1 / 28

สื่อการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้โปรแกรม Power Point

สื่อการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้โปรแกรม Power Point. เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง. ผู้จัดทำ นางศิริพรรณ รักร่วม. เรื่องไตรภูมิพระร่วง. (ตอนมนุสสภูมิ). ผู้แต่ง. ที่มาและความหมาย. จุดมุ่งหมาย. เรื่องไตรภูมิพระร่วง. 1. กามภูมิ. มนุสสภูมิ. 1.1 สุคติภูมิ. ฉกามาพจร. 1.2 ทุคติภูมิ.

lada
Download Presentation

สื่อการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้โปรแกรม Power Point

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สื่อการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้โปรแกรมPower Point เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ผู้จัดทำ นางศิริพรรณ รักร่วม

  2. เรื่องไตรภูมิพระร่วง (ตอนมนุสสภูมิ) ผู้แต่ง ที่มาและความหมาย จุดมุ่งหมาย เรื่องไตรภูมิพระร่วง 1. กามภูมิ มนุสสภูมิ 1.1 สุคติภูมิ ฉกามาพจร 1.2 ทุคติภูมิ 2. รูปภูมิ 3. อรูปภูมิ เนื้อเรื่องย่อ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คุณค่าด้านสังคม กิจกรรม

  3. ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) พระนัดดาของพ่อขุนรามคำแหง

  4. ที่มาและความหมายของไตรภูมิพระร่วงที่มาและความหมายของไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา หมายถึง เรื่องราวของโลกทั้งสาม ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ

  5. จุดมุ่งหมายในการแต่ง - ชี้นำให้มนุษย์หาทางหลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิด - เทศนาแก่พระมารดา

  6. เรื่องไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงภูมิทั้งสาม ที่สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิด วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ ได้แก่ รูปภูมิ อรูปภูมิ กามภูมิ

  7. 1

  8. 1.1

  9. มนุสสภูมิ แบ่งออกเป็น 4 ทวีป คือ 2. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือ ของเขาพระสุเมรุ 4. อมรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตก ของเขาพระสุเมรุ 3. บุรพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออก ของเขาพระสุเมรุ 1. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ ของเขาพระสุเมรุ

  10. ฉกามาพจร - สวรรค์ 6 ชั้น สวรรค์ชั้นที่ 1ชื่อ จาตุมหาราชิก มีท้าวจาตุมหาราช เป็นหัวหน้าเทวดาผู้รักษาโลกทั้ง 4 ทิศใต้ ท้าววิรุฬหก (จอมเทวดา) ทิศเหนือ ท้าวกุเวร (จอมยักษ์) ทิศตะวันตก ท้าววิรุปักษ์ (จอมนาค) ทิศตะวันออก ท้าวธตรฐ (จอมภูติ)

  11. สวรรค์ชั้นที่ 2ดาวดึงส์ มีพระอินทร์ปกครอง สวรรค์ชั้นที่ 3ยามะ มีท้าวสุยามปกครอง - พระสยามเทวาธิราชประทับที่นี่ - ไม่มีกลางวัน กลางคืน สังเกต ดอกไม้ทิพย์ บานเป็นกลางวัน หุบเป็นกลางคืน

  12. สวรรค์ชั้นที่ 4ดุสิต มี ท้าวสันดุสิตปกครอง พระโพธิสัตว์ และ พระศรีอาริยเมตไตรย์ ประทับที่นี่ สวรรค์ชั้นที่ 5 นิมมานรดี ท้าวสุนิมมิต เนรมิตสิ่งต่างๆได้

  13. สวรรค์ชั้นที่ 6 ปรนิมมิตวสวัสดี มี ท้าววสวัตดีมาร ปกครอง เทพในสวรรค์ชั้นนี้ มีอำนาจสั่งให้เทพนิมิตให้ได้ ไม่ต้องเนรมิตเอง

  14. 1.2

  15. 2. รูปภูมิเป็นที่อยู่ของ “พรหมมีรูป” มี 16 ชั้น 3. อรูปภูมิเป็นที่อยู่ของ “พรหมไม่มีรูป” มี 4 ชั้น

  16. เนื้อเรื่องย่อ (ตอนมนุสสภูมิ) เป็นตอนที่ เกี่ยวกับกำเนิดของมนุษย์ จากการอ่านทำให้ทราบว่า เรื่อง การกำเนิดของมนุษย์นี้ คนโบราณมีความรู้ ความคิดใกล้เคียงกับหลักทางวิทยาศาสตร์ แม้จะไม่เป็นจริงทั้งหมด แต่ก็มีส่วนจริงอยู่มาก

  17. ผู้แต่งพรรณนาถึงเด็กตอนที่เริ่มก่อตัวในท้องแม่ ว่ามีขนาดเล็กมาก เรียกว่า“กัลละ” ต่อจากนั้นชีวิตจะค่อยๆเจริญขึ้น มีปุ่มงอกออกมา 5 ปุ่ม ซึ่งต่อมากลายเป็น หัว แขน 2 แขนและขา 2 ขา

  18. สภาพของเด็กขณะที่อยู่ในท้องแม่ นั่งชันเข่า กำมือทั้ง 2 ข้าง ก้มหัวลงไปซบที่เข่า หันหน้าไปคนละทางกับแม่ มีสภาพลำบาก ทั้งเจ็บเนื้อตน และ เดือดเนื้อเดือดใจ

  19. เด็กได้รับอาหารทางสายสะดือ ซึ่งกลวงไปติดท้องแม่ เมื่อครบกำหนดคลอด เด็กจะพลิกหัวลง ระยะเวลาอยู่ในท้องแม่ไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 7-11 เดือน บางคนอยู่ในท้องแม่ ถึง 1 ปีก็มี

  20. เปรียบเทียบขั้นตอนการเกิดของมนุษย์จากเรื่องไตรภูมิพระร่วง กับขั้นตอนการอธิบายทางวิทยาศาสตร์

  21. เนื้อความในมนุสสภูมิ อธิบายต่อไปอีกว่า ถ้าเด็กในท้องมาจากนรกขณะอยู่ในท้อง แม่จะตัวร้อน กระวนกระวายเมื่อคลอดออกมาเด็กจะร้องไห้ก่อน แต่ ถ้าเด็กมาจากสวรรค์แม่จะสุขกายสบายใจ เนื้อตัวเย็น และเมื่อคลอดจะหัวเราะก่อน

  22. ความเชื่อเกี่ยวกับการกินอาหารของมารดาความเชื่อเกี่ยวกับการกินอาหารของมารดา • ถ้ามารดาอยากกินเนื้อปลา อาหารสด ท่านว่าสัตว์นรกมาเกิด • ถ้ามารดาอยากกิน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล ท่านว่ามาจากสวรรค์ • ถ้ามารดาอยากกินผลไม้ ท่านว่าเดรัจฉานมาเกิด • ถ้ามารดาอยากกินดิน ท่านว่า พรหมมาเกิด • ถ้ามารดาอยากกินอาหารเผ็ดร้อน ท่านว่ามนุษย์มาเกิด คนที่เกิดมาแล้วจะลืมภพชาติเดิมแล้วมาเรียนรู้ภพชาติใหม่ แต่ยังนำกรรมติดตัวมาด้วย และกรรมจะนำให้แต่ละชีวิตเป็นไปตามกรรมที่เคยกระทำ

  23. คนแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ตามพื้นกรรมของตน ได้แก่ • คนนรก - คนทำบาป ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาก่อน ต้องได้รับความทุกข์เวทนาทางกาย • คนเปรต - ไม่เคยทำบุญมาก่อน ย่อมยากจนเข็ญใจ รูปโฉมขี้ริ้วขี้เหร่ • คนเดรัจฉาน - คนไม่รู้บุญรู้บาป ไม่มีเมตตากรุณา จิตใจกล้าแข็งก้าวร้าวไม่ยำเกรงต่อ บาป ไม่รู้จักบุญคุณ ไม่รู้จักรักและเอื้อเฟื้อ • มนุษย์ - คนที่รู้จักบุญและบาป ละอายและกลัวบาป มีเมตตากรุณา รัก เอื้อเฟื้อ และกตัญญู เคารพพระรัตนตรัย พ่อแม่

  24. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การใช้ภาษาในเรื่องอาจจะเข้าใจยากสำหรับผู้อ่านในปัจจุบัน เพราะมีศัพท์โบราณและศัพท์ทางศาสนาปนอยู่มาก แต่ดีเด่นในด้านการพรรณนาและการเปรียบเทียบ เช่น การชมความงามของหญิงในอุตตรกุรุทวีป ว่า มีรูปร่างสมส่วน ผิวเหลืองดังทอง ชายใดเห็นก็รัก นิ้วกลมเรียว ปากแดง เล็บงาม ใบหน้าผุดผ่องเกลี้ยงเกลาปานดวงจันทร์วันเพ็ญ ตาดำดุจตาของเนื้อทราย ผมดำเป็นเงา ขาเรียว ริมฝีปากอิ่มแดงระเรื่อ

  25. การดำเนินเรื่องไม่สับสน โดยพรรณนาจากภูมิต่ำสุด อันเป็นแดนของผู้ทำบาปก่อน เป็นการขู่ให้คนกลัวบาปกรรม แล้วจึงเล่าเรื่องราวของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่เกิด ที่อยู่ แผ่นดิน....กล่าวถึงผลแห่งบุญ ผลแห่งบาปของมนุษย์ แล้วจึงกล่าวถึงสวรรค์เป็นชั้นๆ

  26. ขั้นสุดท้ายเตือนสติให้มองเห็นการณ์ไกลถึงความสงบสุขอันแท้จริง คือ... นิพพาน

  27. คุณค่าด้านสังคม 1. ชี้ให้เห็นแก่นแท้ ของชีวิตมนุษย์ 2. สอนให้มนุษย์เกรงบาป กลัวกรรมและเร่งทำบุญกุศล ทำให้มนุษย์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

  28. กิจกรรม ให้นักเรียนรับใบงานกิจกรรมจากครูผู้สอน และนำส่งครูตามเวลาที่กำหนด สวัสดีค่ะ

More Related