1 / 38

จิระเดช บุญ รัตน หิรัญ ไกรสีห์ ลิ้มประเสริฐ

การนวดราชสำนัก. จิระเดช บุญ รัตน หิรัญ ไกรสีห์ ลิ้มประเสริฐ. ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์. รศ.นพ.กรุงไกร เจนพาณิชย์. ภาพประวัติศาสตร์ อ.ณรงค์ สักข์ และ อ.กรุงไกร ชี้จุดตำแหน่งนวดบนศพอาจารย์ใหญ่. 1. ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์.

Download Presentation

จิระเดช บุญ รัตน หิรัญ ไกรสีห์ ลิ้มประเสริฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การนวดราชสำนัก จิระเดช บุญรัตนหิรัญ ไกรสีห์ ลิ้มประเสริฐ

  2. ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์

  3. รศ.นพ.กรุงไกร เจนพาณิชย์

  4. ภาพประวัติศาสตร์ อ.ณรงค์สักข์ และ อ.กรุงไกร ชี้จุดตำแหน่งนวดบนศพอาจารย์ใหญ่

  5. 1.ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์1.ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ • 1.1) ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ คือ ต้องรู้ถึงเรื่องรูปร่าง ลักษณะของกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ เส้นเลือดดำ เส้นเลือดแดง เส้นประสาท เส้นเอ็น ซึ่งสัมพันธ์กับการนวดโดยตรง นอกจากนี้ควรรู้ถึงอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ ทั้งในทรวงอก และช่องท้อง รวมทั้งในอุ้งเชิงกรานและสมอง อาทิ เช่น หัวใจ ปอด ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ เป็นต้น • 1.2) ความรู้ทางสรีรวิทยา คือ ต้องรู้ถึงหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายดังกล่าวแล้ว ปรกตินั้นอวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่อะไรบ้าง และในขอบเขตเพียงใด • 1.3 ความรู้ทางพยาธิวิทยา คือ ต้องรู้ถึงสาเหตุของการเกิดโรคที่ทำให้ลักษณะรูปร่าง ตลอดจนหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป เช่น การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ข้อแพลง เอ็นอักเสบ ข้อติดขัด การไหลเวียนเลือดผิดปกติ เป็นต้น

  6. 2. การวิเคราะห์โรค • มีหลักอยู่ว่า “ ต้องพิเคราะห์โรคให้ได้ก่อนทำการรักษาทุกครั้ง ” • 2.1) การซักประวัติ ได้แก่ • ก. อาการสำคัญที่นำคนไข้มาหาหมอ เช่น ยกแขนไม่ได้เพราะไหล่ติด เป็นต้น • ข. ประวัติการป่วยปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการสำคัญ ต้องทราบถึงลักษณะของการเริ่มเจ็บป่วย (เป็นทันที หรือค่อยเป็นค่อยไป) ความรุนแรง(มาก ,น้อย) ทำท่าไหนไม่ได้บ้าง หรือทำแล้วเกิดติดขัด เกิดความเจ็บปวด เคยมีการอักเสบบริเวณนั้น ๆ หรือไม่ ฯลฯ • ค. บางครั้งต้องซักถามถึงประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ร่วมด้วย เพราะจะทำให้ทราบถึงโรคประจำตัวของคนไข้ ซึ่งอาจมีผลต่อการป่วยในครั้งนี้ เช่น หอบหืด โรคปอด โรคหัวใจ (ความดันเลือดสูงต่ำ) โรคเบาหวาน โรคคอพอกเป็นพิษ ฯลฯ

  7. 2.2) การตรวจร่างกาย • กระทำโดยการดู การคลำ จับส่วนที่พิการเคลื่อนไหวดู หรือให้คนไข้เคลื่อนไหวเองว่าทำได้หรือไม่ ทำได้มากน้อยเพียงใด มีการเจ็บปวดร่วมด้วยหรือไม่ การเจ็บปวดมีลักษณะอย่างไร (เสียดแทง ,ตื้อ ๆ ,ปวดร้าว , ปวดตุบ ๆ ฯลฯ) • ตรวจดูลักษณะของส่วนต่างๆของร่างกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง บวม ลีบ ความพิการ รอยโรค ตรวจลักษณะของกระดูกสันหลัง คด โก่ง แอ่น ตรวจลักษณะกระดูก แขน ขา ความพิการ รอยโรค การโก่ง ผิดรูป

  8. การตรวจสภาวะของร่างกายก่อนทำการนวด เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น หมอนวดควรตรวจสภาพร่างกายของคนไข้ โดยดูลักษณะทั่วไปก่อน แล้วดูส่วนที่เจ็บป่วย จากนั้นจึงดูการทำงานของปอด (การหายใจเร็ว – ช้า,ลึก-ตื้น)และการไหลเวียนเลือด (การทำงานของหัวใจ และความดันเลือดทราบได้จากการจับชีพจร) เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดท่าที่จะนวดคนไข้ คือ ควรให้คนไข้นั่งหรือนอนนวด นวดมากน้อยเพียงใด ใช้แรงขนาดไหน ทำนานหรือ ไม่เป็นต้น • เป็นที่สังเกตว่า ไม่ว่าจะอยู่ในท่าใดขณะนวดทั้งหมอและคนไข้ จะต้องอยู่ในท่าที่สบายผ่อนคลายไม่เกร็ง

  9. การวางมือ • อาจใช้เพียงนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางในบางกรณี หรือใช้ฝ่ามือ(โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้นมือ) บางคราวใช้นิ้วมือซ้อนกัน ทั้งนี้ต้องพิจารณาให้เหมาะสมเป็นราย ๆ ไป

  10. ตำแหน่งนวด หรือจุดนวด • อาจเป็นตำแหน่งที่กล้ามเนื้อ ช่วงระหว่างกล้ามเนื้อตามแนวหลอดเลือดแดง หรือ เส้นประสาท ความมุ่งหมายก็เพื่อให้กล้ามเนื้อที่แข็งตึง หรือหดเกร็ง (ซึ่งทำให้ไม่สบาย) เกิดการคลายตัว หรือหย่อนตัว (อาการเจ็บป่วยจะหายไป) และเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลืองจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ที่เคยทำหน้าที่หย่อน กลับทำงานได้มากขึ้นเป็นปกติ

  11. การนวดจะต้องพิจารณาถึง • ท่านวด โดยปกติอาจให้คนไข้นั่งกับพื้น หรือนอนบนฟูกที่พื้น แล้วหมอนวดนั่งคุกเข่า หรือยืนนวด แต่บางคราวเกิดความจำเป็นอาจให้คนไข้นั่งบนเก้าอี้ก็ได้ แต่ผลการนวดมักจะไม่ดีเท่าที่ควร เพราะผิดท่าทาง เกิดการเกร็งของมือหมอ หมอนวดอาจปวดเมื่อยเสียเองก็ได้ บางคราวคนไข้ก็อาจระบมด้วย • ท่านอนของคนไข้โดยปกติใช้ท่านอนตะแคง โดยให้ขาล่างที่ติดกับพื้นเหยียดตรง ส่วนขาบน งอเข่า เอาส้นเท้าชิดกับหัวเข่าของขาล่าง เพื่อกันล้มคว่ำเวลาถูกนวด

  12. แรงที่ใช้นวด • ควรนวดเบา ๆ ในตอนแรก (ใช้แรงน้อยก่อน) แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่างของคนไข้ ความรุนแรงของโรคมากน้อยเพียงใด เป็นแบบปัจจุบัน(เกิดขึ้นทันที)หรือแบบเรื้องรัง การกดเบาเกินไปจะไม่ได้ผล ส่วนการกดแรงเกินไปจะทำให้เสียผลในการรักษาและอาจเกิดการระบมได้

  13. เวลาที่ใช้นวด • เวลาที่ใช้นวดแต่ละจุดเป็นคาบ คือ กำหนดเวลา ลมหายใจ เข้า-ออก 1 รอบ เป็น 1 คาบ ถ้าหายใจสั้นก็เป็นคาบสั้น ถ้าหายใจยาวนับเป็นคาบยาว การกดนานเพียงใดย่อมขึ้นกับลักษณะของโรค และคนไข้ด้วย • ควรกดนานพอควร ถ้ากดเวลาสั้นจะไม่ได้ผลในการรักษา การกดนานเกินไป นอกจากจะทำให้มือของหมอนวดล้าง่ายแล้วคนไข้อาจระบมได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี มีหลักว่าจะต้องค่อย ๆ กดโดยเพิ่มแรงทีละน้อยแล้วคงอยู่ในลักษณะนั้นนานตามต้องการ จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อย ไม่ใช่รีบปล่อยหรือยกมือโดยเร็วเพราะจะทำให้เกิดการระบมได้ด้วย

  14. ควรนวดที่ไหนหรือจุดใดก่อนหลัง • หมอนวดจะต้องทราบว่าโรคใดควรนวดจุดใดเป็นจุดแรกและจุดต่อ ๆ ไปควรนวดจุดใด ในการนี้จะต้องมีการศึกษาค้นคว้าให้ถ่องแท้ว่า การนวดที่ให้ผลดีที่สุดควรเป็นตำแหน่ง 1 2 3 4 5 หรือ 5 4 3 2 1 ฯลฯ ด้วยการกระทำเช่นนี้จะทำให้มีการพัฒนาการนวดให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

  15. การนวดซ้ำในแต่ละคราว • หมอนวดจะต้องทราบว่าควรนวดซ้ำอีกกี่รอบ เช่น 2 -3-4 หรือ 5 รอบ เรื่องนี้จะต้องอาศัยความชำนาญและการตรวจสอบตลอดเวลา หมอนวดที่ชำนาญจะนวดรักษาไปพลางตรวจไปพลาง

  16. ระยะถี่ห่างของการไปหาหมอนวด • หมอนวดจะต้องแนะนำให้คนไข้ทราบ เพราะบางโรคต้องนวดทุกวันในระยะแรก จากนั้นจึงเว้นไปนวดทุก ๆ 2-3 วัน เป็นต้น การนวดซ้ำทุกวันเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นผลร้ายได้ เช่น เกิดการระบม การอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อ เป็นต้น การเว้นระยะการนวดนานเกินไป ผลดีที่คนไข้ควรจะได้รับก็จะไม่ติดต่อกัน ทำให้เสียผลในการรักษาได้

  17. ต้องนวดกี่ครั้งจึงหาย • หลังจากพิเคราะห์โรคได้อย่างถ่องแท้แล้วว่าคนไข้เป็นโรคอะไรมีอาการอย่างไรรุนแรงแค่ไหน หมอนวดที่ชำนาญจะบอกได้คร่าว ๆ ว่าควรนวดกี่ครั้ง และใช้เวลานานเท่าใดจึงจะหาย หรือทุเลามากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้บอกให้คนไข้ทราบได้โดยประมาณ การจะกำหนดให้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องหาย 100 เปอร์เซ็นต์ ในสามครั้ง ห้าครั้ง นับเป็นการผิดพลาดอย่างมาก เพราะการหายป่วยหรือไม่หายมีปัจจัยมากมายมากเกี่ยวข้องด้วยทั้งในฝ่ายคนไข้และฝ่ายหมอนวดเอง

  18. คำแนะนำสำหรับคนไข้ • หมอนวดควรแนะนำคนไข้ โดยอาศัยหลักดังนี้คือ สิ่งควรกระทำ และสิ่งพึงละเว้นได้แก่ • ก. ควรพักผ่อนมากน้อยเพียงใด ควรออกกำลังกายตอนไหน มากน้อยเท่าใด ควรทำท่าไหนบ้าง • ข. ของแสลงที่พึงงดเว้น ได้แก่ ยาแก้ไข้ แก้ปวด ของหมักดอง เหล้า เบียร์ หน่อไม้ ข้าวเหนียว การสูบบุหรี่ • ค. ควรทำจิตใจให้สบาย ไม่มีอารมณ์เครียด กังวล หวั่นวิตก เพราะจิตที่เคร่งเครียดจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย และหายยาก

  19. การติดตามผล • การติดตามผล ต้องมีการติดตามผลของการนวดแต่ละครั้งว่าได้ผลดีหรือไม่ มากน้อยเพียงไร เพื่อนำมาพิจารณาว่าที่ทำไม่ได้ผลหรือ ได้ผลน้อยเพราะเหตุใด เช่น การพิเคราะห์โรคผิด การนวดไม่ดีพอในข้อใดบ้าง ต้องทบทวนใหม่เพื่อจะได้ไม่ผิดซ้ำ และเกิดความรู้ความชำนาญมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเกิดผลเสีย ผลเสียมีอย่างไรบ้าง รุนแรงมากน้อยเพียงใด สาเหตุเกิดจากอะไร ต้องหาทางพัฒนาการนวดของตนให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยไม่หยุดยั้ง ถ้าความผิดพลาดหรือบกพร่องอยู่ที่คนไข้ หมอนวดก็จะต้องชี้แจงให้เขาได้ทราบเพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในกาลต่อไป

  20. ข้อพึงระวังและข้อห้ามข้อพึงระวังและข้อห้าม • ก. รู้เขา คือ รู้เรื่องราวของคนไข้เป็นอย่างดีว่าเป็นโรคอะไร มีข้อห้ามนวดหรือไม่ เช่น ต้องไม่เป็นไข้ (ไม่มีการติดเชื้อในร่างกาย) ไม่เป็นโรคผิวหนังชนิดติดต่อ ไม่เป็นหวัด ฯลฯ • ข. รู้เรา คือ รู้ว่าตนเองมีความรู้ทั้งทางทฤษฎี หรือทางปฏิบัติมากน้อยเพียงใด สามารถนวดคนไข้คนนั้นหายได้หรือไม่ ถ้าเหลือความสามารถควรส่งต่อหมอที่ชำนาญว่าจึงจะเป็นการถูกต้อง • ค. รู้รอบ คือ รู้ว่าจุดใดเป็นจุดอันตราย ควรกดหรือไม่ ควรทำด้วยความระมัดระวังเพียงใด มีความรู้เรื่องอาหารการกิน ของแสลง การออกกำลังกาย การรักษาสุขภาพโดยทั่วไป จะได้แนะนำคนไข้ได้ถูกต้อง รู้ว่าโรคใดนวดไปก็ไม่หาย เช่น ไตหย่อน กระเพาะอาหารยาน รู้ว่าการนวดบางโรคอาจเป็นอันตรายแก่คนไข้ได้ เช่น การนวดคนไข้ป่วยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น

  21. การปฏิบัติตัวของหมอนวดการปฏิบัติตัวของหมอนวด • 5.1) ต้องรักษาสุขภาพของตนให้ดีทั้งทางกาย และทางใจ เพราะถ้ารักษาตนให้มีสุขภาพดีไม่ได้แล้วจะไปรักษาใครได้ เช่น แต่งกายสะอาด ไม่มีกลิ่นตัว กลิ่นปาก • 5.2) ต้องตัดเล็บให้สั้น และทำความสะอาดด้วย • 5.3) ถ้าตนเองไม่สบายไม่ควรนวดคนไข้ เพราะจะไม่ได้ผลในการรักษา อาจทำให้คนไข้ติดโรคจากหมอ หมอเองก็อาจหมอแรงและโรคที่เป็นอยู่อาจกำเริบได้ นับเป็นการให้ร้ายตนเองและให้ร้ายคนไข้ด้วย • 5.4) ต้องมีคุณธรรม และจริยธรรม พึงปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มตามความสามารถเพื่อให้คนไข้หายดีที่สุด หายเร็วที่สุด เสียเงินน้อยทีสุด

  22. วิธีการรักษาโรคด้วยการนวดแบบราชสำนักวิธีการรักษาโรคด้วยการนวดแบบราชสำนัก • ซักประวัติทั่วไป • การตรวจลักษณะทั่วไปทางกายภาพ • การตรวจวัดองศาของข้อต่อต่างๆ • การรักษาตามหลักชองการนวดแบบราชสำนัก • การประเมินผลหลังการรักษา และวางแผนการรักษา

  23. การตรวจทางกายภาพทั่วไปการตรวจทางกายภาพทั่วไป • ตรวจดูลักษณะของส่วนต่างๆของร่างกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง บวม ลีบ ความพิการ รอยโรค ตรวจลักษณะของกระดูกสันหลัง คด โก่ง แอ่น ตรวจลักษณะกระดูก แขน ขา ความพิการ รอยโรค การโก่ง ผิดรูป

  24. การตรวจวัดองศาของข้อต่อต่างๆ ของการนวดราชสำนัก • การตรวจองศาคอ • การตรวจองศาหัวไหล่ • การตรวจองศาข้อศอก • การตรวจองศาข้อสะโพก • การตรวจองศาข้อเข่า • การตรวจองศาข้อเท้า

  25. การนวดพื้นฐาน หลักการนวดแนวเส้นพื้นฐาน 9 แนวเส้น • แนวเส้นพื้นฐานขาและการเปิดประตูลม • แนวเส้นพื้นฐานขาด้านนอก • แนวเส้นพื้นฐานขาด้านใน • แนวเส้นพื้นฐานหลัง

  26. แนวเส้นพื้นฐานแขนด้านในแนวเส้นพื้นฐานแขนด้านใน • แนวเส้นพื้นฐานแขนด้านนอก • แนวเส้นพื้นฐานบ่า • แนวเส้นพื้นฐานโค้งคอ • แนวเส้นพื้นฐานท้อง

  27. จุดสัญญาณที่ใช้ในการนวดราชสำนักจุดสัญญาณที่ใช้ในการนวดราชสำนัก สัญญาณ คือ จุดหรือตำแหน่งสำคัญที่อยู่บนแนวเส้นพื้นฐาน ซึ่งสามารถจ่ายเลือด บังคับเลือดจ่ายความร้อน บังคับความร้อนไปยังตำแหน่ง ต่าง ๆ ของร่างกายในการรักษาโรคตามพิกัดทางหัตถเวช มีจุดสัญญาณหลักๆดังต่อไปนี้ จุดสัญญาณแขนด้านใน 5 จุดสัญญาณหลัก จุดสัญญาณแขนด้านนอก 5 จุดสัญญาณหลัก จุดสัญญาณขาด้านใน 5 จุดสัญญาณหลัก จุดสัญญาณขาด้านนอก 5 จุดสัญญาณหลัก

  28. จุดสัญญาณหัวไหล่ 5 จุดสัญญาณหลัก • จุดสัญญาณหลัง 5 จุดสัญญาณหลัก • จุดสัญญาณท้อง 5 จุดสัญญาณหลัก • จุดสัญญาณเข่า 3 จุดสัญญาณหลัก • จุดสัญญาณศีรษะด้านหน้า 5 จุดสัญญาณหลัก • จุดสัญญาณศีรษะด้านหลัง 5 จุดสัญญาณหลัก

  29. แนวเส้นพื้นฐานขาและการเปิดประตูลมแนวเส้นพื้นฐานขาและการเปิดประตูลม

  30. แนวเส้นพื้นฐานขาด้านนอกแนวเส้นพื้นฐานขาด้านนอก

  31. แนวเส้นพื้นฐานขาด้านในแนวเส้นพื้นฐานขาด้านใน

  32. แนวเส้นพื้นฐานบ่า

  33. แนวเส้นพื้นฐานหลัง

  34. แนวเส้นพื้นฐานโค้งคอ

  35. แนวเส้นพื้นฐานแขนด้านในแนวเส้นพื้นฐานแขนด้านใน

  36. แนวเส้นพื้นฐานแขนด้านนอกแนวเส้นพื้นฐานแขนด้านนอก

  37. แนวเส้นพื้นฐานท้อง

More Related