1 / 34

การทำบท วีดิ ทัศน์

การทำบท วีดิ ทัศน์. การทำบท วีดิ ทัศน์. การวางโครงเรื่อง ( StoryBoard). การจัดเตรียม ภาพยนตร์. การตัดต่อ ภาพยนตร์. การแปลงไฟล์ ภาพยนตร์. การวางโครงเรื่อง.

Download Presentation

การทำบท วีดิ ทัศน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การทำบทวีดิทัศน์

  2. การทำบทวีดิทัศน์ การวางโครงเรื่อง (StoryBoard) การจัดเตรียม ภาพยนตร์ การตัดต่อ ภาพยนตร์ การแปลงไฟล์ ภาพยนตร์

  3. การวางโครงเรื่อง การทำบทวีดีทัศน์เป็นการวางแผนว่า ต้องการให้วีดีทัศน์ออกมาแนวไหน เรื่องราวมีลำดับเป็นอย่างไรซึ่งเนื้อเรื่องทั้งหมดจะอ้างอิงจากบทวีดีทัศน์เป็นหลัก หลังจากนั้นจะรวบรวมสิ่งที่คิดออกมาวางโครงเรื่องอย่างคร่าว ๆ แล้ววาดเป็นรูปขึ้นมา เรียกว่า StoryBoard

  4. ตัวอย่าง Storyboard

  5. การทำบทวีดีทัศน์ โครงสร้าง และองค์ประกอบของการทำบทวีดีทัศน์ • เรื่อง • แนวคิด • แก่นเรื่อง • เรื่องย่อ • โครงเรื่อง • ตัวละคร • บทสนทนา

  6. การจัดเตรียมภาพยนตร์ เป็นขั้นตอนต่อจากการวางโครงเรื่อง ซึ่งเราจะเตรียมไฟล์ภาพยนตร์ที่รวบรวมไว้หรือได้ถ่ายเก็บไว้เป็นช๊อต ๆ มาประกอบกันเป็นเรื่องราวตาม Storyboard โดยเรียงลำดับตามเหตุการณ์ วันเวลา และข้อกำหนดอื่น ๆ ดังที่ตั้งไว้

  7. การจัดเตรียมภาพยนตร์

  8. การต่อเนื่องของภาพ  (PictorialContinuity) การต่อเนื่องของภาพมีความสำคัญมากในการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจลำดับของเหตุการณ์ต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ของเรื่องราว เปรียบเหมือนไวยากรณ์หลักของภาษาภาพเพราะถ้าภาพต่อเนื่องอย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้ผู้ชมเกิดการสับสน ไม่เข้าใจจุดประสงค์ หรือเข้าใจแต่คลาดเคลื่อนไปจากจุดที่ต้องการ การเข้าใจวิธีการต่อเนื่องของภาพ ต้องเข้าใจหลักการ 2 ข้อ คือ 1.      Scene Sizes  คือ ขนาดต่างๆ ของภาพที่จะต้องมีขนาดลดหลั่นกันไป อย่างน้อย 3 ขนาด คือ -  Long  Shot              ขนาดไกล -  Medium  Shot        ขนาดปานกลาง -  Close  up  Shot      ขนาดใกล้

  9. การเคลื่อนไหวกล้องและเลนส์  (CameraandLensMovement) การเคลื่อนไหวเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ 1.       Subject  Movement  คือกล้องอยู่กับที่แต่ Subject เคลื่อนไหว 2.       Camera Movement  คือ  Subject อยู่กับที่ แล้วกล้อง เคลื่อนไหวหรือกล้องเคลื่อนไปตาม Subject  ที่กำลังเคลื่อนไหว

  10. การเคลื่อนไหว Subject  Movement

  11. การเคลื่อนไหว Camera  Movement

  12. การเคลื่อนไหวของกล้องการเคลื่อนไหวของกล้อง •   Panคือ การหันกล้องไปทางซ้ายหรือขวา •   Tiltคือ การแพนขึ้น-ลง ในแนวดิ่ง •   Dollyคือ การเคลื่อนกล้องจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง ด้วยล้อเลื่อน •   Crane  Shotคือการนำกล้องขึ้นติดตั้งบนเครน และ เคลื่อนที่จากมุมต่ำไปมุมสูงมากๆหรือ เปลี่ยนระยะจากความสูงมากให้ต่ำลงมา •   Hand – held - cameraคือการถ่ายโดยไม่ใช้ขาตั้ง

  13. การเคลื่อนไหวของเลนส์การเคลื่อนไหวของเลนส์ • Zoom  in คือการดึงภาพจากไกลเข้ามาใกล้ • Zoom  outคือการถอยภาพจากไกลออกไปเป็นภาพไกล • Shift  Focusคือการสร้างความเคลื่อนไหวด้วยการเปลี่ยน ตำแหน่งความชัดของภาพ

  14. การจัดองค์ประกอบของมุมภาพ  (CameraAngle) • หลักการจัดภาพ อาจกล่าวได้ว่าใช้หลักเดียวกับการจัดภาพทางด้านศิลป์กล่าวคือองค์ประกอบของภาพที่ดีจะต้อง • -มีความสมดุลดูแล้วไม่รู้สึกเอียงไปข้างหนึ่ง • -มีความเป็นกลุ่มก้อนมีจุดเด่น จุดรอง • -มีระยะความลึกมีด้านหน้า (For ground)  ด้านหลัง (Back ground)รวมทั้งส่วนกลางของภาพ (Middle ground) • ระดับมุมกล้อง • มุมก้ม(กล้องอยู่สูง)ให้ความรู้สึกอ่อนแอ, หงอยเหงา • มุมเงย(กล้องอยู่ต่ำ)ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่, แข็งแรง, น่าเกรงขาม • มุมระดับตาให้ความรู้สึกปกติธรรมดา

  15. ระดับมุมกล้อง มุมระดับตา

  16. ระดับมุมกล้อง มุมเงย

  17. ระดับมุมกล้อง มุมเงย

  18. ระดับมุมกล้อง มุมก้ม

  19. ระดับมุมกล้อง มุมก้ม

  20. การตัดต่อภาพยนตร์ เป็นการนำไฟล์ภาพยนตร์ที่เตรียมไว้มาตัดต่อ และเพิ่มเทคนิคต่าง ๆ เข้าไปเช่น เทคนิคการเปลี่ยนฉาก การเร่งความเร็วให้ภาพยนตร์ ฯลฯ เพื่อให้ภาพยนตร์สมบูรณ์ และเป็นไปตาม Storyboard ที่ได้เตรียมไว้ก่อนหน้านั้น

  21. การตัดต่อภาพยนตร์

  22. การตัดต่อ (Editing) • ภาพแต่ละภาพที่ถ่ายไว้เพื่อเตรียมที่จะตัดต่อ เปรียบเหมือนคำพูดที่ถูกเลือกไว้เพื่อจะผูกออกมาเป็นประโยค • เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการตัดต่อ • Cut คือการนำภาพหลายภาพมาต่อกันเพื่อแสดงความ ต่อเนื่องของการกระทำตั้งแต่ต้นจนจบ หรือใช้ตัดเมื่อ ต้องการเปลี่ยนไปสู่ฉากอื่นในทันทีทันใด • Quick  cut คือการตัดภาพเร็ว • Flash cut คือการตัดภาพแว้บสลับกับอีกภาพหนึ่งที่ใช้ยืนพื้น นิยม ใช้สื่อความหมายถึงการคิดกลับไปสู่อดีต

  23. Fade in คือการเริ่มภาพจากมืดสนิทแล้วค่อยๆ สว่างขึ้น • Fade out คือการที่ภาพค่อยๆ มืดลงจนกลายเป็นภาพมืดสนิท • Dissolve คือการที่ภาพหนึ่งค่อยๆ จางหายไป ในลักษณะที่ภาพ ใหม่กำลังซ้อน และค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้นมาแทนที่ • Wipe คือการที่ภาพเดิมถูกปาดออกไปด้วยภาพใหม่ที่เข้ามา แทนที่ • Split Screenคือ เป็นการแบ่งจอภาพให้มีหลายส่วน และมีภาพหลาย ภาพปรากฏพร้อมๆ กัน แต่อยู่ต่างจุดกันเพื่อแสดง ความหลากหลายของภาพให้ดูน่าสนใจ • Montage คือเทคนิคที่ทำให้ภาพหลายๆ ภาพ มีการเหลื่อม ซ้อนทับกัน

  24. การประกอบเสียง  (Soundmixing) เสียงในภาพยนตร์มีอยู่ 3 ชนิด คือ 1. เสียงพูด (Voices) หมายถึง เสียงผู้แสดงพูด และ/หรือเสียง ของผู้บรรยาย 2. เสียงธรรมชาติ (Sound Effect)รวมทั้งเสียงอิเลคทรอนิคส์ที่ ประกอบขึ้นเพื่อเน้นภาพบางส่วนให้น่าสนใจ 3. เสียงดนตรี (Music)คือ เพลงที่ใช้สร้างอารมณ์ ให้ผู้ชมเกิด อารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหาของภาพยนตร์

  25. การแปลงไฟล์ภาพยนตร์เพื่อนำไปเผยแพร่การแปลงไฟล์ภาพยนตร์เพื่อนำไปเผยแพร่ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการนำไฟล์ภาพยนตร์ที่ตัดต่อเสร็จแล้วมาแปลงเป็นไฟล์วีดีโอ จากนั้นนำไปบันทึกในรูปแบบของสื่อโทรทัศน์ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อไป

  26. ระบบวีดีโอในปัจจุบัน ระบบวีดีโอในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับการนำไฟล์วีดีโอไปเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งไฟล์วีดีโอนั้น จะเปิดกับโทรทัศน์ หรือเครื่องเล่นอื่นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของระบบวีดีโอในขั้นตอนการตัดต่อด้วย โดยต้องกำหนดค่าให้ตรงกับระบบวีดีโอทั่วไปที่แต่ละประเทศเลือกใช้เท่านั้น ในปัจจุบันนิยมใช้ระบบวีดีโอ 3 ระบบด้วยกัน คือ • ระบบ PAL • ระบบ NTSC • ระบบ SECAM

  27. ระบบ PAL เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง แต่การเคลื่อนไหวของภาพจะไม่ราบรื่นเท่ากับระบบอื่น ๆ โดยมีอัตราการแสดงผลภาพ (Frame Rate) เท่ากับ 25 เฟรมต่อวีนาที (fps) นิยมใช้ในกลุ่มประเทศแถบยุโรป แอฟริกาใต้ และเอเชียบางประเทศ ซึ่งในประเทศไทยจะใช้ระบบนี้เป็นหลัก

  28. ระบบ NTSC เป็นระบบที่มีความคมชัดสู้ระบบ PAL ไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวของภาพนั้น จะราบรื่นและสวยงามกว่าระบบ PAL โดยมีอัตราการแสดงผลภาพ (Frame Rate) เท่ากับ 29.79 เฟรมต่อวินาที (fps) นิยมใช้ในกลุ่มประเทศอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น

  29. ระบบ SECAM เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง การเคลื่อนไหวของภาพราบรื่น โดยมีอัตราการแสดงผลภาพ (Frame Rate) เท่ากับ 25 เฟรมต่อวินาที (fps) นิยมใช้ในแอฟริกาเหนือ ประเทศโซนตะวันออกกลาง ประเทศฝรั่งเศส

  30. Data Rate คืออะไร Data Rate คืออัตราการส่งข้อมูลเพื่อแสดงผลภาพเคลื่อนไหวในระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นค่าเดียวกับคำว่า “Bit Rate) โดยมีหน่วยย่อยที่สุดคือ บิตต่อวินาที (bps) การกำหนดค่า Data Rate นี้ หากกำหนดให้มีค่ามาก จะทำให้คุณภาพของไฟล์วีดีโอสูง แต่ข้อเสียคือจะมีเนื้อที่เยอะตามไปด้วย

  31. เฟรม และ Aspect Ratio ขนาดของเฟรม เป็นขนาดของความกว้าง คูณ ความยาวของเฟรม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับค่า Aspect Ratio โดยตรงเนื่องจาก Aspect Ratio คือ อัตราส่วนความยาว : ความกว้าง เช่น Aspect Ratio เท่ากับ 4 : 3 หมายความว่าเราต้องกำหนดขนาดของเฟรมในการแสดงผลเป็น (1024 : 768) (800 : 600) (640 : 480) :ซึ่งส่วนกว้าง : ความยาว เป็น 4 : 3 นั่นเอง ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบทั่วไป

  32. 4 3 Aspect Ratio 4:3

More Related