1 / 155

ฮอร์โมน จัดทำโดย กรมปศุสัตว์

ฮอร์โมน จัดทำโดย กรมปศุสัตว์. สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ์โคเพศเมีย สรีรวิทยา (Physiology) เป็นวิชาที่กล่าวถึงระบบและกลไกการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย. ต่อมไร้ท่อ (Endrocrine gland) ความรู้เรื่องต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) ได้มีการศึกษามาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ ค.ศ. 322

lahela
Download Presentation

ฮอร์โมน จัดทำโดย กรมปศุสัตว์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฮอร์โมน จัดทำโดย กรมปศุสัตว์

  2. สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ์โคเพศเมียสรีรวิทยาระบบสืบพันธุ์โคเพศเมีย สรีรวิทยา (Physiology) เป็นวิชาที่กล่าวถึงระบบและกลไกการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

  3. ต่อมไร้ท่อ (Endrocrine gland) ความรู้เรื่องต่อมไร้ท่อ(Endocrine gland) ได้มีการศึกษามาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ ค.ศ. 322 ฮิบโปรเครตีส (Hippocrates) และอลิสโตเติล(Aristotle) กล่าวไว้ว่า “ภายในร่างกายของคนเราจะต้องมีกลไกคอยควบคุมหน้าที่ต่าง ๆ อย่างแน่นอน”

  4. ค.ศ. 1902 เบรีส(Bayliss) และ สตาริง(Staring) ได้ค้นพบสารที่สร้างจากเยื่อบุลำไส้เล็ก และเรียกสารนั้นว่า ฮอร์โมน

  5. ต่อมไร้ท่อ (Endrocrine gland) คือ ต่อมที่ไม่มีท่อ ซึ่งสามารถสร้างฮอร์โมน เพื่อกระตุ้นหรือยับยั้งให้อวัยวะภายในร่างกาย ทำหน้าที่ หรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ ตามชนิดฮอร์โมนนั้น ๆ อวัยวะส่วนใดก็ตามที่ผลิตฮอร์โมน อวัยวะส่วนนั้นถือเป็นต่อมไร้ท่อทั้งสิ้น

  6. ฮอร์โมน (Hormone) คือสารที่สร้างและหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ เข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลืองเพื่อไปยังอวัยวะเป้าหมาย และกระตุ้นให้อวัยวะเป้าหมายทำหน้าที่ตามชนิดของฮอร์โมน นั้น ๆ

  7. ฮอร์โมน สามารถแบ่งได้ 2 แบบ ได้แก่ 1. แบ่งตามคุณสมบัติการละลาย 2.แบ่งตามโครงสร้างทางเคมี

  8. แบ่งประเภทของฮอร์โมน ตามคุณสมบัติการละลาย แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ - ละลายได้ในน้ำแต่ไม่ละลายในไขมัน เช่น โกรท ฮอร์โมน(GH) เป็นต้น - ละลายได้ในไขมันแต่ไม่ละลายในน้ำ เช่น เอสโตรเจน(estrogen) , โปรเจสเตอร์โรน(progesterone) เป็นต้น

  9. แบ่งประเภทของฮอร์โมน ตามโครงสร้างทางเคมี แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 1.ฮอร์โมนที่มีโครงสร้างเป็นพวกโปรตีน(Protein) หรือโพลีเปปไทท์(Polypeptide) เช่น ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง , พาราไทรอยด์ , และตับอ่อน

  10. 2.ฮอร์โมนที่มีโครงสร้างเป็นพวก สเตอรอยด์(Steroids) เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนเปลือก (Adrenal cortex) เป็นต้น 3. ฮอร์โมนที่มีโครงสร้างเป็นพวกฟีนอล(Phenol group) เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนกลาง (Adrenal medulla) เป็นต้น

  11. กลไกการทำงานของฮอร์โมน กลไกการทำงานของฮอร์โมน 1.ฮอร์โมนโดยปกติจะไหลเวียนไปตามกระแสเลือดหรือน้ำเหลืองทั่วร่างกาย 2.เมื่อฮอร์โมนผ่านบริเวณที่เป็นจุดรับ(Receptor site) ที่มีตัวรับ(Receptor) ของฮอร์โมนชนิดนั้น ๆ อยู่ ฮอร์โมนจะจับกับตัวรับ

  12. 3.ตัวรับจะเป็นเฉพาะชนิดของฮอร์โมนแต่ละชนิด ไม่ซ้ำกัน 4.จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี กระตุ้นให้ องค์ประกอบต่าง ๆ ในเซลทำหน้าที่

  13. ต่อมไร้ท่อที่สำคัญในการสร้างฮอร์โมนที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ 1.ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) 2.ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary gland) 3.ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary gland)

  14. 4.รังไข่ (Ovary) 5.มดลูก (Uterus) 6.รก (Placenta) 7.ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) 8.ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)

  15. ไฮโปธารามัส(Hypothalamus)

  16. ไฮโปธารามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนหนึ่งของสมอง ในระบบประสาทส่วนกลาง สร้างฮอร์โมน -โกนาโดรโธปิน รีรีส ซิ่ง ฮอร์โมน(Gonadotropin releasing hormone) เรียกย่อ ๆ ว่าจีเอ็น อาร์เอช(Gn-RH) -อ๊อกซี่โตซิน(Oxytocin)

  17. หน้าที่หลักของจีเอ็น-อาร์เอช คือ กระตุ้นหรือยับยั้งต่อมใต้สมองส่วนหน้า สร้างและหลั่งโกนาโดรโทรปิน (Gonadotropin (Gn)) 2 ชนิด ได้แก่

  18. 1.ฟอลริเคิล สติมูเรติ้ง ฮอร์โมน(Follicle stimulating hormone) เรียกย่อ ๆ ว่าเอฟเอสเอช(FSH) 2.ลูทีไนซิ้ง ฮอร์โมน(Luteinizing hormone) เรียกย่อ ๆ ว่าแอลเอช (LH)

  19. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary gland)

  20. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary gland) สร้างและหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ได้แก่

  21. 1.ฟอลริเคิล สติมูเรติ้ง ฮอร์โมน(Follicle stimulating hormone) หรือเรียกย่อ ๆ ว่าเอฟเอสเอช(FSH) ไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิล(Follicle) บนรังไข่

  22. 2.ลูทีไนซิ้ง ฮอร์โมน(Luteinizing hormone) หรือเรียกย่อ ๆ ว่าแอลเอช(LH)) ทำให้เกิดการตกไข่ (Ovulation) กระตุ้นให้เซลบนรังไข่เปลี่ยนเป็นก้อนเนื้อเหลือง(Corpus luteum)

  23. ในสตรีที่ตั้งครรภ์ รกของสตรีตั้งครรภ์สามารถสร้างสารซึ่ง 1.ออกฤทธิ์ได้คล้ายกับลูทีไนซิ้ง ฮอร์โมน(LH) 2สามารถนำมาใช้แทนลูทีไนซิ้ง ฮอร์โมน(LH) เรียกว่าฮิวแมน โครริโอนิค โกนาโดโทรปิน(human chorionic gonadotropin) หรือ เอชซีจี (HCG)

  24. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary gland)

  25. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary gland) ไม่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ มีหน้าที่เก็บสะสมและหลั่งฮอร์โมนบางชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนอ๊อกซี่โตซิน (Oxytocin) ซึ่งสร้างจากไฮโปธารามัส(Hypothalamus)

  26. รังไข่ (Ovary)

  27. รังไข่ (Ovary) มีหน้าที่ -สร้างไข่เพื่อการผสมพันธุ์ -สร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

  28. 1.สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) 2.สร้างอินฮิบิน(Inhibin) 3.สร้างแอคติวิน(Activin) 4.สร้างฟอลลิสเตติน(Follistatin)

  29. 5.สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน(Progesterone) 5.สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน(Progesterone) 6.สร้างรีแลคซิน(Relaxin)

  30. 1.ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) สร้างจากเซลแกรนนูโรซา(granulosa) ซึ่งเป็นเซลที่อยู่ด้านในของฟอลลิเคิล

  31. เอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้โคแสดงอาการเป็นสัด ทำให้โคมีเมือกใสไหลจากช่องคลอด ระบบสืบพันธุ์ทั้งระบบแข็งขึ้นและยืดหยุ่นมากขึ้น

  32. 2.อินฮิบิน สร้างจากเซลแกรนนูโรซา(granulosa) ซึ่งเป็นเซลที่อยู่ด้านในของฟอลลิเคิล ทำหน้าที่ยับยั้งจีเอ็น-อาร์เอช

  33. 3.แอคติวิน(Activin) สร้างจากเซลแกรนนูโรซา( granulosa cell) ของฟอลลิเคิล กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเอฟเอสเอช(FSH)

  34. ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน(progesterone) ป้องกันการสร้างเซลลูเตียล(luteal cell) ของช่องว่างในฟอลลิเคิล

  35. 4.ฟอลลิสเตติน(Follistatin) สร้างจากเซลแกรนนูโรซา(granulosa cell) ของฟอลลิเคิล ฟอลลิสเตตินจะทำงานจะตรงข้ามกับแอคติวิน

  36. มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเอฟเอสเอช(FSH) ช่วยให้เซลแกรนนูโรซาเปลี่ยนเป็นลูเตียล ช่วยให้เกิดการเสื่อมสลายของฟอลลิเคิล

  37. 5.โปรเจสเตอร์โรน(Progesterone) สร้างจากเซลลูเตียล(Luteal cell) ของก้อนเนื้อเหลือง(Corpus Luteum)

  38. โปรเจสเตอร์โรน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้มดลูกอยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหว มดลูกภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมน โปรเจสเตอร์โรนจะนิ่มเหลว โปรเจสเตอร์โรนยังยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนแอลเอช(LH)ที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า

  39. 6.รีแลคซิน(Relaxin) สร้างจากเซลลูเตียล(Luteal cell) ของก้อนเนื้อเหลือง(Corpus luteum) เพื่อช่วยให้กระดูกเชิงกรานและคอมดลูกขยายตัวขณะคลอด

  40. มดลูก (Uterus)

  41. มดลูก (Uterus) สร้างฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ พร็อสต้า แกรนดินเอฟทูอัลฟ่า (PGF2) PGF2 ทำให้ก้อนเนื้อเหลืองบนรังไข่(Corpus luteum) เกิดการสลายตัว และทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว

  42. รก (Placenta) สามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิดในแต่ละช่วงของการตั้งท้อง ในระยะการตั้งท้อง รกจะช่วยก้อนเนื้อเหลือง(Corpus luteum) สร้างฮอร์โมน โปรเจสเตอร์โรน(Progesterone)

  43. ช่วงใกล้คลอด รกจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) และพีจีเอฟ ทูอัลฟ่า(PGF2) เพื่อให้มดลูกบีบตัวขับลูกออกไป

  44. รกของคนยังสามารถสร้างฮอร์โมนเอชซีจี(HCG) ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนแอลเอช(LH) แต่มีระยะเวลาออกฤทธิ์นานกว่า รกม้าจะสามารถสร้างพีเอ็มเอสจี(PMSG) หรือ อีซีจี(ECG) ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายเอฟเอสเอช(FSH) แต่มีระยะเวลาออกฤทธิ์นานกว่า

  45. สรุปฮอร์โมนที่สำคัญ

  46. โกนาโดรโธปิน รีรีสซิ้ง ฮอร์โมน(Gonadotropin releasing hormone) เรียกย่อ ๆ ว่าจีเอ็น อาร์เอช(Gn-RH) สร้างจากไฮโปธารามัส(Hypothalamus)

  47. หน้าที่ กระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary gland) สร้างและหลั่งโกนาโดรโทรปิน(Gonadotropin (Gn)) 2 ชนิด ได้แก่

  48. -ฟอลริเคิล สติมูเรติ้ง ฮอร์โมน(Follicle stimulating hormone) เรียกย่อ ๆ ว่าเอฟเอสเอช(FSH) -ลูทีไนซิ้ง ฮอร์โมน(Luteinizing hormone) เรียกย่อ ๆ ว่าแอลเอช (LH)

  49. ฟอลริเคิล สติมูเรติ้ง ฮอร์โมน(Follicle stimulating hormone) เรียกย่อ ๆ ว่าเอฟเอสเอช(FSH) สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า หน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิล(Follicle) บนรังไข่

  50. ลูทีไนซิ้ง ฮอร์โมน(Luteinizing hormone) เรียกย่อ ๆ ว่าแอลเอช(LH)) สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า

More Related