1 / 66

การจัดทำราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน

การจัดทำราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน. โดย. นายรุทร์ อินนุพัฒน์. ส่วนวิศวกรรม สำนักโครงการขนาดใหญ่. 1 ) สรุปสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างชลประทาน 2 ) แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างชลประทาน. หัวข้อการบรรยาย.

kyoko
Download Presentation

การจัดทำราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำราคากลางงานก่อสร้างชลประทานการจัดทำราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน โดย นายรุทร์ อินนุพัฒน์ ส่วนวิศวกรรม สำนักโครงการขนาดใหญ่

  2. 1) สรุปสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างชลประทาน2)แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างชลประทาน หัวข้อการบรรยาย

  3. สรุปสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน

  4. ความหมายของราคากลาง • ราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ หมายถึง ราคาค่าก่อสร้างในงานก่อสร้างของทางราชการในแต่ละงาน/โครงการ ซึ่งได้จากการประเมินหรือคำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด • ราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ไม่ใช่ราคามาตรฐานของงานก่อสร้าง • เป็นราคาที่ทางราชการยอมรับ ไม่สูงจนผู้ประกอบการได้กำไรมากเกินกว่าที่ควรได้รับ และเป็นราคาที่ไม่ต่ำจนผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะดำเนินการก่อสร้างได้

  5. ความสำคัญของราคากลางงานก่อสร้างความสำคัญของราคากลางงานก่อสร้าง • เพื่อให้ทราบราคาค่าก่อสร้างของงานก่อสร้างที่ใกล้เคียงกับราคาค่าก่อสร้างจริงมากที่สุดในขณะนั้น เพื่อใช้อ้างอิงหรือพิจารณาราคาของผู้เสนอราคา ในการจ้างก่อสร้างของทางราชการ • ใช้เป็นราคาเริ่มต้นในการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ • เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่อรองราคา การกำหนดค่างวดงาน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายการ และการตรวจติดตามผลการดำเนินงานก่อสร้างของคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง • เกินกว่าครึ่งหนึ่งของวงเงินงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในแต่ละปี เป็นงบประมาณในการจ้างก่อสร้าง หากมีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และควบคุมให้มีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะมีผลทำให้ลดการรั่วไหลและประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้มากกว่าที่เป็นอยู่ • เป็นข้อมูลในการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการก่อสร้างของหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ รวมทั้งเป็นข้อมูลประกอบสำหรับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับงานก่อสร้างในแต่ละงาน/โครงการ

  6. ใช้ข้อมูลรายละเอียดจากการคำนวณ ใช้ข้อมูลรายละเอียดจากการคำนวณ ราคากลางประกอบการพิจารณา ภาพรวมกระบวนการจัดจ้างในงานก่อสร้างของทางราชการ(กรณีประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) จัดทำ/ออกแบบโครงการ และขออนุมัติโครงการ/งบประมาณ ได้รับขออนุมัติโครงการ/งบประมาณ คำนวณราคากลาง จัดทำร่าง TOR และเอกสารประกวดราคา ขออนุมัติดำเนินการจัดจ้างก่อสร้าง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศร่าง TOR ประกาศราคากลางไว้ในร่าง TOR ดำเนินการประกวศประกวดราคาจ้าง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ราคากลางเป็นราคาเริ่มต้นการประมูล ต่อรองราคา อนุมัติรับราคา และทำสัญญาจ้างก่อสร้าง

  7. หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 (1) (2) (3) (4) (1) มติ ครม. แนวทาง วิธีปฏิบัติ และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง (2) หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร (3) หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม (4) หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน

  8. แนวทางในการนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างแนวทางในการนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ไปใช้กับงานก่อสร้างอื่น หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง จำแนกงานก่อสร้างของทางราชการ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม และงานก่อสร้างชลประทาน สำหรับงานก่อสร้างอื่น ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของงานก่อสร้าง 3 ประเภทดังกล่าวโดยตรง ให้พิจารณาในรายละเอียดว่ามีโครงสร้าง ลักษณะงาน และ/หรือขอบเขตของงานบางส่วนหรือทั้งหมดใกล้เคียงกับงานก่อสร้างประเภทใด ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างประเภทนั้น หรือหลายประเภทรวมกัน

  9. แนวทางในการนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างแนวทางในการนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ไปใช้กับงานก่อสร้างอื่น (ต่อ) ในกรณีที่เป็นงานหรือโครงการก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วยงานหรือโครงการก่อสร้างหลายโครงการ มีความซับซ้อน ใช้งบประมาณมาก มีลักษณะการก่อสร้างเป็นการเฉพาะและใช้เทคโนโลยีพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากงานก่อสร้าง 3 ประเภทดังกล่าว ให้กำหนดวิธีการและคำนวณราคากลางเป็นการเฉพาะ โดยหากโครงสร้างและลักษณะงานในส่วนใด สามารถนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางของงานก่อสร้าง 3 ประเภทดังกล่าวมาใช้ได้ ก็ให้พิจารณาปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งจัดทำบันทึกแสดงรายละเอียดและวิธีการคำนวณราคากลางดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบไว้ด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงงานหรือโครงการก่อสร้างที่ได้รับอนุมติ หรือมีระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดให้ใช้วิธีการคำนวณราคากลางเป็นการเฉพาะ

  10. ข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้างข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ราคาวัสดุก่อสร้างให้ใช้ราคาปัจจุบันในขณะที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างนั้น ราคาวัสดุก่อสร้างให้ใช้ราคาตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด (สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำหรับในส่วนกลาง และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำหรับในส่วนภูมิภาค) หากเป็นวัสดุก่อสร้างที่กระทรวงพาณิชย์มิได้กำหนดราคาไว้ ให้สืบราคาเอง พร้อมทั้งจัดทำบันทึกแสดงรายละเอียดของการสืบราคาและการกำหนดราคาไว้เป็นหลักฐานด้วย ในกรณีที่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ของทางราชการ สามารถใช้ราคาวัสดุก่อสร้างตามรายการที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดจากแหล่งอื่นได้ แต่ต้องเป็นราคาที่ไม่สูงกว่าราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยให้จัดทำบันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นรวมทั้งรายละเอียดของการสืบราคาหรือการกำหนดราคาวัสดุก่อสร้างดังกล่าว ไว้เป็นหลักฐานด้วย

  11. ข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง (ต่อ) 5. ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจตั้งคณะกรรมการหรือดำเนินการอื่นใด เพื่อสำรวจรวบรวมข้อมูล และกำหนดราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ในส่วนที่กระทรวงพาณิชย์มิได้กำหนดราคาไว้ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับราคาและแหล่งวัสดุในแต่ละท้องที่ 6. ในกรณีที่ใช้วัสดุก่อสร้างบางรายการเป็นจำนวนมาก หากซื้อโดยตรงจากแหล่งผลิตจะได้รับส่วนลดและเมื่อรวมค่าขนส่งแล้วยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาจากแหล่งอื่น อาจพิจารณาคำนวณโดยใช้ราคาจากแหล่งผลิตสำหรับวัสดุก่อสร้างรายการนั้นได้ 7. การกำหนดราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้างนอกเหนือจากที่กำหนดไว้นี้ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้กำหนดเพิ่มเติมไว้ในรายละเอียดของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างสำหรับงานก่อสร้างแต่ละประเภท และตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายราคากลางงานก่อสร้างจะได้กำหนดในโอกาสต่อไป

  12. การแต่งตั้ง องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ให้มีคณะกรรมการกำหนดราคากลาง เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างภายใต้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้ ดังต่อไปนี้ ในการจ้างก่อสร้าง แต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้ องค์ประกอบ ประธาน เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กรรมการ เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย 2 คน และควรมีผู้มีความรู้เกี่ยวกับการประมาณราคาร่วมเป็นกรรมการด้วย กรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการก่อสร้างนั้น ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้

  13. การแต่งตั้ง องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง (ต่อ) อำนาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลาง มีอำนาจหน้าที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างครั้งนั้นให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์นี้ แล้วนำเสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณา ก่อนวันประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคาหรือก่อนดำเนินการจัดทำร่าง TOR สำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ราคากลางที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณไว้ แตกต่างกับราคาของผู้เสนอราคารายที่ส่วนราชการเห็นสมควรจ้าง ตั้งแต่ร้อยละ 15 ขึ้นไป โดยใช้ราคาของผู้เสนอราคารายที่ส่วนราชการเห็นสมควรจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางแจ้งรายละเอียดการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนั้น ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบโดยเร็ว

  14. การแต่งตั้ง องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง (ต่อ) การแจ้งรายละเอียดการคำนวณราคากลางของคณะกรรมการกำหนดราคากลางต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินดังกล่าว ไม่มีผลผูกพันต่อผู้มีอำนาจในการที่จะพิจารณารับหรือไม่รับราคาของผู้เสนอราคารายนั้น สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ไม่อยู่ในบังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานนั้นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งและการประชุมคณะกรรมการ

  15. การแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ตามคำสั่งกรมฯ ที่ 568/2546 ลว.28 พ.ย.2546 - ก่อนดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้าง ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ขออนุมัติผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าโครงการแล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ตามความเหมาะสมของลักษณะงานก่อสร้าง - องค์ประกอบของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง 1) ประธาน 2) กรรมการ อย่างน้อย 2 คน และควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการประมาณราคาร่วมเป็นกรรมการด้วย ข้อเสนอแนะ ควรพิจารณาลักษณะและองค์ประกอบของงานก่อสร้างว่าประกอบด้วยงานด้านใดบ้าง เพื่อจะได้เชิญผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางเข้ามาร่วมเป็นกรรมการด้วย

  16. การดำเนินการ ตามคำสั่งกรมฯ ที่ 568/2546 ลว.28 พ.ย.2546 - หากผลการประกวดราคาปรากฏว่า ราคากลางที่กำหนดไว้สูงหรือต่ำกว่าราคาที่ประกวดราคาได้เกินกว่าร้อยละ 15 ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ประสานงานกับคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ให้รายงานผลการพิจารณาทบทวนราคากลางพร้อมเหตุผลประกอบ เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่อดำเนินการตามระเบียบต่อไป - และให้คณะกรรมการกำหนดราคากลาง จัดทำบันทึกคำชี้แจงส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคแล้วแต่กรณี (ตามมติ ครม. แจ้งตามหนังสือที่ นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 2537)

  17. แนวทางปฏิบัติกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง กรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาอัตราราคางานดิน อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และ/หรือบัญชีอัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการฯ ซึ่งใช้ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้ หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐยังไม่ได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษี มูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาอัตราราคางานดิน อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และ/หรือบัญชีอัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการฯ เดิม

  18. แนวทางปฏิบัติกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง (ต่อ) หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษี มูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคา อัตราราคางานดิน อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และ/หรือบัญชีอัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการฯ ที่ประกาศใหม่ และคณะกรรมการกำหนดราคากลางสามารถคำนวณราคากลางใหม่ได้ทัน ก่อนวันประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคาหรือก่อนดำเนินการจัดทำร่าง TOR สำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณราคากลางใหม่ และให้ถือราคากลางที่คำนวณใหม่นั้น เป็นราคากลางในการจัดจ้างก่อสร้างครั้งนั้น

  19. แนวทางปฏิบัติกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง (ต่อ) หากไม่สามารถคำนวณราคากลางใหม่ได้ทัน ก่อนวันประกาศสอบราคา หรือประกาศประกวดราคาหรือก่อนดำเนินการจัดทำร่าง TOR สำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี และยังไม่ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้าง ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณราคากลางโดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาอัตราราคางานดิน อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และ/หรือบัญชีอัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการฯ ที่ประกาศใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาหรือเพื่อดำเนินการอื่นใด สำหรับการจ้างก่อสร้างในครั้งนั้น

  20. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน 2554 ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ที่อัตราร้อยละ 7 ต่อปี จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง และสามารถดาวน์โหลดตาราง Factor F ที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ประกาศดังกล่าวได้จาก www.gprocurement.go.th

  21. มติ ครม.เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 อนุมัติให้มีการทบทวนราคากลางงานก่อสร้างให้เป็นปัจจุบัน โดยกำหนดให้ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานได้ให้ความเห็นชอบราคากลางงานก่อสร้างที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางของหน่วยงานได้คำนวณไว้แล้ว และยังไม่ประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่หัวหน้าหน่วยงานได้ให้ความเห็นชอบ ให้หัวหน้าหน่วยงานสั่งการให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างของหน่วยงานนั้น พิจารณาทบทวนราคากลางใหม่ให้มีความเป็นปัจจุบัน และนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR อีกครั้งหนึ่ง

  22. ข้อกำหนดในการประกาศและเปิดเผยราคากลางงานก่อสร้างข้อกำหนดในการประกาศและเปิดเผยราคากลางงานก่อสร้าง ในการจ้างก่อสร้างทุกครั้ง ให้หน่วยงานที่จะมีการจ้างก่อสร้างประกาศราคากลางที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางได้คำนวณไว้ ในประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา หรือตามระเบียบที่กำหนดสำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย สำหรับรายละเอียดของการคำนวณราคากลางตาม BOQ (Bill of Quantities) ให้หน่วยงานที่จะมีการจ้างก่อสร้างต้องจัดเตรียมไว้ หากมีผู้สนใจขอตรวจดูหรือขอถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าว จะต้องดำเนินการตามคำขอนั้นทันที และให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ด้วย

  23. การสรุปค่าก่อสร้างเป็นราคากลางการสรุปค่าก่อสร้างเป็นราคากลาง • เป็นการนำค่างานต้นทุน (Direct Cost)มาคำนวณรวมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง (Indirect Cost)ซึ่งได้จัดทำไว้ในรูปของตาราง Factor F และค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องมีได้เป็นราคากลางงานก่อสร้าง ซึ่งสามารถสรุปเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปได้ ดังนี้ • กรณีของงานก่อสร้างอาคาร • ราคากลาง = (ค่างานต้นทุน × Factor F)+ผลรวมค่าครุภัณฑ์สั่งซื้อหรือจัดซื้อซึ่งรวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว • +ค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆ • กรณีของงานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม และงานก่อสร้างชลประทาน • ราคากลาง = (ค่างานต้นทุนของแต่ละรายการก่อสร้าง × Factor F ) • สำหรับงานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม ที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดฯ • ราคากลาง = (ค่างานต้นทุนของแต่ละรายการก่อสร้าง × Factor F ซึ่งคำนวณรวมค่าใช้จ่ายพิเศษตาม ข้อกำหนดฯ ไว้แล้ว)

  24. แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทานแนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน

  25. ค่างานต้นทุน = ช่องที่ 4 x ช่องที่ 6 อัตราราคางาน คำนวณตามหลักเกณฑ์ = ช่องที่ 6 x Factor F ที่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษแล้ว = อัตราราคา ช่องที่ 9 x ช่องที่ 4 = อัตราราคา ช่องที่ 8 x ช่องที่ 4 Factor F ที่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษแล้ว = ช่องที่ 6 คูณ Factor F นำไปหาค่า Factor F คำนวณค่าใช้จ่ายพิเศษตามหลักเกณฑ์ แล้วนำราคารวมทั้งสิ้นไปหาร รายการงานก่อสร้าง (Item) รวมทั้งปริมาณงานและหน่วยวัด ที่ได้จากการถอดแบบ ราคากลาง

  26. 1) การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงาน และหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง2) กำหนดรายละเอียดหรือสูตรการคำนวณค่างานต้นทุนต่อหน่วยสำหรับทุกรายการงาน ก่อสร้าง (Item) 3) สรุปรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลาง และคำนวณค่างานต้นทุนต่อหน่วยสำหรับแต่ละรายการงานก่อสร้าง 4) นำค่างานต้นทุนต่อหน่วยของรายการงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องที่คำนวณได้ มาใส่ไว้ในช่อง “ราคา” ของแบบสรุปราคากลาง5) คำนวณค่างานต้นทุนรวมของทุกรายการงานก่อสร้าง (ปริมาณงาน x อัตราราคางาน)6) รวมค่างานต้นทุนรวม ของทุกรายการงานก่อสร้าง ตามข้อ 5) แล้วนำยอดรวมไปหา ค่า Factor F แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน

  27. 7) จัดทำรายละเอียดและคำนวณรวมค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆ 8) หาค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนด ทำให้อยู่ในรูปของ Factor F 9) นำ Factor F ของค่าใช้จ่ายพิเศษ ไปคูณกับ Factor F ในข้อ 6) 10) นำ Factor F ที่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษไว้แล้ว ไปคูณกับค่างานต้นทุนต่อหน่วย ของทุกรายการงานก่อสร้าง (Item) 11) นำค่างานต้นทุนต่อหน่วยตามข้อ 10) ไปคูณกับปริมาณงาน12) รวมราคากลางของทุกรายการงานก่อสร้าง (Item) ก็จะได้ราคากลางงานก่อสร้าง แนวทางและขั้นตอนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน (ต่อ)

  28. การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง การถอดแบบก่อสร้าง และการกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) ผู้ดำเนินการควรจะต้องออกไปดูสภาพพื้นที่บริเวณที่จะดำเนินการก่อสร้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและกำหนดรายการงานก่อสร้าง ประเด็นที่ควรพิจารณา • 1) ความครบถ้วนของรายการงานก่อสร้าง • - งานดินถมบดอัดแน่นด้วยแรงคน , งานดินถมบดอัดแน่นด้วยเครื่องจักรเบา • - งานดินขุดยาก • - งานผันน้ำระหว่างก่อสร้าง , งานสูบน้ำระหว่างก่อสร้าง • - เส้นทางลำเลียงวัสดุ • การกำหนดรายการงานก่อสร้าง พิจารณาควบคู่ไปกับการวางแผนงานก่อสร้าง และต้องมีแบบพร้อมรายการคำนวณปริมาณงาน ไว้เป็นหลักฐานประกอบการชี้แจง

  29. DHD-1 DHD-3 DHD-2 แบบขยายแสดงตำแหน่งหลุมเจาะธรณี (Boring log) บริเวณแนวเขื่อนทดน้ำ

  30. จุดพิจารณาเพิ่มการเรียงหินหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่งจุดพิจารณาเพิ่มการเรียงหินหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่ง 150 M. 150 M.

  31. การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง 2) ไม่ต้องเผื่อปริมาณงาน การคิดคำนวณปริมาณงานก่อสร้างชลประทาน ไม่ต้องคิดเผื่อปริมาณงาน เนื่องจากมีการเผื่อไว้แล้วในส่วนของการคิดคำนวณอัตราราคาต่อหน่วยไว้แล้ว ข้อควรระวัง กรณีแบบก่อสร้างที่กรมฯ จ้างเหมาสำรวจ-ออกแบบ บางครั้งการคิดคำนวณปริมาณงาน มีการคิดเผื่อปริมาณงานไว้ จึงควรต้องตรวจสอบปริมาณงานและรายการงานอีกครั้งหนึ่ง

  32. การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง 2) ไม่ต้องเผื่อปริมาณงาน การคิดคำนวณปริมาณงานก่อสร้างชลประทาน ไม่ต้องคิดเผื่อปริมาณงาน เนื่องจากมีการเผื่อไว้แล้วในส่วนของการคิดคำนวณอัตราราคาต่อหน่วยไว้แล้ว

  33. การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง 2) ไม่ต้องเผื่อปริมาณงาน การคิดคำนวณปริมาณงานก่อสร้างชลประทาน ไม่ต้องคิดเผื่อปริมาณงาน เนื่องจากมีการเผื่อไว้แล้วในส่วนของการคิดคำนวณอัตราราคาต่อหน่วยไว้แล้ว

  34. การถอดแบบก่อสร้าง การกำหนดรายการงานก่อสร้าง (Item) การคำนวณปริมาณงานและหน่วยวัดของแต่ละรายการงานก่อสร้าง 3) กำหนดรายการงานให้เหมาะสม การกำหนดรายการงานก่อสร้าง ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การคิดคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน และคำนึงถึงขั้นตอนการบริหารสัญญา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในขั้นตอนการตรวจวัดปริมาณงานเพื่อการจ่ายเงิน ข้อแนะนำ ควรตรวจสอบ/เทียบเคียง รายการงานใน BOQ กับงานก่อสร้างประเภทเดียวกันที่เคยดำเนินการผ่านมาแล้ว อาจจะช่วยให้พบเห็นรายการที่อาจจะตกหล่นได้

  35. การกำหนดรายละเอียดหรือสูตรการคำนวณค่างานต้นทุนต่อหน่วย สำหรับทุกรายการงานก่อสร้าง (Item) พิจารณาลักษณะและขอบเขตของงานก่อสร้าง เพื่อคิดคำนวณอัตราราคางานตามหลักเกณฑ์ของงานแต่ละรายการ กรณีงานที่ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณไว้ ให้ดำเนินการดังนี้ 1 ให้คิดอัตราราคางานตามหลักเกณฑ์ของงานแต่ละรายการที่เกี่ยวข้อง 2 งานที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษเฉพาะด้าน เช่น งานเจาะอุโมงค์ เป็นต้น จะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นๆ คิดราคาให้ 3 งานอื่นๆ ทั่วไป ให้สืบราคาวัสดุจากแหล่งผลิต หรือแหล่งจำหน่ายที่ใกล้สถานที่ก่อสร้าง รวมค่าขนส่งถึงสถานที่ก่อสร้าง 4 ครุภัณฑ์ต่างๆ ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางเป็นครุภัณฑ์ประกอบติดตั้งอยู่กับที่ (Buit-in) ส่วนการคิดครุภัณฑ์ที่ไม่ติดตั้งอยู่กับที่ ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางของงานก่อสร้างอาคาร

  36. การกำหนดสูตร ค่า K ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือที่ นร 0203/ว 109 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2532 ข้อแนะนำ ควรนำสูตรการปรับราคาค่าก่อสร้างทั้ง 35 สูตร ใส่ไว้ในเอกสารประกวดราคา

  37. การกำหนดสูตร ค่า K

  38. การกำหนดสูตร ค่า K หมวดที่ 4 งานชลประทาน

  39. การกำหนดสูตร ค่า K หมวดที่ 4 งานชลประทาน

  40. ค่าใช้จ่ายพิเศษ ค่าใช้จ่ายพิเศษในงานก่อสร้างชลประทาน ประกอบด้วย 1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหายานพาหนะ 2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาคอมพิวเตอร์ Scanner กล้องถ่ายรูป มัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายวัสดุสิ้นเปลือง 3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาเครื่องพิมพ์เอกสาร (Laser Printer) พร้อมอุปกรณ์ครบชุด 4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาเครื่องพิมพ์เอกสาร (Inkjet Printer) พร้อมอุปกรณ์ครบชุด 5. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพร้อมติดตั้งระบบ LAN ครบชุด 6. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานจัดหาเครื่องถ่ายเอกสาร

  41. ค่าใช้จ่ายพิเศษ (ต่อ) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งไม่มีแบบฟอร์มกำหนดไว้และไม่สามารถปรับใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนดไว้ได้ ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางจัดทำรายละเอียดโดยกำหนดแบบฟอร์มคำนวณค่าใช้จ่ายแต่ละรายการได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องตามข้อเท็จจริง โดยไม่รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งนี้ ให้จัดทำหมายเหตุ หรือคำชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดฯ แต่ละรายการ ประกอบไว้กับราคากลางเพื่อเป็นรายละเอียดและหลักฐานในการตรวจสอบ

  42. ค่าใช้จ่ายพิเศษ (ต่อ) สิ่งที่ต้องคำนึง 1. เหตุผลและความจำเป็น 2. ความเหมาะสม ในเรื่องชนิด และปริมาณของวัสดุอุปกรณ์ 3. ค่าใช้จ่ายพิเศษจะถูกนำไปคำนวณปรับลดค่าควบคุมงานลง

  43. FACTOR F ตรวจสอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง หรือ จากเว็ปไซต์ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกรมบัญชีกลางhttp://www.gprocurement.go.th/wps/portal/index_EGP

  44. FACTOR F (ต่อ) ประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554 กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ที่อัตราร้อยละ 7 ต่อปี

  45. FACTOR F (ต่อ) การคำนวณ Factor F

  46. FACTOR F (ต่อ) B D A C E

  47. FACTOR F (ต่อ) การพิจารณาใช้ตาราง Factor F

  48. แหล่งข้อมูล ที่จะใช้ประกอบในการคิดคำนวณอัตราราคาต้นทุนต่อหน่วย

  49. บัญชีค่าแรงงาน , ตาราง Factor F, อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากเว็ปไซต์ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกรมบัญชีกลาง http://www.gprocurement.go.th/wps/portal/index_EGP

More Related