1 / 21

การให้ระดับผลการเรียน

การให้ระดับผลการเรียน. สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การตัดเกรด (Grading).

Download Presentation

การให้ระดับผลการเรียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การให้ระดับผลการเรียนการให้ระดับผลการเรียน สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. การตัดเกรด (Grading) • การตัดสินผลการเรียน การให้ระดับผลการเรียน หรือ การตัดเกรด เป็นขั้นตอนของการประเมินผล (evaluation) โดยการนำผลที่ได้จากการวัดผลการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนมาพิจารณาตัดสินหรือกำหนดระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ว่า เก่ง-อ่อน อยู่ในระดับใด

  3. ระบบเกรด

  4. ความถูกต้องและเหมาะสมในการตัดเกรดความถูกต้องและเหมาะสมในการตัดเกรด • ผลการวัด เป็นข้อมูลที่ได้จากวัดผลผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยการทดสอบ การสังเกต การปฏิบัติงาน ฯ และใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ • เกณฑ์การพิจารณา เป็นระดับความต้องการ หรือความคาดหวัง หรือเป้าหมาย หรือ มาตรฐาน ที่ใช้เปรียบเทียบและตัดสินระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ของผู้เรียน • วิจารณญาณของผู้ประเมิน ที่จะต้องใช้ความเป็นธรรม พิจารณาอย่างรอบคอบ ถูกต้อง และเหมาะสม

  5. การตัดเกรดเชิงสมบูรณ์ (absolute grading) • นิยมเรียกว่าการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (criterion-referenced) • มีแนวคิดมาจากทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ • แบบทดสอบมีความตรงตามเนื้อหาและจุดประสงค์ที่สำคัญของวิชา • ตัดสินผลการเรียนโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า • เหมาะสำหรับการประเมินผลเพื่อพัฒนาระหว่างเรียน (formative evaluation)

  6. การตัดเกรดแบบอิงมวลความรู้(domain-referenced grading) • มีการกำหนดหรือถือว่าข้อสอบที่ครูสร้างขึ้นเป็นตัวแทนที่ดีของข้อสอบทั้งหมดที่ใช้วัดมวลความรู้หรือความรอบรู้ในวิชานั้นๆ • คะแนนที่ได้จากการทดสอบถือว่าเป็นปริมาณความรอบรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ • มีการกำหนดจุดตัดและช่วงคะแนนของแต่ละเกรดไว้ล่วงหน้า ตามความเชื่อพื้นฐานของครู ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา ความยากของข้อสอบ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  7. ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรดแบบอิงมวลความรู้ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรดแบบอิงมวลความรู้

  8. การตัดเกรดแบบอิงจุดประสงค์(objective-referenced grading) • บางรายวิชามีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้หลายอย่างที่แตกต่างกัน และไม่สามารถนำคะแนนมารวมกันได้อย่างมีความหมาย • ให้พิจารณากำหนดเกณฑ์และตัดสินผลการเรียนรู้ในแต่ละจุดประสงค์ว่า ผ่านหรือไม่ผ่าน • กำหนดเกณฑ์และตัดสินผลการเรียนรู้โดยภาพรวมของวิชานั้นๆ

  9. ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรดแบบอิงจุดประสงค์ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรดแบบอิงจุดประสงค์

  10. การตัดเกรดเชิงสัมพันธ์ (relative grading) • นิยมเรียกว่า การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม (norm-referenced grading) • มีแนวคิดมาจากทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล และเชื่อว่าความรู้ความสามารถของผู้เรียนมีการกระจายแบบการแจกแจงปกติ • การวัดผลต้องใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันหรือคู่ขนานกัน มี ความตรง ความเที่ยง สูง และ ข้อสอบมีค่าความยาก อำนาจจำแนก เหมาะสม • การตัดสินผลการเรียนว่าเก่งหรืออ่อนจะใช้การเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้เรียนทั้งหมด • เหมาะสำหรับการประเมินเพื่อสรุปผลปลายภาคเรียน (summative evaluation)

  11. การตัดเกรดโดยกำหนดสัดส่วนของแต่ละเกรดการตัดเกรดโดยกำหนดสัดส่วนของแต่ละเกรด • จากแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์มีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน และมีการแจกแจงของคุณลักษณะเหล่านั้นเป็นโค้งปกติ จึงมีการกำหนดสัดส่วนหรือจำนวนของแต่ละเกรดได้

  12. C A F B D

  13. การตัดเกรดโดยใช้ค่าพิสัยการตัดเกรดโดยใช้ค่าพิสัย • เรียงคะแนนจากสูงสุดไปหาต่ำสุด • หาความถี่ของแต่ละคะแนน • หาค่าพิสัย (คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด) • กำหนดจำนวนเกรด เช่น 5 เกรด (A-F) • หาช่วงห่างระหว่างเกรด (พิสัย/จำนวนเกรด, เศษปัดขึ้น) • แบ่งช่วงคะแนนของแต่ละเกรด

  14. ตัวอย่างคะแนนสอบของนักเรียน 90 คน

  15. ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรดโดยใช้พิสัยตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรดโดยใช้พิสัย คะแนนสูงสุด = 58 คะแนนต่ำสุด = 15 พิสัย = 58-15 =43 กำหนดจำนวนเกรด = 5 ช่วงห่างระหว่างเกรด = 43/5 = 8.6 ปัดเป็น 9

  16. การตัดเกรดโดยใช้ค่ามัธยฐานการตัดเกรดโดยใช้ค่ามัธยฐาน • ผู้สอนจะต้องประเมินกลุ่มผู้เรียนว่ามีความสามารถโดยภาพรวมอยู่ในระดับใด (จาก 7 ระดับ) • หรือพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนทั้งกลุ่ม ในภาคการเรียนที่ผ่านมา • กำหนดค่าจุดต่ำสุดของเกรดสูงสุดที่จะให้ (lower limit factor) จากตารางพิจารณาระดับความสามารถของ Dewey B.Stuit • หาค่ามัธยฐาน (median) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ของคะแนน • คำนวณจุดตัดของเกรดสูงสุด ส่วนจุดของเกรดถัดไปให้ลบจุดตัดด้วย ค่า SD

  17. ตารางพิจารณาระดับความสามารถตารางพิจารณาระดับความสามารถ

  18. ตัวอย่างการตัดเกรดโดยใช้มัธยฐานตัวอย่างการตัดเกรดโดยใช้มัธยฐาน จากตารางแจกแจงความถี่คะแนนของนักเรียน 50 คน สมมติว่าครูผู้สอนประเมินว่านักเรียนทั้งกลุ่มมีความรู้ ความสามารถระดับ ดี และเกรดสูงสุดเป็น A ดังนั้น ค่า lower limit factor = 1.1 หาค่ามัธยฐานได้ 25 หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 5 คะแนนจุดตัดของเกรด A = (1.1 x 5) + 25 = 30.5 คิดเป็น 31 ขึ้นไป คะแนนจุดตัดของเกรด B = 31-5 = 26 คะแนนจุดตัดของเกรด C = 26-5 = 21 คะแนนจุดตัดของเกรด D = 21-5 = 16 คะแนนที่เกรด F คือตั้งแต่ 15 ลงไป

  19. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยการตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ย • ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นตัวกำหนดช่วงห่างของแต่ละเกรด โดยถือว่าคะแนนมีการแจกแจงแบบปกติ

  20. การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม แบบอื่นๆ • การตัดเกรดโดยใช้คะแนนมาตรฐาน Z • การตัดเกรดโดยใช้คะแนนมาตรฐาน T • การตัดเกรด โดยใช้ช่องว่าง

  21. เอกสารอ้างอิง จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2556). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประกฤติยา ทักษิโณ.(2555). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประภาพร ศรีตระกูล. (2549). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พัชรี จันทร์เพ็ง. (2557). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2554). ความรู้ด้านการวัดผล การประเมิน การวิจัย และ สถิติ ทางการศึกษา. (http://home.kku.ac.th/sompo_pu/spweb/) ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

More Related