1 / 17

Motivational Interviewing การพูดคุยให้การปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Motivational Interviewing การพูดคุยให้การปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม. พ.อ.น.พ.พิชัย แสงชาญชัย จิตแพทย์ กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เรียบเรียงโดย คณะวิทยากรฝึกปฏิบัติ. หลักการพูดคุยให้การปรึกษา (Motivational Interviewing for change ).

kieu
Download Presentation

Motivational Interviewing การพูดคุยให้การปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Motivational Interviewing การพูดคุยให้การปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พ.อ.น.พ.พิชัย แสงชาญชัย จิตแพทย์ กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เรียบเรียงโดย คณะวิทยากรฝึกปฏิบัติ

  2. หลักการพูดคุยให้การปรึกษา(Motivational Interviewing for change) • พูดคุยแบบ “ให้การปรึกษา(Counseling)” • ให้ความสำคัญที่ผู้รับการปรึกษา(Client-centered) • ทราบขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of Change, Prochaska & DiClemente) และมีท่าทีที่เหมาะสม • ทฤษฎีการรับรู้ตนเอง(Self Perception Theory) • ทักษะ & กลยุทธ์ ( Skills :OARS & Strategies) • การจัดการแรงต้าน (Handling Resistance)

  3. ขั้นตอนการให้การปรึกษา ขั้นตอนที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพ ขั้นตอนที่ 2 การทำความเข้าใจและหาสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนที่ 3 การหาวิธีแก้ไขปัญหา ขั้นตอนที่ 4 การสรุปสิ่งที่พูดคุย *** มีทิศทาง ไปสู่เป้าหมายชัดเจน (Goal-directed)

  4. ทักษะการพูดคุยแบบผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลาง(Client centered) ตัวอย่าง • การฟังอย่างตั้งใจ(Active listening) • การสื่อสารทางบวก ทั้งภาษาพูดและภาษากาย(Positive Verbal & nonverbal communication )

  5. กรณีศึกษา • เด็กชายบอย วัย15 ปี มาด้วยคดีลักทรัพย์ตามห้างสรรพสินค้า มีท่าทางหงุดหงิด ก้าวร้าว ไม่เป็นมิตร มีประวัติการใช้ยาบ้าเป็นครั้งคราว มองว่าการใช้ยาบ้าเป็นเรื่องทั่วไปที่ทุกคนในกลุ่มใช้ ใช้แล้วรู้สึกมั่นใจ ล่าสุดใช้ยาบ้าก่อนกระทำเหตุ หลังจากนั้นถูกตำรวจจับมาดำเนินคดี

  6. ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมStage of Change(Prochaska & DiClemente) • ขั้นเมินเฉยปัญหา (Pre-contemplation) • ขั้นลังเลใจ (Contemplation) • ขั้นตัดสินใจหรือเตรียมการ(Determination or preparation) • ขั้นลงมือแก้ไข (Action) • ขั้นกระทำต่อเนื่อง(Maintenance) • ขั้นกลับไปติดซ้ำ(Relapse)

  7. ท่าทีที่เหมาะสมต่อขั้นต่างๆของแรงจูงใจท่าทีที่เหมาะสมต่อขั้นต่างๆของแรงจูงใจ Pre-contemplation Information, feedback Contemplation Pros & Cons Determination Menu, freedom of choice responsibility, self-efficacy Action Compliance Maintenance Relapse prevention Relapse Hope, support, self-efficacy

  8. ทฤษฎีการรับรู้ตนเอง (Self Perception theory) • “As I hear myself talk, I learn what I believe” “หากฉันได้ยินสิ่งที่ฉันคุยกับตนเอง ฉันก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฉันเชื่อ” • กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดข้อความจูงใจตนเอง (Self-Motivational Statement, SMS)

  9. ทักษะการให้การปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ(OARS)ทักษะการให้การปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ(OARS) • การถามคำถามปลายเปิด (Open-ended questioning) • การชื่นชมยืนยันรับรอง (Affirmation) • การฟังอย่างเข้าใจและสะท้อนความ (Reflective listening) Simple reflection (การสะท้อนความแบบธรรมดา) • Repeating - ทวนความ • Rephrasing – ทวนวลี • Paraphrasing– ถ่ายทอดความ • การสรุปความ (Summarization)

  10. กลยุทธ์ในการให้การปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจกลยุทธ์ในการให้การปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ • ถามรายละเอียด(Elaboration) ถามเพื่อให้ได้รายละเอียดมากๆ • ถามเพื่อกระตุ้นเร้า(Evocative Questions) ถามตรงๆเพื่อได้ข้อมูลที่เป็นปัญหา • จินตนาการ(Imagining) สมมติสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น สมมติสิ่งที่ดีที่สุดที่อาจเกิดขึ้น

  11. มองไปข้างหน้า(Looking Forward) มองไปในอนาคต ชีวิตจะเป็นอย่างไร • มองย้อนกลับไป(Looking Back) ชีวิตก่อนหน้านี้ คุณเป็นอย่างไร • ค้นหาเป้าหมายและคุณค่าชีวิต(Exploring Goals or Values) อะไรคือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในชีวิต อะไรคือเป้าหมายของชีวิตคุณ

  12. ไม้บรรทัดของความพร้อม (Readiness ruler) : ให้ผู้ป่วยลองให้คะแนน 0-10 สำหรับความสำคัญ ความมั่นใจ และความพร้อมของการเปลี่ยนแปลง : ถามผู้ป่วยว่า เพราะอะไรถึงไม่ให้คะแนน 0 หรือ ตัวเลขที่ต่ำกว่าจำนวนที่เลือก

  13. ขัดเพื่อให้แย้งParadoxical Challenge พูดคุยเข้าข้างจิตใจที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยโต้แย้ง เช่น “ดูแล้วคุณยังติดใจสุรายาเสพติดอยู่มาก คงจะเลิกยาก” “พี่คิดว่า การเล่นเกมส์น่าจะมีประโยชน์กับหนูมากกว่าการเรียน”

  14. การจัดการกับแรงต้านHandling Resistance

  15. ข้อความที่แสดงถึงแรงต้านResistanceTalkข้อความที่แสดงถึงแรงต้านResistanceTalk • ข้อความของแรงต้าน(Non-SMS or Resistance Talk) หมายถึงข้อความที่ตรงข้ามกับ “ข้อความที่ดีงาม” (SMS) เช่น ข้อความที่พูดถึง ข้อดีของการเสพยา ข้อความที่พูดถึง ข้อเสียของการเลิก ข้อความที่แสดงถึงการไม่คิดตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง ข้อความที่แสดงถึงการมองการเปลี่ยนแปลงว่าน่าจะเป็นไปในทางลบ • ผู้ให้การปรึกษาควรระลึกว่าแรงต้านเป็นเรื่องปกติ แท้จริงผู้รับการปรึกษากำลังรู้สึกสองจิตสองใจ • แรงต้านที่เกิดขึ้น เตือนใจให้ผู้ให้การปรึกษา ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เสียใหม่

  16. ทักษะการจัดการกับแรงต้านHandling Resistance ตัวอย่าง • Reflective listening Simple reflection Complex reflection เช่น Amplified reflection – ซ้ำเติมให้หนักขึ้น Metaphor – อุปมาอุปไมย • Shifting focus –การเปลี่ยนจุดเน้น เปลี่ยนเรื่องคุย • Responsibility – ความรับผิดชอบ หรือการตัดสินใจอยู่ที่คุณ • Reframing – yes…but – การมองเชิงบวกใช่....แต่... ในขณะเดียวกัน.. • Paradoxical challenge - การขัดเพื่อให้แย้ง

  17. ปิดการสนทนา • สรุปการพูดคุยในวันนี้ ปัญหาที่นำมาพูดคุย • พูดถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลง(Change plan) • เป้าหมายในชีวิตของคุณ คือ ....... • สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ ....... • อุปสรรคที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย คือ ............ • ให้กำลังใจในการนำ “สิ่งที่ต้องทำ”ไปปฏิบัติ และนัดพบครั้งต่อไปในรายที่จำเป็น

More Related