1 / 30

บทเรียนโปรแกรม POWER POINT

บทเรียนโปรแกรม POWER POINT. เรื่องความงามกับภาษา โดย ครูศิริพรรณ รักร่วม. ความงามกับภาษา.

kenton
Download Presentation

บทเรียนโปรแกรม POWER POINT

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนโปรแกรม POWER POINT เรื่องความงามกับภาษา โดย ครูศิริพรรณ รักร่วม

  2. ความงามกับภาษา การร้อยเรียงถ้อยคำขึ้นเป็นภาษานั้นถือเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่ง ที่สามารถจะทำให้งดงามได้เช่นเดียวกับศิลปะแขนงอื่นๆ ผู้เขียนหรือผู้ที่จะเรียงร้อยภาษานั้น จะต้องมีสติปัญญา ความคิดหรือจินตนาการที่ลึกซึ้ง มีอารมณ์อันสุนทรีย์และจะต้องมีทักษะในการถ่ายทอดภาษาที่มีความงามได้เป็นอย่างดี หลักสำคัญของภาษาที่กวีใช้เพื่อสร้างสรรค์ความงามให้แก่ บทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองนั้น คือ 1. การสรรคำ 2. การเรียบเรียงคำ 3. การใช้โวหาร

  3. ๑. การสรรคำ การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำที่สามารถสื่อความคิด ความรู้สึก หรืออารมณ์ ได้ตามความต้องการของผู้เขียน การสรรคำที่ดีต้องให้เหมาะแก่เนื้อเรื่อง ฐานะของบุคคลในเรื่อง และสอดคล้องกับลักษณะคำประพันธ์ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความไพเราะ ด้านเสียงและเหมาะสมแก่บริบทด้วย

  4. การสรรคำ สามารถทำได้หลายลักษณะดังนี้ ๑. เลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ ตัวอย่าง • ตำรวจกีดกันรถทุกชนิดไม่ให้เข้าไปในถนนนั้น ( ต้องใช้คำว่า กัน -แยกไว้,กีดขวางไว้ / กีดกัน - กันไม่ให้ทำได้โดยสะดวก ) • พ่อแม่ของฉันเห็นเขาครั้งแรกไม่ค่อยชอบพอเขาเท่าไรนัก ( ต้องใช้ ชอบ -พอใจ / ชอบพอ -รักใคร่กัน ,ถูกอัธยาศัยกัน ) • สมชายมีของผิดกฎหมายอยู่ในความคุ้มครอง ( ต้องใช้ ครอบครอง -ยึดถือ / คุ้มครอง – ป้องกัน รักษา)

  5. ๒. เลือกใช้คำที่เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง เนื้อเรื่องที่เป็นนิทาน อาจขึ้นต้นว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว....หรือ กาลครั้งหนึ่ง ซึ่งหากนำมาใช้กับการเขียนนวนิยายหรือข่าวย่อมไม่เหมาะสม

  6. ๓. เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์ คำบางคำใช้ได้เฉพาะกับร้อยกรองเท่านั้น เช่น พธู คงคา ปฐพี อัคคี ชนกชนนี สุริยา ฯลฯ แต่บางคำใช้ได้ทั้งกับร้อยกรองและร้อยแก้ว เช่น พ่อแม่ หรือ บิดามารดา แสงไฟ ดวงอาทิตย์ ฯลฯ

  7. ๔. เลือกใช้คำไวพจน์ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ คำไวพจน์ แม้มีความหมายเดียวกัน แต่ไม่สามารถนำมาใช้แทนกันได้ทุกคำ แต่ละคำจะมีความเหมาะสมที่จะใช้ในแต่ละความหมาย เช่น • คำว่า ดวงอาทิตย์ - ตะวัน • เราอาจใช้คำว่า ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก • เราไม่ใช้ว่า ดวงตะวันขึ้นทางทิศอาทิตย์ออก • คำว่า ท้องฟ้า - เวหน - นภา • เราอาจใช้คำว่า เครื่องบินกำลังบินอยู่บนท้องฟ้า • แต่เราไม่ใช้ว่า เครื่องบินกำลังบินอยู่บนนภาหรือ • เครื่องบินกำลังบินอยู่บนเวหน

  8. ๕. เลือกคำโดยคำนึงถึงเสียง เสียงที่ต้องคำนึงถึง มีดังนี้ • คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น สะอื้นฮักๆ หอบฮักๆ เสียงตะโกนดังโหวกเหวก • คำที่เล่นเสียงสัมผัส(สัมผัสสระ อักษร วรรณยุกต์) แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน ฉับฉวยฉกชกช้ำ ฉุบฉับ โถมทุบทุ่มถองทับ ถีบท้าว เขาขันคูคู่คู้ เคียงสอง เยื้องย่องนางยูงทอง ท่องท้อง

  9. ๖. คำที่เล่นเสียงหนักเบาในบทร้อยแก้ว ถ้าผู้อ่านรู้จักทอดเสียง เน้นเสียงหนัก และผ่อนเสียงเบาให้เหมาะสม จะทำให้ผู้ฟังเข้าถึงรสไพเราะของเนื้อความได้ดียิ่งขึ้น ในบทร้อยกรอง ประเภทฉันท์ จึงกำหนดเสียงหนังเสียงเบาเป็นคำครุและลหุไว้เป็นแบบแผน เมื่ออ่านทำนองเสนาะจะได้ยินเสียง หนัก เบา จังหวะและลำนำกลมกลืนกันอย่างไพเราะ • โบราณกาลบรมขัต ติยรัชเกรียงไกร ท้าวทรงพระนามอภิไธ ยอชาตศัตรู( สามัคคีเภทคำฉันท์ : ชิต บุรทัต )

  10. ๗. คำพ้องเสียงคือ การนำคำที่มีเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมาย ต่างกันมาใช้ เช่น - แก้มช้ำช้ำใครต้อง อันแก้มน้องช้ำเพราะใคร ปลาทุกทุกข์อกตรม เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง - นางนวลนวลน่ารัก ไม่นวลพักตร์เหมือนทรามสงวน แก้วพี่นี้สุดนวล ดั่งนางฟ้าหน้าใยยอง (กาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)

  11. ๘. คำซ้ำคือ การซ้ำคำที่มีเสียงและความหมายเหมือนกัน เช่น สุดสายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสตที่แม่จะได้ซับทราบฟังสำเนียง สุดสุรเสียง ที่แม่จะพร่ำเพรียกพิไรร้อง สุดฝีเท้าที่แม่จะยกย่างลงเหยียบดิน ก็สุดสิ้นสุดปัญญา สุดหาสุดค้น เห็นสุดคิดจะได้พานพบประสบรอยพระลูกน้อยแต่สักนิดไม่มีเลย (มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร) • - เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่ • ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย • - งามทรงวงดังวาด งามมารยาทนาดกรกราย • งามพริ้มยิ้มแย้มพราย งามคำหวานลานใจถวิล

  12. ๒. การเรียบเรียงคำ การเรียบเรียงคำคือ การร้อยเรียงคำที่สรรมาแล้วได้อย่างไพเราะเหมาะสม ถูกต้องตามโครงสร้างของภาษา และตามกฎเกณฑ์ของ ฉันทลักษณ์(ถ้าเป็นบทร้อยกรอง)

  13. ข้อควรคำนึงในการเรียบเรียงคำมีดังนี้ข้อควรคำนึงในการเรียบเรียงคำมีดังนี้ • เรียงข้อความที่สำคัญที่สุดไว้ตอนท้ายสุด วิธีนี้ทำให้ประโยคกระชับ หนักแน่น ตรงตามจุดประสงค์ของผู้เรียบเรียง เช่น • ผู้หญิงคนนี้หาความสวยงามไม่ได้เลย แต่น้ำใจของเธอประเสริฐยิ่งนัก • แม้เขาจะพิการ แต่เขาก็ไม่เคยย่อท้อ • เรียงคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่าๆกัน เคียงขนานกันไป อาจใช้สันธาน แสดงความคล้อยตามหรือเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นคำเชื่อม สังเกตได้จากความสำคัญของ คำ กลุ่มคำ หรือประโยคเท่าเทียมกัน เช่น • ธงชาติไทยเป็นสัญลักษณ์แสดงถึง ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ • แม่รักผม รักพี่และรักน้องของผมเป็นชีวิตจิตใจ

  14. เรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับ จนถึงขั้นสุดท้ายซึ่งสำคัญที่สุด(เรียงใจความจากความสำคัญน้อยไปยังความสำคัญมากขึ้นตามลำดับขั้น) วิธีลำดับเนื้อหาเช่นนี้ จะเร้าให้ผู้อ่านอยากติดตามเรื่องไปจนจบ เช่น เหล็กเกวียนให้หลีกห้า ศอกหมาย ม้าหลีกสิบศอกกราย อย่าใกล้ ช้างยี่สิบศอกคลาย คลาคลาด เห็นทุรชนหลีกให้ ห่างพ้นลับตา (โคลงโลกนิติ ของ สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร)

  15. เรียงประโยคที่มีเนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับ แต่คลายความเข้มข้นลงในช่วงประโยคสุดท้ายอย่างฉับพลัน กลวิธีเช่นนี้ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ดี เช่น เจ้าสุนัขตัวนั้นวิ่งเข้ามาหาฉันอย่างประสงค์ร้าย ตาของมันไม่เห็นเป็นมิตรเสียเลย ปากมันเห่า ฮ้ง ฮ้ง เสียงดัง ฉันยืนตัวแข็งด้วยความกลัว แต่พอมันมาใกล้ฉัน มันกลับวิ่งผ่านเลยไปเสียเฉยๆ ผลมะเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ ภายนอกแดงดูฉัน ชาดป้าย นางเอกภาพยนตร์อัน สวยสุด แท้ที่จริงเป็นหม้าย ลูกตั้งแปดคน ( โคลงโลกนิติจำแลง : รัชกาลที่ 6 )

  16. เรียงถ้อยคำให้เป็นคำถามเชิงวาทศิลป์คำถามประเภทนี้ มิได้ประสงค์ให้ ผู้ฟังหรือผู้อ่าน คิดหาคำตอบ แต่เน้นให้เห็นคำตอบ ซึ่งผู้พูดหรือผู้เขียนแฝง อยู่ในคำถามแล้ว เช่น เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ ( ลิลิตพระลอ )

  17. ๓. การใช้โวหาร โวหาร คือ ศิลปะการใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดจินตนาการ มีรสกระทบอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งต่างจากการใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา การใช้โวหารวงการวาทศิลป์และการประพันธ์ เรียกว่า ภาพพจน์ ภาพพจน์คือ คำหรือสำนวนโวหารที่กวีหรือผู้ประพันธ์ ใช้เพื่อสร้างมโนภาพให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้อ่านหรือผู้ฟัง

  18. โวหารภาพพจน์ที่ใช้กันอยู่มีหลายลักษณะ ดังนี้ อุปมาคือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง คำที่ใช้เชื่อมสิ่งที่เปรียบเทียบกัน ได้แก่ เหมือน เปรียบ ประดุจ ราว ราวกับ ประหนึ่ง ละม้าย เสมอเหมือน ปานเพียง เทียบเพียง คือ ฯลฯ เช่น - หัวใจดวงน้อยนั้น แข็งแกร่งประดุจหิน- กาแฟดีต้องร้อนราวกับนรก หอมดังหนึ่งนางฟ้า

  19. อุปลักษณ์ เป็นการกล่าวเปรียบเทียบอีกวิธีหนึ่ง ต่างกับอุปมา ตรงที่อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรง ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง มักมีคำว่า เป็นคือ ปรากฏอยู่ เช่น • ขณะที่ชีวิตฉันมืดมิด เธอก็เป็นดวงประทีปส่องมาเสมอ • เสียงหวูดรถไฟที่มาพรากเธอไปจากฉันคือเสียงของปีศาจอันน่ากลัว แต่หากเปรียบโดยใช้ คำหรือวลีมาแทน ไม่ต้องมีคำว่า เป็น คือ ก็ได้ เช่น • อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย • ( เพลงยาวถวายโอวาท )

  20. บุคลาธิษฐาน / บุคคลวัต / บุคคลสมมุติคือ การทำให้สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณ เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิตมีวิญญาณ ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะมองเห็นภาพเหล่านั้นเคลื่อนไหว ทำกิริยาอาการเหมือนคน มีอารมณ์ มีความรู้สึก เช่น ลมหนาวเริ่มล่องมาจากฟ้าแล้ว พรมจูบแผ่วเจ้าพระยาโรยฝ้าฝัน คลื่นคลี่เกลียวแก้วม้วนกับนวลจันทร์ กระซิบสั่นซาบกระเซ็นเป็นลำนำ (อยุธยา : อังคาร กัลยาณพงศ์) • หนังสือที่อยู่บนโต๊ะตรงหน้ามองฉันอย่างงอนง้อ ออดอ้อน ให้หยิบมันขึ้นมาอ่านอย่างเคย • สายลมพัดมาอ่อนๆส่งเสียงกระซิบมาให้กำลังใจฉันให้เอาชนะให้ได้

  21. นามนัย เป็นภาพพจน์ที่เรียกชื่อสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำอื่นแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่รู้จักกันทั่วไป และเมื่อกล่าวแล้วผู้คนจะเข้าใจได้โดยง่ายเช่น ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด คิดถึงบาทบพิตรอดิศร โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น (นิราศภูเขาทอง) เขามัวแต่ห่วงเก้าอี้ จึงทำงานพลาดมากมาย (ตำแหน่งหน้าที่การงาน) ยังไม่มีคำตอบจากตึกสันติไมตรี (รัฐบาล) เขาเป็นคนที่มีพระอยู่ในใจ (ธรรมะ)

  22. สัญลักษณ์ เป็นการใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติ หรือลักษณะภาวะบางประการร่วมกัน หรือเป็นการสร้างจินตภาพ ซึ่งใช้รูปธรรมชักนำไปสู่ความหมายอีกชั้นหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นที่เข้าใจในสังคม เช่น • จามจุรี แทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • รุ้ง แทน ความหวัง พลัง กำลังใจ • หมอก แทน อุปสรรค มายา • นกพิราบ แทน สันติภาพ • ดอกมะลิ แทน ความบริสุทธิ์ ความชื่นใจ วันแม่ • นกขมิ้น แทน คนเร่ร่อนพเนจร

  23. อธิพจน์ หรือ อติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริง กล่าวมากเกินความเป็นจริง มีเจตนาเน้นข้อความที่กล่าวให้มีน้ำหนักยิ่งขั้น เช่น -ร้อนตับแตก - รักคุณเท่าฟ้า - มารอตั้งโกฏิปีแล้ว - เหนื่อยสายตัวแทบขาด ดูสิผิวนวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา

  24. อวพจน์ คือ การกล่าวน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อเน้นข้อความที่กล่าวให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น ให้ความรู้สึกเพิ่มขึ้น เช่น - นักประพันธ์ไส้แห้ง - ลัดนิ้วมือเดียว - เล็กเท่าขี้ตา - เอวคอดเป็นมดตะนอย - คอยสักอึดใจเดียว - มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว

  25. ปฏิพจน์ หรือ ปฏิพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกัน นำมากล่าวอย่างกลมกลืน คล้องจอง ทำให้ได้ความหมายกินใจลึกซึ้ง เช่น • น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย • มีความเคลื่อนไหวในความนิ่ง • รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ • ศัตรูคือยากำลัง • คาวน้ำค้าง • แดดหนาว • น้ำผึ้งขม

  26. สัทพจน์เป็นภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงเหล่านั้นด้วยตนเอง เช่น ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง แตรสังข์กังสดาลขานเสียง ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง อีเก้งเริงร้องลองเชิง ตะแลกแต้กแต้กตะแลกแต้กแต้ก กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์ ทั้งยุงชุมรุมกัดปัดเปรี๊ยะประ เสียงผั้วะผะพึ่บพั่บปุบปับแปะ

  27. อุปมานิทัศน์ คือ การเปรียบเทียบโดยยกเรื่องราวหรือนิทานมาประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัย ให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจแนวความคิด หลักธรรมหรือความประพฤติที่สมควรได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เช่น นิทานเรื่อง คนตาบอดคลำช้าง เป็นอุปมานิทัศน์ชี้ให้เห็นว่า คนที่มีประสบการณ์ หรือมีภูมิหลังต่างกัน ย่อมมีความสามารถในการรับรู้ความเชื่อ และทัศนคติต่างกัน

  28. คำอัพภาส คือ คำซ้ำประเภทหนึ่ง ที่กร่อนเสียงพยางค์หน้าเป็นสระอะ เช่น แย้ง เป็น ยะแย้ง ยุ่ง เป็น ยะยุ่ง คว้าง เป็น คะคว้าง ไขว่ เป็น คะไขว่ เรื่อย เป็น ระเรื่อย สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร

  29. เมื่อเรียนเรื่องความงามกับภาษาจบแล้ว ให้นักเรียนทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้ • แบ่งนักเรียนเป็น ๕ กลุ่ม • ตัวแทนกลุ่มจับฉลาก เรื่องกาพย์เห่เรือ ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ ตอนเห่ชมกระบวนเรือ กลุ่มที่ ๒ ตอนเห่ชมปลา กลุ่มที่ ๓ ตอนเห่ชมนก กลุ่มที่ ๔ ตอนเห่ชมไม้ กลุ่มที่ ๕ ตอนเห่ครวญ • สมาชิกกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ ในหัวข้อต่อไปนี้ สรุปสาระสำคัญ ศัพท์ยาก คุณค่างานประพันธ์ ด้านวรรณศิลป์ • สมาชิกกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้น(ทุกคน) • ทำลงในแผ่นพับ ขนาด ๓ ตอน ส่งครูเพื่อเก็บคะแนน

  30. ตัวอย่างการทำแผ่นพับ ส่วนที่เป็นด้านหน้าปก ส่วนที่เป็นด้านหลังปก

More Related