1 / 25

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555. 1. สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ.

kirk-moon
Download Presentation

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 1

  2. สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ 1. ปัจจัยแวดล้อมและความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยสถาบันการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกทั้งสถาบันการจัดการนานาชาติ (IMD) และการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก มีข้อสรุปตรงกันว่า ประเทศไทยยังมีความอ่อนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยดูได้จาก  การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา  การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จำนวนบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนา  จำนวนสิทธิบัตร และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถนำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศโดยรวม และไม่สามารถนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ใน เชิงพาณิชย์ได้เท่าที่ควร 2

  3. สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ 2. ผลิตภาพการผลิตในภาคการผลิตและบริการยังอยู่ในระดับต่ำ ไม่สามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยจากสถาบัน IMD ในปี 2553 อยู่อันดับที่ 26 เป็นผลจากความอ่อนแอด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณภาพการบริการของโครงสร้างพื้นฐาน กฎหมาย กฎ และระเบียบทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการจัดระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงการพึ่งพาการส่งออก การนำเข้าสินค้าทุน พลังงาน และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสัดส่วนสูง จนทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับอิทธิพลจากความผันผวนของปัจจัยภายนอกอย่างมีนัยสำคัญ 3

  4. สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ 3. สังคมไทยอยู่ในภาวะขาดแคลนนักวิจัย โดยจำนวนนักวิจัยที่มีสัดส่วนเพียง 3.3 คน ต่อประชากร 10,000 คน เทียบกับมาเลเซียที่มีนักวิจัย 8 คนต่อประชากร 10,000 คน ขณะที่สิงคโปร์นักวิจัย 64 คน ต่อประชากร 10,000 คน 4. การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของไทยในการปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ยังอยู่ในระดับต่ำเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDPในแต่ละปี 4

  5. สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ 5. การผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่ำ ซึ่งมีปัจจัยประกอบกันหลายด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจและสังคม จิตวิทยา การพัฒนาครูอาจารย์ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อม เป็นต้น  มีผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่อยู่ในตลาดแรงงานส่วนใหญ่ทำงานไม่ตรงสาขาที่สำเร็จการศึกษา มีการทำงานตรงสาขาเพียงร้อยละ 23 ในขณะที่ทำงานไม่ตรงสาขาร้อยละ 70 ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคการผลิตและบริการ 5

  6. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นโยบายรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ฯ นายกรัฐมนตรี ข้อ 6 นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม ข้อ 6.2 เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง และนำพาประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้แบบสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ พัฒนาสายงานการวิจัยเพื่อให้นักวิจัยมีระบบความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาแหล่งงานด้านการวิจัยเพื่อรองรับบุคลากรการวิจัยทั้งในภาครัฐและเอกชน 6

  7. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 ให้ความสำคัญกับการประเทศให้อยู่บนพื้นฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยังยืน โดยมีเป้าหมายที่สำคัญดังนี้ 7

  8. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมให้ทั่วถึงและเพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในลักษณะของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย เร่งพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศ ศูนย์บ่มเพาะ สถาบันวิจัย ส่งเสริมการลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และชุมชน รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และนักวิจัยให้เพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่บูรณาการระหว่างการเรียนรู้กับการทำงานจริงในสถานประกอบการ สนับสนุนนักเรียนทุนและผู้มีความสามารถพิเศษ พัฒนาครูวิทยาศาสตร์ รูปแบบและสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และสร้างความตระหนักของประชาชนให้เรียนรู้ คิด และทำอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ 8

  9. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น เป็น 15 คน ต่อประชากร 10,000 คน 9

  10. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แผนยุทธศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2555-2559 กระทรวงวิทย์ ฯ กำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นพลังของประเทศ โดยมี เป้าหมาย : กำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการเสริมสร้างขีดความสามารถโดยการศึกษา/อบรม เพื่อสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม หรือการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โ กลยุทธ์ : การร่วมมือกับหน่วยงานเพื่อผลิตและสร้างเส้นทางอาชีพบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเสริมความรู้และทักษะให้แก่ผู้ทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคส่วนต่างๆ 10

  11. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่างนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2564) ของ สวทน. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนสนใจเรียนวิทยาศาสตร์ โดยสร้างเส้นทางอาชีพ การยอมรับ และตลาดรองรับวิชาชีพนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ โดยภาครัฐและเอกชนจะต้องมีความร่วมมือกันมากขึ้นในการพัฒนาบุลากรให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นรากฐานในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีเป้าหมายและกลยุทธ์ ดังนี้ 11

  12. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่างนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2564) ของ สวทน. เป้าหมาย 1) เพิ่มสัดส่วนบัณฑิตสายวิทยาศาสตร์ให้จบตรงตามความต้องการของตลาดไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2) ผลิตภาพแรงงานของบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี 3) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 25 คน ต่อประชากร 10,000 คน โดยเป็นบุคลากรที่ทำงานในภาคเอกชนไม่ร้อยกว่าร้อยละ 60 12

  13. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่างนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2564) ของ สวทน. กลยุทธ์หลักมี 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. การบูรณาการการพัฒนาและผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประเทศ 2. การยกระดับสมรรถนภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางวิชาชีพ ทักษะ องค์ความรู้กำลังคนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3. การสร้างแรงจูงใจ ขยายฐานบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีมวลวิกฤตและมีเส้นทางอาชีพและบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 13

  14. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2555-2559) ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 4 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและบุคลากรทางการวิจัย เป้าประสงค์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพึ่งพาตนเอง โดยใช้ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาการต่างๆ อย่างสมดุลและเหมาะสม เน้นวิจัยเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสร้างศักยภาพและความสามารถของทรัพยากรบุคคลทางการวิจัยในวิทยาการต่างๆ การวิจัยเกี่ยวกับความต้องการนักวิจัย และพัฒนาแผนความต้องการกำลังคนด้านการวิจัยของประเทศ รวมทั้งวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ควรเน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ ที่มีช่องทางความก้าวหน้าของอาชีพนักวิจัย 14

  15. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเด็นยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 3 เปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการรับนักศึกษา เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนในทุกวัย กลยุทธ์ที่ 3.4 เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนทางด้านสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพและจำนวนมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนผู้เข้าเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปี 2555 เป็น 40:60 ปี 2556 เป็น 40:60 ปี 2557 เป็น 50:50 ปี 2558 เป็น 50:50 และ ปี 2559 เป็น 60:40 15

  16. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 1. การสนับสนุนและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งระดับขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา  โรงเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนวิทย์ใน รร.จุฬาภรณ์ (12 แห่ง) ห้องเรียนวิทย์ของกระทรวงวิทย์ (7 แห่ง) ห้องเรียนวิทย์ของ สพฐ. (156 แห่ง) 16

  17. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หน่วยงานต่าง ๆ มีการสนับสนุนและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งระดับขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา  กิจกรรมส่งเสริม โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางด้าน ว&ท โครงการโอลิมปิกวิชาการ โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร การให้ทุนการศึกษา ทุนสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. ทุนรัฐบาลทางด้าน ว&ท ของกระทรวงวิทย์ ทุนเรียนดีวิทย์ ของ สกอ. ทุน คปก. ของ สกว. ทุน พสวท. ของ สสวท. 17

  18. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4.2.1 ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ของ สกอ. 1) สกอ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงวิทย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนระดับชาติเพื่อพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และดูทั้งด้านอุปสงค์ (Demand)และสร้างความเข้มแข็งด้านอุปทาน (Supply) กำลังคน เพื่อแสวงหา คัดสรร และพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานโลก คู่ขนานกับการสร้างปริมาณ รวมทั้งสร้างความมั่นใจว่าบ้านเมืองมีความต้องการกำลังคนระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์ การมีงานทำที่ท้าทาย มีค่าตอบแทนที่เหมาะสม 18

  19. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4.2.1 ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ของ สกอ. 2) ดำเนินโครงการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยหานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อพัฒนาเป็นหัวรถจักรสำหรับประเทศ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่หาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษคือสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งต้องทำงานร่วมกันการศึกษาขั้นพื้นฐาน หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาคเอกชน เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพเกิดอย่างต่อเนื่อง ส่งต่อไปจนสร้างนักวิจัยและบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพได้ทั้งนี้การพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษต้องปลูกฝังให้รับใช้ชาติก่อนการคำนึงถึงประโยชน์ของตนเอง 19

  20. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4.2.1 ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ของ สกอ. 3) ส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดยจัดทำเป็นโครงการเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพด้านการวิจัยของประเทศสู่มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ที่มีขีดความสามารถระดับโลก (World-Class University) และเพื่อผลิตกำลังคนระดับสูงในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาภาคการผลิต (Real Sector) ทั้งภาคอุตสาหกรรมและระบบนวัตกรรม ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีระดับนานาชาติ รวมทั้งพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยพัฒนา และการฝึกอบรมนานาชาติในภูมิภาค (Regional Education Hub) ช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชน และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการทั้งในด้านการส่งเสริมการส่งออกและทดแทนการนำเข้ามีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 7-10 แห่ง 20

  21. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4.2.1 ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ของ สกอ. 4) ทบทวนเป้าหมายการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้คนเหล่านั้นทำงานในภาคเอกชนได้ รวมทั้งนักเรียนทุนรัฐบาลกลุ่มต่างๆ เพื่อให้ผู้มีความสามารถเหล่านั้นสร้างงานที่ส่งผลต่อภาคการผลิตจริง ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันของประเทศ 5) สร้างแรงจูงใจ โดยการให้ทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เข้าศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสถาบันอุดมศึกษาเรียนต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก 21

  22. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4.2.1 ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ของ สกอ. 6) สร้างกลไกการเชื่อมต่อและทำงานอย่างใกล้ชิด ในการดำเนินโครงการต่างๆ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถส่งต่อผู้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ 7) อุดมศึกษาร่วมกับสถานศึกษาพื้นฐานพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดการศึกษา สำหรับผู้ที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ฯ 8) สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีกำลังและความสามารถในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ 22

  23. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4.2.2 ทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของ สกอ. ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Center of Excellence,COE) อย่างต่อเนื่อง จะเป็นการลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มมูลค่าการส่งออกของสินค้าและบริการ การสร้างผู้ประกอบการใหม่ การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต วิเคราะห์ ทดสอบ วิจัย การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพิ่มคุณภาพชีวิตและสร้างความปลอดภัย ลดการใช้วัสดุและพลังงาน รวมทั้งเป็นศูนย์การศึกษา วิจัย และฝึกอบรมระดับสูงในอนุภูมิภาคและภูมิภาค 23

  24. ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4.2.2 ทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของ สกอ. ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Center of Excellence,COE) ที่ดำเนินการมีดังนี้ 1) ด้านนวัตกรรมทางเคมี 2) ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และพิษวิทยา 3) ด้านการจัดการของเสียอันตราย 4) ด้านปิโตรเลียม และวัสดุขั้นสูง 5) ด้านเทคโนโลยีพลังงาน 6) ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร 7) ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 8) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 9) ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ 10) ด้านคณิตศาสตร์ 11) ด้านฟิสิกส์ 24

  25. ขอขอบคุณ 24

More Related