1 / 14

การสถาปนา กรุงศรีอยุธยา

การสถาปนา กรุงศรีอยุธยา. การสถาปนากรุงศรีอยุธยา. ปัจจัยในการก่อตั้ง. ลำดับพระมหากษัติย์. ผู้ก่อตั้ง. อ้างอิง. สภาพภูมิประเทศ. สาเหตุของการเสียกรุงครั้งที่ 1- 2. ลำดับพระมหากษัติย์.

Download Presentation

การสถาปนา กรุงศรีอยุธยา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสถาปนา กรุงศรีอยุธยา

  2. การสถาปนากรุงศรีอยุธยา ปัจจัยในการก่อตั้ง ลำดับพระมหากษัติย์ ผู้ก่อตั้ง อ้างอิง สภาพภูมิประเทศ สาเหตุของการเสียกรุงครั้งที่ 1- 2

  3. ลำดับพระมหากษัติย์ วงศ์เชียงราย 1.สมเด็จพพระรามาธิบิดีที่1(อู่ทอง) พ.ศ. 1893 - พ.ศ.19132.พระราเมศวร(ครั้งที่1)พ.ศ. 1913 3.พระราเมศวร(ครั้งที่)พ.ศ. 1931 -พ.ศ.1938 4. สมเด็จพระรามราชาธิราชพ.ศ. 1938 -พ.ศ.1952

  4. ลำดับพระมหากษัติย์ วงศ์สุพรรณภูมิ 1. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1 พ.ศ. 1913  -  พ.ศ.1931 2. เจ้าทองลั่นพ.ศ. 1931 ครอง ราชย์เพียง 7วัน 3. สมเด็จพระนครอินทราธิราชพ.ศ. 1952  -  พ.ศ.1967 4. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (จ้าสามพระยา)พ.ศ. 1967 -  พ.ศ.1991 5. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพ.ศ. 1991  -  พ.ศ.2031 6. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่3 พ.ศ. 2031 -  พ.ศ.2034 7. สมเด็จพระรามาธิบดีที่2 พ.ศ. 2034  -  พ.ศ.2072 8. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่4 พ.ศ. 2072  -  พ.ศ.2076 9. สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารพ.ศ. 2076 ครองราชย์ 4 เดือน 10. สมเด็จพระชัยราชาธิราชพ.ศ. 2076  -   พ.ศ.2089 11. พระแก้วฟ้าพ.ศ. 2089  -  พ.ศ.2091 12. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชพ.ศ. 2091  -  พ.ศ.2111 13. สมเด็จพระมหินทราธิราชพ.ศ. 2111  -  พ.ศ.2112

  5. ลำดับพระมหากษัติย์ วงศ์สุโขทัย 1. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชพ.ศ. 2112  -  พ.ศ.2133 2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพ.ศ. 2133  -  พ.ศ.2148 3. สมเด็จพระเอกาทศรถพ.ศ. 2148  -  พ.ศ.2163 4. เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์พ.ศ. 2163 ไม่ครบปี 5. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพ.ศ. 2163  -  พ.ศ.2171 6. สมเด็จพระเชษฐาธิราชพ.ศ. 2171  -  พ.ศ.2173 7. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์พ.ศ. 2173 ครองราชย์36 วัน

  6. ผู้ก่อตั้ง พระเจ้าอู่ทองซึ่งมีพระนามอย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้น ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บริเวณดังกล่าวเป็นที่ที่มีความเจริญมาก่อนแล้ว เพราะเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นต่างๆ เช่น แคว้นสุพรรณภูมิ และแคว้นละโว้ พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนา กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีใน พ.ศ.๑๘๙๓พระเจ้าอู่ทองได้ทรงสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่หนองโสน (บึงพระราม) โดยก่อนหน้าที่พระเจ้าอู่ทอง จะมาสร้างเมือง ใหม่นี้ พระองค์ได้ประทับอยู่ที่เมืองอโยธยา

  7. ผู้ก่อตั้ง มีหลักฐานบางชิ้นปรากฏว่า ที่พระองค์ต้องทรงย้ายมา จากเมือง อโยธยานั้น อาจเป็นเพราะในเมืองเกิด อหิวาตกโรคระบาด จึงพาไพร่พลอพยพข้ามฝั่งแม่น้ำเพื่อหนีจากโรคระบาด แล้วมาสร้างกรุงศรีอยุธยา แต่มีอีกความเห็นหนึ่งว่า พระเจ้าอู่ทองอาจจะทรง อพยพผู้คนมาจากเมืองในแถบสุพรรณบุรี เนื่องจากพระองค์เป็นราชบุตรเขยของเจ้าเมืองนั้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด หรือมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ใด

  8. ปัจจัยในการก่อตั้ง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้ผลสำเร็จ มีปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้ 1.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) เคยเป็นเจ้าเมืองใหญ่ที่มีกำลังไพร่พลมาก่อนประกอบกับทรงมีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองสูง เพราะมีเมืองสุพรรณภูมิและเมืองละโว้เป็นฐานอำนาจที่สำคัญในฐานะที่เป็นเมืองเครือญาติช่วยสนับสนุน 2.บริเวณที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยามีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะมีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศตะวันตกและทางทิศใต้ แม่น้ำลพบุรี ทางทิศเหนือ และแม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก ซึ่งแม่น้ำทั้ง 3 สายไหลมาบรรจบกันและล้อมรอบ ทำให้ราชธานีมีสภาพเป็นเกาะ การคมนาคมทั้งในและต่างประเทศสะดวกใกล้ทะเล และมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ เพราะแม่น้ำล้อมรอบ ยากแก่การเข้าโจมตีของข้าศึก

  9. ปัจจัยในการก่อตั้ง 3.ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาได้เปรียบว่าสุโขทัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์เพราะอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ จึงมีโอกาสติดต่อค้าขายตลอดจนซื้ออาวุธจากต่างประเทศโดยเฉพาะการติดต่อค้าขายกับจีนได้สะดวก 4.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ทรงใช้นโยบายทางการทูตทำไมตรีกับแคว้นใกล้เคียงโดยเฉพาะกับอาณาจักรขอม และอาณาจักรสุโขทัยที่เริ่มเสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา

  10. ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ : ภูมิประเทศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตก และ ทิศใต้ แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านทางทิศตะวันออก และ แม่น้ำลพบุรี (ปัจจุบันเป็นคลองเมือง)ไหลผ่านทาง ด้านทิศเหนือ แม่น้ำสามสายนี้ ไหลมาบรรจบกัน โอบล้อมรอบพื้นที่ ของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ตัวเมืองจึงมีลักษณะเป็นเกาะ เราจะเห็นบ้านเรือน ปลูกเรียงรายหนาแน่น ตามสองข้างฝั่งแม่น้ำ แสดงถึงวิถีชีวิต ของผู้คนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำมายาวนาน

  11. เหตุผลการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2111 - 2112 พระเจ้าบุเรงนองนำทัพใหญ่ลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยา และใช้กลอุบายต่างๆที่ทำให้อยุธยาอ่อนแอลงทุกขณะ จนยึดกรุงศรีอยุธยาได้ พ.ศ. 2112 ตรงกับสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช กรุงศรีอยุธยา ตกเป็นประเทศราชของพม่า

  12. เหตุผลการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2308 – 2310 พระเจ้ามังระต้องการทรัพย์สิน ผู้คนและสัตว์พาหนะเพื่อเตรียมการรับศึกจีน รวมทั้งแก้แค้น จากการที่ทัพของบิดา ( พระเจ้าอลองพญา) ตีอยุธยาไม่เสร็จพม่าเห็นว่าการสู้รบของอยุธยาของ อ่อนแอจึงเปลี่ยนยุทธวิธีโดยมุ่งโจมตีกรุงศรีอยุธยาทัพพม่ารุกเข้ามาทั้งจากล้านนาและมอญ โอบล้อมกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน จนยึดเมืองได้ในเดือน 5 พ.ศ. 2310 การเสียกรุงศรี อยุธยาครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศประวัติศาสตร์ไทย เพราะเป็นการล่ม ละลายของศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรที่ตั้งมากว่า 400 ปี ทำให้ขวัญและกำลังใจตลอดจนชีวิตผู้คนต้องสูญสลาย บางส่วนถูกกวาดต้อนไปพม่า บ้านเมืองพินาศ เศณษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเสียหายอยู่ระยะเวลาหนึ่ง

  13. อ้างอิง • หนังสือ • หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 • เว็บไซต์ • http://th.wikipedia.org

  14. การสถาปนากรุงศรีอยุธยาการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เด็กหญิง สุวนันท์ จันทร์ธรรม เลขที่ 32 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 เสนอ อาจารย์ ภาวนา พลอินทร์ อาจารย์ จริญญา ม่วงจีน ดิฉันขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ค่ะ

More Related