางเป็นแฉกอย่างถูกต้องแล้วจำเป็นที่จะต้องมีครีทวารประกอบด้วย ( ครีบที่อยู่ด้านใต้ครีบหางเหนือรูทวาร )และจะต้องมีครีบทวารที่แยกออกจากกัน และถ้าไม่มีครีบทวารเลยถือว่าปลาทองนั้นไม่สมบูรณ์

  5. พันธุ์ปลาทองที่ได้รับความนิยมในตลาดปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์หัวสิงห์ (Lion head) ออแรนดา (Oranda) เกล็ดแก้ว (Pearl scale) ตาโปน (Telescope eye) ริวกิ้น (Ryukin) ตาลูกโป่ง (Bubble eye) ชูบุงกิ้น (Shubunkin) เป็นต้น

  6. ถิ่นกำเนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garassius auratus (Linn.) ถิ่นกำเนิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และได้มีกนำเข้ามาเพาะขยายพันธุ์ในประเทศไทยจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

  7. การขยายพันธุ์ • การเพาะพันธุ์ปลาทองที่ง่ายและประหยัด คือ การใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยการปล่อยให้พ่อแม่ปลารัดกันเองในบ่อผสมพันธุ์ ซึ่งมีขั้นตอนการเพาะพันธุ์ ดังนี้การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์เนื่องจากไข่ปลาทองเป็นไข่ติดจึงต้องเตรียมวัสดุยึดเกาะ วัสดุดังกล่าวเรียกว่า รังเทียม ได้แก่ การนำพันธุ์ไม้น้ำ เช่นสาหร่ายฉัตร สาหร่ายหางกระรอก มามัดรวมกันเป็นกำ กำละ 10-15 ต้น หรือ

  8. หรือใช้ใบผักตบชวาที่มีรากยาว นำไปใส่ไว้ในบ่อเพาะพันธุ์ให้กระจายทั่วผิวน้ำ นอกจากนี้อาจใช้เชือกฟางซึ่งตัดให้ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ฉีกให้เป็นฝอยมัดตรงกลางจะได้รังเทียม นำไปใส่ไว้ในบ่อเพาะพันธุ์ให้กระจายทั่วผิวน้ำ การใส่รังเทียมลงไปในบ่อเพาะจะเป็นการกระตุ้นให้แม่ปลาวางไข่ นอกจากนี้ในบ่อเพาะพันธุ์ต้องมีการเพิ่มออกซิเจนตลอดเวลา ปลาตัวเมียจะปล่อยไข่เป็นระยะ ๆ ในเวลาเดียวกันนั้นปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมแล้วไข่กระจายติดกับรังเทียม แม่ปลาจะวางไข่ครั้งละประมาณ 500-1,000 ฟอง วิธีการตรวจสอบอย่างง่าย ๆ ก็คือ หลังจากใส่รังเทียมในตอนเย็น จะสามารถตรวจสอบการวางไข่ในตอนเช้า หากพบว่ามีการ

  9. เมื่อปลาทองวางไข่จึงเก็บรังเทียมไปฟักในถังฟักไข่ ปลาทองสามารถวางไข่ได้ทั้งปี ดังนั้นจึงควรใส่รังเทียมลงไปทุกอาทิตย์ นอกจากนี้แม่ปลาทองจะวางไข่มากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งปลามีการผสมพันธุ์วางไข่ได้ทั้งวันในช่วงนี้ จึงต้องนำรังเทียมไปเติมในบ่อและเก็บไข่ไปฟักเป็นระยะ

  10. ปลาหมอสี ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  11. ลักษณะ • ลักษณะนิสัยของปลาหมอสีปลาหมอสีเป็นปลาที่จัดได้ว่าค่อนข้างรักถิ่น หวงที่อยู่ ดังนั้นจึงมีความก้าวร้าวอยู่พอสมควร และถ้าหากมีปลาตัว อื่นหลงเข้าไปในถิ่นหรือที่ที่ปลาหมอสีได้สร้างอาณาจักรเอาไว้ก็จะโดนไล่กัดทันที และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สร้าง ปัญหาให้กับผู้เลี้ยงมือใหม่อยู่ไม่น้อย

  12. ถิ่นกำเนิด • มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทวีปแอฟริกาอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ มีรูปร่างลักษณะที่โดดเด่น ก็คือสีสันและลวดลายหลากสีสดใสสวยงามมากแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ซึ่งมีมากมายหลายสายพันธุ์ แต่สามารถแบ่งได้ตามลักษณะและตามแหล่งกำเนิดของปลาหมอสีได้ เช่น ปลาหมอสีที่มีถิ่นกำเนิดจากทะเลสาบมาลาวี ทะเลสาบวิกตอเรีย และทะเลสาบแทงกานยิกา

  13. การขยายพันธุ์ • เราควรคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เสียก่อน ปลาหมอสีตัวเมียหากจะดูตามลักษณะของอวัยวะเพศ นั้นค่อนข้างยาก แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่าจะสังเกตุเห็นว่าปลาหมอสีบางพันธุ์ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่ และบางพันธุ์ตัวผู้จะมีสีสด ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดกว่าพ่อแม่พันธุ์ที่ดีต้องเป็นปลาที่สมบูรณ์ ว่ายน้ำว่างไว ปราดเปรียว ที่สำคัญจะต้องเป็นปลาที่ไม่ผ่านการเร่งสีหรือย้อมสีมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

  14. สถานที่ที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาหมอสีควรใช้ตู้กระจกขนาด 36 นิ้ว เพราะสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของแม่ปลาไดด้ง่าย ทาสีตู้ทั้ง 3 ด้านเพื่อป้องกันปลาตื่นตกใจ เมื่อเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และสถานที่เรียบร้อย จึงป่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตราส่วนพ่อพันธุ์ 1 ตัวแต่แม่พันธุ์ 5 ตัว ซึ่งตู้ขนาด 36 นิ้ว สามารถปล่อยพ่อพันธุได้ 3 ตัวและแม่พันธุ์ได้ถึง 15 ตัว โดยตัวผู้จะไล่จับคู่กับตัวเมียเอง

  15. ปลาเทวดา ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  16. ลักษณะ • ปลาเทวดา (Angel fish) • ชื่อสามัญรียกชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum ในวงศ์ปลาหมอสี(Cichlidae) มีรูปร่างโดยรวมเป็นรูสี่เหลี่ยมรูปว่าวลำตัวแบนข้างมาก มีปากขนาดเล็ก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหลังบานยาวออกมาจากลำตัว ครีบท้องมีอยู่หนึ่งคู่เรียวเล็กและปลายชี้แหลม พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในทวีปอเมริกาใต้และลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง โดยนิยมอยู่เป็นฝูงในถิ่นที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพน้ำมีควาเป็นกรดประมาณ 5-5.5

  17. ถิ่นกำเนิด • มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่อเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำโอริโนโก ลุ่มน้ำอเมซอล เป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในน้ำนิ่งที่มีต้นไม้ขึ้นระเกะระกะ มีรากไม้ห้อยระโยงระยาง พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโดทวอเมีริกาใต้และลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง โดยนิยมอยู่เป็นฝูงในถิ่นที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพน้ำมีความเป็นกรดประมาณ 5-5.5

  18. การขยายพันธุ์ • การขยายพันธุ์ของปลาเทวดา สามารถกระทำได้ในตู้เลี้ยง โดยวางไข่ติดกับวัตถุใต้น้ำที่มีลักษณะค่อนข้างมั่นคงแข็งแรง การวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 300-1,000 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 36 ชั่วโมง ปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้มีอายุตั้งแต่ 8-10 เดือนขึ้นไป

  19. ปลาตะเพียน ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  20. ลักษณะ • รูปร่างลักษณะมีเกล็ด รูปร่างแบนข้าง ลำตัวค่อนข้างยาว มีเกล็ดบางแวววาวลำตัวด้านหลังคล้ำกว่าด้านท้องครีบต่างๆรวมทั้งปลายหางอาจเป็นสีแดงเรื่อๆหรือเป็นสีส้ม

  21. ถิ่นกำเนิด • ในภาคกลางพบปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก แควน้อย แควใหญ่ ภาคเหนือพบมากที่แม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุบลราชธานี มีมากในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม • ในต่างประเทศ เคยพบในประเทศมาเลเซีย และคาดว่าคงจะพบในประเทศลาว เขมร และเวียดนามด้วย

  22. การขยายพันธุ์ • ลักษณะเพศ ลักษณะภายนอกของปลาตะเพียนขาวตัวผู้ และตัวเมีย คล้ายคลึงกันมาก แต่เมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้น คือตัวเมียจะมีท้องอูมเป่ง พื้นท้องนิ่มและช่องเพศกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบน พื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบา ๆ ตรงบริเวณท้อง จะมีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมาฤดูวางไข่ ปลาตะเพียนขาว จะวางไข่ราว ๆ ปลายเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ฝนเริ่มตก หลังจากที่ฝนตกหนักเพียง 2-3 ครั้ง ปลาก็จะวางไข่จนหมด ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 8-12 ชั่วโมง ในอุณหภูมิของน้ำประมาณ 29-30 องศาเซลเซียส

  23. แม่ปลาตะเพียนขาวตัวหนึ่ง ๆ สามารถมีไข่ได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 ฟอง และชอบวางไข่ตามบริเวณชายฝั่งของลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลลงมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน ปลาตะเพียนขาวสามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงได้ภายในปีแรก เมื่อแม่ปลามีขนาดตัวยาว 25 ซม.

  24. ปลานิล ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  25. ลักษณะ • เป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศแตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร

  26. ถิ่นกำเนิด • ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

  27. การขยายพันธุ์ • ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือน/ครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไป พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ

  28. ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป

  29. ปลาคาร์ฟ ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  30. ลักษณะ • ปลาเงินล้าน ที่มีคนนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบันชนิดหนึ่ง คือ ปลาคาร์ฟ หรืออีกชื่อว่า แฟนซีคาร์ฟ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก เช่นปลาคาร์ฟ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่งที่เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี

  31. ถิ่นกำเนิด • ปลาแฟนซีคาร์ป (Fancy carp) หรือที่เรียกกันว่าปลาไนแฟนซี ปลาไนสี หรือปลาไนทรงเครื่อง เป็นปลาน้ำจืดในกลุ่มปลาตะเพียน (carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า โคย (Koi) หรือนิชิกิกอย (Nishikigoi) เดิมทีเป็นปลาไนชนิดธรรมดา ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่พบอยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก บริเวณที่ถือว่าเป็นแหล่งดั้งเดิมจริง ๆ ของปลาไนคือประเทศอิหร่านสำหรับประเทศญี่ปุ่น ตามหลักฐานตามประวัติศาสตร์ชิ้นแรกที่มีอยู่เกี่ยวกับ Koi นั้นได้เขียนขึ้นเมื่อประมาณสองร้อยปีหลังคริสต์ศตวรรษ หลักฐานดังกล่าวได้เล่าถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ปลาเหล่านี้ชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้สำหรับดูเล่น

  32. การขยายพันธุ์ • ปลาแฟนซีคาร์ปจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันแล้วแต่สถานที่ที่ปลาอาศัยอยู่ ฤดูวางไข่ของปลาเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น ส่วนในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์เป็นช่วงฤดูหนาว ปลาจะไม่เจริญเติบโตและไม่สืบพันธุ์ สำหรับประเทศไทยนั้นปลาแฟนซีคาร์ฟสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งพ่อแม่ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่

  33. ปลาลายเสือ ลักษณะ แหล่งกำเนิด การขยายพันธุ์

  34. ลักษณะ ปลาเสือมีลักษณะข้างลายลำตัวสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองอมน้ำตาล ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ แถบดำห้าแถบที่พาดขวางลำตัวแต่สำหรับแถบที่สามอาจมองเห็นเพียงเป็นจุดดำบริเวณโคนครีบหลัง จากที่ลำตัวสีเหลืองสลับลายดำตึรงทำให้ได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ"

  35. แหล่งกำเนิด • พบในแม่น้ำลำคลองอ่างเก็บน้ำ ธารน้ำตกในเขตภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย สำหรับในต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย และตอนกลางของสุมาตรา เป็นต้น

  36. การขยายพันธุ์ • ปลาเสือข้างลายถ้าเลี้ยงได้สมบูรณ์ดีสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยคัดเลือกพ่อแม่ที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง ปล่อยลงในตู้สำหรับวางไข่โดยมีพืชน้ำเตรียมไว้ให้ด้วยปลาเสือข้างลายแม้จะมีราคาไม่แพงนัก แต่สามารถเพาะขายได้ตลอดปี

  37. ปลาสลิด ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  38. ลักษณะ • ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลำตัวแบนข้างมีครีบ ท้องยาวครีบเดียว สีของลำตัวมีสีเขียวออกเทาหรือมีสีคล้ำเป็นพื้น และมีริ้วดำพาดขวางตามลำตัวจากหัวถึงโคนหาง เกล็ดบนเส้นข้างตัวประมาณ 42-47 เกล็ด ปากเล็กยืดหดได้ ปลาสลิดซึ่งมีขนาดใหญ่เต็มที่จะมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร

  39. ถิ่นกำเนิด • ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทย มีแหล่งกำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pecteralis และนิยมเลี้ยงกันมากบริเวณภาคกลาง ส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดียว ปากีสถาน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์

  40. การขยายพันธุ์ • ปลาสลิด สามารถผสมพันธุ์แลวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว หนัก 130-400 กรัม ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่ง ๆ จะสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง แต่ละครั้งจะได้ปริมาณไข่ประมาณ 4,000-10,000 ฟอง ในฤดูวางไข่ ท้องแม่ปลาจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง ลักษณะของไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง

  41. ปลาหมอไทย ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  42. ลักษณะ •  ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบน  ลำตัวมีสีคล้ำสีออกน้ำตาลปนดำหรือสีเขียวปนน้ำตาล  ลักษณะเด่นคือ  มีเกล็ดแข็งห่อหุ้มตัวโดยตลอดดวงตากลมโต ปากแยงขึ้นเล็กน้อย  มีจุดดำที่โคนหาง  ฟันค่อนข้างแหลมคม

  43. ถิ่นกำเนิด • เป็นพันธุ์ปลาพื้นเมืองของไทยแต่โบราณที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งตามคู คลอง ท้องนา และแม่น้ำลำคลอง ปลาหมอนิยมกินกันมากแทบทุกภาค เพราะเนื้อปลามีรสหวานมันอร่อย แต่ละท้องถิ่นก็เรียกชื่อต่างกันไปภาคอีสานจะเรียกว่า "ปลาสะเด็ด"  ภาคเหนือ เรียกว่า "ปลาแข็ง"ภาคใต้ตอนล่างเรียกเป็นภาษายาวีว่า "อีแกปูยู"  แต่คนทั่วไปรู้จักและเรียกกันว่า "ปลาหมอ"

  44. การขยายพันธุ์ • คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้วจะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่าง ซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร วันรุ่งขึ้นเมื่อปลาวางไข่หมดแล้ว จึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัวหลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง หรือให้อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาบ่ออัตรา 1 ต่อ 1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษหรือปลาสดจับละเอียดและเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น จนได้ขนาดตลาด

  45. ปลาหางนกยูง ลักษณะ ถิ่นกำเนิด การขยายพันธุ์

  46. ลักษณะ • ลักษณะที่ดีของปลาหางนกยูง • ลักษณะลำตัวมีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอลักษณะครีบครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ขณะว่ายน้ำพริ้วไม่พับสีและลวดลาย ถูกต้องตามสายพันธุ์ คมเข้มชัดเจนความสมบูรณ์ของลำตัวทรงตัวปกติ

  47. ถิ่นกำเนิด • ปลาหางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata Peters 1859 มีชื่อสามัญว่า Guppy อยู่ในครอบครัว Poecidae เป็นปลาอออกลูกเป็นตัวและมีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาใต้แถบเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดสและในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเรื่อยๆ ปลาตัวผู้มีขนาด 3 -5 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาด 5 -7 เซนติเมตร ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

  48. การขยายพันธุ์ • ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง นอกเหนือจากวิธีการเพาะพันธุ์แล้ว วิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการอนุบาลลูกปลานับว่าเป็นปัจจัยที่ล้วนแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูง เนื่องจากปลาหางนกยูงจะเจริญถึงวัยเจริญพันธุ์ เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น เมื่อลูกปลาพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ1- 1  1/2 เดือน ) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง

  49. ประวัติ ชื่อ นางสาวนารินทร์ ฤทธิขัน ชื่อเล่น เม่น ที่อยู่441 หมู่ 11 ต.วังกระแจะ อ. เมือง จ. ตราด 23000 เบอร์โทร081-1511225 E-mail men_ultraman@hotmail.com สีที่ชอบ สีแดง สีเขียว สัตว์เลี้ยง ปลาทอง

  50. ประวัติส่วนตัว ชื่อ นายศักดิ์ชัย ตองอ่อน ชื่อเล่น ต๋อย เกิด 10 เมษายน 2532 โทรศัพท์ 089-2498260 ที่อยู่ 38/2 ม.5 ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110 ปัจจุบันกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี คณะเทคโนโลยีการเกษตร โปรแกรมเทคโนโลยีการเกษตร ปี 3 อาหารจานโปรด ก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่ ผลไม้โปรด มะม่วง ชมพู่ กิจกรรมยามว่าง ทำเครื่องเสียงรถยนต์ คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

More Related