1 / 59

หย่าโดยคำพิพากษาของศาล

หย่าโดยคำพิพากษาของศาล. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เกิดจากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามเหตุหย่าที่กฎหมายกำหนด ในมาตรา 1516 ซึ่งจำแยกเหตุหย่าได้ 2 กรณีดังนี้ เหตุเกิดจากความผิดของคู่สมรส เหตุที่ที่ทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปกติสุข

kevlyn
Download Presentation

หย่าโดยคำพิพากษาของศาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หย่าโดยคำพิพากษาของศาลหย่าโดยคำพิพากษาของศาล กฎหมายครอบครัว

  2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล • เกิดจากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามเหตุหย่าที่กฎหมายกำหนด ในมาตรา 1516 ซึ่งจำแยกเหตุหย่าได้ 2 กรณีดังนี้ • เหตุเกิดจากความผิดของคู่สมรส • เหตุที่ที่ทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปกติสุข • ศาลจะพิพากษาให้หย่าต่อเมื่อมีการกระทำของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งอันเป็นเหตุให้หย่า กฎหมายครอบครัว

  3. เหตุหย่าเกิดจากความผิดของคู่สมรสเหตุหย่าเกิดจากความผิดของคู่สมรส • สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • เหตุเกิดจากสามี • อุปการะเลี้ยงดู กล่าวคือ เลี้ยงดูเสมือนภริยาของตน ถ้าฐานะอื่น เช่น ลูก หรือบุตรบุญธรรม • การอุปการะ ไม่จำกัดว่าต้องมีระยะเนิ่นนานเพียงใด ถ้าอยู่ในฐานะฉันภริยา • การยกย่องหญิงอื่น เป็นการยกย่องให้บุคคลภายนอกทราบว่าเป็นภรยา หรือมีความสัมพันธ์ฉันภรยา ซึ่งต่างจาการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งอาจะไม่เปิดเผย กฎหมายครอบครัว

  4. เหตุเกิดจากสามี (ต่อ) • เป็นชู้ ตามพจนานุกรม 2542 ชายที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา หรือการผิดเมีย หรือซึ่งหมายถึงร่วมประเวณีกับภริยาผู้อื่น หากสามีร่วมประเวณีกับหญิงที่ไม่มีสามี หรือหญิงหม้าย ไม่ถือว่าเป็นชู้ • กรณีที่สามีไปเที่ยวหญิงซึ่งค้าประเวณีแต่ไม่ทราบว่าหญิงนั้นมีสามีแล้วจะถือว่าเป็นชู้ไม่ได้ • แต่หากร่วมประเวณีหญิงคนเดียวกันหรือหลายคนเป็นอาจิณ หรือชอบเที่ยวโสเภณี ภริยาย่อมยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ • การเป็นชู้หรือร่วมประเวณีต้องเกิดจากการสมัครใจทั้งสองฝ่ายอีกด้วย • การที่สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องชายอื่นฉันภริยาก็ไม่ต้องด้วยมาตรา 1516(1) นอกจากนี้ สามีชอบมีเพศสัมพันธ์กันเพศเดียวกันไม่ว่าชายนั้นจะแปลงเพศเป็นหญิงแล้วหรือไม่แต่ฐานะทางเพศไม่เปลี่ยนแปลงไป แม้มีพฤติกรรมกระทำเป็นอาจิณ ก็ไม่เข้าเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) กฎหมายครอบครัว

  5. เหตุอันเกิดจากภริยา • การให้อุปการะเลี้ยงดุ ยกย่อง มีความหมายทำเดียวกับการที่สามีกระทำ • ส่วนคำว่ามีชู้ มีความหมายตามพจนานุกรม 2542 ว่า หญิงที่ยังมีสามีอยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น ดังนั้นจึงไม่มีข้อจำกัดว่าชายนั้นยังมีภริยาอยู่หรือไม่ แตกต่างจากคำว่า เป็นชู้ เหตุนี้การที่ภรยาได้ร่วมประเวณีกับชายอื่นที่ค้าบริการทางเพศเพียงครั้งคราวแม้ไม่ถึงกับร่วมประเวณีเป็นอาจิณ สามีก็มีสิทธิยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ • การทำชู้หมายถึง การร่วมประเวณีกันระหว่างชายหญิง มิใช่เป็นการล่วงเกินทำนองชู้สาวเท่านั้น • การร่วมประเวณี ต้องกระทำระหว่างชายกับหญิง หากหญิงมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันก็ไม่ใช่การมีชู้ • การมีชู้จะต้องกระทำโดยสมัครใจของหญิง ดังนั้น การที่ภริยาถูกชายอื่นข่มขืนกระทำชำเราจึงไม่ใช่การที่ภริยามีชู้ • ชายที่ทำชู้กับภริยา จะรู้หรือไม่ว่าเป็นภริยาหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ กฎหมายครอบครัว

  6. สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ กฎหมายครอบครัว

  7. มาตราเก่าเน้นการกระทำ มาตราใหม่เน้นผลการกระทำ ว่ามีกระทบต่อฝ่ายหนึ่งร้านแรงหรือไม่ ดังนั้นความประพฤตินั้นจะรุนแรงถึงขนาดผิดอาญาหรือไม่ ไม่สำคัญ หากมีผลทำให้อีกฝ่าย.......(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ • แม้สามีหรือภริยา จะไม่ได้ตั้งใจให้เกิดผลดังกล่าวหากมีผลเช่นนั้นขึ้นก็เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ • ฎีกาที่ 116/2547 กฎหมายครอบครัว

  8. ประพฤติชั่ว ต้อง • ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง คือ จะต้องทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายร้ายแรง เช่น ไปไหนมาไหนก็ถูกคนทั่วไปดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีใครยอมคบค้าสมาคมด้วย • ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ตนยังคงเป็นคู่สมรสของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ หรือ • ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิดควร ในเมื่อเอา.....เช่น สามีเมาสุราทุกวันและตบตีภริยาเป็นประจำ กฎหมายครอบครัว

  9. สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ • ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ มีความหมายเช่นเดียวกับ ป.อ. มาตรา 295 • จิตใจ มิใช่เรื่องของความรู้สึก ดังนั้นหากการกระทำให้เกิดความรู้สึก ว่าเหว่ เจ็บปวด เจ็บใจ แค้น เหล่านี้เป็นอารมณ์หาใช่อันตรายต่อจิตใจไม่ (ฎีกาที่ 1399/2508, 273/2509) • การกระทำหากไม่เป็นเหตุให้รับอันตรายต่อกาย หรือจิตใจ ก็ไม่เป็นเหตุหย่า เช่น ภริยาไล่แทงสามี สามีหลบทัน ไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า (ฎีกา 215/2519) หรือภริยาตัดสายห้ามล้อรถยนต์ เพื่อไม่ให้สามีออกจากบ้าน ยังห่างไกลต่อการที่จะฟ้องว่าภริยาทำร้ายสามี (ฎีกา2943/2524) กฎหมายครอบครัว

  10. การทรมาน หมายถึงการทำให้ลำบากแก่กายหรือจิตใจโดยจงใจ • หมิ่นประมาท หมายถึงการใส่ความให้เขาเสียชื่อเสียง ดูถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง • การเหยียดหยาม หมายถึงการทำให้อับอาย สบประมาทด่าว่าหรือแสดงอาการว่าผู้อื่นต่ำต้อยกว่าตน • การทำร้าย เป็นการทรมานร่างกายหรือจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามที่กระทำต่อคู่สมรสหรือบุพการีของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นเหตุหย่าได้นั้น ต้องเป็นการร้ายแรงจนถึงขนาดที่คู่สมรสไม่อาจอยู่กินเป็นสามีภริยากันได้อีก กฎหมายครอบครัว

  11. สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้ • การทิ้งร้าง เป็นการแยกกันอยู่ ซึ่งขัดต่อสภาพการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตามมาตรา 1461 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการย้ายภูมิลำเนาหรือเปลี่ยนถิ่นที่อยู่อาศัย • หากยังคงอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันแต่มิได้หลับนอนหรือพูดคุยกัน ไม่เป็นเหตุหย่าเพราะทิ้ง (ฎีกาที่ 882/2518) • การทิ้งร้างเกิดจากการการที่ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเจตนาไม่ให้มีความสัมพันธ์ต่อกันฉันสามีภริยา • ฎีกา 2121/2525 • ฎีกาที่ 780/2502 ต่างฝ่ายต่างสมัครใจแยกกันอยู่ แต่สามียังคงส่งค่าเลี้ยงดูแก่ภริยาไม่มีขาด เป็นที่เห็นได้ว่าภริยาก็สมัครใจไม่อยู่ร่วมกันสามีจึงจะอ้างเป็นเหตุทิ้งร้างไม่ได้ • หากเกิดขึ้นเพราะเหตุการณ์หรืออยู่ภายใต้อำนาจบังคับ เช่น สามีเป็นทหารต้องออกไปรบในสมรภูมิ ไม่ใช่การทิ้งร้าง • เกิดจากอำนาจบังคับ ฎีกา 650/2523 กฎหมายครอบครัว

  12. กรณีต่างฝ่ายต่างประกอบอาชีพเป็นเหตุให้ต้องแยกกันอยู่ เป็นกรณีที่เห็นได้ว่ามีเหตุสมควรที่ต้องแยกกันอยู่ • ฎีกาที่ 1932/2536 จำเลย เคยขอให้โจทก์หาที่พักต่างหากจากที่อาศัยอยู่กับเพื่อนในค่ายทหารที่จังหวัด นครพนม แต่โจทก์ไม่ดำเนินการใด ฉะนั้นการที่จำเลยยังคงทำงานและพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจึงเป็นเพราะ โจทก์ไม่ขวนขวายหาที่พักอันเหมาะสม เพื่อโจทก์จำเลยจะได้อยู่ร่วมกันส่อเจตนาว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยไปอยู่ ร่วมกัน กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้อง หย่า • ฎีกาที่ 7229/2537 เหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)จะต้องเป็นเรื่องที่สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่ง การที่โจทก์จำเลยต่างรับราชการและจำเลยมิได้ย้ายตามโจทก์ จึงมีเหตุสมควรในการแยกกันอยู่ จำเลยไม่ได้เดินทางไปหาโจทก์ เนื่องจากโจทก์จำเลยทะเลาะกัน ประกอบกับจำเลยมีเหตุระแวงสงสัยว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภริยา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ กฎหมายครอบครัว

  13. กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำให้อีกฝ่ายหนึ่งแยกไปไม่อยู่กับตน ฝ่ายนั้นจะอ้างว่าอีกฝ่ายทิ้งร้างไม่ได้ • คำพิพากษาศาลฎีกาที่2803/2522ข้อ เท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยคลอดบุตรแล้วโจทก์ไม่อยู่ช่วยเหลือดูแลบุตร จำเลยจึงต้องพาบุตรไปอาศัยอยู่กับมารดาของจำเลยชั่วคราว แต่โจทก์กลับไม่ยอมให้จำเลยอยู่ด้วยโดยไปแจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ให้จำเลยและบุตรออกไปจากบ้านโจทก์ เมื่อจำเลยมาพบพูดจากับโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นสามี โจทก์ก็ไม่ยอมพูดด้วย จำเลยต้องอาศัยอยู่กับมารดาของจำเลยต่อมา ดังนี้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ กฎหมายครอบครัว

  14. การทิ้งร้างต้องมีการสืบเนื่องกันมาตลอดเวลาหนึ่งปี • ฎีกาที่ 215/2519 ภริยาชอบเล่นการพนันสลากกินแบ่ง กินรวบ ไพ่ผสมสิบ ออกจากบ้านไปค้างที่อื่นครั้งละหลายๆ วัน ไปคบชายแปลกหน้าพากันไปในที่ต่างๆ ไม่เป็นจงใจละทิ้งเกิน 1 ปี • เหตุทิ้งร้างตราบใดที่ยังทิ้งร้างต่อเนื่องกันอยู่ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ • ฎีกาที่ 780/2502 (ญ) เหตุหย่าในข้อจงใจละทิ้งร้างเกินกว่า 1 ปีนั้น ตราบใดที่ยังทิ้งร้างกันอยู่ ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขอหย่าได้ไม่ขาดอายุความ กฎหมายครอบครัว

  15. สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ • ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ • สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก • สามีหรือภริยาได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี • ความผิดที่ทำให้ถูกจำคุกนั้น คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องมิได้มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด • การถูกจำคุกดังกล่าวทำให้การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร กฎหมายครอบครัว

  16. สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก • คำพิพากษาถึงที่สุด คือ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาดังกล่าวต่อไปได้ไม่ว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา • โทษ ประการอื่น เช่น ประหารชีวิต กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน มิใช่เหตุหย่าตามมาตรานี้ แม้โทษประหารชีวิตจะเป็นโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก(ชาติชาย) หรือการถูกคุมขังเพื่อรอการประหารชีวิตแม้จะเกิน 1 ปี ก็มิใช่โทษจำคุก • สามีหรือภริยาได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี • ถูกจำคุกเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินหนึ่งปี คือ ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกเกินหนึ่งปี ไม่ว่าคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นจะครบกำหนดหนึ่งปีแล้วหรือไม่ หากผู้นั้นต้อง • ไม่กว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียว หรือหลายกรรม หากเมื่อรวมโทษจำคุกแล้วทำให้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ก็เป็นเหตุหย่า กฎหมายครอบครัว

  17. ความผิดที่ทำให้ถูกจำคุกนั้น คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องมิได้มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด • การใช้สิทธิต้องใช้สิทธิโดยสุจริต ตามมาตรา 5 • ฎีกาที่ 3288/2527ระหว่าง จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ จำเลยมีอาชีพผิดกฎหมายค้ายาเสพติด โจทก์รู้เห็นและร่วมกระทำด้วยโจทก์ให้ญาติของโจทก์นำเฮโรอีนมาจากภาคเหนือ จนญาติของโจทก์และจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 ปี ถือได้ว่าโจทก์ได้ยินยอมหรือรู้เห็น เป็นใจในการกระทำของจำเลยที่เป็นเหตุหย่านั้น โจทก์จะ ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยหาได้ไม่ กฎหมายครอบครัว

  18. มีส่วนก่อให้เกิดขึ้น มีความหมายเช่นเดียวกับ “ผู้ใช้” ตาม ป.อ. มาตรา 84 ไม่วาจะด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือโดยวิธีอื่นใด • ยินยอม(consent) มีความหมายครอบคลุมถึงการยินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งกระทำต่อตนเอง หรือยินยอมให้กระทำต่อผู้อื่นหรือกระทำการใดๆอันกฎหมายกำหนดเป็นความผิดและต้องรับโทษทางอาญาก็ได้ • รู้เห็นเป็นใจ connive ไม่ต้องถึงกับเป็นผู้สนับสนุนในทางอาญาและไม่ถึงกับยินยอมในทางแพ่ง ทั้งไม่ต้องกระทำในทางเคลื่อนไหวร่างกาย (active measure)การนิ่งปล่อยให้เป็นไปก็ถือเป็นรู้เห็นเป็นใจได้ เพียงแต่พูดห้ามแล้วไม่ฟังก็ปล่อยไปตามเรื่อง จะว่าไม่เป็นใจไม่ได้ เพราะการปล่อยไปตามเรื่องกลายเป็นเรื่องยินยอม แม้ครั้งแรกจะพูดห้ามปรามเป็นไม่สมัครใจแต่ภายหลังควรขัดขวางได้แต่ไม่ทำก็คือสมัครใจยินยอมให้เป็นเช่นนั้น กฎหมายครอบครัว

  19. กรณีกระทำความผิดหลายกระทง หากมีส่วนก่อให้เกิดขึ้น หรือยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจในกระทงที่ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ก็จะฟ้องหย่าไม่ได้ กฎหมายครอบครัว

  20. การถูกจำคุกดังกล่าวทำให้การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร • ไม่จำกัดผลตามมาตรา 1516 (2) (ก) หรือ (ข) • เช่น ความเดือนร้อนเพราะขาดผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดู ขาดโอกาสมีคู่สมรสใหม่ ความเสียหายอันเนื่องมาจากการจัดการสินสมรสไม่ได้เพราะปราศจากความยินยอม เป็นต้น หากเกินสมควรแก่การเป็นสามีภริยากันแล้วย่อมเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบตามมาตรา 1516 (2) (ค) เพราะคู่สมรสมิได้อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา • เหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4/1) นั้น หากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งพ้นโทษจำคุกออกมาและยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สิทธิในการฟ้องหย่าย่อมหมดไป เพราะการยอมอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาพอถือได้ว่าได้กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่า กฎหมายครอบครัว

  21. สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ • การไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูนั้น จะต้องมิใช่เป็นเพราะอีกฝ่ายไม่ยอมรับการช่วยเหลือ (ฎีกาที่ 6058/2501) • ทำอย่างไรก็ได้ให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเดือนร้อน • ฎีกาที่ 853/2520 สามี ไม่จ่ายเงินให้ภริยาเหมือนแต่ก่อน แต่ได้มอบเงินให้ลูกหรือคนใช้ไว้ใช้จ่ายในบ้าน ภริยาได้ใช้เงินนั้นไม่เดือดร้อนไม่เป็นการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตาม ควร ไม่เป็นเหตุหย่าตาม มาตรา 1500(3) กฎหมายครอบครัว

  22. การไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูนี้ สามีภรยาจะต้องอยู่ในฐานะที่จะกระทำได้ • หากการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อน เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ • ฎีกาที่ 3608/2531 หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัว ด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเก่ามาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกัน อันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและ บุตรมาก่อนแล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบ ครัวจำเลยเกือบหมดทั้งจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียด หยามมารดาของโจทก์จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบ ด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา กับจำเลยต่อไปได้อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(6) • ถ้าไม่เดือดร้อน เพราะมีรายได้และได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากบิดามารดา ซึ่งมีฐานะมั่นคงก็ไม่เป็นเหตุหย่า (ฎีกาที่ 1633/2542) กฎหมายครอบครัว

  23. ทำการเป็นปรปักษ์ • การกระทำที่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางสามีและภริยาจะดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างปกติสุข หรือการกระทำที่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางต่อความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ร่วมกันอันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง • ฎีกาที่ 5347/2538 การกระทำของจำเลยเป็นการทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาของโจทก์โดยเหล่า เหตุการณ์ตามความเป็นจริงเป็นการกล่าวป้องกันส่วนได้เสียของจำเลยมิให้โจทก์แสดงต่อบุคคลภายนอกว่าจำเลยมิใช่ภริยาโจทก์ดังที่แล้วมาไม่เป็นการใส่ความ โจทก์และไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง กฎหมายครอบครัว

  24. ทำการเป็นปรปักษ์ • ทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายหนึ่ง ทุจริตต่อทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ร้องเรียน ไม่ยอมให้ร่วมประเวณีโดยไม่มีเหตุอันควร • การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง หากมีการกระทำต่อเนื่องตลอดมา คดีไม่ขาดอายุความ • ฎีกาที่ 769/2523 จำเลยมิได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์มาถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วโดยจำเลยมีสามีใหม่และอยู่กินกับสามีใหม่ตลอดมาจนขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าว นอกจากจะเป็นเหตุหย่าในเหตุอื่นเช่นมีชู้จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี เป็นต้นแล้วยังเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง อีกด้วย และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องตลอดมาทุกวัน คดีจึงไม่ขาดอายุความ กฎหมายครอบครัว

  25. ถ้าการกระทำได้เกิดขึ้น แต่ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าเพิกเฉยมิได้แสดงท่าทีติดใจ อาจถือได้ว่าเป็นการให้อภัย สิทธิฟ้องหย่าย่อมสิ้นสิทธิลงตามมาตรา 1518 • ฎีกาที่ 3822/2524 จำเลย ใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 • ฎีกาที่6002/2534โจทก์ จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ 2 ครั้ง แม้จะเป็นความจริงดังที่โจทก์ฎีกา แต่เหตุเกิดก่อนฟ้องประมาณ 14 ปี และ 4 ปี ตามลำดับไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย คงอยู่กินด้วยกันตลอดมาแสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 กฎหมายครอบครัว

  26. สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • ทัณฑ์บนจะต้องกระทำเกี่ยวกับความประพฤติ ซึ่งความประพฤตินั้นจะต้องมิใช่นิสัยตามปกติธรรมดาของบุคคลสามัญชนโดยทั่วไป เช่น การนอนดึก หรือตื่นเช้า • ฎีกาที่ 6483/2534 การ ฝ่าฝืนข้อตกลงระหว่างสามีภริยาเรื่องต่างฝ่ายจะไม่นำบุตรหรือญาติเข้ามาอยู่ ในบ้านที่สามีซื้อเป็นเรือนหอ ไม่เป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 • ต่างฝ่ายต่างผิดทัณฑ์บนด้วยกัน จะฟ้องหย่าไม่ได้ • 5161/2538 การที่จำเลยหึงหวงและโกรธที่โจทก์หนีไปมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่น จึงด่าโจทก์และบุพการีว่ามึงมันเลวเหมือนโคตรมึงนั้นไม่เป็นการหมิ่นประมาท โจทก์หรือบุพการีของโจทก์เป็นการร้ายแรงเพราะเป็นเพียงถ้อยคำที่จำเลยกล่าว ด้วยความน้อยใจการกระทำของจำเลยต่อโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะโจทก์เป็นผู้ ก่อขึ้นถือว่าเป็นเรื่องกระทบกระทั่งกันระหว่างสามีภริยาทั่วไปไม่ร้ายแรง ถึงกับเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(3) หลังจากทำทัณฑ์บนแล้วโจทก์ยังมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่นจำเลยจึงดุ ด่าและทำร้ายโจทก์อีกการกระทำของจำเลยมีสาเหตุจากการกระทำของโจทก์จึงยังไม่ ถือว่าเป็นการประพฤติผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้อันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(8) กฎหมายครอบครัว

  27. ทัณฑ์บนสามีภริยาทำก่อนสมรสได้หรือไม่ทัณฑ์บนสามีภริยาทำก่อนสมรสได้หรือไม่ • 2553/2526 ก่อน จดทะเบียนสมรสโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า 'ฝ่ายภรรยาจะไม่ประพฤติตัวให้ผิดจารีตประเพณีและให้อยู่กินปรนนิบัติในฐานะ ให้เป็นสามีภรรยาอยู่กินร่วมกันตลอดไปและจะไม่ประพฤติปฏิบัตินอกใจสามีอีก ต่อไป เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้กระทำผิดพลาดเงื่อนไขดังกล่าวยินยอมให้ปรับเป็น จำนวนเงิน 50,000 บาท' สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งมีลักษณะเป็นทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติ ของภรรยาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(8) ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าภรรยาได้ หากผิดทัณฑ์บนที่ทำกันเป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ และไม่เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพในส่วนบุคคล ไม่มีวัตถุประสงค์เป็นที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายใด ๆ อีกทั้งมิได้เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ต่อมาโจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสก็ได้ยอมรับสัญญาฉบับนี้ให้มีผลผูกพัน บังคับระหว่างกันได้ สัญญาฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นโมฆะ กฎหมายครอบครัว

  28. ทัณฑ์บนบอกล้างได้หรือไม่ทัณฑ์บนบอกล้างได้หรือไม่ • หนังสือทัณฑ์บนไม่ใช่สัญญาระหว่างสมรสจึงบอกล้างไม่ได้ • ทัณฑ์บนจะต้องทำเป็นหนังสือจะตกลงด้วยวาจาไม่ได้ กฎหมายครอบครัว

  29. เหตุที่ที่ทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปกติสุขเหตุที่ที่ทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปกติสุข • สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • เนื่องจากการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาเป็นไปโดยไม่ปกติสุข คู่สมรสจึงอาจตกลงแยกกันอยู่ชั่วคราว หรือร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแยกกันอยู่โดยอาศัยเหตุตามมาตรา 1462 เมื่อปรากฏว่าการแยกกันอยู่ไม่สามารถแก้ไขสภาพปัญหาครอบครัวให้กลับคืนสู่ปกติสุขได้เป็นเวลาเกินสามปี กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เมื่อสามารถตกลงหย่ากันได้ ซึ่งแยกได้ 2 กรณี • สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี • สามีและภริยาแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี กฎหมายครอบครัว

  30. สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี • สามีภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ • แยกกันอยู่ หมายถึง แยกกันอยู่อาศัย มิได้อยู่ร่วมกัน • ยังอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันแต่อาศัยอยู่คนละห้อง ไม่เรียกว่าแยกกันอยู่เพราะยังพบปะกันได้ แม้จะไม่พูดจาหรือร่วมหลับนอนกัน • การแยกกันอยู่อาจเกิดจากการตกลงกันก็ได้ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นจึงอาจตกลงด้วยวาจาก็ได้ แต่ต้องมีความชัดเจน • ฎีกาที่ 4135/2541 • หรืออาจเกิดจากพฤติการณืที่แสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจแยกกนอยู่ก็ได้ • ฎีกาที่ 1771/2540 8225/2540 • หากสามีหรือภริยาเพียงฝ่ายเดียวสมัครใจแยกกันอยู่โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้สมัครใจด้วย ดังนี้ ฝ่ายทีสมัครใจแยกกันอยู่จะอ้างเป็นเหตุหย่าไม่ได้ • ฎีกาที่ 5196/2538 ,7004/2539, 1762/2542,1633/2542 กฎหมายครอบครัว

  31. การแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขการแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข • ต้องไม่ได้เกิดจากการถูกขู่เข็ญบังคับ เช่น ถูกไล่ให้ออกจากบ้าน 8225/2540 • หากแต่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยไม่ปกติสุข เป็นสาเหตุให้เกิดความสมัครใจขึ้น • ฎีกาที่ 2520/2549 ,6471/2548 • หากการแยกกันอยู่มิได้เกิดจากเหตุดังกล่าว เช่น ต่างไปประกอบอาขีพอยู่คนละแห่ง ไม่เข้าเหตุหย่า • การแยกกันอยู่ต้องมีลักษณะขาดความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาด้วย หากแยกกันอยู่แต่ยังไปมาหาสู่กันตามปกติ ก็ยังถือว่าอยู่ร่วมกันฉันสามีภรยาโดยปกติสุข • แต่กรณีที่สามีภริยาติดต่อกันบ้างตามประสาสามีภริยาแต่ไม่ได้ไปมาหาสู่ร่วมอยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยา น่าจะถือว่าฝ่ายที่ไปจากบ้านสมัครใจแยกกันอยู่ (ฎีกาที่ 7004/2539 ) • การแยกกันอยู่ต้องมีระยะเวลาเกิน 3 ปีติดต่อกัน • การนับระยะเวลาเกิน 3 ปี ต้องต่อเนื่องกัน กฎหมายครอบครัว

  32. สามีและภริยาแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี • คำสั่งของศาลที่สั่งให้แยกกันอยู่ตามมาตรา 1462 ก็เพื่อคุ้มครองมิให้คู่สมรสฝ่ายที่ยื่นคำร้องขอต้องได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนจนกว่าเหตุดังกล่าวจะสิ้นสุดลง เมื่อไม่มีเหตุดังกล่าวแล้ว สามีหรือภริยา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้แยกกันอยู่ได้ หากปรากฎว่าเหตุดงกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไปเป็นระยะเวลานานกว่า 3ปี ย่อมแสดงว่าการที่สามีและภริยาจะอยู่กันร่วมกันฉันสามีต่อไปไม่ปกติสุข ยากแก่การแก้ไขเยียวยาให้สภาพครอบครัวกลับฟื้นคืนดีดังเดิม ดังนั้น ตามาตรา 1516 (4/2) จึงให้สิทธิแก่สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ โดยฝ่ายที่ฟ้องหย่าอาจจะมิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ก็ได้ • แม้เหตุที่แยกกันอยู่ได้หมดแล้ว หากมิได้ร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงเพิกถอนคำสั่ง เมื่อระยะเวลาเกินกว่าสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ยังคงมีสิทธิฟ้องหย่าได้เช่นกัน หากไมได้ฟ้องหย่าและต่อมาภายหลังกลับมาอยู่ด้วยกันอีก พฤติการณ์เช่นนี้พอแสดงว่าต่างฝ่ายต่างไม่ประสงคที่จะใช้สิทธิในการฟ้องหย่า และถือได้ว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่า สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปตามมาตรา 1518 กฎหมายครอบครัว

  33. สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • เหตุหย่าเนื่องจากสาบสูญ มีอยู่ตลอดเวลาที่ยังเป็นคนสาบสูญ หากภายหลังศาลได้มีคำสั่งถอนจากการเป็นคนสาบสูญแล้วจะถือเป็นเหตุหย่าไม่ได้ • หากมิได้ฟ้องหย่า แล้วฝ่ายที่จากไปได้เดินทางกลับมา เช่นนี้ น่าจะทำให้สิทธิในการฟ้องหย่าระงับลง กฎหมายครอบครัว

  34. สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • อาการวิกลจริตดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 3 ประการคือ • มีระยะเวลาในการวิกลจริตติดต่อกันมาเกิน 3 ปี • มีลักษณะยากจะหายได้ • มีอาการถึงขนาดที่จะทดอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ กฎหมายครอบครัว

  35. สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ • เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง และ • โรคติดต่ออันตราย มี 4 โรค ได้แก่ กาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ และไข้เหลือง (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข) • โรคเอดส์ • เป็นโรคอันตรายแต่ไม่ไม่ติดต่อ • โรคมะเร็ง • มีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ • ไข้หวัดนก กฎหมายครอบครัว

  36. สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • อวัยวะเพศทำงานไม่ได้ สามีผ่าตัดแปลงเพศ เป็นอัมพาตลำตัวช่วงล่าง • สภาพที่ไม่อาจร่วมประเวณีต้องเป็นอยู่ตลอดกาล ถ้าเป็นแต่เพียงร่างกายตอบสนองอารมณ์เพศน้อย อันเกิดจากร่างกายไม่แข็งแรง สมบูรณ์ หรือเกิดจากโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ยังไม่เข้าเหตุฟ้องหย่ากรณีนี้ • เหตุหย่ากรณีนี้จะต้องไม่เกิดจากคู่สมรสฝ่ายฟ้องหย่าเอง ก็จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ กฎหมายครอบครัว

  37. การยกเหตุหย่าขึ้นฟ้องไม่ได้การยกเหตุหย่าขึ้นฟ้องไม่ได้ • เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑) และ (๒) ถ้าสามีหรือภริยาแล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ (มาตรา ๑๕๑๗ วรรคหนึ่ง) • เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑๐) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ (มาตรา ๑๕๑๗ วรรคสอง) กฎหมายครอบครัว

  38. เหตุไม่พึงให้หย่า • ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตามมาตรา ๑๕๑๖ (๘) นั้น ถ้าศาลเห็น ว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อย หรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้ (มาตรา ๑๕๑๗ วรรคสาม) กฎหมายครอบครัว

  39. สิทธิฟ้องหย่าระงับ • ข้อพิจารณา • ในกรณีมีเหตุหย่าหลายเหตุ ก็ต้องให้อภัยทุกๆเหตุ จึงจะหมดสิทธิฟ้องหย่า • การให้อภัยจะต้องมีพฤติการณ์ก่อให้เกิดเหตุหย่าขึ้นเสียก่อน จะให้อภัยล่วงหน้าไม่ได้ • การให้อภัย มีความหมายว่า ยกโทษให้ • ฎีกาที่ 3190/2549 • การให้อภัยจะต้องไม่มีเงื่อนไขใดๆ การมีเงื่อนไขแสดงว่ายังถือโทษหรือคาดโทษอยู่มิใช่ยกโทษให้ • ฎีกาที่ 173/2540 กฎหมายครอบครัว

  40. คำพิพากษาศาลฎีกาที่3190/2549 การ ยินยอมและให้อภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518 หมายถึง คู่สมรสฝ่ายที่ยินยอมและให้อภัยได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำ อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้น แต่แสดงเจตนาให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าอนุญาตให้กระทำหรือไม่ใช้สิทธิฟ้องหย่า โจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับ ส. เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนเมื่อปี 2545 โจทก์ทราบว่าจำเลยกับ ส. มีบุตรด้วยกันจึงได้นำคดีมาฟ้อง อันเป็นเหตุผลที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างจำเลยกับ ส. จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่อง ส. ฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องหย่าจำเลยด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้ การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ที่ต่อ เนื่อง ตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529 กฎหมายครอบครัว

  41. คำพิพากษาศาลฎีกาที่173/2540 โจทก์ จำเลยจดทะเบียนสมรสกันต่อมาจำเลยไปได้ม.เป็นภริยาโจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลยศาล ไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องกลับมาอยู่ในบ้านหลังเดียวกับ โจทก์ห้ามเกี่ยวข้องกับหญิงอื่นต่อไปโจทก์จึงได้ถอนฟ้องไปปรากฏว่าหลังจาก ถอนฟ้องแล้วจำเลยยังคงอยู่ร่วมกับม. ฉันสามีภริยาต่อมาการที่โจทก์ยอมถอนฟ้องก็เพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ ไว้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลยการ กระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้าย แรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(6) กฎหมายครอบครัว

  42. การให้อภัยกฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษร อาจแสดงให้ปรากฏด้วยวิธีใดก็ได้ไม่มีแบบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524 จำเลย ใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 กฎหมายครอบครัว

  43. การขอให้ศาลมีคำสั่งชั่วคราวระหว่างพิจารณาการขอให้ศาลมีคำสั่งชั่วคราวระหว่างพิจารณา มาตรา 1530 “ขณะคดีฟ้องหย่าอยู่ในระหว่างพิจารณา ถ้าฝ่ายใดร้องขอ ศาลอาจสั่งชั่วคราวให้จัดการตามที่เห็นสมควร เช่น ในเรื่องสินสมรส ที่พักอาศัย การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยาและการพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร” กฎหมายครอบครัว

  44. อายุความ • สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุในมาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือมาตรา 1523ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความ จริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง (มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง) • เหตุในมาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) นั้นจะนับอายุความตั้งแต่เหตุนั้นๆยุติลง ดังนั้นหากระหว่างที่ยังทำการปฏิปักษ์อยู่ เป็นเหตุต่อเนื่องตลอดเวลา ก็ยังไม่เริ่มนับอายุความ • 63/2520 ,769/2523,981/2535 • เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่งอาศัยเหตุอย่างอื่น กฎหมายครอบครัว

  45. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2520 การ ที่สามีนำหญิงอื่นเข้ามาอยู่ในบ้านและยังอยู่ร่วมกันตลอดมาถือว่าสามีทำการ เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรงจนภรรยาไม่อาจอยู่กินเป็น สามีภรรยากันต่อไปได้ การนับอายุความฟ้องร้องขอหย่าในกรณีเช่นนี้จะต้องนับตั้งแต่เมื่อการทำการ เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรงได้ยุติลงตราบใดที่ เหตุการณ์ดังกล่าวยังคงมีอยู่ย่อมเป็นเหตุต่อเนื่องกันตลอดมาคดีไม่ขาดอายุ ความเพราะอายุความยังไม่เริ่มนับ กฎหมายครอบครัว

  46. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2523 แจ้งแก้ไขข้อมูลจำเลย มิได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์มาถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วโดยจำเลยมีสามีใหม่และอยู่กินกับสามีใหม่ตลอดมาจนขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าว นอกจากจะเป็นเหตุหย่าในเหตุอื่นเช่นมีชู้จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี เป็นต้นแล้วยังเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง อีกด้วย และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องตลอดมาทุกวัน คดีจึงไม่ขาดอายุความ กฎหมายครอบครัว

  47. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2535 พฤติการณ์ ที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 อยู่ร่วมเรือนเดียวกันและมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อย่างเปิดเผย โดยเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวต่อกัน จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าโจทก์เคยไปพบบิดาของจำเลยที่ 2 ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ไปบ้านจำเลยที่ 2 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แสดงโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 2 แสดงตนแก่บุคคลทั่วไปว่ามีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1ในทำนองชู้สาวจึงเป็นเรื่องที่ผิดทำนองคลองธรรมอยู่ในตัวและเกิดความเสีย หายแก่โจทก์ผู้ซึ่งเป็นภรรยาโดยตรง ซึ่งโจทก์ก็แสดงให้เห็นว่ามีฐานะทางสังคมที่ดี เมื่อมีพฤติการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีทัศนะต่อโจทก์ใน ทางไม่ดี ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความราบรื่นในชีวิตสมรสของโจทก์ และความผาสุกในครอบครัว ซึ่งถูกกระทบกระเทือนอยู่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523วรรคสอง โจทก์ได้ทราบถึงความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองกลางปี 2525แต่คำฟ้องและชั้นนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ยืนยันความสัมพันธ์ของจำเลย ทั้งสองเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดมาถึงปี 2528 มิได้หยุดการกระทำและสิ้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าทดแทนภายในปี 2528คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1529 กฎหมายครอบครัว

  48. เหตุอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ ก็ฟ้องหย่าได้ โดยไม่มีอายุความ และตลอดเวลาที่เหตุนั้นยังคงมีอยู่ก็ยังฟ้องหย่าได้ • ฎีกาที่ 1425/2494 การที่สามีหรือภริยาทิ้งร้างไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งนั้นการนับอายุ ความในกรณีเช่นนี้ จะต้องตั้งต้นนับเมื่อการทิ้งร้างและไม่อุปการะเลี้ยงดูนั้นได้ยุติลง ถ้ายังไม่ยุติคือ ยังคงทิ้งร้าง และไม่อุปการะเลี้ยงดูเรื่อยๆ มาจะเป็นกี่ปีก็ตาม อายุความก็ยังไม่เริ่มนับ ฉะนั้น ย่อมฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุนี้ได้เสมอ ไม่ขาดอายุความ • ฎีกาที่ 1456/2495 เหตุหย่าเพราะสามีจงใจละทิ้งภรรยา หรือสามีไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภรรยานั้น ตราบใดที่เหตุดังกล่าวแล้วยังคงอยู่ ย่อมเป็นเหตุที่เกิดต่อเนื่องกันตลอดมา • ฎีกาที่ 780/2502(ญ) เหตุหย่าในข้อจงใจละทิ้งร้างเกินกว่า 1 ปีนั้น ตราบใดที่ยังทิ้งร้างกันอยู่ ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขอหย่าได้ไม่ขาดอายุความ กฎหมายครอบครัว

  49. ผลของการหย่า • ผลต่อบุตร • ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด (มาตรา 1520 วรรคสอง) • ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลกำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ (มาตรา 1522 วรรคสอง) กฎหมายครอบครัว

  50. ผลต่อคู่สมรส • สิทธิเรียกค่าทดแทน • สิทธิเรียกค่าทดแทน คำว่า “ค่าทดแทน” หมายความถึง การที่ฝ่ายหนึ่งได้ก่อให้เกิดเสียประโยชน์แก่อีกฝ่ายหนึ่ง จึงจำต้องมีการจ่ายค่าทดแทนในการที่ฝ่ายนั้นเสียประโยชน์ไป • สามีหรือภริยาแต่จะต้องยื่นขอค่าทดแทนไปพร้อมกับคำฟ้องในคดีขอหย่านั้นด้วย มิฉะนั้น ศาลจะไม่พิพากษาให้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ กฎหมายครอบครัว

More Related