1 / 45

การปฏิบัติหน้าที่งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน

การปฏิบัติหน้าที่งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน.

Download Presentation

การปฏิบัติหน้าที่งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฏิบัติหน้าที่งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนการปฏิบัติหน้าที่งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน กำนันและผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการสำรวจ จัดทำ เก็บรักษาและปรับปรุงสำมะโนครัว มาตั้งแต่ปี ร.ศ.116 หรือ พ.ศ.2440 แม้ว่าต่อมาจะมีการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 โดยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2547 ขึ้นแทน แต่อำนาจหน้าที่ดังกล่าวก็ยังมีอยู่ แนวคิด

  2. ดังที่ปรากฏใน พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ พ.ศ.2547 ที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 27 ว่า “ผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าของราษฎร ในหมู่บ้านของตน มีอำนาจหน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยของราษฎรดังกล่าวต่อไปนี้ คือ ข้อ 1...ฯลฯ...ข้อ 4 เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะทำบัญชีสำมะโนครัว ในบ้านของตน และคอยแก้ไขบัญชีนั้นให้ถูกต้อง..” และมาตรา 41 ที่บัญญัติว่า “กำนันต้องรักษาบัญชีสำมะโนครัวและทะเบียนบัญชีของรัฐบาลในตำบลนั้น และคอยแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องตรงกับบัญชีของผู้ใหญ่บ้าน

  3. วัตถุประสงค์ 1. อธิบายความสำคัญของงานทะเบียนและบัตรประชาชนอย่างถูกต้อง 2. อธิบายบทบาทและอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2487 และ พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.2482 ได้อย่างถูกต้อง 3. ชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ และระบุหลักฐานที่ใช้ในการทำเอกสารทางทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนสมรส และทะเบียนสัตว์พาหนะ ได้อย่างถูกต้อง

  4. เนื้อหา ก. การทะเบียนราษฎร งานการทะเบียนราษฎรที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ การรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน การย้ายที่อยู่ การเกิด และการตาย อธิบดีกรมการปกครอง ในฐานะเป็นผู้อำนวยการทะเบียนกลาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 แต่งตั้งให้กำนันทุกตำบล (ในฐานะผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้าน) ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้งการเกิด การตาย การย้ายที่อยู่ การสร้างบ้านใหม่ การรื้อบ้าน และการกำหนด เลขประจำบ้าน

  5. การรับแจ้งเกี่ยวกับบ้านการรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน 1.“บ้าน” ตามนัยของงานทะเบียนราษฎร หมายถึง 1.1.1โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย 1.1.2ต้องมีเจ้าบ้านครอบครอง 2. เมื่อมีการปลูกสร้างบ้านขึ้นใหม่ หรือปลูกสร้างมานานแต่ยัง ไม่มีบ้านเลขที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะเป็นนายทะเบียน ผู้รับแจ้ง จะต้องกำหนดบ้านเลขที่ให้แก่บ้านดังกล่าว ไม่ว่าบ้านนั้นจะปลูกในที่ดินของตนเองหรือของผู้อื่น

  6. 3. การกำหนดบ้านเลขที่ให้บ้านแต่ละหลัง จะต้องให้เจ้าบ้านผู้ร้องขอ โดยการยื่นคำร้อง 4. คำร้องที่ใช้คือ ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน

  7. 5. เมื่อมีเจ้าบ้านมายื่นคำร้องขอบ้านเลขที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งตามที่ผู้อำนวยการ ทะเบียนกลางกำหนด จะต้องปฏิบัติ ดังนี้ 5.1 ออกไปตรวจสอบว่ามีบ้านปลูกสร้าง จริงหรือไม่และสร้างเสร็จเรียบร้อยหรือยัง 5.2 ใครเป็นเจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้านดังกล่าว 5.3 เรียกบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง

  8. 5.4 รับแจ้งตามแบบพิมพ์ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน โดยให้กรอกรายละเอียดในด้านหลังของแบบพิมพ์ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้านให้ถูกต้อง 5.5 กำหนดบ้านเลขที่ให้แก่บ้านดังกล่าว 5.6 ฉีกหลักฐานการรับแจ้งเกี่ยวกับบ้านท่อนล่าง มอบให้ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน 5.7 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องนำหลักฐานการรับแจ้งเกี่ยวกับบ้านส่วนที่เหลือพร้อมหลักฐานไปยังสำนักทะเบียนอำเภอ เพื่อจัดทำทะเบียนบ้านให้แก่บ้านหลังดังกล่าวต่อไป

  9. 6. การกำหนดบ้านเลขที่ มีหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติ ดังนี้ 6.1 ในเขตหมู่บ้านที่มีถนนเป็นแนวยาว ให้เริ่มต้นจากหัวถนนหรือปากทางเข้าหมู่บ้าน แล้วยืนหันหน้าไปทางท้ายถนน บ้านที่อยู่ทางซ้ายมือให้กำหนดบ้านเลขที่คี่ เช่น 1,3,5,9 ฯลฯ ส่วนบ้านที่อยู่ทางขาวมือให้กำหนดเป็นบ้านเลขที่คู่ เช่น 2,4,6,8 ฯลฯ

  10. 6.2ถ้าบ้านอยู่เป็นหย่อมๆ หรือไม่ถนนเป็นแนวยาว ให้กำหนดบ้านเลขที่เรียงตามลำดับไป คือ 1,2,3,4,5 ฯลฯ 6.3 ถ้าหากต่อมามีบ้านปลูกสร้างขึ้นใหม่อยู่ระหว่างบ้านสองหลัง ซึ่งกำหนดบ้านเลขที่ไปแล้ว อาจจะกำหนดเป็นบ้านเลขที่ทับก็ได้ เช่น บ้านที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่อยู่ใกล้บ้านเลขที่ 5 อาจกำหนดเป็นเลขที่ของบ้านที่สร้างใหม่ดังกล่าว เป็นบ้านเลขที่ 5/1 ก็ได้

  11. การรับแจ้งเกิด 1.เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด 2.กรณีคนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้าน บิดาหรือมารดา เป็นผู้แจ้งเกิด กรณีคนเกิดนอกบ้านให้บิดาหรือมารดาเป็นผู้แจ้งการเกิด หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งแทนก็ได้ แต่ต้องทำหนังสือมอบหมายและมอบบัตรประจำตัวฯ ให้ผู้แจ้งถือมาแสดงต่อนายะเบียนผู้รับแจ้งด้วย

  12. 3. คำว่า “เกิดในบ้าน”หมายความว่า เกิดในบ้านทั่วๆไป คำว่า “เกิดนอกบ้าน”หมายความว่า เกิดนอกชายคาบ้าน 4. การแจ้งการเกิดนั้น ผู้แจ้งต้องแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด 5.

  13. 6.1 6. เมื่อมีผู้มาแจ้งเกิด ให้ดำเนินการ ดังนี้ สอบถามผู้แจ้งว่าเด็กเกิดเมื่อใด ถ้าเด็กเกิดยังไม่เกินกำหนด 15 วัน และเกิดในท้องที่ ที่รับผิดชอบ ก็รับแจ้งการเกิดให้ โดยเรียกหลักฐานเกี่ยวกับผู้แจ้ง เช่น บัตรประจำตัวผู้แจ้ง สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เด็กเกิด 6.2 ถ้าเด็กที่เกิดมีผู้ทำคลอด ซึ่งมีแพทย์หรือพยาบาล หรือผดุงครรภ์ ก็เรียกหนังสือรับรองการเกิดจาก ผู้แจ้งด้วย หนังสือรับรองการเกิดนี้ผู้ทำคลอดเป็นผู้ออกให้ 6.3

  14. 6.4 ผู้แจ้งการเกิดจะต้องตั้งชื่อเด็กที่จะขอแจ้งการเกิดด้วย ทั้งนี้ ให้อยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี และพระราชทินนาม 2) ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย แบบพิมพ์ที่ใช้ในการับแจ้งการเกิด คือ ใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร.1) ตอนหน้า 6.5

  15. 1. เมื่อมีคนตายจะต้องแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ เวลาตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี และแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตายหรือพบศพ การรับแจ้งการตาย 2. คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งการตาย ถ้าไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง 3. คนตายนอกบ้าน ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือพบศพ เป็นผู้แจ้งการตาย

  16. 4.ถ้ามีเหตุสงสัยว่าคนตาย ตามด้วยโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้กาฬหลังแอ่น (ไข้เหลือง) หรือตายโดยผิดธรรมชาติ เช่น ฆ่าตัวตาย ถูกผู้อื่นทำให้ตาย เป็นต้น ให้นายทะเบียนรีบแจ้งต่อ เจ้าพนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย 5.แบบพิมพ์ที่ใช้รับแจ้งตาย คือ ใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4) ตอนหน้า

  17. 6. เมื่อมีผู้มาแจ้งการตาย ให้ดำเนินการ ดังนี้ 6.1เรียกหลักฐานเกี่ยวกับตัวผู้แจ้ง เจ้าบ้าน และคนตาย เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น 6.2ถามรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ตายให้มากที่สุด 6.3ถ้าผู้ตายมีผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพก่อนตาย ให้เรียกหนังสือรับรองการตาย 6.4กรอกข้อความใบแบบพิมพ์รับแจ้งการตาย (ท.ร.4) ตอนหน้า

  18. การรับแจ้งการย้ายที่อยู่การรับแจ้งการย้ายที่อยู่ 1 เมื่อมีผู้ย้ายมาอยู่ในบ้านซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง ให้สอบถามผู้ย้ายว่าได้ดำเนินการย้ายที่ อยู่แล้วหรือไม่ถ้ายังก็แนะนำให้ไปแจ้งย้ายที่อยู่ให้ถูกต้อง ภายใน 15 วัน 2 เมื่อคนในท้องที่มีการย้ายที่อยู่ ให้ผู้ย้ายแจ้งย้าย ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายออก 3 การรับแจ้งย้ายที่อยู่ในหน้าที่ของนายทะเบียนผู้รับแจ้ง มี 2 อย่าง คือ การรับแจ้งย้ายออกและการรับแจ้งย้ายเข้า

  19. การจดทะเบียนสมรส กำนันมีหน้าที่รับคำร้องขอจดทะเบียนสมรสในท้องที่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของ รมว.ว่าการ กระทรวงมหาดไทยประกาศตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.จดทะเบียน ครอบครัว พ.ศ.2478 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2482 โดยคำร้องดังกล่าวต้องมีลายมือชื่อของผู้ร้องและพยาน 2 คน ลงชื่อต่อหน้ากำนัน แต่พยานคนหนึ่งนั้นต้องเป็นเจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครอง ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นผู้ใหญ่บ้านขึ้นไป หรือนายตำรวจ ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือ สส.

  20. มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ยังกำหนดให้กำนัน มีหน้าที่รับคำร้องขอจดทะเบียนสมรสด้วยวาจา หรือด้วยกิริยา กรณีชายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง 2 ฝ่าย ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย นายทะเบียนไม่สามารถจะไป จดทะเบียนให้ได้ และผู้ใกล้ความตายจะทำคำร้องตามแบบ ก็ไม่ได้ ถ้าชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง 2 ฝ่ายตาย ให้กำนันพร้อมด้วยชายหรือหญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ (ถ้าหากมี) ไปแสดงตนต่อนายทะเบียน เพื่อให้ถ้อยคำแสดงพฤติการณ์แห่งการ้องขอแล้วขอจดทะเบียนสมรส

  21. การจดทะเบียนสัตว์พาหนะการจดทะเบียนสัตว์พาหนะ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสัตว์พาหนะ (ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา) ทั้งในการับแจ้ง การรับมอบตั๋วรูปพรรณ และการจัดทำบัญชีสัตว์พาหนะ ตาม พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.2482 และระเบียบการสัตว์พาหนะ พ.ศ.2482 ดังนี้ 1.ผู้ใหญ่บ้านเป็นพยานในการที่เจ้าของสัตว์ขอจดทะเบียน ทำตั๋วรูปพรรณจากนายทะเบียนท้องที่ 2.ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่สำรวจและจัดทำบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19)

  22. 3. ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่จัดทำบัญชีสัตว์ประจำคอก ซึ่งยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.18) 4. กำนันมีหน้าที่รับมอบตั๋วรูปพรรณจากผู้ที่มีตั๋วรูปพรรณ แต่ไม่มีตัวสัตว์ไว้ในครอบครอง 5. กำนันมีหน้าที่รับแจ้งความและรับมอบตั๋วรูปพรรณสัตว์ ที่ตายจากเจ้าของสัตว์ หรือตัวแทน

  23. 6.กำนันมีหน้าที่รับมอบตั๋วรูปพรรณกรณีสัตว์หาย เพื่อจัดส่งให้นายทะเบียนท้องที่ภายใน 90 วัน 7.กำนันมีหน้าที่รับมอบบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำ ตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.18) 8.กำนันมีหน้าที่สำรวจและจัดทำบัญชีสัตว์ประจำคอก ซึ่งยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ

  24. สัตว์พาหนะที่ต้องทำตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะที่ต้องทำตั๋วรูปพรรณ 1)ช้างมีอายุย่างเข้าปีที่ 8 2)สัตว์อื่นนอกจากโคตัวเมีย 3)สัตว์ใดที่ได้ใช้ขับขี่ลากเข็น หรือใช้งานแล้ว 4)สัตว์ใดที่อายุย่างเข้าปีที่ 4 เมื่อจะทำการโอนสิทธิ์ เว้นแต่ในการรับมรดก 5)โคตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 6 เมื่อจะทำการโอนสิทธิ์ เว้นแต่ในการรับมรดก

  25. การโยงขวัญสัตว์ วิธีโยงขวัญสัตว์ ต้องคิดแบ่งสัตว์เป็น 4 ท่อน คือผ่ากลาง ตัวตั้งแต่หัวตลอดหางกึ่งกลางตัว คือ ระยะกึ่งกลางจากขม่อม ถึงโคนหาง แบ่งเป็น ซ้ายเป็นขวาเสียชั้นหนึ่งก่อน แล้วคิดแบ่ง กลางตัวให้เป็นหนังเสียอีกชั้นหนึ่ง คงเป็นท่อนซ้าย ท่อนหน้าขวา ท่อนหลังซ้าย ท่อนหลังขาว เมื่อตรวจดูขวัญในตัวสัตว์อยู่ใน ตำแหน่งใด ท่อนใดของตัวสัตว์แล้วก็ทำจุดลงในภาพสัตว์ ให้ตำแหน่งตรงกัน แต่เนื่องจากภาพสัตว์ในแบบพิมพ์มีเพียง ด้านขวาของสัตว์ด้านเดียว สำหรับขวัญสัตว์ที่ตรวจพบว่า อยู่ด้านขวาตัวสัตว์ ก็จุดลงในภาพให้ตำแหน่งตรงกันเลย

  26. แต่ขวัญของสัตว์ซึ่งตรวจพบว่าอยู่ด้านซ้ายตัวสัตว์ ก็ต้องสมมุติว่าเรามองภาพสัตว์นั้นทะลุไปด้านซ้าย กะให้ตรงกับตำแหน่งขวัญของสัตว์ที่ตรวจพบ แล้วจุดลงในภาพจากจุดที่เป็นขวัญของสัตว์ในภาพ โยงเส้นไปยังช่องในกรอบ จุดละหนึ่งช่อง ถ้าจุดอยู่ท่อนซ้ายก็โยงไปทางกรอบภาพสัตว์ข้างหน้าซ้าย เป็นต้น ถ้ามีขวัญอยู่ที่ขาขวาด้านในหรือ ทางด้านซ้ายของขาขวา แล้วเขียนไว้ที่ปลายเส้นโยง นอกกรอบภาพสัตว์ว่า “ใน” ห้ามมิให้โยงเส้นขวัญไปรวมในช่องเดียวกัน ให้โยงเพียงเส้นละช่องกรอบที่ว่างให้ขีดเส้นปิดเสียทุกช่อง

  27. บัตรประจำตัวประชาชน รมว.ว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตาม ความในมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 แต่งตั้งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงาน ตรวจบัตรเฉพาะด่านตรวจที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย เฉพาะด่านตรวจนั้น

  28. ข้อควรระวังในการปฏิบัติงาน 1) ข้อควรระวังในการพิจารณาลงรายการแจ้งการเกิด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พึงพิจารณาลงสัญชาติไทยของ เด็กแรกเกิดให้รอบคอบ โดยยึดหลักกฎหมาย ว่าด้วยสัญชาติอย่างเคร่งครัด 2) ข้อควรระวังในการับรองบุคคล เมื่อจะทำการ รับรองผู้ใดให้ตรวจสอบให้รอบคอบ โดยการรับรองแก่ ลูกบ้านของตนเองที่รู้จักเป็นอย่างดีเท่านั้น ให้สังเกต ลักษณะต่างๆ ของบุคคล เช่น รูปร่าง การพูด ก่อนรับรอง

  29. 3)ข้อควรระวังในการเป็นพยานบุคคล3)ข้อควรระวังในการเป็นพยานบุคคล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาจจะต้องทำหน้าที่ในฐานะ เป็นพยานบุคคลประอบการพิจารณาของนายทะเบียน อำเภอ ดังต่อไปนี้ 3.1 การรับแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา 3.2 การรับแจ้งตายเกินกำหนดเวลา

  30. 3.3 การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน กรณี 3.3.1ตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎร พ.ศ.2499 3.3.2เพิ่มชื่อตามหลักฐานสูติบัตร หรือใบแจ้งการย้ายที่อยู่ 3.3.3 เพิ่มชื่อโดยไม่มีเอกสานหลักฐานอื่นใดมาแสดง 3.3.4เพิ่มชื่อเด็กอนาถา 3.3.5 เพิ่มชื่อบุคคลที่ได้มีการลงรายการ “ตายหรือจำหน่าย”ในทะเบียนบ้านไว้แล้ว

  31. 4) การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน กรณี 4.1 บุคคลมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ 4.2 บุคคลในทะเบียนบ้านได้ตายไปนานแล้ว 5) การแก้ไขรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร

  32. การปฏิบัติงานการดูแลด้านที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการปฏิบัติงานการดูแลด้านที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเข้าใจความหมาย ที่มา ประเภท การได้มาซึ่งที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน รู้ถึงอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษา และสามารถปฏิบัติหน้าที่แก้ไขปัญหาที่สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิด

  33. วัตถุประสงค์ เพื่อให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะผู้ปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547 ซึ่งจะเป็นการแบ่งเบาภาระของทางราชการ

  34. เนื้อหา สร้างความเข้าใจของความหมายคำว่า ที่ดินของ รัฐที่มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปหลายชื่อ เช่น ที่ดิน อันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ที่สาธารณประโยชน์ ที่ราชพัสดุ ฯลฯ ความหมายของที่ดินของรัฐหรือที่ดิน อันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินได้มีการบัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมาแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ดังนี้

  35. มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สิน ทุกชนิดของแผ่นดิน ซึ่งใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้ เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น 1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืน หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน 2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน 3) ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ

  36. เป้าหมาย 1) เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดบุกรุก หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 2) ทราบว่าพื้นที่ใดเป็นที่สาธารณะ ที่สงวนหวงห้าม 3) ทราบวิธีการแก้ไขปัญหา กรณีมีผู้บุกรุก ที่สาธารณประโยชน์

  37. อำนาจหน้าที่ 1. กระทรวงมหาดไทย ควบคุม กำกับ ดูแลหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเหี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ ดำเนินการเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ให้เป็นไปตามระเบียบ 2. กรมการปกครอง ควบคุมดูแลให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ประจำตำบลและหมู่บ้าน ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายและนโยบาย ของกระทรวงมหาดไทย

  38. 3.กรมที่ดิน 4.จังหวัด 5.นายอำเภอ 6.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 7.องค์การบริหารส่วนตำบล 8.เทศบาลนคร 9.เมืองพัทยา 10.กรุงเทพมหานคร

  39. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ความหมาย “ที่ดินของรัฐ” ส่วนใหญ่ก็คือ ที่ดินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 นั่นเอง สาธารณสมบัติของแผ่นดินต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ 1. ต้องเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน 2. ต้องใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อใช้ร่วมกัน - ทรัพย์สินนั่นใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ทั่วไปหรือไม่ - สงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน (ยังไม่มีการใช้)

  40. ผลของการเป็นที่สาธารณประโยชน์ผลของการเป็นที่สาธารณประโยชน์ 1. ห้ามมิให้นำไปจัดหาผลประโยชน์ 2. ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ 3. ห้ามโอนให้แก่กัน 4.ห้ามเข้าไปใช้จนกว่าจะได้รับอนุญาต 5. ห้ามบุกรุก 6.ห้ามซื้อขาย 7. ห้ามออกเอสารสิทธิ์ทับที่สาธารณะ

  41. ที่สาธารณประโยชน์ประจำตำบลและหมู่บ้านที่สาธารณประโยชน์ประจำตำบลและหมู่บ้าน กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือ ที่ 473/2486 ลว. 19 ตุลาคม 2486 แจ้งให้ทุกจังหวัดและอำเภอจัดหาสถานที่เพื่อทำเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้กลางตำบล ๆ ละ 50 ไร่ และหมู่บ้าน ๆ ละ 25 ไร่ เช่น สนามกีฬา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ

  42. ที่มาของที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินที่มาของที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน 1. เกิดขึ้นโดยทางราชการประกาศหวงห้าม 2. เกิดขึ้นโดยมีกฎหมายหวงห้าม 3. เกิดขึ้นโดยการสงวนตามประมวลกฎหมายที่ดิน 4. เกิดขึ้นโดยสภาพ 5. เกิดขึ้นโดยการใช้ร่วมกันของราษฎร 6. เกิดขึ้นโดยการมีผู้อุทิศ 7. เกิดขึ้นโดยมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง

  43. ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน - ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืน หรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดิน - ที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน - ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ - ที่สาธารณะ ที่สาธารณประโยชน์ - ที่ดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ - ที่ดินที่ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์

  44. วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อมีการบุกรุกที่ดินของรัฐเกิดขึ้นวิธีแก้ไขปัญหาเมื่อมีการบุกรุกที่ดินของรัฐเกิดขึ้น 1. เมื่อพบเห็นการบุกรุกต้องรีบออกไปโดยเร็วก่อนมีการขยายพื้นที่ 2. หากผู้บุกรุกมีจำนวนมากให้เรียกประชุมชี้แจงผู้บุกรุก ถึงสิทธิและหน้าที่ของตน 3. ถ้ามีการโต้แย้ง อ้างว่ามาอยู่ก่อนการหวงห้าม ต้องทำการพิสูจน์การครอบครอง

  45. 4. ผู้จงใจฝ่าฝืน ให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเด็ดขาด 5. หากไม่แน่ใจที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่นั้นเป็นที่ดิน ของรัฐหรือไม่ ให้ตรวจสอบแนวเขตตามหลักฐาน น.ล.ส. และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง 6. จัดระเบียบชุมชนในพื้นที่ผ่อนผันให้เช่า หรืออยู่อาศัยทำกิน

More Related