1 / 52

บทที่ 11 การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว

บทที่ 11 การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว. 11.1. ความสำคัญ. 11.2.ลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผลกับการเกิดโรค. 11.3.ลักษณะตามธรรมชาติของเชื้อจุลินทรีย์. 11.4.กระบวนการเกิดโรค. 11.5.การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว. 11.6.การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว. 11.1.ความสำคัญ

laban
Download Presentation

บทที่ 11 การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 11 การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว

  2. 11.1.ความสำคัญ 11.2.ลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผลกับการเกิดโรค 11.3.ลักษณะตามธรรมชาติของเชื้อจุลินทรีย์ 11.4.กระบวนการเกิดโรค 11.5.การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว 11.6.การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว

  3. 11.1.ความสำคัญ สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญและบ่อยครั้งเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียภายหลังการเก็บเกี่ยวคือ “โรค” ซึ่งเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์คือเชื้อราและแบคทีเรีย เช่นการเน่าเสียของผลลำไยและเงาะ ทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้นในบทนี้จะบอกถึงลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผล เชื้อจุลินทรีย์ กระบวนการป้องกันตนเอง กระบวนการเข้าทำลายผลิตผลจนเกิดโรค และการป้องกันควบคุมโรคภายหลังการเก็บเกี่ยว

  4. 11.2.ลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผลกับการเกิดโรค11.2.ลักษณะตามธรรมชาติของผลิตผลกับการเกิดโรค 11.2.1.โครงสร้าง 11.2.2.องค์ประกอบเคมี 11.2.3การตอบสนองของผลิตผลเมื่อเกิดบาดแผล 11.2.3.1.การตอบสนองทางเคมี 11.2.3.2.การตอบสนองทางกายภาพ

  5. โครงสร้าง ที่ผิวของผลิตผลมีโครงสร้างที่สามารถป้องกันการเข้าทำลายจากศัตรูพืชได้แก่ epidermis และ periderm ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้ epidermisมีชั้นของคิวติเคิลปกคลุม ในคิวติเคิลมีคิวตินและไขเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ผลิตผลทุกชนิดยังมีช่องเปิดตามธรรมชาติได้แก่ปากใบและเลนติเซลซึ่งใช้เป็นช่องทางในการระบายอากาศ แก๊สต่างๆ และน้ำผ่านเข้าออกได้เชื้อจุลินทรีย์จึงอาจเข้าทำลายช่องเปิดเหล่านี้ได้

  6. องค์ประกอบเคมี ภายในชั้นคิวติเคิลและ suberin มีสารประกอบฟีนอลแทรกอยู่ด้วยสารเหล่านี้มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆได้ เมื่อผลิตผลยังไม่บริบูรณ์หรือยังไม่สุก มักมีปริมาณกรดสูงค่าphต่ำและมีปริมาณน้ำตาลต่ำ นอกจากนั้นยังมีสารประกอบฟีนอลสะสมอยู่ในแวคิวโอลซึ่งทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เจริญเข้าไปในเซลล์ไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ แต่เมื่อกระบวนการสุกเกิดขึ้น ความเป็นกรดจะลดลง สารประกอบฟีนอลลดลงทำให้เชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโต ได้ดี

  7. 11.2.3 การตอบสนองของผลิตผลเมื่อเกิดบาดแผล เชื้อจุลินทรีย์บางชนิดจะยังคงสามารถเจริญเติบโตได้ ผลิตผลจึงมักมีกระบวนการป้องกันตังเองแบบอื่นๆ ประกอบด้วย 11.2.3.1 การตอบสนองทางเคมี 11.2.3.2 การตอบสนองทางกายภาพ

  8. การตองสนองทางเคมี การเกิดบาดแผลในพืชบางชนิดจะกระตุ้นให้มีการสร้างสารเคมีบางอย่างขึ้นในเซลล์ที่อยู่ใกล้กับบาดแผลหากมีการเข้าทำลายจากเชื้อจุลินทรีย์การกระตุ้นการสร้างสารเคมียิ่งเกิดขึ้นได้ดี สารที่ถูกสร้างขึ้นนี้เรียนว่า phytoalexin ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบฟีนอล ตัวกระตุ้นให้เกิดสารนี้เรียกว่า elicitor phytoalexin มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าทำลาย

  9. การตอบสนองทางกายภาพ เมื่อผลิตผลเกิดบาดแผลเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของพืชสามารถรักษาหรือสมานแผลได้ในหลายๆรูปแบบเพื่อลดการสูญเสียน้ำและการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ ในบางกรณีเซลล์ที่อยู่ใกล้เซลล์ที่เกิดบาดแผลจะตายลงเอง เพื่อก่อให้เกิดเป็นแนวป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ผ่านเข้าไปเรียกการตอบสนองแบบนี้ว่าhypersensitive

  10. 11.3.ลักษณะตามธรรมชาติของเชื้อจุลินทรีย์11.3.ลักษณะตามธรรมชาติของเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อราและแบคทีเรียมีอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมของผลิตผล ทั้งในอากาศ น้ำ และดินส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสปอร์ซึ่งมีความทนทาน สามารถอยู่รอดได้ในอากาศที่ไม่เหมาะสม เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคกับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวส่วนมาอยู่ในclass Ascomycetesและimperfect fungiส่วนใหญ่ทั้งเชื้อราและแบคทีเรียจะเจริญได้ดีที่บรรยากาศปกติ ส่วนในสภาพที่มี……สูงจะช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียที่ได้รับความเข้มข้นสูงกว่า10% ภายหลังผลิตผลเน่าเสียไปแล้ว เชื้อราและแบคทีเรียยังสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้บนต้นพืชหรือเศษซากพืช หรือตกค้างอยู่ใต้ดิน อยู่ตามซอกมุมของโรงคัดบรรจุและสามารถแพร่ระบาดไปได้กับลม ละอองน้ำ แมลง นก หรือติดไปกับสัตว์ตลอดจนอุปกรณ์ตลอดจนอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ

  11. 11.4 กระบวนการเกิดโรค กระบวนการเกิดโรคนั้นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ3อย่างที่สอดคล้องกันเรียกว่า disease triangleได้แก่พืชอาศัย(host)เชื้อจุลินทรีย์(pathogen)และสภาพแวดล้อม(enviroment)ที่เหมาะสมเชื้อจุลินทรีย์แต่ละอย่างเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แม้แต่พืชชนิดเดียวกันแต่ต่างพันธ์กันการเกิดโรคก็ไม่เท่ากัน ลักษณะการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์แบ่งเป็น2ลักษณะดังนี้ 11.4.1 การเข้าทำลายผ่านทางชิองเปิด 11.4.2 การเข้าทำลายผ่านทางคิวติเคิล

  12. ตารางที่ 11.2 เปรียบเทียบพันธ์มะม่วงกับการเกิดโรคขั้วผลเน่าจากเชื้อรา

  13. การเข้าทำลายผ่านทางช่องเปิดการเข้าทำลายผ่านทางช่องเปิด เชื้อจุลินทรีย์สามารถเข้าสู่ภายในผลิตผลได้ตามช่องเปิดต่างๆตามธรรมชาติหรือตามบาดแผลที่อาจมีอยู่ แต่เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้อาจพักตัวและไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในเนื้อเยื่อพืชยังไม่เหมาะสม

  14. การเข้าทำลายผ่านทางคิวติเคิลการเข้าทำลายผ่านทางคิวติเคิล เมื่อสปอร์ตกลงบนผลิตผลและมีสภาพอุณหภูมิและความร้อนที่เหมาะสม สปอร์จะงอกภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงโดยงอกเป็นท่อเรียกว่าgermtubeและพัฒนาเป็นโครงสร้างที่มีผนังหนาเกาะติดแน่นกับผิวของผลิตผลโดยสารเมือก(mucilagenous material)ที่germ tubeสร้างขึ้นมาเรียกโครงสร้างทั้งหมดนี้ว่าappressorium หัวข้อหลัก ภาพที่11.1

  15. 11.5 การป้องกันและควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว การปฏิบัติทั้งทางด้านป้องกันและควบคุมนี้ยังอาศัยหลักการเดิมคือการขัดขวางไม่ให้สามเหลี่ยมของการเกิดโรคได้การป้องกันสามารถทำได้ดังนี้ 11.5.1 เข้าใจวงจรชีวิตและคอยเฝ้าระวัง(monitor)เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค 11.5.2 การเขตกรรมที่ดี 11.5.3 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

  16. สามเหลี่ยมของการเกิดโรคคือองค์ประกอบ3อย่างที่สอดคล้องกันเรียกว่า disease triangleได้แก่พืชอาศัย(host)เชื้อจุลินทรีย์(pathogen)และสภาพแวดล้อม(enviroment)ที่เหมาะสม

  17. 11.5.1 เข้าใจวงจรชีวิตและคอยเฝ้าระวัง(monitor)เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ควรเริ่มศึกษาธรรมชาติของโรคเสียก่อน ว่ามีวงจรชีวิตอย่างไร ชอบอุณหภูมิความชื้นแบบไหน อาศัยอยู่บนพืชใดบ้าง สืบพันธ์ ขยายพันธ์อย่างไรระยะเวลาใดที่มีสปอร์หรือชิ้นส่วนของเชื้อจุลินทรีย์มากโอกาศเกิดการเข้าทำลายก็มีมากเป็นพิเศษหรือต้องใช้ยามากเป็นพิเศษ เฝ้าระวังโดยการสุ่มอากาศ น้ำ และดินไปตรวจว่ามีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์มากน้อยเพียงใด

  18. 11.5.2 การเขตกรรมที่ดี การดูแลรักษาการดูแลรักษาผัก ผลไม้ขณะอยู่บนต้นและควบคุมกำจัดโรคภายในแปลงมีความสำคัญต่อการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยวเพราะการดูแลรักษาที่ดีจะทำให้ผลิตผลมีความแข็งแรงและมีคุณภาพสูง 11.5.2.1 การจัดการเรื่องน้ำ ควรให้น้ำอย่างเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป 11.5.2.2 ธาตุอาหาร ถ้าพืชได้รับไนโตรเจนมาก การเจริญทางvegetativeมีมากจะทำให้ผลิตผลบอบบาง การหายใจสูง อายุการเก็บรักษาสั้น ถ้าแคลเซียมมาก การยึดเกาะกันของโมเลกุลpectinอาจดีกว่า ทำให้ผนังเซลล์มีความแข็งแรงมากกว่า การเพิ่มแคลเซียมทำใหผลิตผลไม่บอบช้ำง่ายการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ลดน้อยลง

  19. 11.5.2.3 การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการลดวงจรชีวิตของเชื้อจุลินทรีย์ลง การเกิดโรคจะมีน้อยลงควรดูด้วยว่าพืชที่ปลูกสลับนั้นไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคจึงจะได้ผลดีขึ้น การจัดการน้ำและดิน ควรตากดินให้แห้งก่อนการปลูกพืชเพราะจะช่วยลดเชื้อจุลินทรีย์ได้

  20. 11.5.2.4 การใช้สารเคมีในแปลง การใช้สารเคมีในแปลงเพื่อลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่อาจติดไปกับผลิตผลลดน้อยลง โดยเฉพาะเชื้อที่เข้าทำลายขณะอยู่ในแปลง

  21. 11.5.2.5 การใช้สารเคมีอื่น ๆ การใช้สารเคมีอื่น ๆ ในระหว่างการเจริญเติบโตของผลิตผลมีผลต่อการเกิดโรคเช่นกัน เพราะเชื้อจุลินทรีย์ต่างชนิดกันทนต่อสารเคมีได้ไม่เท่ากันและทำให้ไม่ต้องแข่งกัน สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงอาจมีผลในแง่ลดพาหะที่จะนำเชื้อจุลินทรีย์มาให้ ลดการเกิดแผลเนื่องจากแมลง ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายได้น้อยลง ส่วนสารปราบวัชพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเองก็มีผลต่อการเกิดโรคเช่นกัน

  22. 11.5.3 การปฎิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ควรเลือกผลที่มีความบริบูรณ์พอเหมาะ การเก็บเกี่ยว การคัดเลือกขนาดและคุณภาพ ต้องทำด้วยความประณีต ไม่ให้เกิดบาดแผลกับผลิตผล และควรลดขั้นตอนการจับต้องให้น้อยที่สุด การทำความสะอาดต้องพยายามไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค ภาชนะที่ใช้บรรจุต้องไม่ทำให้เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำภายในภาชนะ เพราะจะทำให้ความชื้นสูงและเกิดการงอกเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ขึ้น สภาพโรงคัดบรรจุต้องดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อจุลินทรีย์และสร้างสปอร์ขึ้นในโรงคัดบรรจุ ส่วนอากาศภายในโรงคัดบรรจุก็ควรได้รับการถ่ายเทเอาอากาศใหม่เข้ามา ถึงการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ค่อนข้างสำคัญ เพราะช่วยให้คาดการณ์เวลาที่เหมาะในการควบคุมโรคให้ได้ผลด้วย

  23. 11.6 การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว แยกเป็นแนวทางปฏิบัติได้ 3 วิธีคือ 11.6.1 การควบคุมทางกายภาพ 11.6.2 การใช้สารเคมีในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว 11.6.3 การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวด้วยชีววิธี

  24. 11.6.1 การควบคุมทางกายภาพ 11.6.1.1 อุณหภูมิและความชื้น เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเกิดโรคของผลิตผล การเก็บรักษาควรลดอุณหภูมิให้ต่ำลงมากที่สุด เพื่อให้ผลิตผลมีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพน้อยที่สุด การเก็บรักษาจึงไม่ควรให้สถานที่เก็บรักษาผลิตผลมีความชื้นสูงหรือต่ำมากเกินไป ในสถานที่เก็บรักษาควรจัดให้มีความผันแปรของอุณหภูมิให้น้อยที่สุด การใช้อุณหภูมิต่ำซึ่งเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ อุณหภูมิสูงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ สามารถใช้ในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์จากผลิตผลได้ เพราะองค์ประกอบเคมีในจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป ภาพที่ 11.3

  25. 11.6.1.2 การดัดแปลงบรรยากาศ หากบรรยากาศในการเก็บรักษา ผลิตผลมีองค์ประกอบเปลี่ยนแปลงไป ย่อมส่งผลถึงการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และทำให้เกิดโรคบนผลิตผลหลังเก็บเกี่ยวเปลี่ยนแปลงไปด้วย การปรับสภาพบรรยากาศเพื่อการควบคุมโรคจึงค่อนข้างจะมีผลเฉพาะเจาะจงกับผลิตผลและโรคแต่ละชนิดจำเป็นต้องได้รับศึกษาทดลองเป็นกรณี ๆ ไป เช่นการเพิ่มปริมาณ CO2 ให้ผลในการควบคุมโรคมากกว่าที่ระดับ CO2 10-20%พบว่าสามารถควบคุมเชื้อ Botrytis และ Rhizopus ในผลสตรอเบอรีหลังการเก็บเกี่ยวได้ เพราะ CO มีคุณสมบัติเป็นตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด และยังไปแย่งที่ O2 ในกระบวนการหายใจด้วย ภาพที่ 11.4

  26. 11.6.1.3 การฉายรังสี มีการทดลองใช้รังสีแกมมาจากโคบอลท์ 60 กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ทั้งที่ผิวผลิตผลและภายในผล ระดับรังสีที่ควบคุมโรคได้ คือประมาณ 5 kGy ขึ้นไป ผลิตผลเสื่อมสภาพเร็ว ศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้ความร้อนร่วมกับรังสีในระดับต่ำ (0.5 kGy + ความร้อน 5 นาที) ได้ผลดีขึ้นแต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ปัจจุบันมีการใช้รังสีเพื่อชะลอการเกิดโรคและรักษาความสดกับเห็ดในประเทศเนเธอร์แลนด์ และกับสตรอเบอรีในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ผลพอสมควรและผู้บริโภคก็ยอมรับ

  27. 11.6.2 การใช้สารเคมีในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว การใช้สารเคมีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการควบคุมโรคเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนวิธีการอื่น ๆ เช่น การลดอุณหภูมิระหว่างการเก็บรักษาได้ 11.6.2.1 การเลือกใช้สารเคมี การเลือกใช้สารมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. เลือกชนิดที่เชื้อจุลินทรีย์มีความอ่อนแอต่อสารเคมีนั้น 2. สารเคมีสามารถผ่านเข้าไปทำลายยังบริเวณที่มีเชื้ออยู่ได้ดี 3. ผลิตผลทนทานต่อสารเคมีนั้น

  28. 11.6.2.2 ลักษณะการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้สารเคมี ในบรรดาสารเคมีที่มีใช้ในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่แสดงในตารางที่ 11.4 นั้น สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทตามลักษณะของการควบคุม ก. Sanitation หมายถึงประเภทที่ใช้เพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นเส้นใย ส่วนขยายพันธุ์ หรือส่วนเจริญอื่นๆ ที่ติดมากับผิวของผลิตผล ข. Protection หมายถึงประเภทที่ใช้เพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์หรือยับยั้งการเจริญของเส้นใยที่มีอยู่บนผลิตผลแต่ไม่ได้อยู่ในระยะที่พักตัว (quiescence)

  29. ค. Suppression หมายถึงประเภทที่ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าแฝงตัวอยู่ในผลิตผลแล้วตั้งแต่ก่อนการเก็บเกี่ยว ง. Therapy หมายถึงประเภทที่ใช้เพื่อฆ่าทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่แฝงตัวอยู่ในผลิตผล

  30. 11.6.2.3 คุณสมบัติของสารเคมีที่ใช้กันมากในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว ก. คลอรีน ข. SO2 ค. สารเคมีที่ใช้ควบคุม storage fungi ง. benzimidazole จ. Imidazole ฉ. สารควบคุมเชื้อรา

  31. ก.คลอรีน คลอรีนและไฮโปคลอไรท์ (sodium และ potassium hypochlorite) ราคาถูก ใช้ได้ผลดีในการฆ่าสปอร์และชิ้นส่วนของเชื้อราและแบคทีเรียที่ติดมากับผลิตผล ใช้ในการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการคัด – บรรจุผลิตผล ผลของคลอรีนในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ บนผลิตผลผันแปรได้มาก จึงควรเข้าใจคุณสมบัติทางเคมีบางประการของคลอรีนดังนี้ คลอรีนจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้ดังสมการ CL2 + H2O HOCL + CL- + H+

  32. HOCl (hypochlorous acid) เป็นกรดอ่อน แตกตัวให้ OCl- และ H+และอยู่ในสมดุลกับOCl- lส่วน hypochlorite ในน้ำจะแตกตัวได้ตามสมการ NaOCl Na+ หรือ + H2O OCL- + หรือ CaOCl Ca+ ความเข้มข้นของคลอรีนมักใช้เป็นหน่วย ppm ของ available คลอรีน available คลอรีน หมายถึง น้ำหนักคลอรีน (Cl2) ที่จะเตรียมสารละลายให้ active คลอรีน (HOCl และ OCl-) ได้เท่าสารละลายนั้น การใช้คลอรีนหรือไฮโปคลอไรท์ให้ได้ผล จึงต้องระวังรักษาให้สารละลายมีความเข้มข้นของavailable คลอรีนตามที่ต้องการ

  33. ข. SO2เป็นแก๊สที่มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีตัวหนึ่ง มีคุณสมบัติเป็น reducing agent มีคุณสมบัติในการฟอกสีและยังยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลในผลิตผลที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว SO2 เป็นแก๊สที่มีอันตราย ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ 1) บุคลากรต้องมีความรู้ 2) โครงสร้างของสถานที่ทำความสะอาดได้ง่าย 3) วิธีการรมควัน ค่อนข้างยุ่งยาก เร็วกว่า สะดวกกว่า ราคาแพงกว่า 4) อุปกรณ์สำหรับการเผากำมะถัน 5) ปริมาณหรือความเข้มข้นของ SO2

  34. ค. สารเคมีที่ใช้ควบคุม storage fungi สารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่ biphenyl , sec-butylamine , o-phenylphenol (OPP) และ sodium-O-phenylphenate (SOPP) มีใช้กันมากในต่างประเทศโดยเฉพาะกับผลไม้สกุลส้มในระหว่างการเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับส้มในต่างประเทศคือเชื้อ Penicillium ที่มีอยู่มากในห้องเก็บรักษาสามารถเข้าทำลายผลิตผลได้ทางบาดแผลและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ

  35. ง. benzimidazole สารในกลุ่มนี้ได้แก่ benomyl,thiabendazole,carbendazim และ thiophanatemethyl ได้ผลดีมากในการควบคุมเชื้อราหลังการเก็บเกี่ยว แต่มีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อ Penicillium ที่เข้าทางบาดแผลได้ไม่ดีนัก

  36. จ. Imidazole ได้แก่ สารที่มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้าง ergosterol ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลส์ของเชื้อราได้แก่ imazalil,pro-chloraz และ etaconazole ฉ. สารควบคุมเชื้อรา Phytophthora metalaxyl และ fosetylaluminum เป็นสารเคมีที่ใช้กันมากสำหรับควบคุม Phytophthora

  37. 11.6.3 การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวด้วยชีววิธี นอกเหนือจากการใช้อุณหภูมิและการควบคุมบรรยากาศในการควบคุมโรคแล้ว การควบคุมโรคโดยชีววิธีกำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ในที่นี้การควบคุมโรคด้วยชีววิธีจะหมายถึงทั้งการใช้จุลินทรีย์ตัวอื่น (antagonist) และการใช้สารที่ได้จากธรรมชาติในการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยว 11.6.3.1 antagonist ในทางปฏิบัติในแปลงปลูกมักได้ผลสำเร็จน้อย เพราะไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ antagonist เจริญเติบโตได้ดี แต่ในสภาพที่เก็บเกี่ยวมาแล้วเราสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างดี

  38. สำหรับหลักการใช้ antagonist มีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกันคือ 1. antagonist ไปแย่งอาหารและพื้นที่ในการเจริญเติบโตกับเชื้อจุลินทรีย์ 2. antagonist สร้างสารเคมีที่มีผลยับยั้งการงอกของสปอร์และการสร้างสปอร์ของเชื้อจุลินทรีย์ 3. antagonist กระตุ้นให้ผลิตผลสร้างความต้านทานต่อเชื้อจุลินทรีย์ขึ้น

More Related