1 / 22

งานนำเสนอ

งานนำเสนอ. อ . สุวิ สาข์ เหล่า เกิด. จัดทำโดย. น . ส นิภาพรรณ ดีจันทร์ ID.533011210135 เลขที่ 9 น . ส ชุติมา โจนลายดา ID.533011210259 เลขที่ 18 น . ส จันทร์สุดา นน ทะ วงษา ID.533011210267 เลขที่ 19 นาย สุรชัย อ่อนพิทักษ์ ID.533011210283 เลขที่ 21

kort
Download Presentation

งานนำเสนอ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. งานนำเสนอ อ.สุวิสาข์เหล่าเกิด

  2. จัดทำโดย • น.ส นิภาพรรณ ดีจันทร์ ID.533011210135 เลขที่ 9 • น.ส ชุติมา โจนลายดา ID.533011210259 เลขที่ 18 • น.ส จันทร์สุดา นนทะวงษาID.533011210267 เลขที่ 19 • นาย สุรชัย อ่อนพิทักษ์ ID.533011210283 เลขที่ 21 • น.ส นพรัตน์ หงส์สุวรรณID.533011210515 เลขที่ 31 นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.5ปี) ห้อง 1 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

  3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาหลัก(Problem-Based Learning

  4. ความหมาย การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาหลักเป็นการสอนที่มุ่งสร้างใจและหาทางแก้ไขปัญหาโดยปัญหาจะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นต่อไปในการพัฒนาทักษะ การแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล ละการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการเพื่อสร้างความเข้าใจกลไกของตัวปัญหารวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา(Barrows and Tamblyn,1980: 1,18)

  5. lnois Mathematics and Science Academy (lMSA) (2001) ให้ความหมายการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นกระบวนการเรียนที่พัฒนากลวิธีการแก้ปัญหา พัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะต่างๆ โดยให้นักเรียนเผชิญกับปัญหาในสภาพชีวิตจริง ซึ่งไม่มีการจัดโครงสร้างที่ชัดเจน

  6. ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล (2545: 55 ) ความหมายการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักว่า เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้สมรรถภาพที่ต้องการ โดยมีครูเป็นผู้ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

  7. ทฤษฎี /แนวคิด แนวคิดพื้นฐานของการเรียนโดยที่ใช้ปัญหาเป็นหลักมี 2 แนวคิด คือ แนวคิดเรื่องการเรียนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) กับแนวคิดเรื่องการเรียนรู้แบบเอกัตภาพ (individualized learning) (ยุวดี ฤาชา,2536: 18-19) โดยกลวิธีการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ต้องการปรับปรุงเป็นหลักในการแสวงหาความรู้ โดยใช้การหาความรู้

  8. แนวทางการจัดการเรียนรู้การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักและการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ไว้ดังนี้ ( Arends, 2001: 362-366) • แนะนำปัญหา • กำหนดงานที่ต้องดำเนินการ • รวบรวมข้อมูล • เตรียมนำเสนอผลงาน • วิเคราะห์และประเมินผลการทำงาน

  9. Peter Schwartz et al. ( 2001: 2 ) เสนอขั้นตอนการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักไว้ดังนี้ • เผชิญกับปัญหา • สำรวจความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่มีในทุกคนของกลุ่ม • ตั้งสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา และทดลองสอบ • สมมุติฐานที่ตั้ง • ระบุสิ่งที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหา • แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลในการแก้ปัญหา

  10. Peter Schwartz et al. ( 2001: 2 ) เสนอขั้นตอนการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักไว้ดังนี้ • รวบรวมความรู้ที่ได้มาจากการค้นคว้ากลุ่มย่อย และนำความรู้มา • ใช้กับปัญหา • หากยังแก้ปัญหาไม่ได้ให้ดำเนินการในข้อ 3-6 ใหม่จนกว่าจะ • แก้ปัญหาได้ • สรุปความรู้ที่ได้ทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการ

  11. ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล ( 2545: 118-123 ) ได้เสนอ กระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาหลักในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1.เตรียมปัญหา -จุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างปัญหาสำหรับการเรียนให้ได้ตามสาระการเรียนรู้ด้านเนื้อหาและกระบวนการที่ต้องการ 2.สร้างความเชื่อมโยงสู่ปัญหา -จุดมุ่งหมาย เพื่อทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่าปัญหาะสบกรความสำคัญ และน่าให้ความสนใจและเวลาดำเนินการ และเพื่อนำเสนอปัญหา

  12. 3.สร้างกรอบของการศึกษา3.สร้างกรอบของการศึกษา -จุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างกรอบหรือขอบเขตที่ชัดเจนที่จะทำให้การศึกษาค้นคว้าเป็นรูปธรรมชัดเจน ดำเนินต่อไปได้ง่ายและไปตามทิศทางที่กำหนด 4.ศึกษาค้นคว้าโดยกลุ่มย่อย -จุดมุ่งหมาย เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามที่กำหนดไว้กรอบการศึกษา 5.ตัดสินใจหาทางแก้ปัญหา -จุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสมของแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า และเพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา

  13. 6.สร้างผลงาน -จุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างชิ้นงานหรือดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้วิธีและเทคนิคการสอน ใช้ในการทำงานเป็นกลุ่ม 7.ประเมินผลการเรียนรู้ -จุดมุ่งหมายเพื่อสรุปสาระการเรียนรู้เรื่องเนื้อหา และกระบวนการประเมินการเรียนรู้และสร้างความเชื่อมโยงกับเรื่องที่เกี่ยวข้อง

  14. สำหรับการประเมินสมรรถภาพในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นควรดำเนินการ ดังนี้ 1.การประเมินความรู้ เป็นการประเมินความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ซึ่งได้จากการศึกษาค้นคว้าและการนำไปใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ประเมินจากการผู้เรียนตอบคำถาม เพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 2.การประเมินสมรรถภาพในการใช้กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ เป็นความสามารถในการค้นคว้าด้วยตนเองของผู้เรียน ซึ่งวิธีการประเมินทำได้ทั้งการให้ผู้เรียนประเมินตนเองหรือให้ผู้เกี่ยวข้องในการเรียนของนักศึกษาร่วมประเมินด้วย

  15. 3.การประเมินสมรรถภาพในการชี้นำด้วยตนเอง เป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียนในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองยอมรับตนเองประเมินตนเองตามความเป็นจริง 4.การประเมินสมรรถภาพในการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียนขณะอยู่ในกลุ่ม โดยกลุ่มจะเรียนรู้ไปพร้อมๆกันจากการช่วยการทำงานและค้นคว้าหาความรู้

  16. ข้อค้นพบจากการวิจัยจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้ 1.สมรรถภาพจากการจัดการเรียน ยุวดี ฤาชา (2536) ได้พัฒนาสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสำหรับอาจารย์พยาบาล พบว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมมีสมรรถภาพในการจัดการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักเพิ่มขึ้นกว่าก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรม

  17. 2.ความสามารถในการแก้ปัญหา Faulkner (1999) ศึกษากับนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักกับการใช้ตัวอย่างงานเป็นหลัก พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักมีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้ตัวอย่างงาน และ ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล (2545) วิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการการเรียนการสอนโดยการประยุกต์แนวการใช้ปัญหาเป็นหลักกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ พบว่า กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเสื่อมโยงให้เพิ่มขึ้นสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 20 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  18. 3.ผลสำฤทธิ์ทางการเรียน อาภรณ์ แสงรัศมี (2533) ได้ศึกษาผลการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักมีคะแนนเฉลี่ยลักษณะการเรียนรู้ด้วยตัวเองหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  19. 4.ทักษะการคิดวิจารณญาณ Shepherd 1998 ศึกษาผลการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักต่อทักษะการคิดวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่4และระดับประถมศึกษาปีที่5 พบว่าการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณได้และช่วยพัฒนาทัศนคติต่อการแก้ปัญหา

  20. 5.ความมั่นใจในตนเอง Campbell (1999) ศึกษาการรับรู้ประสิทธิภาพของการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักของครูและนักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พบว่า การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักช่วยเพิ่มความมั่นใจในตนเอง และการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักแบบกลุ่มร่วมมือส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของนักเรียน

  21. 6.แรงจูงใจในการเรียน Pedersen (2000) ศึกษาผลของเครื่องมือช่วยให้คำแนะนำในการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก พบว่า การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนแก่นักเรียนมากกว่าการเรียนแบบปกติ 7.ความคงทนในการเรียนรู้ Nowak (2001) ศึกษาผลการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักมีความคงทนในเนื้อหามากกว่าการเรียนแบบปกติ

  22. จบการนำเสนอขอบคุณครับ/ค่ะจบการนำเสนอขอบคุณครับ/ค่ะ

More Related