1 / 31

การพัฒนาตัวบ่งชี้ INDICATOR DEVELOPMENT

การพัฒนาตัวบ่งชี้ INDICATOR DEVELOPMENT. รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ หลักสูตรศึกษา ศาสตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราช วิทยาลัย 2556. ทำไมตัวบ่งชี้.

korbin
Download Presentation

การพัฒนาตัวบ่งชี้ INDICATOR DEVELOPMENT

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาตัวบ่งชี้INDICATOR DEVELOPMENT รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 2556

  2. ทำไมตัวบ่งชี้... ในอดีตการบริหารและการจัดการศึกษาเพียงแต่อาศัยข้อมูลการศึกษาที่จัดทำอยู่ในรูปของ “สถิติการศึกษา” แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มตระหนักว่า “ระบบฐานข้อมูลและสถิติการศึกษา" ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีเท่าที่ควร จึงได้พัฒนา “ตัวบ่งชี้การศึกษา” ที่มีคุณภาพเพื่อนำมาใช้แทน ส่งผลให้วิธีวิทยาด้านการพัฒนาระบบตัวบ่งชี้การศึกษาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีประโยชน์มาก....ต่อการบริหารและการวิจัย ในด้านการบริหาร....ใช้ในการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ในการวางแผนการศึกษา ใช้ในการกำกับติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งในเรื่องการประกันคุณภาพ การแสดงความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ และการกำหนดเป้าหมายที่ตรวจสอบได้ ตลอดจนการจัดลำดับและจัดประเภทระบบการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานพัฒนา ในด้านการวิจัย..... ช่วยให้ได้ผลการวิจัยมีความตรงสูงกว่าการใช้ตัวแปรเพียงตัวเดียว หรือการใช้ชุดตัวแปร และให้แนวทางการตั้งสมมติฐานวิจัยสำหรับศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวบ่งชี้การศึกษา (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2545ก) นงลักษณ์วิรัชชัย. (2545ก). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

  3. ทำไมตัวบ่งชี้... • ใช้บรรยายสภาพและลักษณะของระบบการศึกษาได้อย่างแม่นยำเพียงพอที่จะทำให้เข้าใจการทำงานของระบบการศึกษาได้เป็นอย่างดี เปรียบเสมือนการฉายภาพระบบการศึกษา ณ จุดเวลาจุดใดจุดหนึ่ง • ใช้ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลง หรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาในช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เปรียบเสมือนการศึกษาระยะยาว • ใช้ศึกษาเปรียบเทียบการศึกษาได้ทั้งที่เป็นการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ หรือการเปรียบเทียบระหว่างระบบการศึกษาของประเทศต่างๆ หรือการเปรียบเทียบสภาพระหว่างภูมิภาคในประเทศใดประเทศหนึ่ง (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2545ก)

  4. ทำไมตัวบ่งชี้... • ขยายความชัดเจนในการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์การศึกษา • เพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับและประเมินระบบการศึกษา • ช่วยในการจัดลำดับและการจำแนกประเภทของระบบการศึกษา • ช่วยให้การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการศึกษามีความตรงมากขึ้น • ช่วยสร้างระบบแสดงความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และระบบการประกันคุณภาพว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด • ช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ตรวจสอบได้ของผู้มีส่วนได้เสียหรือหน่วยงานระดับล่าง(นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2545ก)

  5. คืออะไร... ตัวบ่งชี้ (indicator ) เป็นสิ่งที่บอกถึงข้อมูลที่นำมาใช้เพื่อชี้ให้เห็นอะไรบางอย่าง มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า ดัชนี หรือคำว่า index ซึ่ง indexหมายถึงสัดส่วนหรืออัตราส่วนระหว่างปริมาณสองจำนวนหรือการเปรียบเทียบปริมาณระหว่างเวลาหนึ่งกับอีกเวลาหนึ่ง อันเป็นความหมายของเลขดัชนี (index number) แต่ตัวบ่งชี้ (indicator ) มีความหมายกว้างกว่าดัชนี ดัชนีจัดว่าเป็นตัวบ่งชี้ชนิดหนึ่ง โดยที่ลักษณะของดัชนีต้องอยู่ในรูปของอัตราส่วนระหว่างปริมาณสองจำนวน แต่ตัวบ่งชี้ไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องอยู่ในรูปอัตราส่วน ในภาษาไทย มีคำที่นำมาใช้ในความหมายเดียวกับคำว่า "ตัวบ่งชี้" อยู่หลายคำ เช่น ดัชนี ดัชนีบ่งชี้ ตัวชี้ ตัวชี้นำ ตัวชี้วัด เครื่องชี้ เครื่องชี้บอก และเครื่องชี้วัด เป็นต้น แต่ในระยะหลังวงการศึกษาและนักวิชาการใช้คำว่า“ตัวบ่งชี้” (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2545ก)

  6. ประเภทของตัวบ่งชี้... • ประเภทตามทฤษฏีเชิงระบบ • ประเภทตามลักษณะนิยามของตัวบ่งชี้ • ประเภทตามวิธีการสร้าง • ประเภทตามลักษณะตัวแปรที่ใช้สร้างตัวบ่งชี้ • ประเภทตามลักษณะค่าของตัวบ่งชี้ • ประเภทตามฐานการเปรียบเทียบในการแปลความหมาย • ประเภทตามลักษณะการใช้ประโยชน์สารสนเทศ • ประเภทตามสาขาวิชาหรือเนื้อหาสาระ (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2551) • นงลักษณ์ วิรัชชัย,(2551). “การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมิน”การประชุมวิชาการ เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม. วันที่ 29 สิงหาคม 2551. โรงแรมแอมบาสเดอร์

  7. ลักษณะที่ดีของตัวบ่งชี้...ลักษณะที่ดีของตัวบ่งชี้... • มีประโยชน์ให้สารสนเทศเพียงพอต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจในนโยบาย • มีความสามารถที่จะให้บทสรุปสารสนเทศที่ปราศจากการบิดเบือน • มีความตรงและความสามารถในการเปรียบเทียบได้ • มีความเชื่อมั่นและมีการปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ • มีความสัมพันธ์กับตัวบ่งชี้อื่นเพื่อการวิเคราะห์โดยภาพรวม • ใช้วัดความมากน้อยในการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ • ใช้ระบุปัญหาหรือสภาพการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ • สอดคล้องกับนโยบายที่เกี่ยวข้อง • ช่วยเปรียบเทียบค่าที่คำนวณกับค่าที่อ้างอิง เช่น ปทัสถานหรือมาตรฐานหรือกับตัว • ของตัวบ่งชี้เอง ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน (Mehta, n.d.) Mehta, A. C. [n.d.]. Indicators of educational development with focus on elementary education: Concept and definitions. Retrieved March 14, 2010, from , http://www.educationforallinindia.com/ New%20Modules/module% 20on% 20indicators%20of%20educational%20development.pdf

  8. เกณฑ์คัดเลือกตัวบ่งชี้...เกณฑ์คัดเลือกตัวบ่งชี้... • เข้าใจได้ (understandable) ต้องง่ายที่จะนิยาม และค่าของตัวบ่งชี้ที่ต้องแปลความหมายได้ง่าย • เข้าถึงได้ (accessible) ข้อมูลที่ต้องการต้องหาได้ง่ายโดยใช้วิธีการเป็นข้อมูลที่สะดวก ทำได้จริง • มีจริยธรรม (ethical) หมายถึง ในการรวบรวม วิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลที่ต้องการ ต้องเป็นไปอย่างมีจริยธรรมในรูปของสิทธิของบุคคล ความมั่นใจ เสรีภาพในการเลือกที่จะให้ข้อมูลหรือไม่ โดยต้องมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนำข้อมูลไปใช้ • ความสอดคล้อง (relevant) ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ที่เป็นค่านิยมของหน่วยการจัดการนั้น และบอกถึงผลลัพธ์ที่ทีมงานทุกคนมีส่วนร่วม นอกจากนั้นตัวบ่งชี้ให้ข้อมูลสื่อความหมาย (information) เป็นไปตามบริบท และให้ผลย้อนกลับไปยังหน่วยการจัดการ • ความเป็นกลาง (neutrality) ปราศจากความลำเอียง (bias) ไม่โน้มเอียงเข้าหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ชี้นำโดยการเน้นการบ่งชี้เฉพาะลักษณะความสำเร็จหรือความล้มเหลวหรือความไม่ยุติธรรม • ความแกร่งแบบวิทยาศาสตร์ (scientifically robust) ต้องมีความถูกต้อง (validity) มีความไว (sensitive) คงที่ (stable) และสะท้อนให้เห็นสิ่งที่ต้องการจะวัด • ความถูกต้อง (validity) ต้องวัดองค์ประกอบหรือสิ่งที่ต้องการจะวัดได้ตรงและถูกต้อง • เชื่อถือได้ (reliable) ต้องให้ค่าเดียวกันเมื่อใช้วิธีการวัดเหมือนกันในการวัดประชากรกลุ่มที่เหมือนกันในเวลาที่เกือบเป็นเวลาเดียวกัน • ความไว (sensitive) ต้องทำให้สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในองค์ประกอบที่สนใจนั้นได้ • ความเฉพาะเจาะจง (specific) ต้องแสดงในประเด็นที่สนใจเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น • ใช้ประโยชน์ได้ (useful) • สะดวกในการนำไปใช้ (practicality) ทั้งในการเก็บข้อมูลง่าย (availability) สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากการตรวจ นับ วัด หรือสังเกตได้ง่าย และ แปลความหมายง่าย (interpretability) ได้ค่าการวัดที่มีจุดสูงสุดและต่ำสุด เข้าใจง่าย และสามารถสร้างเกณฑ์ตัดสินคุณภาพได้ง่าย • ความเป็นตัวแทน (representative) ต้องครอบคลุมทุกประเด็นหรือประชากรทุกกลุ่มที่คาดหวังให้ครอบคลุม ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

  9. ตัวบ่งชี้การดำเนินงาน...ตัวบ่งชี้การดำเนินงาน... ตัวบ่งชี้การดำเนินงานเป็นตัวบ่งชี้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่หมายถึง ข้อมูลเชิงประจักษ์หรือค่าทางสถิติที่เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือวัดหรือตัวชี้บอกถึงกระบวนการดำเนินงานและผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ว่าเป็นไปตามภารกิจและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงไร เป็นการให้ข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่อประสิทธิภาพในกระบวนการตัดสินใจ และการคาดการณ์เพื่อการวางแผน ตัวบ่งชี้การดำเนินงานมีบทบาทที่สำคัญต่อการนำไปใช้งาน 5 ประการ ดังนี้ คือ • การติดตามภารกิจ (monitoring) ประกอบการตัดสินใจภายในองค์กร • การประเมินผล (evaluation) • การเป็นบทสนทนา (dialogue) • การเป็นเหตุผล (rationalization) • การจัดสรรทรัพยากร (resource allocation) (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2545ก) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

  10. ตัวอย่างตัวบ่งชี้การดำเนินงาน..ตัวอย่างตัวบ่งชี้การดำเนินงาน.. ตัวอย่างตัวบ่งชี้การดำเนินงาน....ของ สมศ. • มีระบบเกณฑ์ และแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกที่มีประสิทธิภาพในทุกระดับการศึกษา • สถานศึกษาทุกแห่งมีการประกันคุณภาพภายในและพร้อมรับการประเมินภายนอก • มีผู้ประเมินภายนอกที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ • สถานศึกษาทุกแห่งได้รับการประเมินภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้ง ในรอบ 5 ปี • มีรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น • มีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา • มีเครือข่ายความร่วมมือจากทุกส่วนของประเทศ จากสถาบันอุดมศึกษา จากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมวิชาการ วิชาชีพและความร่วมมือจากต่างประเทศ Source: http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/onesqa/index.php?GroupID=75

  11. รูปแบบตัวบ่งชี้การดำเนินงาน..รูปแบบตัวบ่งชี้การดำเนินงาน.. • รูปแบบ input / process / output-outcome model • รูปแบบ quality definition model • รูปแบบ comprehensive indicator system model ในวงการศึกษาของไทยนิยมใช้รูปแบบ input / process / output-outcome model เนื่องจากสอดคล้องกับบริบทของการจัดการศึกษาของไทย เพราะเป็นรูปแบบที่สำคัญต่อการดำเนินงานในระยะแรก และมีระบบการดำเนินงานชัดเจนกว่ารูปแบบอื่นๆ เพราะระบบนี้จะพิจารณาว่าปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) และปัจจัยผลผลิต (output) คืออะไร เช่น ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ทรัพยากรคน ทรัพยากรเงิน สภาพแวดล้อม ปัจจัยเกื้อหนุน เป็นต้น กระบวนการได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการวิจัย กระบวนการให้บริการทางวิชาการ เป็นต้น ปัจจัยผลผลิต ได้แก่ ปริมาณและคุณภาพของผู้จบการศึกษา ศรัทธาของประชาชน เป็นต้น (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2545ก) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

  12. การสร้างและการพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการบริหารการศึกษาการสร้างและการพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการบริหารการศึกษา การบริหารการศึกษา มีกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การวางแผน (planning) การนำแผนสู่การปฏิบัติ (implementing) การประเมินผล (evaluation) และการมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ในภาระงานที่หลากหลาย เช่น หากจำแนกงานตามการกระจายอำนาจทางการศึกษา ก็ประกอบด้วย งานวิชาการ งานบุคลากร งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป หรือหากพิจารณาขอบข่ายเนื้อหาในเชิงวิชาการ ก็ประกอบด้วยเรื่องการเรียนและการสอน เรื่องโครงสร้าง เรื่องบุคคลากร เรื่องวัฒนธรรมและบรรยากาศ เรื่องอำนาจและการเมือง เรื่องสภาพแวดล้อม เรื่องความมีประสิทธิผลและคุณภาพ เรื่องการตัดสินใจ เรื่องการสื่อสาร เรื่องภาวะผู้นำ เป็นต้น แต่ละงานหรือแต่ละเรื่องต่างมีประเด็นปลีกย่อยอีกมากมาย เมื่อนำไปสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับการดำเนินงานวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การประเมินผล และการมีข้อมูลย้อนกลับ ก็สามารถสร้างมิติของขอบข่ายภาระงานหรือขอบข่ายของเนื้อหาเชิงวิชาการที่หลากหลาย ที่ผู้วิจัยสามารถจะพิจารณานำมาเป็นประเด็นเพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้การศึกษาขึ้นมาได้จากมิติต่าง ๆ เหล่านั้น

  13. วิธีการสร้างและการพัฒนาตัวบ่งชี้การศึกษาวิธีการสร้างและการพัฒนาตัวบ่งชี้การศึกษา นิยามเชิงประจักษ์

  14. การสร้างและการพัฒนาตัวบ่งชี้..การสร้างและการพัฒนาตัวบ่งชี้.. วิธีที่ 3 คือ วิธีการนิยามเชิงประจักษ์ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยมีงานสำคัญสองส่วน คือ (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2545ก) • การกำหนดโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์ (structural relationship model) ว่าตัวบ่งชี้การศึกษาประกอบด้วยตัวแปรย่อยอะไรบ้าง และอย่างไร โดยมีทฤษฎีและงานวิจัยเป็นพื้นฐานรองรับ โมเดลที่ได้เป็นโมเดลลิสเรลแบบโมเดลการวัด (measurement model) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรย่อยซึ่งเป็นตัวแปรแฝง (latent variables) • การกำหนดน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรย่อยจากข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยนักวิจัยรวบรวมข้อมูลตัวแปรย่อยทั้งหลายตามโมเดลที่พัฒนาขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ให้ได้ค่าน้ำหนักตัวแปรย่อยที่จะใช้ในการสร้างตัวบ่งชี้การศึกษา วิธีการวิเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis) ใช้เมื่อนักวิจัยมีทฤษฎีและงานวิจัยรองรับโมเดลแบบหลวมๆ หรือการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) ใช้เมื่อนักวิจัยมีทฤษฎีและงานวิจัยรองรับโมเดลแบบหนักแน่นเข้มแข็ง

  15. การพัฒนาตัวบ่งชี้ด้วยวิธีการนิยามเชิงประจักษ์ การวิจัยเชิงปริมาณ.... เน้นการทดสอบ/ยืนยันทฤษฎี สร้างโมเดลเชิงทฤษฎี เก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลเชิงทฤษฏีกับข้อมูลเชิงประจักษ์

  16. แนวคิดในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยเพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างแนวคิดในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยเพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง

  17. คุณภาพของตัวบ่งชี้ สิ่งหนึ่งที่จะต้องให้ความสำคัญในการสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ก็คือ “การตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้” ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 2 ประการคือ • การตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ภายใต้กรอบแนวคิดทางทฤษฎี (review ในบทที่ 2) ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะหากการพัฒนาตัวบ่งชี้ เริ่มต้นจากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ขาดคุณภาพแล้วไม่ว่าจะใช้เทคนิควิธีการทางสถิติดีอย่างไร ผลที่ได้จากการพัฒนาก็ย่อมด้อยคุณภาพไปด้วย • การตรวจสอบด้วยวิธีการทางสถิติ (วิเคราะห์ข้อมูลในบทที่ 4) มีความสำคัญน้อยกว่า เพราะเป็นเพียงการนำข้อมูลที่ได้มาสนับสนุนคุณภาพของตัวบ่งชี้เท่านั้น

  18. การตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ภายใต้กรอบแนวคิดทางทฤษฎี (review ในบทที่ 2) การตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ภายใต้กรอบแนวคิดทางทฤษฎี ในที่นี้หมายถึง การตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการสร้างโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง (structural relationship model) ในบทที่ 2 ที่ผู้วิจัยจะต้องอาศัยทฤษฎีและงานวิจัยเป็นพื้นฐานอย่างหนักแน่นเข้มแข็ง เป็นทฤษฎีและงานวิจัยที่ตรงเรื่องตรงประเด็น (content validity) ตามลำดับการกำหนดองค์ประกอบหลักของเรื่องที่วิจัย องค์ประกอบย่อยของแต่ละองค์ประกอบหลัก และตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย

  19. ข้อแนะนำการ review บทที่ 2 ในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยนั้น ผู้วิจัยควรจะต้องตั้งคำถามอยู่ในใจเสมอว่า กำลังศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่จะนำไปสู่การสังเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นอะไร เป็นองค์ประกอบหลัก ? เป็นองค์ประกอบย่อยของแต่ละองค์ประกอบหลัก ? หรือเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย ? ทั้งนี้เพื่อให้เนื้อหา (content) ที่กำลังศึกษานั้นเป็นเนื้อหาที่กำลังจะนำไปสู่การสังเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย หรือนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ ได้อย่างถูกต้อง ตามแนวคิดเชิงตรรกะหรือความเป็นเหตุผลสัมพันธ์ (logical)

  20. ข้อแนะนำการ review บทที่ 2 กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หากกำลังศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบหลัก เนื้อหาที่กำลังศึกษานั้นก็ต้องมุ่งไปที่คำว่า “องค์ประกอบหลัก” ของเรื่องที่วิจัยว่ามีอะไรบ้าง ? และหากกำลังศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบย่อยของแต่ละองค์ประกอบหลัก เนื้อหาที่กำลังศึกษานั้นก็ต้องมุ่งไปที่คำว่า “องค์ประกอบย่อย” ของแต่ละองค์ประกอบหลักว่ามีอะไรบ้าง ? และหากกำลังศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย เนื้อหาที่กำลังศึกษานั้นก็ต้องมุ่งไปที่คำว่า “นิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้” ของแต่ละองค์ประกอบย่อยนั้นว่ามีอะไรบ้าง ?

  21. ปัญหาในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยปัญหาในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัย ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่ไม่ตรงกับเรื่องที่วิจัย เช่น วิจัยเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (transformational leadership) ผู้วิจัยได้นำเอาทฤษฎีและงานวิจัยภาวะผู้นำการจัดการ (transactional leadership) หรือนำเอาทฤษฎีและงานวิจัยภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (strategic leadership) มาร่วมสังเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบหลัก หรือองค์ประกอบย่อย หรือนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ ด้วย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบหลัก หรือองค์ประกอบย่อย หรือนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของ “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ผิดเพี้ยนไป ไม่เป็น “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ตามทฤษฎีและงานวิจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงจริง ก็จะเกิดปัญหาเรื่องความตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) และความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งแม้ภายหลังจะมีการใช้สถิติวิเคราะห์อย่างดีและอย่างถูกต้องเพียงใด องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ ก็ยังไม่ตรงกับทฤษฎีและงานวิจัยของ “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง”

  22. ปัญหาในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยปัญหาในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัย นำเสนอองค์ประกอบในตารางสังเคราะห์ไว้แบบ “มีธง” ไว้ก่อน เช่น ผู้วิจัยกำหนดไว้ก่อนเลยว่า องค์ประกอบหลักของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 4 องค์ประกอบ คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคล เป็นต้น แม้ “เนื้อหา” จากทฤษฎีและงานวิจัยที่ศึกษาและนำเสนอไว้ก่อนหน้านั้นจะมีบางแหล่งที่กล่าวถึง 5 หรือ 6 หรือ 7 องค์ประกอบ เป็นต้น จึงมีข้อเสนอแนะว่า การนำเสนอ “เนื้อหา” ในตารางสังเคราะห์นั้น ควรให้เป็นไปตามจริงที่ศึกษาได้จากทฤษฎีและงานวิจัยหลากหลายแหล่งก่อนหน้านั้น เพราะองค์ประกอบเหล่านั้นเป็นองค์ประกอบตามกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (theoretical framework) เอาทุกองค์ประกอบ หลังจากนั้นจึงค่อยใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งคัดสรรเพื่อจำกัดขอบเขตเป็นกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย (conceptual framework) ได้ ไม่จำเป็นต้องศึกษาทุกองค์ประกอบตามกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่สังเคราะห์มาได้

  23. ปัญหาในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยปัญหาในการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัย นำเสนอ “เนื้อหา” ของทฤษฎีและงานวิจัยในลักษณะที่ไม่นำไปสู่การสังเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบหลัก หรือองค์ประกอบย่อย หรือนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ ได้อย่างชัดเจน เป็นแบบน้ำท่วมทุ่ง กล่าวคือ นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นข้อความเชิงพรรณนาอย่างกว้างๆ ไม่ชี้ให้เห็นว่าส่วนไหนที่กล่าวถึงองค์ประกอบหลักของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนไหนที่กล่าวถึงองค์ประกอบย่อยของแต่ละองค์ประกอบหลัก ส่วนไหนที่สะท้อนให้เห็นเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย แต่เมื่อนำเสนอเนื้อหาในตารางสังเคราะห์กลับปรากฏว่ามีองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย นิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ ทำให้สงสัยว่า เนื้อหาที่นำเสนอไว้ในตารางสังเคราะห์นั้นมาจากไหน ?

  24. ข้อเสนอแนะ... • นำเสนอ “เนื้อหา” จากหลากหลายแหล่งของทฤษฎีและงานวิจัยที่มีการกล่าวถึง “องค์ประกอบหลัก” ของเรื่องที่วิจัย เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบหลักของเรื่องที่วิจัย (ในการศึกษาค้นคว้านั้น อาจพบว่า นักวิชาการที่เป็นแหล่งในการอ้างอิงอาจไม่กล่าวถึงคำว่า “องค์ประกอบ” ตรงๆ อาจกล่าวเป็นคำอื่นๆ เช่น ลักษณะสำคัญ มิติ ด้าน ประเด็น เป็นต้น ผู้วิจัยต้องใช้วิจารณญาณองว่าคำต่างๆ เหล่านั้นหมายถึงองค์ประกอบของเรื่องที่กำลังศึกษานั้นอยู่หรือไม่ หากใช่ คำอื่นๆ เหล่านั้นก็หมายถึง “องค์ประกอบ” • นำเสนอ “เนื้อหา” จากหลากหลายแหล่งของทฤษฎีและงานวิจัยที่มีการกล่าวถึงองค์ประกอบย่อยของแต่ละองค์ประกอบหลัก เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบย่อยของแต่ละองค์ประกอบหลัก • นำเสนอ “เนื้อหา” จากหลากหลายแหล่งของทฤษฎีและงานวิจัยที่มีการกล่าวถึงนิยามและประเด็นหรือตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย

  25. ปัญหาเกี่ยวกับการนำเอาองค์ประกอบไปลงในตารางสังเคราะห์ .... การศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยเพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบของเรื่องที่วิจัยนั้น นอกจากจะมีปัญหาเรื่องความตรงของเนื้อหา และมีปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนขององค์ประกอบของแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาเสนอ ซึ่งผู้วิจัยมักนำเสนอเป็นข้อความเชิงพรรณนาหรือเชิงบรรยายยืดยาว ไม่รู้ว่าส่วนใดคือองค์ประกอบที่ต้องการนำเสนอดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการนำเอาองค์ประกอบไปลงในตารางสังเคราะห์ ซึ่งมักเอาไปลงทุกตัว โดยไม่คำนึงถึงว่า (เรื่องที่วิจัยบางเรื่อง) นักวิชาการอาจเขียนชื่อองค์ประกอบบางตัวต่างกัน แต่มีความหมาย (meaning) เดียวกัน จึงทำให้มีองค์ประกอบในตารางสังเคราะห์มากมาย โดยส่วนหนึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความหมายเดียวกันแต่เขียนชื่อต่างกันนั้น

  26. ปัญหาเกี่ยวกับการนำเอาองค์ประกอบไปลงในตารางสังเคราะห์ .... ......การนำเสนอเนื้อหาที่แสดงถึงองค์ประกอบของเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ผู้วิจัยควรจับประเด็นจากเนื้อหาเชิงพรรณนาหรือเชิงบรรยายอย่างยืดยาวนั้นแล้วนำเสนอเป็นองค์ประกอบที่ชัดเจนได้ (เป็น 1, 2, 3, 4, 5, …) เพราะหากผู้วิจัยไม่ทำหน้าที่นี้ให้ชัดเจนได้แล้ว จะหวังให้คนอื่นมาอ่านงานวิจัยของตัวเองแล้วจับประเด็นได้เองก็คงจะยาก สำหรับองค์ประกอบที่เขียนชื่อต่างกันแต่มีความหมายเดียวกันนั้น ผู้วิจัยควรนำเสนอชื่อองค์ประกอบที่เป็นกลาง (neutral) หรือเลือกใช้ชื่อองค์ประกอบชื่อใดชื่อหนึ่งที่เหมาะสมแทน แล้วแสดงข้อมูลให้ผู้อ่านงานวิจัยได้ทราบว่า องค์ประกอบที่มีความหมายเดียวกันนั้นมีอะไรบ้าง ดังกรณีศึกษาจากผลการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยเพื่อกำหนดองค์ประกอบและโมเดลการวัดของภาวะผู้นำของครู (teacher leadership) ของอาภารัตน์ ราชพัฒน์ (2553) *มีรายละเอียดมาก ขอแนะนำศึกษาใน http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Arpharat.pdf

  27. การทำวิจัยในระดับปริญญาเอก ควรต้องมีการสังเคราะห์จากหลากหลายแหล่ง ถือเป็นทักษะการคิดขั้นสูงสุดตาม Bloom’s taxonomy revised 2001

  28. การตรวจสอบด้วยวิธีการทางสถิติ (วิเคราะห์ข้อมูลในบทที่ 4) ผู้ที่เลือกทำวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้โดยนิยามเชิงประจักษ์นี้ มักเป็นผู้มีพื้นฐานความรู้ในสถิติวิจัย อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่ควรต้องทำ คือ ผู้วิจัยควรต้องเข้ารับฝึกอบรมแบบเข้มการวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) ทั้งการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis: EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) โดยใช้โปรแกรม LISREL / AMOS/… จนถึงขั้นมีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่จะวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลข้อมูลได้ด้วยตนเอง

  29. หากตัดสินใจ.... หากตัดสินใจจะทำวิจัยเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) ผู้วิจัยต้อง review บทที่ 2 โดยอิงกับทฤษฎีและงานวิจัย เพื่อกำหนด • องค์ประกอบหลักของเรื่องที่วิจัย • องค์ประกอบย่อยของแต่ละองค์ประกอบหลัก • องค์ประกอบย่อยๆ ของแต่ละองค์ประกอบย่อย เป็นระดับ items เพื่อนำไปสร้างแบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อทดสอบโมเดล ย่อยๆ ย่อยๆ หลัก ย่อย ย่อยๆ หลัก เรื่องที่วิจัย ย่อย ย่อยๆ หลัก ย่อย หลัก

  30. หากตัดสินใจ... การวิจัยทางการบริหารการศึกษา จากประสบการณ์ นักศึกษานิยมพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำที่เป็นทฤษฎีใหม่ๆ ที่มี “ทฤษฎีและงานวิจัย” รองรับที่ชัดเจน เช่น ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสถานศึกษา ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้มีความกระจ่างชัดเจนในทฤษฎี สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง “การพัฒนาภาวะผู้นำนั้นๆ” ได้ (หากผลการวิจัยพบว่าโมเดลเชิงทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์) ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้อง review องค์ประกอบในระดับต่าง ๆ ของเรื่องที่วิจัยให้มีความตรงในเนื้อหา ซึ่งหากไม่ตรงตั้งแต่เริ่มแรก แม้จะใช้ confirmative factor analysis ดีเพียงใด ก็จะได้โมเดลที่ไม่มีความชัดเจนเชิงทฤษฎีอยู่เช่นเดิม รูปแบบการ review ทฤษฎีและงานวิจัย ดูในhttp://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Arpharat.pdf

  31. การพัฒนาตัวบ่งชี้.... ผู้วิจัย • เป็นนักศึกษาค้นคว้าทฤษฎี • เป็นนักสังเคราะห์องค์ประกอบเชิงทฤษฎี • เป็นนักพัฒนาโมเดลเชิงทฤษฎี • เป็นนักวิเคราะห์องค์ประกอบ • เป็นนักทดสอบหรือยืนยันทฤษฎี • เป็นนักวิจัยเชิงปริมาณ • เป็น ..................

More Related