1 / 62

ชาตินิยมกับกฎหมาย

ชาตินิยมกับกฎหมาย. กฤษณ์พชร โสมณ วัตร. สำนึกความเป็นชาติ. ไม่ใช่แค่เครื่องบิน. นอกจากทหารยังเกี่ยวกับคนอื่นๆ ด้วย. ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย. ในทางที่ปลอดความรุนแรง. 1. สำนึกความเป็นชาติ. ปฏิกิริยาต่อฟุตบอลโลก แมทต์ ที่เดนมาร์กมีชัย เหนือสก็อต แลนด์ในฟุตบอลโลก ปี 1986

Download Presentation

ชาตินิยมกับกฎหมาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชาตินิยมกับกฎหมาย กฤษณ์พชรโสมณวัตร

  2. สำนึกความเป็นชาติ

  3. ไม่ใช่แค่เครื่องบิน

  4. นอกจากทหารยังเกี่ยวกับคนอื่นๆ ด้วย

  5. ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย

  6. ในทางที่ปลอดความรุนแรงในทางที่ปลอดความรุนแรง

  7. 1. สำนึกความเป็นชาติ • ปฏิกิริยาต่อฟุตบอลโลกแมทต์ที่เดนมาร์กมีชัยเหนือสก็อตแลนด์ในฟุตบอลโลก ปี 1986 • “มีแต่ชาวสวีเดนกับพวกคนทรยศเท่านั้นแหละที่ไม่ได้ดู” • มีนัยของความไม่เป็นมิตร การต่อสู้แข่งขัน และการเป็นศัตรูกันระหว่างชาติต่างๆ

  8. ในฟุตบอลไม่มีชาตินิยม ไม่มีความรุนแรง? • Brazil's worst nightmare: Argentina wins World Cup • BELO HORIZONTE, Brazil –  Police are on alert in the World Cup city of Belo Horizonte because of concerns about renewed violence between soccer fans from Argentina and Brazil.

  9. ชาตินิยมแผ่ซ่านไปในทุกที่ชาตินิยมแผ่ซ่านไปในทุกที่

  10. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

  11. ลูกจีนรักชาติ

  12. แนวร่วมประชาชนต่อต่านเผด็จการแห่งชาติแนวร่วมประชาชนต่อต่านเผด็จการแห่งชาติ

  13. มวลมหาประชาชน

  14. ทำเพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน • คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) 2557 • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) 2549 • คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) 2534 • คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน2520, 2519 • คณะปฏิวัติ... • สำนึกเรื่องชาติมีพลังและเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางมาก

  15. คำถาม คือ.. • สำนึกถึงความเป็นชาติ คืออะไร? (What) • สำนึกถึงความเป็นชาติ เกิดขึ้นเพื่ออะไร? (Why) • สำนึกถึงความเป็นชาติ เกิดขึ้นได้อย่างไร? (How) • สำนึกถึงความเป็นชาติ เกิดขึ้นได้อย่างไร? (When)

  16. สำนึกความเป็นชาติ คืออะไร • ความเป็นไทย คือธรรมชาติหรือเอกลักษณ์ไทยที่ดำรงอยู่มาช้านานแล้วและคนไทยทุกคนตระหนักถึงคุณค่าของมัน • ชาติคือชุมชนจินตกรรมมิใช่ความจริงตามธรรมชาติ แต่เป็นผลผลิตของจินตนาการเกี่ยวกับมันมากกว่า • ชาติเป็นผลพวงจากจินตกรรมและต้องสร้างสถาบันทางสังคมและการปฏิบัติผลิตซ้ำในความสัมพันธ์ที่เป็นจริงของมนุษย์ • ทฤษฎีเกี่ยวกับชาตินิยม จำแนกได้สองกลุ่ม คือทฤษฎีที่ทุ่มเทคำอธิบายให้กับจินตกรรม และทฤษฎีที่พิจารณาความสัมพันธ์ที่เป็นจริง

  17. ชาติ คือชุมชนจินตกรรม • “ชาตินิยม” (Nationalism) ใกล้เคียงกับการเป็นศาสนาหรือเครือญาติ มากกว่าเป็นลัทธิความเชื่อ (-ism) • ชาติคือ ชุมชนจินตกรรมการเมือง และจินตนาการขึ้นโดยมีทั้งอำนาจอธิปไตยและขอบเขตจำกัด • การคิดว่ามี “ชาติของเรา” ต้องมี “ชาติอื่น” เสมอ • ชาติเป็นจินตนาการ เพราะสมาชิกในชาติผูกพันกันด้วยความสามารถในการจินตนาการถึงกัน แม้จะไม่เคยรู้จักพูดคุยกันมาก่อน • ชาติเป็นชุมชน เพราะเป็นภราดรภาพอันเสมอภาคและลึกซึ้ง

  18. จินตนาการด้วยทุนนิยมการพิมพ์จินตนาการด้วยทุนนิยมการพิมพ์ • ความสามารถในการจินตนาการถึงคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ว่ามีวิถีชีวิตสัมพันธ์กัน เป็นชุมชนเดียวกันเกิดจากเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร • ยุคแรกเริ่มคือเทคโนโลยีการพิมพ์รวมกับทุนนิยม • เทคโนโลยีการพิมพ์ทำให้ความสามารถในการผลิตซ้ำสูงมาก • ทุนนิยมทำให้เกิดการพิมพ์หนังสือภาษาถิ่นเพื่อขายขึ้น • ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง “ชาติ” ในความหมายนี้จะไม่เกิดขึ้น • หนังสือพิมพ์เป็นเหมือนการสวดมนต์ยามเช้าในยุคกลาง คือเป็นการทำพิธีกรรมทางศรัทธาต่อ “ชาติ”

  19. จินตนาการด้วยการจาริกของคลีโอจินตนาการด้วยการจาริกของคลีโอ • คลีโอ (Creole) คือ ผู้บุกเบิกทวีปใหม่ ส่วนใหญ่คือข้าราชการของเข้าอาณานิคมที่ต้องไปประจำในต่างทวีป • คลีโอรุ่นสองมีสถานะด้อยกว่าข้าราชการในประเทศหลัก เพราะเชื่อว่าแปดเปื้อนความอนารยะมากับทวีปใหม่ ทั้งที่ผ่านการศึกษาเหมือนกัน • คลีโอเหล่านี้จะต้องย้ายที่ทำงานไปตามทีต่างๆ ในอาณานิคมลาติน • คลีโอเหล่านี้เกิดสำนึกจินตนาการถึง “ชาติ” ในทวีปใหม่ได้มากกว่าความภักดีต่อกษัตริย์เดิมของตน • สำนึกความเป็นชาติในลาตินอเมริกาจึงมีมาก่อนยุโรปเสียอีก

  20. French Creole peoples

  21. Pedro I of Brazil “the Liberator“ the founder and first ruler of the Empire of Brazil. hereigned brieflyover Portugal, where he also became known as "the Liberator" as well as "the Soldier King".

  22. ชาติ คือภูมิกายาอันเกิดจากแผนที่ • ลำพังจินตนาการเกี่ยวกับ “ชาติ” ไม่ทำให้ความสัมพันธ์เชิงสถาบันแบบชาติเกิดขึ้นจริงได้ • การเป็นมนุษย์ไม่ต้องการแค่วิญญาณ แต่ต้องมีกายเนื้อด้วย ฉันใด • ชาติก็ต้องการกายภูมิประเทศ เรียกว่า “ภูมิกายา” (Geo-body) • ความรู้สึกถึงชาติจึงเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจาก “ภูมิกายา” • แผนที่เป็นการสร้างภูมิกายาของชาติขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม • ประเทศสยามจึงเกิดจากแผนที่ ประเทศสยามและชาติไทยจึงไม่มีมาก่อนการ่างแผนที่ในรัชกาลที่ห้า

  23. ชาติ คือจินตนาการที่ปฏิสัมพันธ์พื้นที่และมนุษย์ • แน่นอนว่าชาติ คือจินตนาการ และชาติคือแผนที่ • แต่ลำพังทั้งสองอย่างจะก่อให้เกิดชาติในทางปฏิบัติหรืไม่? • การที่ชาติจะมีผลขึ้นจริงนั้นต้องมีการสร้างพื้นที่ (space) 3 ลักษณะ • พื้นที่กายภาพ (Physical space) • พื้นที่ทางความคิด (Space of thought) • พื้นที่ทางสังคม (Social space) • ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งชาติในทางปฏิบัติย่อมไม่เกิด • คิดแบบนี้ชาติจะไม่เกิดก่อนยุคพัฒนา ประมาณ พ.ศ. 2500

  24. ถนนเชื่อมพื้นที่กายภาพในสังคมไทยถนนเชื่อมพื้นที่กายภาพในสังคมไทย

  25. ถนนเชื่อมท้องถิ่นกับเมืองถนนเชื่อมท้องถิ่นกับเมือง

  26. ถนนเปลี่ยนการค้า: ส่วนหนึ่งของพื้นที่ความคิด

  27. คนไทยเชื่อมกันจริงในเอเชี่ยนเกมส์ 2509

  28. ชาติ คืออะไร? • ชาติ คือ จินตนาการที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์จริงตามมา • การเป็นจินตนาการมิได้ทำให้ “ชาติ” หมดค่าลงไปในคราวเดียว • ส่วนหนึ่งซึ่งไม่น้อยในชีวิตของเราดำรงอยู่ด้วยจินตนาการและความหวัง • เช่น ความหวังว่าพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ หวังว่าจะเรียนจบ ฯลฯ • “I have a dream.” Martin Luther King • เพียงแต่ระลึกถึง “ชาติ” ไว้ ในระดับที่เป็นชุมชนจินตกรรม และเปิดโอกาสให้ชีวิตได้พบกับจินตนาการอื่นๆ บ้าง

  29. 2. กฎหมายกับชาตินิยม • พระราชบัญญัติปราบปรามการเป็นคอมมิวนิสต์ • การงดเว้นกฎหมายในกรณีรัฐประหาร • การงดเว้นสิทธิต่อ “ศัตรูของชาติ” • กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

  30. 2.1 ทำลายคอมมิวนิสต์ • คอมมิวนิสต์ คืออะไร? สังคมนิยม, ฝ่ายซ้าย, มาร์กซิสม์ ฯลฯ • กลุ่มความคิดความเชื่อทางการเมืองว่า โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งถูกกำหนดโดยวิธีการผลิต เป็นตัวกำหนดโครงสร้างของรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคม • เราเรียกกันว่า “โครงสร้างส่วนล่าง-โครงสร้างส่วนบน” • ชนชั้นและความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจเกิดจาก การที่ชนชั้นปกครองผู้ขาดการครอบครองปัจจัยการผลิตทั้งหมด • ซึ่งเป็นที่มาของการกดขี่ขูดรีดชนชั้นแรงงาน

  31. สิ่งที่มาร์กซิสต์ทำ คือ • ต้องการให้เกิดการปฏิวัติของชนชั้นกรรมชีพ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างชนชั้น • วิธีการคือ ปฏิวัติ แล้วเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจเสียใหม่ • ไม่ให้บุคคลธรรมดาเกิดความได้เปรียบจากการผูกขาดปัจจัยการผลิต • การจะทำได้ต้องรื้อระบบคุณค่า ระบบศีลธรรม และกฎหมายใหม่ก่อน • เช่น ต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล • ตามทฤษฎี ในระยะแรกหลักการปฏิวัติ ให้พรรคคอมมิวนิสต์ถือครองทรัพย์สินทั้งหมดจนสร้างระบบคุณค่าแบบใหม่สำเร็จ • พรรคคอมมิวนิสต์จะหมดความจำเป็นเหลือแต่ “ชุมชน” ที่เสมอภาค

  32. พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 • ความคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ต้องการขุดรากถอนโดนโครงสร้างเศรษฐกิจเดิม และปรับปรุงโครงสร้างส่วนบนใหม่ • ทั้ง “ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์” ล้วนเป็นโครงสร้างส่วนบนที่จรรโลงระบบเศรษฐกิจไว้ • คอมมิวนิสต์จึงเป็นปฏิปักษ์ต่อความคิดชาตินิยมไทยอย่างมาก (หลายประเทศ ความคิดคอมมิวนิสต์นำไปสู่การประกาศอิสรภาพ) • กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นพิเศษในการปราบปรามคอมมิวนิสต์

  33. จุดจบของ “คอมมิวนิสต์”

  34. 2.2 การนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร • คณะรัฐประหารทั้งหมดทั้งมวลล้นอ้างว่าทำเพื่อ “ชาติ” • แต่การรัฐประหารเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 113 • ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต • การทำการ “กบฏ” เพื่อ “ชาติ” เป็นเหตุในการนิรโทษกรรมทุกครั้ง

  35. ใช่การออกกฎหมายให้ตนเองพ้นผิดหรือไม่ใช่การออกกฎหมายให้ตนเองพ้นผิดหรือไม่ มาตรา ๔๘ บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติรวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

  36. 2.3 การกล่าวหานักสิทธิฯ ว่ารับเงินต่างชาติ • ช่วง พ.ศ. 2530-2544 มีการเคลื่อนไหวภาคประชาชนด้านแรงงาน และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยจำนวนมาก • การเรียกร้องสิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน สิทธิด้านสิ่งแวดล้อม มาก • ชักจูงชาวบ้านประท้วงขัดขวางความเจริญ.. • ค้านรัฐบาลไม่ให้ทำประโยชน์เพื่อคนส่วนใหญ่.. • เพราะรับเงินต่างชาติมาก่อกวนประเทศไทย

  37. สิทธิกับการรับเงินต่างชาติสิทธิกับการรับเงินต่างชาติ • NGO อาจรับเงินต่างชาติจริงก็ได้ และอาจทำเพื่อหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนตัวก็ได้ • งานของคนไทยกับเงินของต่างชาติต่างกันตรงไหน? • ถ้าเอาเงินของต่างชาติมาทำประโยชน์ให้สังคมไม่ยิ่งดีหรือ? • เพราะความคิดชาตินิยมที่บอกเราว่าแต่ละชาติไม่อาจหวังดีต่อกันได้ • สิทธิต่างๆ ที่ NGO เรียกร้องบางครั้งก็ถูกมองข้ามไป • ทั้งที่ตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีความบกพร่องแต่อย่างใด • ต่อให้ NGO รับเงินเพื่อหวังความร่ำรวยแล้วเกี่ยวอะไรกับการคุ้มครองสิทธิที่ประชาชนพึงมีอยู่แล้ว?

  38. เหมืองทองวังสะพุง

  39. จินตนา แก้วขาว

  40. ผลทางกฎหมาย

  41. กระบวนการยุติธรรมสำหรับศัตรูของชาติกระบวนการยุติธรรมสำหรับศัตรูของชาติ • การจัดตั้งศาลพิเศษ พ.ศ. 2476, 2478, 2481 • สฤษดิ์ธนะรัชต์ ประหารชีวิตโดยใช้มาตรา 17 • “มาตรา 17 ในระหว่างที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรับมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของ คณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใดๆได้ และให้ถือว่า คำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดออกไปตามความในวรรคก่อนแล้วให้นายกรับมนตรีแจ้งให้สภาทราบ” 

  42. ต่อมาหลังสฤษดิ์ธนะรัชต์ เสียชีวิต ถนอม กิตติขจร รัฐประหารแล้วใช้มาตรา 17 เช่นเดียวกันยึดทรัพย์สฤษดิ์ธนะรัชต์ในวันที่ 26 มิถุนายน 2507 • หลัง 14 ตุลาคม 2516 ถนอมถูกขับไล่ออกนอกประเทศ สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีจากการพระราชทาน • สัญญา ได้ยึดทรัพย์ถนอม โดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 เช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2517

More Related